เที่ยวไทยเท่ กับการท่องเที่ยวเมืองรองของไทย รอบนี้เราออกไปเที่ยวกับ TakeMeTour ที่จะพาเรามุ่งสู่ชุมชนบ้านบางพลับ เพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน รวมถึงอาหาร LocalTable ที่เข้าถึงความเป็น Local อย่างแท้จริง


สำหรับจังหวัดสมุทรสงครามนั้น สถานที่ที่ชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยวมากที่สุดคือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก และตลาดแม่กลอง เนื่องจากเป็นตลาดที่เปิดทุกวัน นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯ อย่างที่ชุมชนบ้านบางพลับ โดยวันนี้เราเริ่มต้นทริปที่ตลาดแม่กลอง หรือตลาดร่มหุบ เพื่อดูรถไฟแล่นผ่านตลาดที่เดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นรถไฟเที่ยวจากสถานีบ้านแหลมมายังสถานีแม่กลอง ในราคา 20 บาทเท่านั้น

สำหรับคนที่สนใจ สามารถมาดูได้ในช่วงเวลา 11.10 น. 11.30 น. 14.30 น. 15.30 น. ที่ตลาดแม่กลอง

ช่วงเวลาก่อนและหลังรถไฟมา กับร่มเต็มอัตราพื้นที่

ถึงเวลารถไฟผ่าน พ่อค้าแม่ค้าพากันหุบร่ม

พอรถไฟผ่านไปทุกอย่างก็กลับสู่สภาพเดิม

ความใกล้ชิดของรถไฟ พ่อค้าแม่ค้าจะแนะนำระยะปลอดภัยให้อย่าลืมเชื่อฟังคนในพื้นที่นะคะ

หลังจากรถไฟผ่านไป เราก็มาสำรวจตลาดกัน ที่นี่เป็นตลาดท้องถิ่นที่ถึงจะมีนักท่องเที่ยวมาเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงขายสินค้าในราคาพื้นที่ไม่มีการโก่งราคาขึ้นแต่อย่างใด

และของขึ้นชื่อของแม่กลองแน่นอนว่าคือปลาทู

สำหรับร้านแบกับดินแบบนี้เวลารถไฟมาก็สามารถวางทิ้งไว้แบบนี้ได้เลยไม่ต้องยกหนี

เจออาหารแปลกตา ตับปลาทู

แกงที่เดี๋ยวนี้หากินไม่ง่ายแล้ว

เนื่องจากสมุทรสงครามมีสภาพน้ำเป็นน้ำกร่อย ทำให้เหมาะกับการปลูกมะพร้าว ที่นี่ทั้งมะพร้าวน้ำหอม และกะทิจึงขึ้นชื่อมาก ขนมที่ทำจากกะทิทั้งหลายต่างได้รับความนิยม อย่างขนมครกนี่ก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรพลาด

มาแนะนำสองร้านอร่อย ณ ตลาดแม่กลอง ร้านบะหมี่ก๋องเมงจั้นร้านบะหมี่เกี๊ยวเส้นทำเอง อร่อยจนคนแน่นอยู่ตลอด และอีกร้านคือร้านข้าวมันไก่ที่ตั้งอยู่ชั้นล่างของโรงแรมไทยสวัสดี โรงแรมแห่งแรกของ จังหวัดสมุทรทสงคราม ... เที่ยวกันจนเพลิน มาเดินทางต่อไปยังจุดหมายถัดไปกันค่ะ


เดินทางสู่จุดหมายหลักของเราในวันนี้ "ชุมชนบ้านบางพลับ"


สิ่งแรกที่รอต้อนรับเราอยู่คืออาหารท้องถิ่นที่ปรุงจากวัตถุดิบในชุมชน ได้แก่ เมนูต้มส้มหยวกกล้วย, น้ำพริกปลาทู, แกงกระดองกรุบ และขนมสัมปันนีกล้วย

อาหารรสชาติอร่อยทุกอย่างเราตอบแทนเจ้าบ้านด้วยการกินหมดไม่มีเหลือ ทั้งปลาทูที่ขึ้นชื่อ กระดองกรุบจากมะพร้าวในสวน หยวกกล้วยและสัมปันนีจากกล้วยจากในชุมชน

ที่บ้านสวนแสงตะวันแห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น

คุณสมทรง แสงตะวัน ตัวแทนของชาวชุมชนบ้านบางพลับ ที่ได้รวมตัวกันทางด้านการเกษตร โดยเป็นผู้นำในการปลูกส้มโอแบบไม่ใช้สารเคมี จนในปัจจุบันในชุมชนได้มีการร่วมกันปลูกจนได้ผลผลิตจำนวนมาก และได้เริ่มพัฒนาที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯ โดยที่นี่จะเป็นศูนย์กลางมีจักรยานพร้อมเส้นทางการปั่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสกับวิถีชุมชนของชาวบ้านบางพลับ


