นิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ
(social power exhibition against sexual assault)
Don’t tell me how to dress
นิทรรศการที่จัดแสดงเสื้อผ้าของเหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ (อ่านข้อความพร้อมกับดูเสื้อผ้าของเหยื่อแล้วค่อนข้างสะเทือนใจ) นี่คือปัญหาสังคมที่รอการแก้ไข จากคนในสังคมด้วยกันเอง
นิทรรศการน้อยแต่มาก.......
น้อยเพราะไม่มีอะไรต้องโชว์เยอะ ไม่ต้องมีข้อความให้อ่านมากมาย แต่สิ่งที่มากคือเมื่อได้ดูแล้ว มากมายด้วยคำถามที่อยู่ในใจ ว่าทำไมสังคมเราต้องเป็นแบบนี้
และต้องเจออะไรแบบนี้อยู่ซ้ำๆ เกี่ยวกับปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ
เหมือนเห็นแชร์มากันอยู่พักหนึ่งของต่างประเทศ นี่ก็เพิ่งรู้ว่าที่ไทยก็มีด้วย
นิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ ได้ดูแล้วอยากจะให้ปรับเปลี่ยนความคิดคุณใหม่ มายาคติที่สังคมมองว่า ก็เพราะแต่งตัวแบบนี้ไงถึงได้ถูกข่มขืน มันควรจะหายไปจากสังคมไทยได้แล้ว อยากให้มาดูจริงๆ ค่ะ
นิทรรศการเนื้อหาไม่มาก อ่านสั้นๆ แต่ได้ใจความ แถมยังถูกตั้งคำถามเจ็บจี๊ดจากสังคมว่า ความจริงแล้ว เสื้อผ้าและการแต่งตัว ไม่ได้เป็นต้นเหตุของการถูกข่มขืนเลย การไม่มีสติ การไม่เคารพซึ่งกันและกันต่างหากคือปัญหา
ซึ่งผู้ชายหลายคนอาจจะแย้งว่า ก็มันเป็นธรรมชาติของผู้ชาย เห็นสิ่งล่อแหลมก็เกิดอารมณ์ทางเพศ เปล่าเลย ความจริงเสื้อผ้าไม่เกี่ยวหรอก แต่เพราะสติและการยับยั้งชั่งใจของมนุษย์ต่างหาก ที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
อยากให้ปรับเปลี่ยนความคิดกันใหม่ว่า เขาไม่ใช่แค่ผู้ชาย ผู้หญิง หรือบุคคลข้ามเพศ แต่เขาคือมนุษย์คนหนึ่ง ที่อยากใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปกติ ชอบแต่งตัวยังไง เป็นคนแบบไหน ไม่ควรมีใครถูกตัดสินว่าเพราะแต่งตัวโป๊จึงถูกข่มขืน การแต่งตัวก็เป็นความชอบส่วนตัวของบุคคลเช่นกัน
เสื้อผ้าที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการคือเสื้อผ้าของเหยื่อที่ใส่ในวันที่เกิดเหตุ ถูกคุกคามทางเพศ (ข่มขืน) ในวันนั้น เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และได้รับการอนุญาตให้นำมาจัดแสดง โดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล , UN Women ,คุณซินดี้ สิรินยา ที่ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการขึ้นครั้งนี้
เราได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงเสื้อผ้าที่นำมาจัดแสดง เจ้าหน้าที่บอกว่าเหยื่อติดต่อขอความช่วยเหลือมาทางมูลนิธิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคุกคามทางเพศหรือปัญหาครอบครอบก็สามารถปรึกษาได้นะคะ แล้วทาง จนท.ถึงติดต่อขอนำเสื้อผ้ามาจัดแสดงได้ และนี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นของคนที่ติดต่อมาปรึกษา
นิทรรศการนี้ เราจะได้ดูวิดีโอที่เป็นทัศนคติดีๆ จากดาราและศิลปินหลายๆ ท่านที่มีต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยนะคะ เช่น โอปอล์ ปาณิสรา , กันต์ กันตถาวร , ปอย ตรีชฎา , ลูกเกด เมทินี , ใหม่ ดาวิกา , ออกแบบ ชุติมณฑน์ ฯลฯ
ลองมาดูเสื้อผ้าของเหยื่อแต่ละตัวกันบ้างว่า เกิดจากคดี หรือปัญหาสังคมในเรื่องใดบ้าง
มาดูกันที่ชุดแรก
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั่
ชุดกางเกงขาสั้นลายการ์ตูน ประมาณเข่า และเสื้อยืดสีเลือดหมู ฉันถูกข่มขืนโดยลูกชายแท้ๆ ฉันพยายามร้องขอความช่วยเหล
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อสีแดง กางเกงสีฟ้า ฉันอายุ 14 ปี ฉันถูกพ่อแท้ๆ ล่วงละเมิดทางเพศ ฉันรู้สึกกลัวและไม่กล้าบอก
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อลาย กางเกงขาสามส่วน ฉันเป็นแม่บ้านรับจ้างทำควา
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อสีดำ กางเกงยีนส์ขาสั้น เพื่อนชายได้ชวนฉันไปที่พัก
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
ชุดผู้ป่วย ผมเข้าไปรับการรักษาที่โรงพ
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อแขนยาว กางเกงยีนส์ขายาว ฉันใส่เพื่อไปสมัครงาน ฉันพยายามหางานทำเพื่อช่วยเ
