กะเหรี่ยงคอยาว บ้านห้วยเสือเฒ่า อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน




ทริปเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโปรแกรมการเดินทางเพื่อผักผ่อนประจำปี โดยเป้าหมายหลักจะอยู่ที่แม่ฮ่องสอนและอำเภอปายเป็นหลัก

ปกติทั่วไปการเดินทางไปเที่ยวแม่ฮ่องสอนนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะเร่ิมต้นจากจังหวัดเชียงใหม่ ขับรถผ่านอำเภอแม่แตง ผ่านอำเภอปาย ผ่านอำเภอปางมะผ้า แล้วต่อไปตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็จะต้องผ่านโค้งรวมแล้วประมาณ 1864 โค้ง ดังรูปด้านซ้าย
ส่วนผม เนื่องจากอยากเจออะไรที่แตกต่าง ก็เลือกที่เดินทางผ่านทางจังหวัดตากโดยเดินทางเล๊าะแนวตะเข็บชายแดนออกทางอำเภอแม่สอด ผ่านอำเภอแม่ระมาด แม่สองยาง แม่เงา แม่สะเหรียง แม่ลา ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอน ผ่านปาย และผ่านอำเภอแม่แม่แตงเพื่อไปแวะชมบรรยากาศยามค่ำคืนที่เชียงใหม่ในคืนสุดท้ายก่อนเดินทางกลับชลบุรี ซึ่งก็ใช้เวลารวมทั้งหมด 7วัน6คืนด้วยกัน .... ส่วนจำนวนโค้งที่ผ่านทั้งหมดนั้นต้องบอกว่านับกันไม่ถ้วนเลยทีเดียว (เส้นทางนี้โหดมากขอบอก โหดกว่าขึ้นทางเชียงใหม่เยอะเลย)




สำหรับการเดินทางวันแรกที่ผ่านมานั้นก็ไปมืดที่แม่สอดและก็จอดแวะค้างคืนที่แม่สอดหนึ่งคืน ก่อนเดินทางผ่านจังหวัดตากเรื่อยไปจนถึงตัวอำเภอขุนยวมและจอดค้างคืนที่นั่นอีกหนึ่งคืนอ ก่อนที่จะออกเดินทางไปดอยแม่อูคอและทุ่งบัวตองในตอนเช้า จากนั้นก็ก่อนเดินทางต่อไปที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

จากอำเภอขุนยวมก็ขับรถเล๊าะมาเรื่อยๆแบบไม่รีบ และก็มาถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอนตอนบ่ายๆ จากนั้นก็เดินทางต่อไปที่บ้านห้วยเสือเฒ่าซึ่งเป็นหมู่บ้านและเป็นตลาดขายสินค้าของชาวกระเหรียงคอยาว

สำหรับหมู่บ้านนี้จะอยู่ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียงแค่ 12 กม เท่านั้น และที่สำคัญสามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้อย่างสะดวก (ทางอาจจะขดเคี้ยวและวกวน แต่ก็ไม่ลำบากจนเกินไป)

บริเวณหน้าทางเข้าตลาดหมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาว

หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว "ห้วยเสือเฒ่า" ประกอบด้วยชาวบ้านประมาณ 20 หลังคาเรือน ซึ่งได้อพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาอยู่ที่แม่ฮ่องสอนค่อนข้างนาน โดยดำรงชีวิตและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมๆ

หมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาวนี้จัดได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื่องจากวัฒธรรมและวิธีชีวิตที่แปลกตา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับห่วงที่สวมใส่อยู่ที่คอของผู้หญิง) ซึ่งก็เลยเป็นไฮไลท์ที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากที่อื่นๆให้เข้ามาเยี่ยมชม

