เที่ยว? ฮ่าๆๆ หนีใครอ่ะ ปกติก็เที่ยวคนเดียวอยู่แล้วนี่นา เปล่าๆ ตั้งให้ดูคล้องจองแค่นั้นแหละ ห่างหายจากการเขียนรีวิวไปเสียนานเนื่องจากขี้เกียจ หลังๆเขียนนี่ก็แทบไม่ได้ใส่เนื้อหาไปมาก เน้นรูปอย่างเดียว (ทำไมเป็นคนแบบนี้)

เหมือนเดิมนะ เรายังเหมือนเดิม ยังนั่งรถไฟเที่ยวเหมือนเดิม หมดงบกับการไปเที่ยวจังหวัดไกลๆกันมากเท่าไหร่แล้ว ทีนี้พามาเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ กันแบบ one day trip กันบ้าง ด้วยการนั่งรถไฟฟรี ที่ยังอยู่กับเราเหมือนเดิม และคิดว่ารถไฟฟรีน่าจะอยู่กับเราถึงสิ้นปีเลยทีเดียว

นั่งขบวนนำเที่ยวก็แค่มาแวะ มันยังไม่จุใจ ขึ้นไปไหว้องค์พระปฐมเจดีย์เกือบไม่ทัน คราวนี้ตั้งหน้าตั้งตามาเที่ยวนครปฐมแบบวันเดียวบ้าง เที่ยวได้แค่ไหนก็แค่นั้นแหละ ไปเรื่อยๆ เน้นถ่ายรูป ไม่เน้นกิน ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเงิน เดี๋ยวมีเงินก็กลับมาใหม่ (มากิน) นครปฐมของกินเยอะมากแก ฮือ มีหมื่นหมดหมื่น กินตัวแตก โดยเฉพาะตลาดเย็นในองค์พระฯที่เราอยู่ไม่ถึงต้องรีบกลับก่อน วันนี้ไม่ค่อยเน้นกิน แค่เดินเที่ยว ถ่ายรูปก็เหนื่อยแล้วอ่ะ เก็บรูปมาฝากเยอะๆแล้วกัน เอาจริงๆนะ มี 300 ไปกลับยังเหลือ ถ้าไม่กินเยอะ 5555


นั่งรถไฟฟรีเที่ยวนครปฐมภายใน 1 วัน

ไม่ต้องออกเช้ามากเหมือนขบวนนำเที่ยวค่ะ ออกสายหน่อยก็ได้ เพราะวันนี้รถไฟฟรีออกตั้งเก้าโมงกว่า มาถึงตอนรถไฟใกล้ออก หัวฟู หูตั้งวิ่งมาไม่คิดชีวิต อีกนิดเดียวรถไฟจะออก หน้าไม่แต่ง หน้าสดมาเลย

เดินทางด้วยรถไฟ ขาไปขบวน 261 เวลาออก 09.20 ถึง 10.46 น. ด้วยเวลาอันน้อยนิดและเผื่อเวลาหน่อยๆ

ขากลับขบวน 262 เวลาออก 17.16 ถึง 17.00 น. ด้วยเวลาอันน้อยนิดและเผื่อเวลาเยอะขึ้นมาหน่อย


ไปถ่ายรูปสวยๆ แต่วันนี้ไม่ค่อยมีรูปตัวเองเยอะเพราะเยินแดดมากเว่อ55555



ถึงนครปฐมก็แวะไหว้พระที่องค์พระปฐมเจดีย์ก่อนเลย องค์พระปฐมเจดีย์ อ้าว! เจอน้องแมว แวะก่อน ฮ่าๆๆ

องค์พระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่รูประฆังคว่ำ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโคตมพุทธเจ้า


วันนี้อากาศร้อนมาก แต่ดีใจที่ฝนไม่ตก ก้อนเมฆน่ารักตะมุตะมิเหลือเกิน เป็นขนมสายไหมก้อนๆเลย

คนก็จะเยอะหน่อยโดยเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ แต่วันที่ไปคนน้อยเนื่องจากเราไปวันธรรมดา










ชอบมาวัดวันธรรมดานี่แหละ วันเสาร์-อาทิตย์คนคงเยอะน่าดูเลย จะได้หามุมถ่ายรูปเยอะๆ ในเวลาเงียบๆได้หน่อย






เสียดายที่เขาไม่เปิดพิพิธภัณฑ์ให้ดูอ่ะ


ชอบตรงพระพุทธรูปนี่แหละ มีปางแปลกๆที่เราไม่เคยเห็นเต็มไปหมดเลย ได้ความรู้ด้วย

ปางรับผลมะม่วง

Accepting an offering of a mango

พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ (เข่า) ในฝ่าพระหัตถ์มีผลมะม่วง

ปางภัตกิจ

Partaking of a meal

พระประจำผู้เกิดเดือน 9

พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาหย่อนลงในบาตร เป็นกิริยาหยิบภัตตาหารเสวย

ปางฉันสมอ

Partaking of a gall-nut fruit

พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ (เข่า) ถือผลสมอ

ปางชี้อัครสาวก

Identifying the principal disciples

พระประจำผู้เกิดปีจอ

พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้น ชี้นิ้วพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาประกาศอัครสาวกให้ปรากฏในที่ประชุมสงฆ์


ปางรำพึง

The Reflection

พระประจำผู้เกิดวันศุกร์

พระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นทาบพระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง

ปางพระเกศธาตุ

Giveing his hair relics to the two merchants

พระอิริยาบถขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายลงบนพระเพลา ยกฝ่าพระหัตถ์ขวาขึ้น เป็นกิริยาเสยพระเกศา