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อยืดสีขาว กางเกงขาสามส่วน ฉันถูกข่มขืนจากหลานชายนายจ
ฉันไม่กล้าบอกใครจนฉันตั้งท
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อสีชมพู กระโปรงยาว ฉันถูกเพื่อนชายที่ไว้ใจและ
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
ชุดนักศึกษา กระโปรงยาวเลยเข่า ผู้กระทำเป็นรุ่นพี่ในมหาวิ
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อสีดำ กางเกงยีนส์ขาสั้น เพื่อนชายได้ชวนฉันไปที่พัก
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อยืดกางเกงกีฬา ชุดที่ฉันใส่อยู่บ้าน ฉันถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบ
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อยืดสีดำและกางเกงขาสั้
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อยืด กางเกงขาสั่นลายการ์ตูน ฉันอายุ 4 ขวบ ฉันถูกข่มขืนโดยลุงข้างบ้าน
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษ
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
เสื้อยืด กางเกงกีฬาตัวเล็ก ของเด็กวัย 2 ขวบ ถูกข่มขืนโดยชายแปลกหน้า
นี่คือชุดที่ฉันใส่ในวันนั้
ชุดแซกยาวสีดำ แขนกุด เป็นชุดที่ฉันใส่ไปพบกับผู้
สำหรับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (มญช.)
เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีบทบาทส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหญิงชายในภาคีเครือข่ายชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน และบูรณาการการทำงานร่วมกันของหญิงชายเพื่อช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอย่างยั่งยืน การทำงานของมูลนิธิให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มีมุมมองที่เข้าใจผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ประสบปัญหา โดยทำความเข้าใจในเรื่องทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเพศทางเลือก ต่างได้รัทัศนคตินี้จากครอบครัว จากระบบการศึกษา จากสื่อมวลชน ศาสนา การเมือง และวัฒนธรรม รวมทั้งปัจจัยกระตุ้นที่มาจากอบายมุข เช่น เครื่องดื่มแอลดอฮอล์ ยาเสพติด การพนัน และอคติทางเพศของสังคมที่ตีตราผู้ประสบปัญหาว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี เป็นภรรยาที่ไม่ดี เป็นแม่ที่ไม่ดี เป็นลูกไม่รักดี ส่งผลกระทบให้เกิดความรุนแรงตามมามากมาย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิของหญิงและชาย
2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายหญิงชายให้เข้ามามีส่วนร่วมสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ
3.เพื่อให้การศึกษาและสร้างสรรค์ทัศนคติด้านบวกในประเด็นสิทธิของหญิงและชาย
4.ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
วิสัยทัศน์
หญิงชายมีส่วนร่วมในการแก้ไข และป้องกันปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศ
คำขวัญ
หญิงชายร่วมสร้างความเท่าเทียม
50/6 ซอยรัชดาภิเษก 42-44 ถ.รัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2513-2889 โทรสาร 0-2513-2856
website : www.wmp.or.th e-mail : [email protected]
ปรึกษามูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
วันจันทร์ - ศุกร์ 09.00-15.00 น. เว้ยวันหยุดราชการ
0-2513-2889
นิทรรศการเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
จัดแสดงที่ พารากอน ชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2561
หลังจากนั้นจะย้ายไปจัดที่ชั้น 4
หอศิลปะวัฒนธรรมกรุงเทพ (ข้างมาบุญครอง) ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม - 15 กรกฎาคม 2561
ผู้หญิงและน้องนักศึกษาให้ความสนใจมาดูค่อนข้างเยอะ น่าแปลก ที่ผู้ชายแท้ๆ แทบไม่มาดูเลย จะบอกว่ามีเคสผู้ชายถูกล่วงละเมิดและเสื้อผ้าถูกนำมาจัดแสดงเช่นกันนะคะ
#DontTellMeHowToDress
#UNWomen
#พลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ
Boe_Stories
วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 01.20 น.