เหมืองสมศักดิ์ : บ้านเล็กในป่าใหญ่

“อยู่ที่นี่มีความสุขดี สนุกกับการต้อนรับแขกที่มาพัก อากาศดีไม่มีมลพิษ ที่สำคัญมีความทรงจำที่ดี”

คำพูดของหญิงชราร่างเล็ก นัยน์ตาสีฟ้า ‘ป้าเกล็น’ หรือ ‘เกล็นนิส เจอร์เมน เสตะพันธุ’ ภรรยาของ ‘สมศักดิ์ เสตะพันธุ’ เจ้าของเหมืองสมศักดิ์ ย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา คุณสมศักดิ์ได้เดินทางไปเรียนด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ที่ประเทศออสเตรเลีย และที่นั่นก็ทำให้ได้พบรักกับหญิงสาว ‘เกล็นนิส เจอร์เมน ไวท์’ เมื่อเรียนจบแล้วทั้งคู่จึงเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลกลับมาแต่งงาน และเริ่มต้นชีวิตคู่ในประเทศไทย โดยที่คุณสมศักดิ์ได้มาสานต่อกิจกรรมเหมืองแร่ที่ทองผาภูมิในชื่อ ‘เหมืองสมศักดิ์’ และป้าเกล็นก็เป็นอาจารย์สอนภาษาอยู่ในกรุงเทพฯ ในยุครุ่งเรือง เหมืองสมศักดิ์มีคนงานกว่า 600 คน กระทั่งเกิดวิกฤตราคาแร่ตกต่ำทั่วโลก ทำให้เหมืองแร่ทยอยปิดตัวลง รวมไปถึงที่นี่ด้วย คุณสมศักดิ์ก็มาป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ก่อนที่คุณสมศักดิ์จะเสียชีวิต เธอได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะอยู่ดูแลที่นี่ซึ่งเป็นสถานที่อันเป็นที่รักของสามี ต่อมาก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโฮมสเตย์ในรูปแบบ ‘บ้านเล็กในป่าใหญ่’ ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา

จุดนัดพบที่สภ.ปิล๊อก เราสามารถจอดรถไว้ที่นี่ได้เลย แล้วทางเหมืองจะมีรถขับเคลื่อน 4 ล้อมารับ เส้นทางโหดมากจนนึกภาพไม่ออกเลย ว่ารถจะแล่นลงไปได้ยังไง บางช่วงเป็นเส้นทางลงที่มีความชันมากกว่า 45 องศา บางช่วงเป็นหลุมจนรถตะแคงไปครึ่งคัน สั่นสะเทือนไปทั้งคนทั้งรถ ทางด้านซ้ายเป็นแนวเขาด้านขวาเป็นเหวลึก เมื่อถึงที่ทำการเหมือง ความรู้สึกเหมือนเราหลุดเข้ามายังอีกโลกนึง ทุกอย่างดูเขียวไปหมด มีความจดจื่นสูงมาก อากาศดีมากดีลืมกรุงไปเลย บ้านพักเดิมเป็นเรือนรับรองตั้งแต่สมัยเหมืองแร่ ถูกปรับปรุงสำหรับรับนักท่องเที่ยว บ้านพักจะกระจายตัวอยู่รอบๆ ที่ทำการเหมืองแร่ โดยที่มีธรรมชาติโอบล้อมไว้ทั้งหมด มื้อเย็นแบบดีมาก บรรยากาศเหมือนการที่เราได้กลับมาบ้าน มาเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ เหมือนกลับบ้านแล้วแม่ทำกับข้าวให้กิน มันรู้สึกอบอุ่นมากจริงๆ นอนฟังเสียงน้ำไหลเสียงลมเสียงป่า อากาศจะเย็นกำลังดี ตื่นเช้ามาทีเด็ดที่ต้องห้ามพลอดคือ เค้กป้าเกล็น เป็นเค้กต้นตำหรับจากออสเตเรีย รสชาติมันดีมาก ดีมากกว่าที่เคยลิ้มลองจากที่อื่นๆ ปากทางเข้าเหมืองมีสำนักสงฆ์เล็กๆ อยู่ โดยมีน้องหมาขนปุยอาสาเดินนำทางไป สำนักสงฆ์ตั้งอยู่บริเวณเนินเขา จากเจดีย์บนเนินเขาเราสามารถมองออกไปเห็นแนวภูเขาเขียวชะอุ่ม คงจะเป็นเหมืองแร่ในอดีต ณ จุดนี้ยืนสูดอากาศได้แบบไม่อั้น ถ้าแกรักธรรมชาติและความเขียวแบบนี้ คงไม่ต้องคิดอะไรมากเลย เรียกรวมทีมแล้วมาเลย