ความจริงมีอีกหลายปางเลย อยากให้มาดูและมาศึกษากัน

ไหว้พระถ่ายรูป นั่งทำใจให้ร่มๆสักพัก เนื่องจากวันที่เดินทางมาฟ้าสวย เมฆสวยมากกกกก แต่แดดก็ร้อนมากๆเช่นกัน งานตัวเกรียมก็มา

อาจจะเที่ยวไม่ได้หลายที่เพราะเป้าหมายที่จะถ่ายรูปจริงจังอีกที่อยู่พระราชวังสนามจันทร์

เรียกพี่วินที่ทางเข้าองค์พระปฐมเจดีย์ 40 บาท ถึงหน้าพระราชวังเลย หรือใครลงจากรถไฟมาแล้วก็เรียกวินจากสถานีรถไฟได้ แต่แนะนำไหว้องค์พระฯก่อนนะ ไหนๆก็มาแล้ว เดินนานหน่อยถ้าชอบถ่ายรูป เพราะข้างในกว้างมากๆจริงๆ ส่วนรถอื่นรถตุ๊กๆ รถเมล์เราไม่แน่ใจ เราถามพี่ รปภ.ที่วัดเขาบอกนั่งวินมอเตอร์ไซค์ไปแป๊บเดียวก็ถึงพระราชวังแล้ว

และถ้ามีกฎก็ต้องเคร่งครัดนะคะ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกายกับการถ่ายภาพ ถ่ายได้แค่ข้างนอกนะ แต่วังข้างในห้ามถ่าย บางที่เข้าได้และมีวิทยากรอธิบายเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้เราได้ความรู้เพิ่มเติมด้วย



รีวิวอยากจะอ้างอิงข้อมูลตามจริงนิดนึงนะ กลัวข้อมูลคลาดเคลื่อน ขอบคุณข้อมูลจากโบชัวร์ที่ จนท.ให้มาด้วยค่ะ อาจจะไม่มีข้อมูลครบทุกที่ แต่เดินจนเมื่อยจนครบจริงๆ บางทีก็จำข้อมูล จำลักษณะไม่ค่อยได้ เพราะตัวเรือนเหมือนๆกันหมด ถ้ามีข้อมูลผิดพลาด ต้องขออภัยด้วยนะคะ



พระตำหนักมารีราชราชรัตบัลลังก์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง หลังคามุงกระเบื้องว่าว มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก ของประเทศตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศเมืองร้อน

The Marirajrattaballang Residence is in a two story building with golden teakwood painted in red and a tiled roof. Architecturally, the building is in a European neo-classical style with some modifications to suit the tropical climate.

พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพานจากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ สะพานดังกล่าวมีหลังคามุงกระเบื้อง กั้นผนังและติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้านตลอดความยาวของสะพาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ขึ้น ราวปี พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ

It was built to match the Jalimangalasana Residence,with a covered walkway from the back of the upper floor across the moat to the front of the Marirattaballang Residence. The covered walkway has a tiled roof, fitted with windows along the whole length,H.M. Rama VI had the throne hall constructed around the year 1916,with H.R.H. Prince Iddhi Debasan Kritakarana as an architect.


เรียกได้ว่าเป็นมุมมหาชนจริงๆ ใครไปใครมาก็ต้องมีรูปถ่ายจากมุมนี้ติดไปด้วย อาจจะรูปสองรูปหรือมากกว่านั้นในการครีเอท เพราะถ่ายได้แต่ข้างนอกอย่างเดียว ข้างในห้ามถ่ายนะคะ

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ และฉนวนสะพานเชื่อมพระตำหนักเป็นกลุ่มอาคารที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากบทละครเรื่อง My Friend Jarlet ของ Arnold Golsworthy และ E.B.Norman ทั้งนี้ ได้ทรงพระราชนิพนธ์แปลบทละครเรื่องนี้เป็นภาษาไทยชื่อว่า "มิตรแท้" โดยทรงนำชื่อตัวละครในเรื่องมาเป็นชื่อของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์

The inspiration for the construction of the Jalimangalasana Residence and the Marirajrattaballang Residence came from the play "My Friend Jarlet" written by the English play wrights Amold Golsworthy and E. B. Norman. H.M. King Rama VI translated the play into Thai and entitled it "True Friend". Based on the names of the two characters in this play, H.M. King Rama VI named the two buildings accordingly as the Jalimangalasana Residence and the Marirajrattaballang Residence.

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์เป็นพระตำหนักที่มีลักษณะคล้ายปราสาทขนาดย่อม มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์ (Renaissance) ของฝรั่งเศส และแบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (half-timbered) ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ขึ้นราวปี พ.ศ. 2451 สถาปนิกผู้ออกแบบ คือ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร

The Jalimangalasana Residence is a small castle like building in a French Renaissance and English half-timbered style, with some modifications to suit the tropical climate of Thailand. H.M. Rama VI had the residence constructed around the year 1908,with H.R.H. Prince Lddhi Debasan Kritakarana as an architect.

พระตำหนักนี้เดิมเรียกว่า "พระตำหนักเหล" ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า "พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์" และโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2460

Previously, this building was called the Jarlet Residence. In 1915, H.M. King Rama VI assigned the name of the Jalimangalasana Residence, and he had a house warming ceremony for this building on February 3, 1917.

