ครที่ได้ไปเที่ยวชมโบราณสถานในย่านอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย คงต้องห้่ามพลาดไปชม "วัดศรีชุม"

"วัดศรีชุม" ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงอุทยานประวัติศาสตร์โขทัย ไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระอัจนะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และลักษณะของวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระอัจนะนั้น สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามบันไดแคบๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์อัจนะ สามารถขึ้นไปถึงผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่ แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้ บนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่เกาะสลักลวดลายต่างๆ ไว้ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ

urwh3kjvqgdv

ปัจจุบันตัววัดศรีชุมเหลือเท่านี้ครับ

73dm1tn30gmo

qls71cw8138j


ldmbawytfjht
z4sck0t9zjh3

wmjjls6rpayj

    0gniih85zgq6

หนึ่งในความมหัศจรรย์ของที่นี้คือ พระอจนะ พระพุทธรูปภายในวัดศรีชุม ที่มีเรื่องเล่าขานมาแต่โบราณว่า เป็นพระพุทธรูปพูดได้

xhr43ydrs3y9

แต่ที่จริงแล้วมีเรื่องเล่าขานสาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เราจะพากลับไปในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ ในปีพุทธศักราช 2127 ณ เมืองแครง ทำให้หัวเมืองต่างๆยกเลิกการส่งส่วยให้กับพม่า แต่ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งที่ยังคงภักดีส่งส่วยให้กับพม่าไม่ขาด นั่นก็คือเมืองเชลียง หรือเมืองสววรคโลกนั่นเองค่ะ และด้วยเหตุที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการนี้เอง ทำให้พระนเรศวรมหาราชต้องนำทัพเสด็จไปปราบ แต่ก่อนหน้านั้นได้มีการมาชุมนุมที่วัดศรีชุมก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง การรบในครั้งนี้เป็นการรบระหว่างคนไทยเราด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบและไม่อยากรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงได้มีการวางแผนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทหารเหล่านั้น โดยการให้ทหารนายหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังขององค์พระพุทธรูปและพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร และด้วยเหตุนี้เองค่ะที่ทำให้เกิดตำนาน “พระพูดได้” และณ วัดศรีชุมแห่งนี้ยังได้มีการจัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกด้วย.

w8v5uxn107hx

0vkfj27ni6wh

tzkwb5jg093c

w29wizpn3628

woxu23yt49t6

    เดินทาง :- ข้อมูลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
    ทางรถยนต์ :-
    เส้นทางที่ 1 ตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ ระยะทางประมาณ 440 กิโลเมตร

    เส้นทางที่ 2 ตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ กม. ที่ 50 เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อยุธยามุ่งสู่นครสวรรค์ แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 ตรงเข้าพิษณุโลก ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 12 เข้าสุโขทัย รวมระยะทาง 427 กิโลเมตร

    ทางรถโดยสารประจำทาง :-
    มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดาและปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันจากกรุงเทพฯ-สุโขทัย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) โทร. 936-3660, 936-3666

    นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท วินทัวร์ โทร. 611-039 และบริษัท พิษณุโลกยานยนต์ โทร. 258-941, 258-647

ฝากติดตามรีวิวอื่นๆด้วยนะครับที่ B e L L a G i O ..... Studio

ความคิดเห็น