โครงการป่าในกรุง..โครงการดีๆ ที่นำเสนอความสำคัญของต้นไม้ ระบบนิเวศและการอยู่ร่วมกัน


นอกจากจะเป็นสถานที่ให้ความรู้แล้วยังเหมือนสวนสาธารณะเล็กๆ ให้เราได้มานั่งเล่นชื่นชมธรรมชาติกันด้วยครับ

โครงการป่าในกรุงนี้ได้ยินชื่อมานาน เห็นป้ายมาเยอะ แต่ไม่เคยไปสักที


อาทิตย์นี้พอมีเวลาเลยหาข้อมูล แล้วขับรถมาเลยครับ แผนที่ครับ https://goo.gl/maps/Q5sL2EYxMsJ2

ทางเข้าไม่มีการเสียค่าเข้าชมนะครับ มีแค่ลงทะเบียนผู้เข้าชมเฉยๆ


เดินมาไม่ไกลเราจะเจอทางเข้าอาคารหลักมีอยู่อาคารเดียว

เป็นทั้งอาคารนิทรรศการและสำนักงาน

ทางเดินแห่งผืนดิน….ตั้งชื่อไปงั้นแหละๆครับ


ผนังอาคารแห่งนี้สร้างขึ้นมาจาก"ดิน"บดอัด เป็นวัสดุที่มาจากดินธรรมชาติ ซึ่งให้ค่าสีที่แตกต่างกันจากองค์ประกอบของธาตุในดิน เช่น ดินสีแดงเกิดจากสารประกอบออกไซด์ของเหล็ก ดินดำเกิดจากสารประกอบอินทรียวัตถุต่างๆ หรือดินมีสีอ่อนอาจจะแสดงว่าเป็นดินที่เกิดมาจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกที่สลายตัวมาจากหินที่มีแร่สีจางเป็นองค์ประกอบ เฉดสีดังกล่าวมีลักษณะสีสันที่มีความเป็นธรรมชาติสูง กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การนำดินมาทำเป็นผนัง มีประโยชน์ในเรื่องการต้านทานความร้อนสูง ซึ่งเป็นการช่วยกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร และลดภาระการทำความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ นอกจากนั้นยังมีสีสรรสวยงามตามความแตกต่างกันของดินและแหล่งที่มา ประกอบด้วย 1) สีแดงเข้ม จากแหล่งดิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) สีส้มจัด จากแหล่งดิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 3) สีส้มอมเหลือง จากแหล่งดิน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 4) สีครีม จากแหล่งดิน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 5) สีขาว จากแหล่งดิน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

บริเวณผนังของกำแพงดินจะมีตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ฃให้เราชมครับ

เดินเข้าไปอีกนิดจะถึงส่วนนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยโซนที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้


เมล็ดพันธุ์แห่งป่า -

ต้อนรับเข้าสู่แหล่งเรียนรู้ด้วยเมล็ดพันธุ์ต้นกำเนิดแห่ง ป่าในกรุง ในเรซิ่นใส ตลอดแนวผนังดินบดอัด (Rammed Earth) ภาพด้านบนแหละครับ



ผลกระทบต่อเมือง -

แสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ สร้างความตระหนักความสำคัญของป่าว่าทำไมเราต้องสร้างป่าในกรุง



ป่าบางกอก -

พบสภาพป่าบางกอก สังคมพืชที่เคยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในอดีต และเรื่องราวบางกอกในอดีตผ่านคำบอกเล่าของสองยายหลาน

โซน เติบโตอย่างยั่งยืน - องค์ความรู้ที่เกิดจากการผสมผสานในการปลูกป่าที่นำมาใช้ในพื้นที่โครงการป่าในกรุง


บอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ ปตท. รวมพลังปลูกป่า 1 ล้านไร่ สู่พลังใจสร้างป่าในกรุง

โซนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก (Mini Theatre) แสดงภาพยนตร์สั้น “คน.ป่า.เมือง เกื้อกูลพึ่งพากันตลอดไป"