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ เป็นพระตำหนักสองชั้น ทาสีไข่ไก่ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดง ชั้นบนมีห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทม และห้องสรง ชั้นล่างทางทิศตะวันตกเป็นห้องรอเฝ้า และเคยใช้เป็นสำนักงานชั่วคราวในการออกหนังสือมพิมพ์ดุสิตสมิตรายสัปดาห์

พระตำหนักองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นที่ประทับในฐานะที่ทรงเป็นผู้บัญชาการเสือป่าเมื่อมีการซ้อมรบเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์ และพระองค์ยังโปรดเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักนี้เมื่อเสด็จยังพระราชวังสนามจันทร์ตลอดช่วงปลายรัชกาล

The Jalimangalasana Residence is a two story construction,painted in light yellow with a red tiled roof.On the top floor,there are writing room,the bedchamber, and the bathroom. On the first floor in the west wing, there are the waiting room and the temporary office of the weekly Dusit Smit Magazine.

H.M. King Rama VI often stayed at this building when he commanded the Wild Tiger Scout combat exercises at Sanam Chandra Palace. Towards the end of his reign, H.M. King Rama VI also chose to stay here whenever he visited Sanam Chandra Palace.

อนุสาวรีย์ย่าเหล

"ย่าเหล" เป็นสุนัขพันธุ์ทางหางเป็นพวง สีขาวด่างดำ หูตก เกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม เป็นสุนัขของหลวงชัยอาญา (โพ เคหะนันท์) ซึ่งเป็นพะทำมะรง (ผู้ควบคุมนักโทษ) อยู่ในขณะนั้น (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพุทธเกษตรานุรักษ์) เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯตรวจเรือนจำจังหวัดนครปฐม พระองค์ได้ทอดพระเนตรลูกสุนัขในเรือนจำซึ่งมีความน่าเอ็นดู ต่อมาหลวงชัยอาญาได้ถวายลูกสุนัขนั้น จึงทรงรับมาเลี้ยง และพระราชทานนามว่า "ย่าเหล"

"ย่าเหล" ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ในพระราชสำนักใกล้ชิดพระยุคลบาท มีความเฉลียวฉลาดและมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่โปรดปรานของพระองค์เป็นอย่างมาก อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2456 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินจากพระที่นั่งอัมพรสถานไปในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพานพุ่มเข้าพรรษาแด่พระสงฆ์ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) แล้วในเวลาค่ำได้เสด็จไปประทับเสวย ณ พระราชวังสราญรมย์ ย่าเหลได้หนีเล็ดลอดออกไปเที่ยวนอกพระราชฐานและมีผู้ยิงย่าเหลด้วยปืนลูกกรดตายระหว่างถนนข้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามกับพระบรมมหาราชวัง

การสูญเสีย "ย่าเหล" สุนัขที่โปรดปรานทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเศร้าสลดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ "ย่าเหล" หล่อด้วยโลหะทองแดงรมดำ ณ บริเวณด้านหน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และได้ทรงพระราชนิพนธ์คำไว้อาลัยจากความรู้สึกส่วนลึกของพระราชหฤทัยโดยโปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้บนแผ่นทองแดงรมดำ ณ ฐานที่ตั้งอนุสาวรีย์แห่งนี้ด้วย

Jarlet was a black and white hybird dog, with a bushy tail and drooping ears. The dog was born in a prison in Nakhon Pathom and belonged to the chief prison warden,Luang Jaya Aya (Pho Gehanandana), later appointed to phra Buddha Kshetra Nuraksha. On a trip to inspect the provincial prison,H.M. King Rama VI saw the cute puppy in the prison. Later,Luang Jaya Aya Presented the puppy to the king,and the king named the dog "Jarlet"

Jarlet was raised in the royal compound and stayed close to H.M. King, The dog was wise and very liyal to the king, and thus in no tin=me became the King's favorite dog.

On July 18,1913, H.M. King VI left the Ambara Residence to make merit on the Buddhist Lent Day at Marble Temple and Giant Remple. In the evening, when the King stopped to have dinner at Saran Ramaya Palace, Jarlet sneaked out of the royal compound and was found shot dead at the side of the road between Giant Temple and the Royal Palace.

The loss of Jarlet,the King's beloved dog, brought tremendous grief to the king. H.M. King Rama VI thus had the Jaelet Statue cast in smoked copper and erected right at the front of the Jalimangalasana Residence. To express his deep sorrow at the loss of his liyal dog, H.M. King Rama VI wrote a lengthy eulogy,which is engraved on a copper plaque and fitted it at the base of the statue.


พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดนครปฐม ดำเนินการสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชนชาวไทยเป็นเอนกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเป็นผู้พระราชทานกไเนิดเสือป่าและลูกเสือไทยจังหวัดนครปฐม บริจาคสมทบทุนในการดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือจากกรมศิลปากรในการออกแบบปั้นหล่อพระบรมรูปขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริงในฉลองพระองค์เสือป่า ประทับพระเก้าอี้สนาม พระหัตถ์ขวาทรงปากกา พระหัตถ์ซ้ายทรงสมุดสำหรับจดบันทึกการซ้อมรบเสือป่า

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกได้เสด็จเป็นประธานในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2525 และได้มีพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกรมศิลปากรมาประดิษฐาน ณ แท่นรองรับ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2529

His Majesty King Vajiravudh's Monument

H.M. King Vajiravudh's Monument at Nakhon Pathom was constructed by the Committee of Boy Scouts in Nakhon Pathom Province in order to commemorate the King's gracious merits and benevolence , particularly as the founder of the Wild Tiger Scouts and the Thai Boy Scouts. The Province of Nakhon Pathom and the Committee of Boy Scouts of Nakhon Pathom Province invited government officials, business people, the general public, and people scouts in Nakhon Pathom Province to donate money for the construction of the monument. The Fine Arts Department assisted in casting a mold of one and a half size H.M. King Rama VI in a Royal Tiger Scount Uniform, sitting on a field chair wuth his right hand holding a pen and his left hand holding a notebook to record events during the Wild Tiger Scout combat exercises.

