ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Google Map
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Google Map
ในการออกเดินทางครั้งนี้ ตั้งต้นกันที่ สถานีรถไฟอุทุมพรพิสัย ตัวอาคารสถานีตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ หาง่าย ใจกลางตลาด ออ ใกล้ๆ สถานีมีร้านก๋วยเตี๋ยวแบบดั้งเดิมทั้งรสชาติและตัวสถาปัตยกรรมของอาคาร สังเกตง่ายๆ ประตูบานเฟี้ยมไม้ ฝั่งซ้ายมือ ควรลอง!!! กินของคาวแล้วเช้าๆ แบบนี้อยากได้เครื่องดื่มเย็นๆ กระตุ้นประสาทสักแก้ว มุ่งไปเลยตามแผนที่ Cafe De Beau ร้านกาแฟสีฟ้าๆ หาง่ายใกล้สีแยก ตรงข้ามศูนย์ True
Cafe De Beau
บรรยากาศการตกแต่งข้างในร้านใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก จึงทำให้รู้สึกสบายๆและอบอุ่นในเวลาเดียวกัน
ระหว่างรอโกโก้ปั่น ก็หาน้ำจิบไปพลางๆ
มุมริมกระจกก็จัดวางได้น่ารักพอดิบพอดี มีของจิ๋วโชว์ดูใส่ใจรายละเอียดดี
เกร๋ไปอีก
รอไม่นาน เจ้าของร้านก็เอาไปเสริฟที่โต๊ะ ไป ไป ลองกัน
รสชาดพอดีอ่ะ ไม่หวานเกิน แต่ก็ยังมีความเข้มข้นของโกโก้ ผ่าน!!!
สั่งขนมปังปิ้งเนยนมอีกนิดนึง อิ่มท้องละ พละกำลังมา ไปเถอะ ก่อนจะกินอะไรเข้าไปอีก
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Google Map
ตามพี่ Google Map ไปไม่หลงแน่นอน 2 กิโลพอดิบพอดี ถึงแล้ว ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือ ปราสาทศรีพฤทเธศวร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ ถนนประดิษฐ์ประชาราษฎร์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สังเกตง่ายๆ ถ้าเห็นพิพิธภัณฑ์ละ ใช่เลย!!!
พิพิธภัณฑ์สระกำแพงใหญ่
วัดสระกำแพงใหญ่
ผ่านพ้นประตูวัดเข้าไป ฝั่งซ้ายมือก็จะมีลานจัดแสดงงานปูนปั้นที่สะท้อนเรื่องกฎแห่งกรรม ในส่วนของปราสาทจะอยู่ขวามือ สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
ลานจัดแสดงงานปูนปั้นที่สะท้อนเรื่องกฎแห่งกรรม
มีที่จอดรถพร้อมห้องสุขไว้บริการข้างๆ ตัวปราสาท
ต้นไม้สูงใหญ่ ร่มรื่น
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับปราสาทอีกหลายแห่งในจังหวัดขุขันธ์ สภาพทั่วไปของปราสาทสระกำแพงใหญ่ประกอบด้วยระเบียงคดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 49 เมตร ยาว 67 เมตร ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัย รวมทั้งหมด 6 หลัง จากภาพถ่ายทางอากาศ ชี้ให้เห็นว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่น่าจะมีชุมชนรายรอบอย่างหนาแน่น ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ห่างออกไปประมาณ 400 เมตร มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า "สระกำแพง" สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นเมื่อครั้งสร้างปราสาท ส่วนทางทิศตะวันออกมีลำห้วยเล็กๆไหลผ่าน คือ ห้วยตาเหมา ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาที่แยกออกมาจากห้วยสำราญ
บริเวณโดยรอบค่อนขว้างกว้างใหญ่และมีความสวยงามตามแบบฉบับปราสาทหิน
องค์ประกอบของปราสาทประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
1. บาราย บารายคือสระน้ำ นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนสถานประเภทปราสาทหิน เนื่องจากจะต้องใช้นำในการประกอบศาสนพิธี ปกติบารายจะอยู่รอบ หรือทางทิศตะวันออกของศาสนสถาน บารายที่อยู่รอบศาสนสถานนั้นเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรทั้ง 4 ด้านตะวันออกเป็นด้านที่ศาสนิกชนเข้าเฝ้าเทพเจ้า ซึ่งมักจะต้องตักน้ำเพื่อไปสรงศิวลึงค์หรือชำระพระบาทเทพเจ้า บารายที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่นี้อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันไม่เหลือสภาพแล้ว
2. ระเบียงคต ระเบียงคตเป็นกำแพงของศาสนสถานที่ล้อมรอบอาคารศาสนสถานไว้ภายใน ระเบียงคตนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 49 เมตร ยาว 67 เมตร ระเบียงคตมีซุ้มประตูโคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ฐานและผนังก่อด้วยศิลาแลงกรอบประตูหน้าต่างทำด้วยหินทรายภายในมีช่องทางเดินกว้าง 3 เมตร สภาพส่วนใหญ่คงเหลือแต่ฐานและผนังบางส่วนเท่นั้น ส่วนที่เป็นหลังคาพังทลายเสื่มสภาพไปแล้ว
