เวลาไม่มีเงินเที่ยวต่างจังหวัดแล้วเราไปเที่ยวที่ไหน

"ไปพิพิธภัณฑ์" ได้ความรู้แถมได้ดูของมีค่าเก่าเก็บที่หาได้ยากด้วย ใครว่าพิพิธภัณฑ์น่าเบื่อ เดี๋ยวนี้มีพิพิธภัณฑ์หลายที่ที่น่าสนใจตั้งมากมาย แถมประเทศไทยเรานี่ติดอันดับต้นๆที่มีพิพิธภัณฑ์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย

วันนี้พาไปดูพิพิธภัณฑ์น่ารักและแฝงไปด้วยความรู้มากมายที่ซ่อนตัวอยู่ภายในวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร


เพิ่งรู้ว่าในวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจขนาดนี้ สงสัยมานานว่าทำไมคนจีนมาที่นี่เยอะจัง อยากให้มานะ อยากให้มา หลังจากมาแล้ว อาจเปลี่ยนความความคิดของเราบางอย่างเกี่ยวกับคนจีน และวัฒนธรรมของเขาได้มากเลยทีเดียว เพราะที่นี่คือศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราชเลยแหละ เล่าประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของไทยและจีนได้ดี ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อ โดยเฉพาะการจำลองเมืองเล็กๆเป็นตึก รถ และตัวคนเล็กเต็มไปหมด เด็กๆมานี่กรี๊ด ขนาดเรายังชอบ

ความรู้หลายอย่างที่ได้เรียนรู้ใหม่ว่า ทำไมวัฒนธรรมคนจีนเขาเป็นแบบนี้นะ แล้วมีความเกี่ยวข้องกับไทยยังไง

บางทีมาแล้ว ต้องเปลี่ยนความคิดอะไรหลายๆอย่างจริงๆ

ประชากรเยอะก็จริง แต่เขามีวัฒนธรรมที่น่ารัก และที่นี่อธิบายได้ดีเกี่ยวกับบางอย่างที่เราอาจสงสัยมานาน

สวรรค์ชั้นเจ็ดเป็นยังไง ทำไมต้องสวรรค์ชั้นเจ็ด???? มาหาคำตอบได้ที่นี่ค่ะ

เรือสำเภานี่ทำซะเหมือนเลย ไฟตกเป็นระยะๆ แหงนดูจอข้างบนฟ้าก็เปลี่ยนสีทั้งกลางวัน กลางคืน เหมือนอยู่บนเรือจริงๆอะ แต่แอบหลอนนิดนึงตอนเข้าไปคนเดียว หุ่นก็ตัวเท่าคนจริงๆอยู่ตามทางเดิน ตกใจหมด เราชอบมุมค้นหาข้อมูลด้วย โห ไม่ต้องมี google เลย นี่คลิกๆหาของดีของเด็ดได้ทั้งเยาวราชเลย ชอบมาก ชอบมากๆ

ปล. ไม่อยากให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน สถานที่ต่างๆ เลย copy ข้อมูลจริงของพิพิธภัณฑ์มาเลยนะคะ เวลาไปดูของจำลองก็จะได้อ่านอันนี้แหละ

ขอบคุณข้อมูลจากทางพิพิธภัณฑ์ด้วยค่ะ

โรงเรียนจีน


เมื่อชาวจีนจำนวนมากสามารถก่อร่างสร้างตัวและสร้างครอบครัวในเมืองไทย จึงมีความตั้งใจลงหลักปักฐานอยู่ที่นี่ ทำให้มีโรงเรียนจีนเกิดขึ้นเพื่อสอนภาษาและวัมในธรรมจีนให้กับลูกหลาน โรงเรียนจีนแห่งแรกในเมืองไทยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2451 โดยใช้หลักสูตรของประเทศจีน หลักจากนั้นชาใวจีนแต่ละกลุ่มภาษาก็ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่งซึ่งใช้ภาษาจีนในการเรียนการสอน


จนกระทั่ง พ.ศ. 2464 รัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ ส่งผลให้รงเรียนจีนต้องเปลี่ยนมาสอนภาษาไทยเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกหลานจีนค่อยๆ กลายเป็นคนไทยได้อย่างกลมกลืน