คุณป้าบอก ห่วง25 ชั้นแล้วจร้า

ซึ่งภายในหมู่บ้านจะมีสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต่างๆให้นักท่องเที่ยว โดยสินค้าส่วนใหญ่ จะเป็นพวกผ้าทอ เครื่องประดับ ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิธีชีวิตและวัฒนธรรมของคนกระเหรี่ยง รวมถึงสินค้าที่รับจากที่อื่นมาจำหน่าย เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าคลุมเตียง เป็นต้น


คุณป้ากำลังทอผ้าโชว์ พร้อมด้วยสินค้าที่จะขาย

นาเนียร์ แม่ค้ารุ่นเยาว์ 8 ขวบ ที่น่ารักและมากด้วยความสามารถ


งานก็ต้องทำ ของก็ขาย ลูกก็ต้องเลี้ยง แต่ก็ยังยิ้มได้

ชาวกะเหรี่ยงคอยาวเข้ามาอยู่เมืองไทยตั้งแต่เมื่อไหร่?

ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าอพยพเข้ามาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มีข้อมูลว่าเป็นชนกลุ่มน้อยปะดอง(Padaung) ที่อพยพมาจากพม่าในสมัยที่พม่ามีสงครามกับชนกลุ่มน้อย ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยงคอยาวอยู่ด้วยกัน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวน้ำเพียงดิน บ้านในสอย และ บ้านห้วยเสือเฒ่า
ที่บ้านห้วยเสือเฒ่านี้เป็นสถานที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากที่สุด เนื่องจากเดินทางสะดวกเข้าถึงได้ด้วยรถยนต์ อยู่ใกล้ตัวเมืองแม่ฮ่องสนอและไม่เสียค่าเข้าชม

ทดสอบความแม่นอาวุธล่าสุดสัตว์ (หน้าไม้) ของชาวกระเหรี่ยง

ทำไมต้องใส่ห่วง ?


ชาวกะเหรี่ยงมีเชื่อมาจากความกลัวเรื่องภูตผีและวิญาณ กลัวว่าจะภูตผีจะไม่พอใจและให้เสือมากัดขย้ำคอจึงใส่ห่วงไว้เพื่อป้องกันเสือ หรือบ้างก็ว่าเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่า
การใส่ห่วงจะเริ่มใส่ให้กับเด็กผู้หญิงที่อายุ 5-9 ปี มีการทำพิธีโดยหมอผีประจำหมู่บ้าน ห่วงที่ใช้จะเป็นห่วงทองเหลืองและจะมีการเพิ่มจำนวนห่วงไปเรื่อยๆ มากสุดถึง 32 ห่วง มีน้ำหนักประมาณ 13-15 กิโลกรัม แต่ในปัจจุบันประเพณีนี้เริ่มลดลงเนื่องจากความไม่สะดวกในการทำงานหรือบ้างก็ออกนอกเผ่าไปทำงานในเมือง


การเข้าชม
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมใดๆ หลังจากจอดรถที่หน้าหมู่บ้านแล้วก็สามารถเดินข้ามสะพานไม้เล็กๆเข้าหมู่บ้านได้เลย โดยนักท่องเที่ยวสามารถขอถ่ายรูปกับชาวกะเหรี่ยงคอยาวได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย(แล้วแต่จะให้) และบางร้านยังมีเครื่องแต่งกายชาวกะเหรี่ยงคอยาวให้เรายืมใส่อีกด้วยเช่น ห่วงคอและผ้าโพกหัว ฯลฯ ชาวกะเหรี่ยงคอยาวที่หมู่บ้านนี้ค่อนข้างเป็นมิตร ต้อนรับนักท่องเที่ยวดี ไม่ตื้อให้ซื้อของ




ทดลองแต่งกระเหรี่ยง

ขอบคุณทุกๆท่านนะครับที่ติดตามรับชมจร้า !
อย่าลืมช่วยแนะนำติชม กดไลค์ กดแชร์ เพื่อส่งกำลังใจให้ด้วยนะครับ !





ทำงานไปเที่ยวไป

 วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 13.10 น.

ความคิดเห็น