สามเสนสาม เพลส หรือบ้านเก่าของหลวงไวทเยศรางกูร (เชื้อ อิศรางกูร ณ อยุธยา)

ดังที่รู้ ๆ กันดีอยู่ว่าเกาะรัตนโกสินทร์นั้น เป็นแหล่งความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ยาวนาน ในทุกตรอกซอกซอยล้วนมีเรื่องราวเล่าขานกันทุกย่านบนเกาะนี้ สิ่งที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองที่ยังคงอยู่ยืนยันความมีศิลปะและวัฒนธรรมอันยาวนานนั้น คงไม่พ้นสถาปัตย์กรรมในยุคต่าง ๆ เพราะเกาะรัตนโกสินทร์นั้นเป็นย่านแห่ง ของเหล่าข้าราชบริพาร ขุนนาง และเจ้านายน้อยใหญ่ ดังเราจะเห็นได้จากวังต่าง ๆ ที่กระจายตัวกันอยู่รอบเกาะ ทั้งที่ยังอยู่ และที่รื้อร้างสร้างใหม่ไปแล้วอย่างน่าเสียดาย

บรรยากาศร่มรื่น

หนึ่งในบ้านหลังเก่า บ้านของข้าราชบริพารในรัชกาลที่ 6 ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ในรูปของที่พักแบบบูติค โฮเตล นั่นก็คือ สามเสนสาม เพลส ซึ่งในอดีตเคยเป็นบ้านของหมอหลวง ผู้ช่วยถวายพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั่นก็คือ หลวงไวทเยศรางกูร (เชื้อ อิศรางกูร ณ อยุธยา) และเคยเป็นคลีนิคนารีเวชก่อนที่จะถูกปรับปรุงให้เป็นบูติค โฮเตล ในปัจจุบัน

ตัวบ้านถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน โดยส่วนแรกเป็นส่วนที่อยู่อาศัยของเจ้าของบ้านที่สงวนสิทธิความเป็นส่วนตัว อีกสามส่วนเป็นส่วนของตัวโรงแรม โดยแบ่งออกเป็น ตึกใหม่ อยู่ด้านหลัง อาคารนารีเวช เป็นเรือนไมัครึ่งตึกอยู่ตรงกลาง และอาคารหน้าเป็นบ้านไม้อยู่ด้านหน้า

เราไปดูตึกใหม่ซึ่งเป็นอาคารด้านหลังกันก่อนเลยค่ะ อาคารนี้ก็เป็นอาคารที่พักทั่ว ๆ ไปแต่ประดับตกแต่งด้วยภาพว่าศิลปตามชั้นอาคาร กระเบื้องปูพื้นที่เชื่อมระหว่างห้อง ที่ชอบที่สุดก็เป็นช่องลมไม้ฉลุที่ประดับอยู่ทุก ๆ ชั้น

ด้านล่างถูกเว้นไว้ให้เป็นพี่นั่งพักผ่อน ที่โล่งโปร่งสบาย และเป็นสัดส่วน

ห้องพักแบบสามเตียง

ตึกนี้ให้บริการห้องพักทั้งแบบห้องคู่ ห้องเดี่ยว และที่พิเศษสำหรับท่านที่มาพัก 3 ท่านก็มีไว้ให้บริการเช่นกัน ทุกห้องมีระเบียงที่จะเปิดออกไปพบกับบรรยากาศของเมือง และทิวทัศน์ด้านถนนลำพู โล่งยาวไปยังบางลำพู จุดนี้เป็นที่โล่งสามารถเปิดรับลมธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างนั้น ทุกห้องก็ยังติดแอร์คอนดิชั่น เพื่อความสบายของผู้เข้าพัก

โถงทางเดิน

ห้องพักเตียงเดี่ยว บนตึกใหม่

สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีห้องพิเศษที่ชั้น 5 สำหรับคนชอบเดิน จะได้สิทธิพิเศษมีลานหน้าห้องที่กว้างกว่าใคร สามารถมองเห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยา เหมาะสำหรับจัดปารตี้เล็ก ๆ ซัก 5-6 คน นอกจากนีจากประตูหลังห้อง ยังสามารถเปิดไปชมวิวเมืองของเกาะรัตนโกสินทร์ได้อีกด้วย นั่นคือ ห้องชั้น 5 ที่มีอยู่เพียงห้องเดียว

วิวสะพานพระราม 8

ในห้องชั้น 5

ส่วนพักผ่อนของตึกใหม่ ที่มองลงมาจากชั้นบน

มาดูส่วนที่สองกันบ้างค่ะ ส่วนที่เคยเป็นคลีนิคนารีเวช เป็นเรือนไม้ครึ่งตึกแบ่งสัดส่วนเป็นห้อง ๆ ต้องใช้ห้องน้ำส่วนกลางแชร์กัน แต่ก็มีอยู่อย่างเพียงพอในทุก ๆ ชั้น