โรงเรียนเผยอิงเป็นโรงเรียนจีนชั้นนำแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของกลุ่มพ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋ว ตั้งอยู่ในบริเวณศาลเจ้าเก่า(เล่าปุนเถ้ากง) ซึ่งเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวจีนในย่านนี้มาแต่เดิม โดยเปิดสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 และเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน นักเรียนจากโรงเรียนนี้หลายคนได้กลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของไทยในเวลาต่อมา


โรงงิ้ว


แหล่งความบันเทิงและการถ่ายทอดคติธรรม
งิ้วเป็นการแสกดงเก่าแก่ของชาวจีนมักจัดแสดงในงานบุญใหญ่ๆ โดยสร้างโรงขึ้นชั่วคราวตามสถานที่ที่ไปแสดง แต่ในยุคเฟื่องฟูของแหล่งบันเทิงบนถนนเยาวราช มีโรงงิ้วที่สร้างอย่างใหญ่โตถาวรแบบโรงภาพยนตร์ เกิดขึ้นหลายโรงตามสองฝั่งถนนสายนี้ บางโรงมีที่นั่งถึง 400 ที่ และมีที่ยืนชมได้อีก 100 ที่ ช่วงที่โรงงิ้ววันละ 2 รอบ รอบละ 3 ชั่วโมงครึ่ง เรื่องที่แสดงแต่ละเรื่องหรือแต่ละตอนจะแสดงอยู่ประมาณสิบวัน โดยจะเพิ่มหรือลดวันตามจำนวนผู้ชม

นอกจากความบันเทิง งิ้วยังเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดคติธรรมความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ โดยโรงงิ้วที่เยาวราชส่วนใหญ่เป็นงิ้วแต้จิ๋วที่นิยมแสดงเรื่องในประวัติศาสตร์ซึ่งมีคติสอนใจ เมื่อจะเริ่มแสดงแต่ละเรื่องจะมีงิ้วชุดเบิกโรงที่เรียกว่า "ป่วงเซียง" เพือ่เป็นสิริมงคลก่อนแสดงงิ้วเรื่อง งิ้วเบิกโรงชุดหนึ่งที่นิยมคือ "หลักก็กฮงเสี่ยง" เป็นเรื่องของ 6 แคว้นที่จะรบกันแย่งชิงความเป็นใหญ่ แต่มีอำมาตย์ผู้ใหญ่ของจีนมาเจรจาให้ปรองดองกัน และแต่งตั้งเจ้าผู้ครองแคว้นทั้ง 6 เป็นขุนพลของจีน



หนังสือพิมพ์จีน

ความผูกพันกับบ้านเกิดทำให้ชาวจีนในเมืองไทยสนใจติดตามข่าวความเป็นไปในประเทศจีน โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนวุ่นวาย นับแต่ยุคของการก่อปฏิวัติโค่นล้มราชวงค์ชิงเป็นต้นมา ซึ่งทำให้เกิดหนังสือพิมพ์จีนขึ้นหลายฉบับในเมมืองไทยตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2450


หนังสือพิมพ์จีนเหล่านี้นอกจากจะเสนอข่าวสารทั่วไปแล้ว ยังเป็นสื่อเผยแพร่แนวคิดทางการเมืองที่แบ่งเป็นหลายฝ่ายตามขั้วการเมืองในประเทศจีน ซึ่งต่างก็ปลุกกระแสชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวจีนอย่างกว้างขวาง จนในบางช่วงรัฐบาลไทยต้องควบคุมการนำเสนอข่าวให้อยู่ในขอบเขตที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของไทย


แต่หนังสือพิมพ์จีนก็ยังคงอยู่ต่อมาได้ และทำหน้าที่เป็นสื่อให้ชาวจีนในเมืองไทยได้เข้าถึงข่าวสารทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ หนังสือพิมพ์จีนหลายฉบับซึ่งมีสำนักพิมพ์อยู่ในย่านเยาวราช ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำหน้าที่สื่อ โดยนำหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ติดบนกำแพงทุกวัน เรียกว่า "หนังสือพิมพ์กำแพง" เพื่อให้ผู้สนใจมาอ่านได้โดยไม่ต้องซื้อ