His Holiness the Supreme Patriach presided over the laying ceremony of the foundation stone on March 3, 1982. On November 26, 1983, a ceremony was performed to bring the Royal Statue from the Fine Arts Department to be installed on the prepared mounting. H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn attended the monument opening ceremony on April 4 , 1986.





พระที่นั่งพิมานปฐม

พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ ในปี พ.ศ. 2450 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งพิมานปฐม เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างแบบตะวันตก ผนังห้องเดิมเป็นผนังไม้ ต่อมาใน พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นผนังคอนกรีต พระที่นั่งนี้มีการตกแต่งชายคา ช่องลม กันสาด และลูกกรงระเบียง ด้วยแผ่นไม้ฉลุลายแบบเรือนขนมปังขิง(gingerbread) อย่างประณีตงดงาม ภายในพระที่นั่งพิมานปฐมประกอบด้วยห้องต่างๆ ซึ่งยังมีป้ายชื่อปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น ห้องพระบรรทม ห้องสรง ห้องบรรณาคม ห้องพระภูษา และห้องเสวย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีห้องพระเจ้า อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกสร้างโรงพิธีสำหรับหล่อพระพุทธรูปนี้ ณ ด้านข้างพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พร้อมกันนี้ทรงยกพระเศวตฉัตรกั้นเหนือพระพุทธรูป และใช้ห้องพระเจ้าเป็นห้องพระประจำพระราชวังสนามจันทร์ ภายในห้องพระเจ้ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตกร (จันทร์ จิตรกร) อนึ่ง จุดอันเป็นที่ตั้งของห้องพระเจ้านี้มีความสำคัญและน่าสนใจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงประกาศให้เป็นจุด UNSEEN ของจังหวัดนครปฐม เนื่องจาก ณ ห้องพระเจ้าสามารถมองเห็นองค์พระปฐมเจดีย์และเทวาลัยคเณศร์ อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระที่นั่งพิมานปฐมเป็นที่ประทับที่เสด็จออกขุนนางและที่รับรองแขกเมืองมากกว่าพระที่นั่งและพระตำหนักองค์อื่นๆ ปัจจุบันภายในพระที่นั่งพระพิมานปฐมได้จัดแสดงนิทรรศกาลถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี โดยจัดเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

1.ห้องปฐมบทแห่งยุทธศาสตร์ 2.ห้องพระมหาธีรราชเจ้า 3.ห้องเรื่งราวในพระราชหฤทัย 4.ห้องรัชสมัยแห่งการพัฒนา 5.ห้องปฐมราชศรัทธา


The Bimarn Pathom Throne Hall was the first throne hall constructed at Sanam Chandra Palace in 1907 when H.M. King Rama VI was H.R.H. the Crown Prince.

The throne hall is a western style building with two stories. The original wooden walls were replaced with concrete ones in 1913. This throne hall is exquisitely decorated, especially in the eaves, ventilators, awnings, and balustrades, with fretwork in gingerbread desigh. Inside this throne hall, there are many rooms,with the original signs still in existence, including the Buddha Room, the Bedchamber, the Lavatory, the Library,the Closet,and the Dining Room,Moreover, in the Worship Room, there is a Buddha statue in the pose of Giving the First Sermon, which H.M. King Rama VI graciously commanded a casting place built at the side of the Samuggi Mukhamataya Throne Hall. H.M. King Rama VI performed a ceremony, placing a white tiered umbrella above the Buddha statue and used the Worship Room as the Buddha room for Sanam Chandra Palace. Inside this room, there are mural paintings painted by Phraya Anusasana Chitrakara (Chandra Chitrakara). The location of this room is so unique and interesting that the Tourism Authority of Thiland (TAT) declared it as an UNSEEN area of Nakhon Pathom Province, because from this room, Phra Pathom Chedi and the Ganasha Shrine can be seen in perfect alignment.

It was in this throne hall that H.M. King Rama VI resided, held meetings with noblemen, and received guests more frequently than in any other residence. Currently, in honor of H.M. King Rama VI and H.R.H. Princess Bejararatana Rajasuda Srisobhabannavadi, this throne hall holds an exhibition which is divided into the following exhibition rooms

- The Origin of Strategy - The Philosopher King

- His Life Work - The Era of Development

- The First Faith

แดดร้อนก็หลบเข้าต้นไม้



เรือนสำคัญในพระราชวังสนามจันทร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนไม้สักขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ เพื่อใช้เป็นเรือนพักของข้าราชบริพารและเป็นอาคารใช้สอยในบทบาทหน้าที่ต่างๆ เรือนดังกล่าวเป็นเรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูง รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นการประยุกต์สถาปัตยกรรมเรือนไทยเดิมกับสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้าด้วยกัน โดยปลูกรายเรียงอยู่โดยรอบตามแนวคูน้ำของพระราชวังสนามจันทร์ และบริเวณพื้นที่อื่นๆ ในบริเวณพระราชวัง เช่น

Major House on Sanam Chandra Palace

H.M. King Rama VI had a number of teak wood houses constructed at Sanam Chandra Palace to be the living quarters for officials and the facilities for different functions. These houses are one story construction with a high open basement. They are traditional Thai style mixed with a western style, and are scattered around the pond at Sanam Chandra Palace and other areas of the palace. These houses are :

เรื่อนพระนนทิการ

เรื่อนพระนนทิการ เป็นเรือนไม้สักหลังใหญ่ ที่มีความงดงาม ลักษณะเป็นเรือนชั้นเดียว ใต้ถุนสูง ตัวเรือนทาสีเหลืองตัดกรอบด้วยสีน้ำตาล ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางด้านตะวันออก เรือนดังกล่าวเคยเป็นที่พักของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง

Phra Nondikara House

The Phra Nondikara House is a magnificent large teak wood house. It is a one story building with a high open basement. The house is yellow with a brown trim and is located at the outer part of the palace in the east. This house was once occupied by Chao Phraya Dharmadhi Karana Dhipati (M.R. Pum Malakul), the Minister of Royal Affairs.