จุดนัดพบของเราคือ สภ.ปิล๊อก เวลาบ่ายโมงตรง หากเดินทางรวดเดียวจากกทม ควรออกเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อให้เดินทางมาถึงทันเวลา เมื่อเราเดินทางมาถึงสภ.ปิล๊อก เราสามารถจอดรถไว้บริเวณด้านหน้าสภ.ได้เลย โดยพี่เจ้าหน้าที่เขาจะให้เรากรอกเอกสารนิดหน่อย รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ของทางเหมืองก็มารอรับอยู่แล้ว จัดเอาสัมภาระขึ้นรถแล้วเราก็จะออกเดินทางไปเที่ยวตามจุดต่างๆ โดยรอบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและเวลาด้วย ว่าเราจะได้เที่ยวรอบๆ ได้มากน้อยแค่ไหน

พิกัดแรกคือ เนินช้างศึก จุดชมวิวพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ตั้งอยู่บนยอดเขาเป็นฐานปฏิบัติการของตชด 135 จุดนี้สามารถมองเห็นวิวรอบตัว ปกติเขาจะมากันช่วงฤดูหนาว จะมีหมอกปกคลุมตามยอดเขา นี่เรามาปลายฝนต้นหนาว มันก็จะหมอกๆ หน่อย หมอกเกิ๊นไปหน่อย 5555

โชคยังดีที่หมอกเขาเปิดช่องให้เราสามารถมองลงไปเห็น หมู่บ้านอีต่อง ข้างล่างบ้าง ลมด้านบนที่อย่างหนาวอ่ะ

บนจุดชมวิวว่าหมอกหนาแล้ว หมู่บ้านอีต่องก็จะหนาประมาณนี้เเล แต่แบบหมอกมันไม่ได้ค้างอยู่แบบนี้ตลอดนะ มันก้จะลอยผ่านไปผ่านมาเรื่อย ลมเย็นเอื่อยๆ จดจื่น

เมื่อหมอกผ่านไป เดินชมเหมืองได้เดี๋ยวเดียวฝนก็ตกจ้าาา คณะเราจึงต้องถอนตัว แล้วเดินทางลงเหมืองแร่สมศักดิ์

เส้นทางลงไปยังเหมืองแร่สมศักดิ์ จำเป็นต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น เพราะเส้นทางบางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อเล่นเอารถตะแคงไปครึ่งคัน บางช่วงเป็นทางลงความชันเกือบ 45 องศา แล้วคนขับก็ต้องมีความชำนาญเส้นทางพอตัว แนะนำว่าใช้บริการทางเหมืองแร่สมศักดิ์ไปเลยจะดีกว่านะ

อาจจะดูแห้งๆ เลาถ่ายตัวขาขึ้น แฮะๆ

ช่วงเวลาผจญภัยค่อนชั่วโมงผ่านไปอย่างรวดเร็ว บริบทแวดล้อมโดยรอบเปลี่ยนจาก หน้าผาและเหวลึกมาอยู่ภายใต้ต้นไม้น้อยใหญ่ เหมือนกับว่าเรานั่งรถทะลุลอดเข้ามาในพุ่งไม้ขนาดใหญ่ และนี่คือหน้าตายานพาหนะที่นำพาเราลงมายังจุดหมาย

รถเข้ามาส่งเราที่อาคารไม้ขนาดใหญ่หลังนี้ มันเคยถูกใช้เป็นอาคารสำนักงานเหมืองแร่ ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนมาเป็นห้องรับแขกขนาดใหญ่ของเหมืองแร่สมศักดิ์

เมื่อเราทยอยก้าวเท้าลงจากรถ "สวัสดีค่ะ เชิญค่ะ ทานชากาแฟก่อนค่ะ" เสียงกล่าวต้อนรับของหญิงชราร่างเล็กนัยน์ตาสีฟ้า เธอคือ ป้าเกล็น หรือ เกล็นนิส เจอร์เมน เสตะพันธุ

หลังจากได้พูดคุยกับป้าเกล็น เราก็เเยกย้ายกันเก็บสัมภาระเข้าที่พัก ก็ได้เวลาเดินสำรวจพื้นที่โดยรอบแล้วสิ

ห้องพักจะถูกแบ่งออกเป็นหลังๆ แทรกตัวอยู่กับธรรมชาติโดยแท้ โดยใช้ไม้เดิมจากสมัยเหมืองแร่มาสร้าง

หลังนี้อยู่ติดน้ำชิวมาก สามารถเข้าพักได้หลายคนเลย ป้าเกล็นเล่าว่าในอดีต อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นบ้านพักรับรองแขกของเหมืองแร่

ทางเดินระหว่างบ้านแต่ละหลัง ก็จะร่มรื่นและเย็นสบาย แต่นอนว่ามุมถ่ายภาพหนาแน่นมากเช่นกัน