ร้านทอง


ค่านิยมการสะสมทรัพย์สิน ชาวจีนมีค่านิยมในการสะสมทรัพย์สินเงินทอง เมื่อเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยมีรายได้ นอกจากจะส่งกลับไปให้ครอบครัวที่เมืองจีนแล้ว ก็จะเก็บออมส่วนหนึ่งซื้อทรัพย์สินสะสมไว้เป็นการสร้างฐานะ โดยในยุคที่คนจีนจำนวนมากยังมีสถานภาพเป็นคนต่างด้าว ไม่สามารถซื้อที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ก็นิยมซื้อทองรูปพรรณเก็บไว้ ทำให้มีร้านทองเกิดขึ้นหลายร้านในย่านคนจีนที่เยาวราช ซึ่งพัฒนาเป็นร้านใหญ่โตตามเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูในย่านนี้ และกลายเป็นร้านทองชั้นแนวหน้า ที่ถือว่าเป็นแหล่งจำหน่ายทองคำคุณภาพสูงสุดของประเทศ


นอกจากนี้ร้านทองที่เยาวราชยังเป็นผู้นำด้านรูปแบบการตกแต่งภายในร้าสน ซึ่งร้านที่อื่นๆ จะทำตามจนเป็นเอกลักษณ์ของร้านทอง โดยแต่เดิมนิยมทาสีเขียวครามตกแต่งด้วยไฟสีแดง ก่อนจะหันมานิยมทาสีแดงในภายหลัง

วาระที่คนจีนนิยมซื้อทองกันมากที่สุดคือตรุญจีน ซึ่งมีการแจกเงินแต๊ะเอีย ผู้ได้รับเงินักจะนำมาซื้อทองเก็บไว้ ในสมัยก่อนเมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน ร้านทองที่เยาวราชจะนำวงดนตรีจีนมาบรรเลงสร้างความคึกคัก อีกทั้งมีของแจกแถม ทำให้มีลูกค้าเข้าคิวซื้อทองกันแน่นขนัด


วัดจีน

ศูนย์รวมความศรัทธาของชาวจีน เดิมชุมชนจีนในเมืองไทยมีเพียงศาลเจ้าเป็นที่พึ่งทางใจตามความเชื่อซึ่งมีทั้งลัทธิขงจื๊อ เต๋า และพุทธศาสนา ผสมผสานกัน โดยแบ่งแยกเป็นศาลของชาวจีนแต่ละกลุ่มภาษา แต่ไม่มีวัดและพระสงฆ์ ชาวจีนต้องอาศัยวัดญวนหรือวัดไทยเพื่อประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีพระสงฆ์จากเมืองจีนเข้ามา และได้ก่อตั้งวัดจีนแห่งแรกด้วยความศรัทธาจากชาวจีนทุกกลุ่ม เมื่อ พ.ศ. 2414 คือ วัดเล่งเน่ยยี่


ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า "วัดมังกรกมลาวาส" อีกทั้งพระราชทานสมณศักดิ์แก่เจ้าอาวาสรูปแรก ถือเป็นจุดกำเนิดคณะสงฆ์จีนนิกายในเมืองไทย ต่อมาจึงเกิดวัดจีนขึ้นอีกหลายแห่ง บริเวณลานหน้าวัดมังกรกมลาวาสในสมัยก่อน คึกคักด้วยแผงขายของเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ สำหรับศาสนิกชนที่มาไหว้เจ้า ทำบุญ สะเดาะเคราะห์ ตลอดจนเสี่ยงทายโชคชะตา นอกจากนี้ยังมีของใช้ให้ซื้อกลับบ้าน นับเป็นแหล่งค้าขายที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากความเชื่อในวิถีชีวิตจีน