เรือนพระธเนศวร

เรือนพระธเนศวร เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา ตัวเรือนทำด้วยไม้สัก ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายแบบเรือนขนมปังขิง และภายในบริเวณเรือนนี้มีศาลาแปดเหลี่ยมอยู่บนเนินดินซึ่งอยู่ริมคูคลองพระราชวังสนามจันทร์

เรือนพระนเรศวร เป็นเรือนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นที่พักของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ.ไกรฤกษ์) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นยกกระบัตรเสือป่า ทั้งนี้ พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) ได้พักร่วมอยู่ด้วย

Phra Dhanesavara House

The Phra Dhanesavara House is a single story house with a high open basement. The roof is Thai style and made of teak wood, ornamented with fretwork in a gingerbread design, in the compound of this house is an octagon gazebo on a mound near the pond at Sanam Chandra Palace.

The Phra Dhanesavara House is the house which H.M. King Rama VI granted to be the residence of Phraya Purusha Ratana Rajaballabha (Naba Krairiksh), the person in charge of the Wild Tiger Scout Corps, and Phraya Uttama Rajabhakti (Tho Sucharitakul)




เรือนพระคฤหบดี

เรือนพระคฤหบดี ตั้งอยู่บนเกาะในคูคลองพระราชวังสนามจันทร์ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวเรือนเป็นเรือนไม้สักชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายแบบเรือนขนมปังขิง

Phra Garihapati House

The Phra Garihapati House is situated on the island in the pond at Sanam Chandra Palace in the northeast direction. The house is a single story buiding with a high open bassment. The roof is Thai style , ornamented with fretwork in a gingerbread design.


ไปเที่ยวพระราชวังฯ รู้เลยว่าเขาให้ถ่ายรูปแค่ข้างนอก แต่ที่ไหนได้ เข้าได้ตั้งหลายที่ เพียงแต่ห้ามถ่ายรูปด้านใน คิดว่ามาก็คงไม่ได้คุยกับใคร เราเดินมาถึงเรือนพระคฤหบดี เดินถ่ายรูปส่องเรือนอยู่นาน และกำลังจะเดินกลับ จนท.ตะโกนเรียกมาแต่ไกลมาก ขึ้นมาดูได้นะคะ ขึ้นมาเลย เรียกหลายครั้ง พยายามหาที่มาของเสียง นู่นบนเรือนนู่น พอขึ้นไปปุ๊บ สิ่งที่คุณพี่พรีเซนต์หนักและคุยจ้อเลยคือการเก็บลูกจันมา บอกกินได้นะ คนกินข้างในนี้แต่กระรอกกินแค่ตรงกลางแบบนี้ แววตาของพี่เขาเป็นประกาย เหมือนเขามีความสุขมากที่ได้ไปเก็บ เขาบอกเขาชอบเก็บมาดม คนอื่นไม่เก็บ ปล่อยให้ร่วง แต่พี่เขาต้องไปรอเวลาเก็บ รู้ด้วยว่าต้องเก็บเวลาไหน เก็บก่อนกระรอกมากิน บางทีกระรอกก็ไต่ขึ้นเรือนมาหา เขาก็ยื่นให้กิน ในวังมีหลายเรือน แต่ละที่มี จนท.ประจำแค่ 1-5 คน น้อยสุดก็ 1 คน ซึ่งเราก็เห็นเขาอยู่คนเดียว คิดว่าคงมีเหงาบ้างแหละ ถ้าไม่มีใครเดินผ่านมาเลย

แล้วดันจี้จุดคุยถูกคนด้วยนะ เราเป็นชะนีที่เขาให้ลองกินอะไรก็กินอีก ชอบอะไรที่เป็นกลิ่นไทยๆหอมๆด้วย เพราะเราไม่ใช้น้ำหอมสารเคมี ไม่ค่อยชอบ มันเวียนหัว แต่ถ้าเจออะไรกลิ่นไทยๆจะชอบดม แถมอีกคือเป็นติ่งกระรอก เคยเลี้ยงกระรอก คุยไปแอบกรี๊ดไปเวลาคนชอบกระรอกมาคุยกัน พี่เขาถึงขั้นเลี้ยงจริงจังด้วย นี่เม้าท์มอยมากจนลืมไปเลยว่าเรามาดูวัง แต่ดันมาคุยเรื่องลูกจันแทน แถมหิ้วลูกจันใส่ถุงกลับกรุงเทพไปให้ที่ทำงานอีก

นี่ครั้งแรกเลยที่ได้เห็น ได้จับ และกินลูกจัน หอมดี ชอบๆ อ่อ....อ่านเจอป้ายติดต้นจัน เขาออกลูกแค่ มิ.ย. ถึง ก.ย. เผื่อใครอยากไป เดี๋ยวเขาชี้พิกัดให้ว่าต้นไหน ไม่ได้ไปตามเขาหรอก แต่ไปเจออีกต้นหนึ่งตอนชมเรือนต่างๆ