เป็นการสร้างแรงจูงใจและปลูกจิตสำนึก

เมื่อเราชมภาพยนตร์สั้น ก็จะมีทางออกไปสู่ด้านนอก อีกสองโซนคือ ทางเดินชมเรือนยอด และหอชมป่าครับ

ทางเดินชมเรือนยอด (Skywalk) เรียนรู้สังคมพืชต่างๆ ระหว่างทางเดินพร้อมเพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ

ป้ายความรู้แสดงกึงนกต่างๆที่สามารถพบได้ในสวนแห่งนี้ครับ

มองไปด้านข้างจะเห็น หอชมป่า ครับ

การออกแบบเส้นทางเดินชมเรือนยอด (Sky Walk) มีระยะทางประมาณ 200 เมตร

เส้นทางดังกล่าวยังมุ่งไปสู่ หอชมป่า (Observation Tower) ที่เห็นในภาพครับ

สำหรับชมป่าไม้ในระดับชั้นเรือนยอดของต้นไม้ ซึ่งจะสัมผัสได้ถึงการเติบโตของป่าจากกล้าไม้เล็กๆ สู่การเป็นป่าปลูกที่สมบูรณ์

เส้นทางเดินชมเรือนยอด (Sky Walk) มีระดับความสูงต่างๆตั้งแต่ระดับพื้นดินจากถึงระดับความสูง 10.2 เมตรจากพื้นดิน

พื้นทางเดินใช้เป็นไม้เทียมสีธรรมชาติ และตัดขอบแบบไม่เป็นแนว ออกแบบทางเดินให้ดูเบาและบางเพื่อให้พรางตัวไปกับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

....หมดคำบรรยาย...55555

มีมุมให้ถ่ายภาพได้มากมายครับ

นี้คือหอชมป่า (Observation Tower) ครับ


เพื่อสังเกตพื้นที่ป่าในเขตเมืองโดยรอบด้วยกล้องส่องทางไกล และเห็นภาพในจินตนาการของป่าในกรุงที่ป่าเติบใหญ่งดงามในอนาคต

ด้วยกล้อง Binocular แต่ต้อนผมไปไม่เห็นกล้องสองชนิดนี้นะครับ

เมื่อมองจากด้านบนลงมา

โครงการป่าในกรุงนี้ สร้างจากจากพื้นที่รกร้างกว่า 12 ไร่ บนถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ


ถูกพลิกฟื้นขึ้นโดยจัดสรรสัดส่วนที่ดิน 75% เป็นพื้นที่ปลูกป่านิเวศที่สมบูรณ์

รวมถึงจำลองป่ากรุงเทพฯ ในอดีตที่มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ดั้งเดิมและพันธุ์ไม้หายากกว่า 250 ชนิด

พื้นที่แหล่งน้ำ 10% และพื้นที่อาคารเพื่อการเรียนรู้ 15%

โครงการนี้ปลูกป่าในลักษณะ "ป่านิเวศ" หมาายถึง ป่าที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงสภาพป่าธรรมชาติ โดยประยุกต์การสร้างป่านิเวศตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ (Miyawaki's Method) มีหลักการคือ การสร้างป่าธรรมชาติด้วยพันธุ์ไม้ดั้งเดิม (Building Native forest of Native trees) และจัดการโดยแนวคิด "การจัดการที่ดีที่สุดคือ การปล่อยให้ป่าจัดการตัวเอง (No management is the best management)"

หอชมป่า (Observation Tower) เมื่อมองขึ้นไป

สำหรับผมก็ถือว่าเป็นสถานที่ ที่ให้ความรู้และให้การผักผ่อนไปในตัว


อยากให้มีโครงการอย่างนี้เพิ่มมากขึ้นกรุงเทพครับ

ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาชมนะครับ



Wefoto

 วันพฤหัสที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 10.00 น.

ความคิดเห็น