ตลาด


ค่านิยมการกินของดี ชาวจีนเมื่อสร้างฐานะได้พอควรแล้วก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกิน โดยมีค่านิยมว่าการกินของดีของอร่อยเป็นความสุขอย่างหนึ่งในชีวิต ตลาดที่เยาวราชจึงคัดสรรแต่ของดีมาจำหน่ายตามความต้องการของลูกค้า จนขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์รวมวัตถุดิบชั้นเยี่ยมในการประกอบอาหาร โดยมีแหล่งของสดที่ตลาดเก่า ผักสดที่ตลาดกรมภูธเรศ และของแห้งที่ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ยทั้งหมดอยู่ใกล้กันสามารถเดินซื้อของได้ในคราวเดียว สินค้าในตลาดเหล่านี้แม้จะมีราคาสูงกว่าที่อื่นๆ แต่ก็เป็นที่นิยมของลูกค้าเพราะเชื่อใจได้ว่าล้วนเป็นของดีมีคุณภาพ


ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ยตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ มีร้านค้าตลอดสองข้างทาง เป็นแหล่งขายของแห้ง ผลไม้ และอาหารสำเร็จรูปนานาชนิด มีจุดเด่นที่ร้านชำแบบกวางตุ้งหรือจาบพ่อโผว ซึ่งจำหน่ายสินค้าทั้งอาหารแห้ง อาหารรมควัน เครื่งปรุงรส ของหมักดอง ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และสินค้านำเข้า รวมทั้งเครื่องครัวเครื่องใช้ของคนจีน ตลอดจนของไหว้ตามเทศกาล ช่วงตรุษจีนเป็นช่วงที่ตลาดคึกคักและมีสีสันที่สุด เต็มไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายซื้อของไหว้เจ้า ร้านค้าต่างๆ จะจัดเตรียมสินค้าชนิดพิเศษสุดไว้บริการลูกค้า


โพยก๊วย

สายสัมพันธ์กับบ้านเกิด คนจีนส่วนใหญ่เดินทางมาทำมาหากินในเมืองไทยด้วยจุดมุ่งหมายที่จะหาเงินส่งไปให้ครอบครัวที่เมืองจีน การส่งจดหมายพร้อมเงินกลับบ้าน ที่เรียกว่า "โพยก๊วน" จึงเป็นภารกิจสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดร้านโพยก๊วนจำนวนมากที่เยาวราช โดยแต่ละร้านจะให้บริกการส่งเฉพาะถิ่น และมีตู้แยกโพยก๊วนตามแซ่เพื่อนำส่งถึงบ้านผู้รับ


ที่ร้านจะมีกระดาษใบเล็กให้ผู้ส่งเขียนข้อความถึงญาติพี่น้องและบอกจำนวนเงินที่ส่ง อีกทั้งมีบริการเขียนตามคำบอกสำหรับลุกค้าที่เขียนหนังสือไม่เป็น ร้านโพยก๊วนจึงเป็นสื่อความผูกพันระหว่างคนจีนกับบ้านเกิด


ผู้ที่มาส่งโพยก๊วนที่ร้านมักจะเป็นคนหาเช้ากินค่ำแต่ก็พยายามอดออมเงินส่งให้ครอบครัว บางรายไม่มีเงินก็สามารถขอกู้จากร้านส่งไปก่อนได้แล้วค่อยใช้คืนเมื่อมารับใบตอบรับที่ส่งกลับมาจากเมืองสจีมน นอกจากนี้บางร้านยังจัดข้าวต้มไว้ให้กินโดยไม่ต้องเสียเงิน ส่วนลูกค้าฐานะดีนั้นร้านโพยก๊วนมีบริการไปรับถึงบ้าน


ภัตตาคาร


สถานที่พบปะทางสังคม เยาวราชเป็นย่านที่ขึ้นชื่อว่ามีภัตตาคารชั้นนำหลายแห่งตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่คนกรุงเทพ เริ่มนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยนอกจากอาหารรสเลิศแล้ว ภัตตาคารที่เยาวราชยังถือเป็นที่สังสรรค์อัมีรสนิยม อีกทั้งมีความสำคัญในวงสังคมชาวจีนโดยเป็นสถานที่พบปะเจรจาเรื่องต่างๆ ตามธรรมเนียมจีนที่นิยมเริ่มต้นพูดคุยเรื่องสำคัญที่โต๊ะอาหาร ตั้งแต่การเจรจาทางธุรกิจ การไกล่เกลี่ยขัดแย้ง การนัดดูตัวชายหญิงเพื่อหมั้นหมาย ไปจนถึงเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงแต่งงานที่ขึ้นหน้าขึ้นตา