พลังบวกมักจะหาได้ง่ายๆจากคนรอบตัวนะ

เหมือนการมีความสุขกับเรื่องเล็กๆน้อยๆในแต่ละวัน แค่นี้เราก็ได้ต่อพลังบวกให้ตัวเองและอีกคนไปเรื่อยๆแล้ว อยากให้ทุกคนอยู่กับคนที่มีพลังบวกเยอะๆ มันส่งผลดีต่อจิตใจจริงๆนะ

อากาศร้อน แต่พออยู่ใต้ร่มไม้ก็ร่มรื่นดี

พระตำหนักทับแก้ว

พระตำหนักทับแก้ว เป็นตึกสองชั้นขนาดเล็กกะทัดรัด ทาสีเขีสยวอ่อน ภายในมีเตาผิง หลังคามีป่องไฟตามลักษณะของชาวตะวันตก ห้องกลางชั้นบนมีพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเขียนด้วยดินสอดำบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐานอยู่เหนือเตาผิง ทั้งนี้ไม่ปรากฎหลักฐานว่า พระบรมสาทิสลักษณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของผู้ใด

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักทับแก้วได้ใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการเสือป่า กองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ นอกจากนี้ ยังเคยเป็นที่ประทับในการพระราชทานเหรียญตรา และพระราชทานสัญญาบัตร บรรดาศักดิ์แก่ข้าราชการ ทั้งยังเป็นที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ และเสวยพระสุธารสเป็นครั้งคราวด้วย

The Thap Kaew Residence is a compact two story building painted in light green. This building has a fireplace with a chimney protruding through the roof like that of a house in the west. In the middle room of the second floor hangs a Royal portrait of H.M. King Chulalongkorn,Rama V, drawn in charcoal pencil on a white marble plate. The identity the person who drew the plortrait is not known.

In the reign of H.M. King Rama VI, during the Wild Tiger Scout combat exerises, the Thap Kaew Residence was used as the Command Headquarters of the Wild Tiger Scouts and the Light Infantry Royal Aides-de-Camp. It was also used as a site to award medals and to confer the commissioning of government officials, as well as occasionally a place for relaxation and tea-drunking.


พระตำหนักทับขวัญ

พระตำหนักทับขวัญ เป็นพระตำหนักแบบหมู่เรือนไทยเดิมที่สมบูรณ์แบบ นายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคือ พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) พระตำหนักทับขวัญประกอบด้วยเรือนไทย 8 หลัง เรือนทุกหลังมีชานเรือนเชื่อมกันโดยตลอด บริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันไว้ให้ร่มเงา

พระตำหนักทับขวัญเป็นเรือนไม้กระดาน ฝาเรือนทำเป็นฝาปะกนกรอบลูกฟัก ฝีมือประณีต แต่เดิมหลังคามุงด้วยจาก หลบหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เชิงชายและไม้ค้ำยันสลักเสลาสวยงาม ตัวเรือนทุกหลังรวมทั้งพื้นนอกชานทำด้วยไม้สัก ใช้วิธีเข้าไม้ตามแบบของการช่างไทยโบราณ ลักษณะของเรือนไทยดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทเรือนคหบดีซึ่งมีส่วนประกอบครบและมีสัดส่วนงดงาม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะเรือนไทยแบบโบราณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2458 และพระองค์ได้ประทับแรมเป็นเวลา 1 คืน ทั้งนี้ เมื่อมีการซ้อมรบเสือป่าพระตำหนักองค์นี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบหนักรักษาพระองค์

Thap Khwan Residence

The Thap Khwan Residence is a Thai style house, designed and built by Phraya Visukarma Silprasidh (Noi Silpi). It is a complex of 8 wooden living quarters, sharing a common central platform with a big Siamese In-chan tree in the middie of the platform

The Thap Khwan Residence is a wooden construction. The paneled walls are neatly decorated in the Thai classical style. Originally, the building had thhatched roofs that were capped with baked-clay tiles. Later, the roofs were changed entirely to baked-clay tiles. The eaves and roof props are exquisitely fretted. All of the 8 quarters including the central platform are built of teakwood, with the planks sliced together in an ancient Thai style. The style of this building is typical for the house of the wealthy. featuring all the essential components of a house and in magnificent balance.

H.M. King Rama VI commanded the construction of this residence as a means to preserve a classical Thai style house. The house-warming ceremony for this buiding was organized on January 25, 1915 and H.M. King Rama VI spent the night at this residence. The building was also used as the Command Headquarter of the Heavy Infantry Royal Aides-de-Camp when a Wild Tiger Scout combat exercise took place.

มุมสงบกับมุมเหงาๆ เป็นแค่เส้นบางๆจริงๆ


พระที่นั่งอีก 1 ที่ ที่ยิ่งใหญ่ และสวยงาม วิจิตรตระการตาสำหรับเราเหลืองเกิน ที่ชอบอีกที่คงเป็นความประณีตและความละเมียดละไมในความเป็นไทยนี่แหละ