ภายในอาคารสำนักงานเหมืองแร่ จะถูกประดับประดาไปด้วย ภาพถ่ายเก่าในยุคสมัยเหมืองแร่ ภาพถ่ายจากนักท่องเที่ยวที่เคยมาเยี่ยมเยือน รวมไปถึงของตกแต่งบ้านน่ารักๆ บรรยากาศจุดนี้ทำให้เราอมยิ้มโดยไม่รู้ตัวเลยละ

กุญแจคลังแร่ของเหมืองก็ยังถูกเก็บไว้ที่เดิม

ภาพป้าเกล็นกับคุณสมศักดิ์ เสตะพันธุในวันแต่งงาน

ย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา คุณสมศักดิ์ได้เดินทางไปเรียนด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ที่ประเทศออสเตรเลีย และที่นั่นก็ทำให้ได้พบรักกับหญิงสาว ‘เกล็นนิส เจอร์เมน ไวท์’ แล้วทั้งคู่ก็ตัดสินใจแต่งงาน แล้วบินลัดฟ้ามาเริ่มต้นชีวิตคู่ในประเทศไทย โดยที่คุณสมศักดิ์ได้มาสานต่อกิจกรรมเหมืองแร่ที่ทองผาภูมิในชื่อ ‘เหมืองสมศักดิ์’ และป้าเกล็นก็เป็นอาจารย์สอนภาษาอยู่ในกรุงเทพฯ ในยุครุ่งเรือง เหมืองสมศักดิ์มีคนงานกว่า 600 คน กระทั่งเกิดวิกฤตราคาแร่ตกต่ำทั่วโลก ทำให้เหมืองแร่ทยอยปิดตัวลง รวมไปถึงที่นี่ด้วย คุณสมศักดิ์ก็มาป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ก่อนที่คุณสมศักดิ์จะเสียชีวิต เธอได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะอยู่ดูแลที่นี่ซึ่งเป็นสถานที่อันเป็นที่รักของสามี ต่อมาก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโฮมสเตย์ในรูปแบบ ‘บ้านเล็กในป่าใหญ่’ ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา

แล้วสิ่งที่เรารอคอยก็พร้อมเสิร์ฟ บาร์บีคิวซี่โครงหมูต้นตำหรับจากออสเตเรีย ไม้เบอเร่อเห็นแล้วชื่นใจ บอกเลยเป็นสัมผัสที่นุ่มมาก ไม่หลงเหลือความเหนียวของเนื้อไว้เลย

เสิร์ฟพร้อมอาหารที่เราคุ้นเคย ในรสชาติที่โอเคมาก แล้วเห็นจานบาร์บีคิวไหมเล่

ของขึ้นชื่อแห่งเหมืองแร่สมศักดิ์ ต้องยกให้กับ ขนมเค้กป้าเกล็น เค้กโบราณแบบออสซี่ฝีมือป้าเกล็น ความหอมความนุ่มตามด้วยรสชาติที่ละมุน เป็นความฟินในรูปแบบเค้ก ที่ไม่เคยพบเจอจากที่ไหนมาก่อน ถึงว่าใครๆ ต่างก็เชียร์ให้เราได้มาลิ้มลองสักครั้ง เอ้อลืมบอก คือสามารถชิมเค้กได้แบบไม่อั้นด้วยนะ

ในขณะที่มื้อเย็นเริ่มต้นขึ้น ป้าเกล็นก็จะคอยยืนมองเพื่อที่จะดูว่า ยังมีไรขาดเหลือไหม เราต้องการอะไรอีกไหม บรรยากาศเหมือนการที่เราได้กลับมาบ้าน มาเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ เหมือนกลับบ้านแล้วป้าทำกับข้าวให้กิน บรรยากาศมันอบอุ่นมากจริงๆ

เสร็จจากมื้อเย็นก็ได้มีโอกาสนั่งพูดคุยกับป้าเกล็น ป้าเล่าให้ฟังถึงเรื่องในอดีต ป้าเกล็นบอกว่า “อยู่ที่นี่มีความสุขดี สนุกกับการต้อนรับแขกที่มาพัก อากาศดีไม่มีมลพิษ ที่สำคัญมีความทรงจำที่ดี” ตลอดช่วงเวลาที่ได้พูดคุย แววตาป้าเกล็นเปล่งประกาย ดูมีความสุขมากจริงๆ

อากาคืนนี้เย็นๆ กำลังสบาย บ้านพักของเราตั้งอยู่ริมลำธารนอนพักเสียงน้ำไหล เสียงแมลงเสียงป่า รู้สึกตัวอีกทีฟ้าก็สว่างแล้ว