3. บรรณาลัยหรือวิหาร ภายในระเบียงคตเมื่อผ่านซุ้มโคปุระด้านทิศตะวันออกเข้าไปจะพบอาคาร 2 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองก่อด้วยอิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขยื้นออกมาด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลังก่อเป็นอิฐทึบแต่แซะร่องให้มีลักษณะเป็นประตูปลอมเลียนแบบประตูจริง อาคาร 2 หลังนี้เรียกว่าวิหารหรือบรรณาลัย เปรียบได้กับหอตรัยของพุทธศาสนา คือใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่ารูปเคารพ
4.ปรางค์ ปรางค์หรือปราสาท เป็นศูนย์กลางของศาสนสถาน เป็นที่ประดิษฐานของรูปเคารพ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ประกอบด้วยปรางค์ 4 หลัง คือ ปรางค์หลังทิศเหนือ ทิศใต้ โดยมีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง ปรางค์ทั้ง 3 หลังนี้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
โดยทั่วไปจะมีทับหลังตั้งอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังนี้เป็นภาพจำหลักเล่าเรื่องต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคติความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา ภาพจำหลักทับหลังปราสาทหินสระกำแพงใหญ่เป็นศิลปะเขมรแบบคลังต่อบาปวน ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ทับหลังที่พบที่ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่มี่มากถึง 13 แผ่นอยู่ภายในบริเวณปราสาทสระกำแพงใหญ่ ทับหลังที่น่าสนใจได้แก่
- ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
- ทับหลังพระกฤษณะประลองกำลังกับม้า
- ทับหลังพระศิวะทรงโคนนทิ
- ทับหลังคชลักษมี
- ทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
- ทับหลังหนุมานถวายแหวน
ภาพจำหลักทับหลัง
มีพญานาคปกปักษ์รักษาตามความเชื่อ
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Google Map
ไป ไปกันต่อ นั่งรถอีกประมาณ 20 นาที ก็จะเจอป้ายทางเข้าปราสาทบ้านปราสาท เลี้ยวขวาเลยจร้า
ป้ายทางเข้าปราสาทบ้านปราสาท
ปราสาทห้วยทับทัน (ปราสาทบ้านปราสาท หรือ ปราสาทบ้านโนนธาตุ) ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท หมู่ที่ 12 ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
วัดปราสาทพนาราม
ปราสาทห้วยทับทัน สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงครองราชย์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ใช้เป็นที่ประดิษฐาน เทพเจ้าตีมูรติ เป็นปราสาทขอมโบราณแห่งหนี่งที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลัง เช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะส่วนหลังคา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีขนาดสูงกว่า ประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตู ก่อด้วยศิลาแลง โดยมีการสันนิษฐานว่ามี 3 หรือ 4 ประตู แต่ในปัจจุบันคงเหลือให้เห็นเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น
สร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยแบบปาปวน ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างบูรณะมาแล้ว 3 ยุค สังเกตได้จากอิฐที่เรียงก้อนกัน
ปรางค์องค์กลาง ขนาดใหญ่กว่าปรางค์ที่ขนาบข้างทั้ง 2 องค์ เล็กน้อย แต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้า ทางทิศตะวันออกมีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่ เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล ส่วนท่อนพวงมาลัย มีลายมาแบ่งที่ภาพบุคคลยืนในคุ้มเรือนแก้ว ซึ่งไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นผู้ใด ด้วยลายสลักยังไม่แล้วเสร็จ
ปรางค์ขนาบข้างสององค์ ได้รับการดัดแปลงรูปแบบไป โดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตู ซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทรายและชิ้นส่วนทับหลัง สลักภาพการกวนเกษียรสมุทร ตกอยู่หน้าประตูปรางค์องค์ที่อยู่ด้านทิศใต้
ด้านหลังของตัวปราสาท
เอ้าาา ตั้งใจ
จากความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนที่ว่าบุคคลใดที่มีความเดือดร้อนมาบนบาน ก็จะได้สมดังปรารถนา จึงมีผู้แวะเวียนมากราบไหว้กันอย่างต่อเนื่อง ^^ ทำบุญวนไป
ใกล้ๆ กับตัวปราสาทมีการขุดค้นพบโครงกระดูกและข้าวของเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณ
ก่อนถึงทางไปสุขาเลยจร้า
เดินไปเดินมาได้ยินเสียงร้องจ๊อกๆ จนต้องปิดทริปไปหาไก่ย่างห้วยทับทันกินกันดีกว่า
ขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่านมาจนถึงตรงนี้ แล้วพบกันใหม่รีวิวหน้าคะ
Wherever
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 22.32 น.