พระที่นั่งวัชรีรมยา

พระที่นั่งวัชรีรมยา เป็นพระที่นั่งแฝดติดกับพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2460 ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย หลังคาลด 2 ชั้น มุงด้วยกระบื้องเคลื่อบสี ประดับตกแต่งด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และนาคสะดุ้ง ซ่งทำด้วยไม้ประดับกระจกอย่างวิจิตรงดงาม บันไดทางขึ้นพระที่นั่งหน้าบันไดทางทิศใต้และทิศตะวันตกจำหลักวดลายมีลักษณะคล้ายกลักประจุพระราชสาส์นที่วางอยู่ในแนวนอน ปลายทั้งสองข้างแกะเป็นรูปดอกบัวตูมและมีสายสะพายผูกโยงปลายทั้งสองข้างเป็นแนวโค้ง มีวงรัศมีซึ่งประดิษฐ์เป็นลวดลายกระหนกแผ่ออกไปโดยรอบ มีกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ล้อมรอบ หน้าบันด้านทิศตะวันออกจำหลักเป็นรูปช้างเอราวัณ 3 เศียร บนหลังช้างมีสัปคับซึ่งมีเครื่องหมายวชิราวุธประดิษฐานอยู่ ล้อมรอบด้วยลวดลายกระหนกลงรักปิดทอง พื้นประดับกระจกสีน้ำเงินและมีลายกระหนกก้านคดประดับสองข้าง ส่วนล่างของหน้าบันด้านทิศใต้ระหว่างเสาหน้ามุขทำเป็นสาหร่ายรวงผึ้งอย่างวิจิตรงดงาม เพดานชั้นบนของพระที่นั่งวัชรีรมยา ทาสีแดงชาด (สีแดงเข้ม) ประดับดอกดวงที่ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ส่วนเพดานชั้นล่างทาสีแดงชาดและปิดทองฉลุเป็นดาวประดับ เสาของพระที่นั่งเป็นลวดลายบัวหงายประดับอยู่ที่หัวเสา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระที่นั่งวัชรีรมยาเป็นที่ทรงพระอักษรและเป็นที่ประทับเป็นครั้งคราว ปัจจุบันได้จัดห้องพระบรรทมและห้องทรงพระอักษรให้มีบรรยากาศคล้ายคลึงกับในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


Vajariramaya Thron Hall

The Vajariramaya Throne Hall is a building attached to the Bimarn Pathom Throne Hall. It was constructed under the command of H.M. King Rama VI in 1917. The throne hall is Thai style with a double-tiered roof decorated with glazed color tiles. Magnificently, the throne hall is decorated with a Thai gable apex, the hangings of tooth-like ridges on the sloping edges of the gable, and a Naga in a concave posture. Two staircases leading to the throne hall are in the east and the west. In the south, a long portico connects the upper floor of the building with the Bimarn Pathom Throne Hall. The gables of the south and the west are exquisitely decorated, depicting a traditional letter box placed in a horizontal position. The two ends of the box are corved as lotus buds, with a shoulder strap of a curved line connecting the ends. Circular rays of light spreading from the center are surrounded by funnel-like float filles. The gable in the east is carved into a three headed elephant. On the elephant's back is a howdah with the insignia Vajiravudh engraved and lacquered. the floor is decorated with a Thai pattern of blue glass on both sides. The area beneatg the pediment is beautifully decorated with a Thai style carving. The ceilling of the top floor is dark red, decorated with carved and lacquered wooden flowers. The ceiling of the lower floor is also dark red and decoredted with stars. The pillars of the throne hall are lacquered and decorated with a lotus in bloom pattern at the top.

H.M. King Ran a VI used this throne hall as a writing room and occasionally as a residence. Currently, the chamber bedroom and the writing room are arranged in the style conforming to that during H.M.King Rama VI's reign



พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์

พระที่นั่งสามีคคีมุขมาตย์ เป็นท้องพระโรง มีลักษณะเป็นพระที่นั่งทรงไทยแบบศาลาโถงใหญ่ชั้นเดียวเชื่อมต่อกับพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยมีหลังคาเชื่อมติดกัน หลังคาทรงจั่วมีปีกนกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ เครื่องประดับตกแต่งหลังคาเป็นเครื่องไม้ประดับกระจก หน้าบันอยู่ทางทิศเหนือจำหลักเป็นรูปท้าวอมรินทราธิราชประทานพร ประทับอยู่ในพิมานประสาทสามยอด พระหัตถ์ขวาทรงวชิระ พระหัตถ์ซ้ายประทานพร แวดล้อมด้วยบริวารประกอบด้วยเทวดาและมนุษย์ห้าหมู่ ภายในพระที่นั่งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระมหาเศวตฉัตรมาประดิษฐานไว้ด้วย ภายในพระที่นั่งมีเสานางจรัล ลักษณะเป็นทรงแปดเหลี่ยมทำเป็นลายกลีบบัวจงกลโดยรอบตลอดทั้งต้น เพดานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับเพดานพระที่นั่งวัชรีรมยาชั้นล่าง คือทาสีแดงชาด ปิดทองฉลุเป็นลายดาวประดับ

พระที่นั่งองค์นี้ทรงใช้สำหรับเป็นที่ประชุมเสือป่า ประกอบพิธีกรรม ซ้อมและเล่นโขนละคร และใช้ในโอกาสสำคัญอื่นๆ ทั้งนี้ ชาวบ้านมักเรียกพระที่นั่งนี้ว่า "โรงโขน"

Samuggi Mukhamataya Throne Hail

The Samuggi Mukhamataya Throne Hall is a one story open hall in Thai architectural style, sharing the same roof as the Vajariramaya Throne Hall. The roof of the hall is ornamented with glazed colored tiles. The north gable is adorned in the desigh of the blessing god indra under a three-spired castle. In the right hand is his weapon, a thunderbolt. The left hand is in the pose of Blessing. Around the god are angels and five kinds of humans. H.M. King Rama VI graciously had a tiered umbrella installed in this throne hall. In this throne hall. there are octagonal pillars with a lotus pattern. The ceiling is similar to that of the first floor in the Vajariramaya Throne Hall. That is, it is dark red and lacquered in a star pattern.