เริ่มต้นที่การสาธิตการทำน้ำตาลมะพร้าว

เริ่มชมตั้งแต่การเคี่ยวน้ำตาลจนเป็นยางมะตูม

ยกลงใช้เหล็กกระทุ้งน้ำตาลให้แห้ง

จนเหนียวได้ที่ตักรวมในภาชนะ

ตักหยอดน้ำตาลลงบนพิมพ์

เป็นขั้นตอนที่ได้ทดลองทำ สวยบ้างเละบ้าง

เมื่อแห้งแล้วแกะออกจากแบบพร้อมจำหน่ายและรับประทาน ถ้าใครลองได้ชิมน้ำตาลมะพร้าวจะทราบว่าน้ำตาลมะพร้าวจะมีรสหวานกลมกล่อม หอมและไม่บาดคอ และเนื่องจากที่นี่เป็นมะพร้าวน้ำกร่อยจะมีความอมเค็มนิดๆ เรียกว่าเอามากินเล่นยังเพลินทีเดียว


จากที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ เราปั่นจักรยานไปต่อกันที่ฐานอนุรักษ์ว่าวไทย ของคุณลุงอุดม มีคง

คุณลุงเองมีอาชีพเป็นเกษตรกร แต่ด้วยใจรักในว่าวไทย จึงมีงานอดิเรกเป็นการประดิษฐ์ว่าว และเปิดสอนให้กับคนที่สนใจอยากเรียนรู้

คุณลุงเริ่มสอนเราตั้งแต่การมัดโครง

และให้เราลองลงมือทำการแปะกระดาษ

เรียบร้อยก็จะออกมาเป็นว่าวไทยง่ายๆ อย่างว่าวปักเป้านั่นเอง


จากบ้านคุณลุงอุดม ปั่นจักรยานต่อไปอีกไม่ไกลจะถึงศาลายอดขุนพลฅนเอาถ่าน สถานที่ผลิตถ่านผลไม้ดับกลิ่นอับชื้น

ที่นี่พี่หมึก สถาพร ตะวันขึ้น คนที่บอกว่าแต่ก่อนเป็นคนไม่เอาถ่าน จนมีจุดเปลี่ยนในชีวิตกลายมาเป็นคนสร้างรายได้จากถ่าน โดยที่นี่ไม่ได้เผาถ่านไม้ธรรมดาเพียงอย่างเดียว ยังเป็นการพัฒนาทำถ่านผลไม้ เพื่อใช้ในการดับกลิ่นอับชื้น ที่ทั้งสวย และมีประโยชน์

จากผลไม้เหล่านี้ที่หลายอย่างไม่มีค่า ไม่สามารถไปขายต่อได้

ได้ถูกแปลงสภาพเป็นถ่านหน้าตาดีแบบนี้

จุดเริ่มต้นจากการเผาถ่านไม้ธรรมดา แต่ในชุมชนที่เต็มไปด้วยผลไม้ พี่หมึกบอกว่าในชุมชนจะมีกลุ่มแม่บ้านที่ทำผลไม้แช่อิ่มอยู่แล้ว ซึ่งเราต้องทำอะไรที่ต่างออกไปเพื่อไม่ให้แย่งอาชีพกันและกัน ดังนั้นผลไม้ที่แคระแกรน ไม่ได้คุณภาพ นำไปขายหรือแช่อิ่มไม่ได้ ก็จัดการนำมาเผาเป็นถ่านซะ

ลองผิดลองถูกอยู่นานจนได้วิธีเผาถ่านที่ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่แค่ใช้ได้ แต่คิดไปจนถึงว่าถ่านที่ออกมา ต้องไม่มีเขม่าดำติดมือ

และนอกจากจะได้ถ่านแล้ว ยังได้ทั้งน้ำมันจากเขม่าควัน นำมาใช้ไล่แมลงศัตรูพืช

ท่อควันที่ขัดกันไว้ เพื่อให้น้ำมันไหลลงไปยังถังรอง

เสร็จขบวนการทั้งหมด แม้แต่ขี้เถ้าก็นำมาใช้พอกไข่เค็มได้อีกต่อ ดินก็ใช้ดินในชุมชน ไม่ต้องลงทุนมากมาย แต่ได้แต่ของที่มีมูลค่าออกมา

มาดูปี๊บที่เผาไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ถ่านผลไม้หน้าตาประมาณนี้

เวลาเพียงไม่นานที่ได้พูดคุยกัน เราได้รับแรงบันดาลใจดีๆ จากพี่หมึกไม่น้อยเลยทีเดียว


จุดสุดท้ายก่อนกลับขี่จักรยานไปชมสวนผลไม้

ที่นี่คือแหล่งของต้นมะพร้าวที่ให้น้ำตาลกับเรา

นอกจากต้นสูงนี้ ยังมีการนำมะพร้าวพันธุ์เตี้ยมาปลูกอีกด้วย เพื่อสะดวกต่อกับเก็บน้ำตาล

สำหรับใครที่สนใจในชุมชนบ้านบ้านพลับ มีแผนที่การปั่นในชุมชนคร่าวๆ ตามนี้

ต้องขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ TakeMeTour ที่ได้ร่วมกันเปิดตัวแคมเปญการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Local Table - Taste Thailand on the LocalTable เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองให้เข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากขึ้น

หากสนใจทริปของ TakeMeTour สามารถเข้าไปติดตามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.takemetour.com/localtable


ชมการเดินทางขอเราครั้งนี้ได้อีกช่องทางที่



แล้วพบกันในทริปต่อไปค่ะ

ติดตามการท่องเที่ยวของเราได้ที่

https://www.facebook.com/whenigoto

และ https://www.whenigoto.com

whenigo

 วันพฤหัสที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09.56 น.

ความคิดเห็น