ภัตตาคารที่เป็นตำนานความหรูหรามีระดับที่สุดของย่านเยาวราช คือ ห้อยเทียนเหลา หรือหยาดฟ้าภัตตาคาร ที่ถนนเสือป่า ตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2477 เป็นอาคาร 3 ชั้นใหญ่โตโอ่อ่า มีห้องโถงจัดเลี้ยงบนชั้น 3 และมีสถานที่เต้นรำพร้อมวงดนตรีบนดาดฟ้า เป็นสถานลีลาศแห่งแรกๆ ในเมืองไทยภัตตาคารแห่งนี้จึงเป็นสถานที่สังสรรค์ยอดนิยมในวงสังคมชั้นสูงของกรุงเทพฯอีกทั้งเป็นที่รับรองแขกบ้านแขกเมืองได้อย่างสมฐานะ



ร้านจันอับ : ร้านขนมแห่งชีวิต
จันอับ เป็นคำรวมเรียกขนมหวานแบบแห้งหลายชนิดของคนจีน สำหรับกินกับน้ำชา เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด ถั่วลิสงเคลือบ ฟักเชื่อม โดยเป็นทั้งของกินเล่นในชีวิตประจำวัน ใช้รับรองแขก เป็นของไหว้เจ้า และเป็นเครื่องประกอบในงานมงคลทุกงานตามคติของชาวจีนที่ถือว่าความหวานคือสัญลักษณ์ของความสุข อีกทั้งจันอับยังมีความหมายถึงความเจริญงอกงามเพราะทำจากเมล็ดธัญพืชหลายอย่างที่งอกได้ง่าย ในการแต่งงานของคนจีนจะต้องใช้ขนมจันอับเป็นส่วนหนึ่งของขบวนของหมั้น และนำไปมอบให้ญาติมิตรพร้อมบัตรเชิญร่วมพิธีแต่งงาน ร้านจันอับจึงมักมีบริการจัดสำรับขนมสำหรับใช้ในพิธีอย่างสวยงาม
ด้วยเหตุที่จันอับถือเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวิถีชีวิตจีน ในย่านเยาวราช จึงมีร้านจันอับอยู่หลายร้าน เป็นกิจการในครอบครัวที่ถ่ายทอดสูตรการทำขนมจากรุ่นสู่รุ่น ร้านเหล่านี้นอกจากมีขนมจันอับหลายอย่างรวมถึงขนมเปี๊ยะแล้ว ยังมีสิงโตน้ำตาลที่ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย


ศาลเจ้า
ความศรัทธาต่อเทพเจ้าของชาวจีน นอกจากทำให้มีการสร้างศาลเจ้าไว้สักการะบูชาแล้ว ยังก่อให้เกิดงานสาฑธารณะกุศลต่างๆ ไปด้วยกัน ดังศาลเจ้าไต้ฮงกงอันเกิดจากความศรัทธาต่อพระภิกษุไต้ฮงที่มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงค์ซ้อง ในยุคนั้นเกิดโรคระบาดผุ้คนล้มตายกันมาก ท่านได้จัดการเก็บศพไปฝังดดยไม่รังเกียจ ทั้งตั้งโรงรักษาโรค จัดหาอาหารและสิ่งของให้ผู้เดือดร้อน จึงเป็นที่เลื่อมใสของชาวจีนสืบมา ครั้นมีการเชิญรูปสลักไต้ฮงกงเข้ามาในเมืองไทย พ่อค้าจีนจึงร่วมใจกันก่อตั้ง "คณะเก็บศพไต้ฮงกง"