This throne hall once served as a meeting place for the Wild Tiger Scout Corps, a site to perform rituals, a stage to practice mask dances and plays, and other functions. Therefore, this throne hall is also known by the locals as "Khon House" or "the mask dance house"


**************ยังเขียนไม่เสร็จ เดี๋ยวมาเขียนต่อนะคะ ขอเรียบเรียงรูปก่อน*****



พระราชวังสนามจันทร์บอกเล่าเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ละเอียดและเยอะมากๆ จากที่เคยไปที่วังพญาไท มาเจอที่นี่คือยิ่งใหญ่และมีเรื่องราวมากมาย วังสวยมากจริงๆ กว้างขวาง ร่มรื่น ชอบมาก เดี๋ยวหาเวลามาอีก



อาจจะมีเด็กๆมาทัศนศึกษา เสียงดังหน่อย ก็เดินมุมอื่นได้ เพราะกว้างมาก

ค่าเข้าชมไม่แพงเลย ถูกจนน่าตกใจ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ แถมได้เดินออกกำลังกาย ถึงแม้จะร้อนไปหน่อย แต่นั่นแหละ เบิร์นไขมันได้สุดๆแล้ว เดินเยอะๆ ออกกำลังกายไปด้วย แนะนำให้นำหมวกและร่มติดไปด้วยนะคะ

ชาวต่างชาติ 50 บาท

คนไทย 30 บาท

นักเรียน ,นักศึกษา,พระภิกษุ,สามเณร ,แม่ชี 10 บาท

เวลาเปิด 09.00 น.

เวลาปิด 16.00 น.

มีรอบเวลานำชมพระที่นั่งด้วยนะคะ จะมี จนท.อธิบายประวัติความเป็นมาให้ด้วย แต่บางคนพูดเร็วหรือรีบไปหน่อย อาจเป็นเพราะพูดทุกวัน พูดจนคล่อง พูดจนชิน

ถ้าอยากให้มี จนท.นำชมหลายจุดต้องไปเป็นหมู่คณะและทำเรื่องจองมาก่อนนะ ถ้าไปคนเดียวหรือกลุ่มน้อย ก็เน้นเดินเที่ยวเองได้ค่ะ มีรายละเอียดให้อ่าน เหมือนเราเข้าชมพิพิธภัณฑ์ปกติ แต่ถ้ามี จนท.อธิบายให้ด้วย ก็จะมีการซักถามกันได้ ก็ดีไปอีกแบบ แต่ถ้าอินดี้ เดินดู ถ่ายรูปเงียบๆคนเดียวได้ค่ะ

ขากลับก็เดินออกจากซอยมานิดเดียว เหมือนไกลนะแต่เดินได้ เดินชม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ และร้านค้าใกล้มหาวิทยาลัยไปในตัว สังเกตว่าร้านไหนน่านั่ง ร้านไหนมีหนุ่มๆศิลปากรเข้าเยอะ ว้าย ม่ายช่าย นั่นความรู้สึกส่วนตัวไปนิด ออกมาปากซอยมีวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพียบค่ะ


นั่งวินฯกลับสถานีรถไฟเหมือนเดิม 40 บาท เหมือนแพงนะ แต่ไกลเลยแหละ มันไม่ได้นั่งไปปากซอยแป๊บเดียวแล้วสี่สิบบาทเหมือนกรุงเทพ นี่นั่งหลายกิโลเมตรเลย 40 บาท เรียกเมล์เครื่องโลด(เรียกตามคนนครปฐม แหะๆ)

อ่อ....คนที่นี่เรียกมอเตอร์ไซค์วินว่าเมล์เครื่องอ่ะ แรกๆเราก็งงหน่อยๆ เด๋อๆ แต่เขาอธิบายก็เข้าใจ เรียกเหมือนที่ราชบุรีเลย ที่ราชบุรีตอนไปโพธารามเขาก็เรียกกันแบบนี้

ระหว่างรอรถไฟก็เดินหาของกินแถวสถานีรถไฟได้ แต่ถ้าจะเดินตลาดโต้รุ่งกลางคืนในองค์พระจริงๆก็กลับรถไฟไม่ทันแน่อน คือเงินไม่ค่อยมีด้วยสรุป ฮ่าๆๆ รีบกลับละงั้น ถ้าไม่รีบกลับ อยากเดินตลาดก่อน เดินได้ แล้วหารถตู้กลับกรุงเทพได้จ้า อย่าลืมเดินไปถามหาคิวรถตู้หรือรถทัวร์ก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าควรเดินเล่นได้อีกถึงกี่โมงนะ

ของกินในองค์พระเยอะมาก เรียกว่ามากี่ครั้งก็กินไม่หมดเลย ต้องมาซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าจะกินครบทุกร้าน หลายคนคงชอบไอศกรีมลอยฟ้า ใครไม่เคยมากินก็มากินเนาะ มากี่รอบก็ยังกินไม่ครบทุกร้าน เดี๋ยววันหลังจะมารอถึงค่ำมั่ง ตะลุยกินกันจนพุงแตก


เดี๋ยวนะ! นั่งรถไฟฟรีไป-กลับ นั่งวินไป-กลับ พระราชวังสนามจันทร์ 80 บาท ค่ากินอีกนิดๆหน่อยๆ เป็น 1 วันที่ใช้เงินไปน้อยมากจริงๆแกเอ๊ย แต่.....ถ้าสายกินนี่มีหมื่นหมดหมื่นอะค่ะ จริงๆ


Boe_Stories

 วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.17 น.

ความคิดเห็น