เคยไหมครับ ที่วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดยาวๆ แล้วไม่อยากไปเที่ยวไกลจาก กรุงเทพฯ จังหวัดนครปฐมก็เป็นตัวเลือก 1 ที่ เดินทางสะดวกและอยู่ไม่ไกลจาก กทม มากมาย ยังมีธรรมชาติ วัฒนธรรม ไหว้เก่า ที่น่าไปสัมพัส วันนี้ผมได้เดินทางจาก กทม ไปเที่ยว วัดไร่ขิง วัดดอนหวายและเที่ยวตลาดน้ำดอนไหว้ครับ
ทริปนี้เริ่มต้นจาก แถวเซ็นปิ่นเกล้าครับ มีสายปอ 556 ค่าโดยสายประมาณคนล่ะ 23 บาท ครับ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จอดที่หน้าวัดดอนหวายเลยครับ รถจะมาจอดที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับในรูปครับ
อีก 1 สายที่มาถึงวัดเลยคือ 84 ครับ
ตารางรถครับ
การเดินทางจาก กทม ครับ
- รถโดยสารประจำทาง สาย 84 (ยูโร 2) วัดไร่ขิง - คลองสาน (สถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่)
- รถโดยสารประจำทาง สาย 556 (ยูโร 2) วัดไร่ขิง - สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ มักกะสัน
- รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ สายเก่า กรุงเทพฯ-นครปฐม กรุงเทพฯ-ราชบุรี กรุงเทพฯ-บางลี่ กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี ลงปากทางเข้าวัดไร่ขิง แล้วต่อรถโดยสารประจำทางเข้าไปยังวัดไร่ขิง
รถตู้จากเซ็นทรัลปิ่นเกล้า สาย ปิ่นเกล้า - ไร่ขิง
แผนที่วัดโดยคร่าวๆ
เราก็นั่งหลับมาเรื่อยๆ จนถึงหน้าวัดกันเลยครับ
ประวัติความเป็นมาของวัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง สร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)" เจ้าอาวาสวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ 4 หัวเมือง แต่เดิมเป็นวัดราชตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครไชยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พื้นที่แต่ก่อนเป็นไร่ขิงของชาวจีน เมื่อวัดเกิดขึ้นจึงเรียกชื่อวัดตามกลุ่มชุมชนว่า"วัดไร่ขิง" จนกระทั่งในราวปีพุทธศักราช 2456 สมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน จึ้งได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า"วัดคงคาราม" แต่คนทั่วไปยังคงนิยมเรียกกันว่าวัดไร่ขิงแม้ปัจจุบันจะตั้งชื่อใหม่ว่า"วัดมงคลจินดาราม" คนยังเรียกวัดไร่ขิงเหมือนเดิม
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา ก่อนนำมาประดิษฐานอยู่บนฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น เบื้องหน้าผ้าทิพย์ปูทอดลงมาองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากรณ์ เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดีจึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพ สู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมาทำให้เกิดความเย็นฉ่ำและเกิดความปิติ ยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตรอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า “หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น” ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง
เมื่อมาถึง บริเวณหน้าโบสถ์ต้องไหว้พระ สวดมนต์ที่จุดนี้นะคร้บ
อย่าลืมปิดทองด้วยนะครับ
เสร็จจากไหว้พระ สวดมนต์แล้ว จุดนี้ต้องมาถ่ายรูปครับ เดี๋ยวจะหาว่ามาไม่ถึง
มีจุดให้นั่งเล่นผ่อนคลายครับ
มีบริการให้อาหารปลาครับ
หลังวัดจะเป็นแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำนครชัยศรีครับ เราเดินมาซื้อตั๋วเรือ คนล่ะ 60 บาทครับ เรือออกทุกๆ 30 นาทีครับ ใช้เวลาไปถึง วัดดอนหวาย 30 นาทีเช่นเดียวกัน
เสร็จแล้วก็มานั่งรอเรือออก พร้อมกับ หนุ่มน้อยฝรั่งหน้าหวานสองคนครับ หนีบมาเที่ยวด้วย
ชมบรรยากาศแม่น้ำท่าจีน ไปชิวล์ๆครับ คนขับเรือก็จะเล่าประวัติให้ฟังไปด้วย เพลินดีครับ
ใครอยากหลับได้เลยครับ วันนี้อากาศดีมากๆ ชมวิถีชีวิตไปเรื่อยๆ
ไม่ทันได้หลับครับ มาถึง วัดดอนหวายกันแล้วครับ
ประวัติวัดดอนหวาย
ตั้งอยู่ ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม เดิมชื่อวัดโคกหวาย จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าพื้นที่ในบริเวณนี้เป็นเนินสูง มีต้นหวายขึ้นปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ เป็นชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งปรากฏอยู่ในโฉนดที่ดินรุ่นเก่า สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกกันว่า หมู่บ้านโคกหวาย
ต่อมาชื่อนี้อาจฟังดูไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนมาเป็นวัดดอนหวาย พระพุทธรูปประธานในวิหารวัดแห่งนี้มีนามว่า "หลวงพ่อวิสาหาร" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีค่อนข้างสูง
พระพุทธรูปประธานหันหน้าสู่ทางทิศตะวันออก ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านซ้ายและขวามีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร พระอัครสาวก ประทับยืนอยู่ด้านละองค์ ต่อมาภายหลังที่วัดดอนหวายได้บูรณะและปฏิสังขรณ์อุโบสถและวิหารครั้งใหญ่ เสร็จสิ้นลง ประมาณปี พ.ศ.2507
เรือจะมาจอดตรงนี้ครับ
เราก็เดินเข้าตลาดได้เลยครับ
ประวัติตลาดน้ำดอนหวาย
เป็นตลาดที่ยังเหลือสภาพตลาดเก่าในอดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เห็น ลักษณะตัวอาคารเป็นอาคารไม้เก่า ๆ ที่อยู่ติดริมแม่น้ำท่าจีน มีพ่อค้า แม่ค้า พายเรือนำสินค้า และอาหารมาจำหน่ายในบริเวณวัดดอนหวาย มีตลาดนัดสินค้าทางการเกษตรที่วัดดอนหวาย เปิดบริการทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 07.00-18.30 น.
ของกินเยอะมากๆ
ร้านนี้ป้าทำขนมไทยให้เราดูด้วยครับ สองหนุ่ม ตื่นเต้นมากๆ
ที่นี้มีขนมไทยเยอะมากๆ
ก่อนกลับอย่าลืม ทำบุญที่วัดดอนหวายด้วยครับ
สำหรับการเดินทางกลับ กทม ผมก็นั่งเรือ โดยใช้ตั๋วที่ซื้อมาตอนแรกครับ ใช้ไปกลับได้เลยไม่ต้องซื้อใหม่ หรือใครอยากจะไปไหว้พระล่องเรือเพิ่ม จากตลาดน้ำดอนหวายก็มีบริการเรือหางยาวเหมาลำครับ หรือใครจะกลับ กทม เลย เดินไปที่ถนนใหญ่รอสาย 556 / 84 กลับ กทม ได้เลยครับ สำหรับผมขอนั่งเรืออีกสักหน่อย ชื่นชมบรรยากาศตอนเย็นๆครับ
ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ กด like share Comment ด้านล่างได้เลยครับ
กดติดตามต่อได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/GolfytheJourney/
Instagram : https://www.instagram.com/golfythejourney/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCnqCI_fF3OPdFUSLR...
Readme : https://th.readme.me/id/Golfythejourney
*************************************************************************
Golfy The Journey
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 09.10 น.