มื่อ พ.ศ. 2452 เพื่อเก็บศพไร้ญาติ และได้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้น ซึ่งภายหลังได้จัดตั้งมูลนิธิฮั่วเคี้ยวป๊อเต็กเซี่ยงตึ๊ง หรือ ป่อเต็กตึ๊ง และขยายงานการกุศลไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การรักษาพยาบาล ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงการให้การศึกษา ส่วนที่ศาลเจ้าก็มีงานบุญใหญ่ประจำปี คืองานทิ้งกระจาด ซึ่งเป็นการทำบุญให้ดวงวิญาณและแจกทานให้คนยากไร้ โดยตั้งพิธีหน้ารูปไต้ฮงกง สวดเชิญวิญญาณมาชุมนุมรับส่วนกุศล หลังจากนั้นจึงแจกทานอันประกอบด้วย ข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้ต่างๆ แต่ละปีมีผู้มารับทานจำนวนมาก


โรงพยาบาลเพื่อคนยากไร้


ชาวจีนที่มาอยู่เมืองไทยสมัยก่อน ส่วนใหญ่ฐานะยากจน ต้องทำงานใช้แรงงานหนัก หลายคนมาตัวคนเดียว เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่มีใครดูแล จนต้องตายกลายเป็นศพไร้ญาติไปจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้พ่อค้าชาวจีนผู้มั่งคั่งจากทุกกลุ่มภาษาจึงร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลเทียนฮั่วอุยอี่ขึ้น เพื่อช่วยเหลือให้การรักาาพยาบาลแก่เพื่อนร่วมเชื้อชาติที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลนี้ เมื่อ พ.ศ. 2448 และพระราชทานเงินสมทบเพื่อเป็นทุนดำเนินการ


โรงพยาบาลเทียนฮั้วอุยอี่ ให้การรักษาพยาบาลตามแบบจีน ที่ชาวจีนคุ้นเคย อีกทั้งจัดให้มีแพทย์จีนจากทุกกลุ่มภาษาเพื่อสื่อสารกับคนไข้ทุกกลุ่มได้สะดวก และเป็นการสร้างกำลังใจให้คนไข้รู้สสึกว่ามีคนบ้านเดียวกันเป็นที่พึ่ง เมื่อตรวจโรคแล้วแพทย์จะออกใบสั่งยาส่งไปให้ห้องต้มยาจัดการต้มยาจีนสำหรับคนไข้แต่ละคน แล้วบรรจุลงภาชนะให้คนไข้นำกลับไปกินที่บ้าน ต่อมาโรงพยาบาลนี้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ ซึ่งยังคงดำเนินงานตามอุดมการณ์ดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบั

ภาพบริเวณห้องที่เราเข้าไปดูเมืองจำลองของวัฒนธรมชาวจีนในไทย



สวรรค์ชั้น 7 มาจาก ชั้น 7 จริงๆ แหล่งรวมความบันเทิง สนุกสนาน


โคตรน่ารักเลย







จำลองเคาน์เตอร์โรงแรมสมัยก่อน



สาระน่ารู้



ตั้งอยู่บิเวณมืดๆ สะดุ้งจริงๆ นะ




ข้างบนหลังคา ท้องฟ้าเปลี่ยนด้วย เหมือนอยู่ในเรือจริงๆ เลย ทั้งพายุ และฟ้าสว่าง เข้ามาคนเดียวแอบกลัว




ชอบอันนี้มากเลย ระบบสัมผัส อยากรู้ที่กิน ที่เที่ยวในเยาวราช มาที่นี่ได้หมดเลย ทั้งแผนที่ ภาพถ่าย จิ้มๆ ง่ายมากๆ





วันและเวลาทำการ

วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น.

คนไทยไม่เสียค่าเข้าชมนะคะ ฟรีจ้าาาาาาา

ยกเว้นชาวต่างชาติ เก็บค่าเช้าชม 100 บาท

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทางสาย 1, 4, 7, 25, 40, 53, 73, 177, 529

รถไฟฟ้า MRT : สถานีหัวลำโพง

มาๆๆ นั่งรถไฟแล้วเดินข้ามถนนมานิดเดียวยังได้เลย นอกจากได้มาไหว้พระแล้ว ยังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์จีนในอีกแง่มุมหนึ่งด้วย


Boe_Stories

 วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 02.59 น.

ความคิดเห็น