บริเวณชั้น 1 ทาสีชมพูตกแต่งด้วยภาพต่าง ๆ ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมดังจะเห็นได้จากบานประตู

ชั้นสองจะเป็นไม้ทั้งหมด พื้นไม้ขัดมันดั้งเดิม ยังคงถูกรักษาไว้อย่างดี จนมันวัว

ห้องเตียงคู่

บนอาคารนี้ จะมีทั้งห้องเตียงเดี่ยวและห้องเตียงคู่ มีทั้งห้องแอร์คอนดิชั่น และห้องพัดลม ซึ่งเป็นที่นิยมชาวต่างประเทศอย่างมาก

โถงทางเดินบนอาคารนารีเวช

ห้องเตียงเดี่ยว และการประดับตกแต่ง

ระเบียงของเรือนด้านหน้าเป็นสีฟ้า โปร่ง โล่ง รับลมสบาย ๆ

ด้านในเป็นโถงทางเดินระหว่างห้องเป็นสีชมพู (ขวา) ส่วนของพื้นที่ทำงานใน Samsen Sam Suite

ห้อง Samsen Sam Suite ด้านหน้าห้องนี้สวยมากค่ะ ให้บรรยากาศอบอุ่น และคลาสิกด้วยเครื่องเรือนดั้งเดิม ประตูประดับด้วยกระจกสี ช่องลมกระจกสี หน้าต่างแบบบานผลัก เตียงไม้จริงสีคล่ำ เก้าอี้สไตล์เก่า ๆ ดูเข้ากัน

Samsen Sam Suite ด้านหน้า

เก้าอี้ไม้ดีไซน์สวย

ที่สำคัญห้องน้ำกว้างโปร่งสบาย

Samsen Sam Suite สีเขียว ห้องนี้มีความยาว ซึ่งแตกต่างจากห้องสีชมพูที่มีความกว้าง

เฟอร์นิเจอร์ไม้จริงภายในห้อง

ห้องน้ำสีเขียวใช้การเล่นระดับสีสร้างความแตกต่างภายในกับภายนอก

ประดับตกแต่งด้วยไม้ กระจกสี และกระเบื้อง

Samsen Sam Suite สีเขียว

เลยถัดไปจากห้อง Samsen Sam Suite สีชมพู และห้องสีเขียว ตามโถงทางเดินระหว่างห้องสีหวาน ก็จะเป็นห้อง Deluxe Antique ขนาดจะเล็กกว่าหน่อย และคืนนี้เราจะนอนกันที่ห้องนี้

ห้องสีม่วง

พื้นห้องของห้องนี้เป็นสีชมพูตัดสีด้วยสีม่วงอ่อน และแนวซี่ลูกกรง หน้าต่างบานผลักที่ชอบมาก กับม่านสีม่วงเข้มเมื่อโดนแสงแล้วดูเข้ากัน ยิ่งเลยมาดูที่ห้องน้ำก็ยิ่งชอบ เพราะมีขนาดใหญ่ ดูโล่ง โปร่งสบาย ตกแต่งด้วยผ้าม่านสีส้มอ่อน และตัดด้วยกระเบื้องสีฟ้าคราม กับพื้นไม้ขัดมัน และกระจกสี ดูเข้ากันเป็นอย่างดี เราตกลงนอนห้องนี้หลังจากเดินดูจนทั่วแล้ว เพราะมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ อยู่ด้านหน้าอาคารครึ่งตึกครี่งไม้ และราคาย่อมเยาว์

ห้องน้ำในห้องสีม่วง

ห้องอาหารยามเช้า

หลังจากนอนหลับเต็มตื่นแบบสบาย ๆ แล้ว ทางโรงแรมยังมีอาหารเช้าเป็นเซตให้เลือก ระหว่างนั่งรออาหารเช้า สังเกตได้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีคนไทย ทั้ง ๆ ที่สถาปัตย์กรรมแบบนี้น่าหลงไหล และไม่รู้ว่าจะอยู่ไปอีกนานเท่าไหร่ ในโลกที่ความเปลี่ยนแปลงว่องไวจนแทบจะตามไม่ทัน รู้สึกดีใจที่ได้หลีกหนีความสับสนวุ่นวาย มานอนพักในบ้านเก่า ที่ซึ่งยังอบอวนด้วยตำนานเล่ามากมาย ซึมซับบรรยากาศเดิม ๆ ที่อาจจะเปลียนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา และหวังใจว่าจะได้รับการดูแลให้อยู่ต่อไปอีกนาน ๆ

สายลม ที่ผ่านมา

 วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 13.58 น.

ความคิดเห็น