เช้านี้เป็นเช้าแรกที่เราลุกออกจากที่นอนได้ยากมาก มันสบายจนอยากนอนต่ออีกนาน เสร็จกิจวัตรยามเช้าแล้ว เราก็รีบเดินออกมาสูดอากาศด้านนอก สูดเข้าไปได้เต็มปอดแบบไม่ยั้ง ป้าเกล็นบอกปากทางเข้าเหมืองมีสำนักสงฆ์เล็กๆ อยู่ เช้านี้เราจึงเดินออกไปจุดนั้นกัน โดยมีน้องหมาขนปุยอาสาเดินนำทางไป สำนักสงฆ์ตั้งอยู่บริเวณเนินเขา มีเจดีย์แบบพม่าตั้งอยู่บนเขา

เราสามารถเดินขึ้นไปสักการะองค์เจดีย์ได้ จากเจดีย์บนเนินเขาเราสามารถมองออกไปเห็นแนวภูเขาเขียวชะอุ่ม คงจะเป็นเหมืองแร่ในอดีต ณ จุดนี้ยืนสูดอากาศได้แบบไม่อั้น โดยที่เราไม่ต้องสวมใส่หน้ากากกันฝุ่นเลย

นี่ไกด์เหมืองแร่ ที่นำทางเราไปยังสำนักสงฆ์

ช่วงที่เดินไปเราก็สังเกตุจากมันนี่แหละ ถ้าจุดไหนสามารถเดินเข้าไปได้ มันก็จะวิ่งนำเข้าไปเลยนะ แล้วจุดไหนเหมือนเป็นเช็คพอย มันจะวิ่งไปหยุดแล้วนั่งหมอบลง จุดนั้นก็จะเป็นจะที่สวยงาม เป็นจุดที่เราต้องหยุดไหว้พระ เมื่อครบทุกจุดแล้ว มันก็ตั้งท่าจะวิ่งนำเรากลับไปสำนักงานเหมืองแร่ แต่เรากลับเดินเข้าไปยังภูเขาที่เคยเป็นเหมือง มันก็หันกลับมามองเรา แล้วเดินกลับมานั่งหมอบอยู่ใกล้ๆ เรา เราก็ยังจะเดินเข้าไปให้ได้แต่คราวนี้มันก็ได้เเต่นั่งอยู่อย่างนั้น เห็นท่าทางมันเป็นอย่างนั้น เป็นอันเข้าใจกันว่า ไม่ควรเดินเข้าไปอีกแล้ว เราจึงเดินกลับมาสำนักงานเหมืองแร่ มันจึงลุกเดินนำเรากลับ

เดินกลับเข้ามาถึงสำนักงานเหมืองแร่ ทางเหมืองก็ได้เตรียมของเอาไว้ให้เราได้ตักบาตรด้วย ไม่นานนักก็มีพระสงฆ์พม่าเดินมาบิณฑบาตร เมื่อถึงสำนักงานเหมืองแร่ พระท่านจะหยิบระฆังขนาดขนาดเล็กออกมาแกว่งส่งเสียง เหมือนให้สัญญาณว่าพระท่านมาถึงแล้ว เราจึงนำข้าวของที่ถูกเตรียมไว้ออกมาใส่บาตร พระท่านจะพูดภาษาไทยไม่ได้ แต่บทสวดให้พรก็เป็นบทเดียวกันในสำเนียงที่แปร่งออกไป

เมื่อมื้อเช้าพร้อมแล้ว ป้าเกล็นก็เดินออกมากล่าวตอนรับเราอีกครั้ง “เชิญค่ะ เชิญค่ะ หลับสบายกันดีไหมคะ” พร้อมกับผายมือให้เราเข้าไปทานมื้อเช้า มีทั้งข้าวต้ม ไส้กรอก ไข่ดาว ขนมปังปิ้ง ชากาแฟ และเป็นเช่นเดียวกันกับมื้อเย็น ป้าเกล็นก็จะคอยยืนมองอยู่อย่างเดิม ดูแกมีความสุขกับการที่เรามาพักที่นี่เอาเสียมากๆ

กัปตันกับม้าเหล็กคู่ใจ พร้อมที่จะนำเรากลับขึ้นไปตัวเมืองปิล๊อค

หลังมื้อเช้านักท่องเที่ยวต่างเดินเล่นถ่ายภาพโดยรอบสำนักงานเหมืองแร่ถึงช่วงสายๆ เราก็ทยอยมาถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับป้าเกล็น และถึงเวลาที่เราต้องเดินทางออกจากเหมืองสมศักดิ์ “ไปดีดีนะ ไปดีดีนะ” แล้วป้าเกล็นก็จะยืนอยู่หน้าสำนักงานเหมืองแร่ คอยมองรถเคลื่อนออกไปจนลับสายตา

และนี่คือเส้นทางที่ม้าเหล็กต้องนำเราไป ช่วงนี้สูงชันเส้นทางเป็นหลุม จนต้องลงเดินบ้างเป็นช่วงๆ ไป ขามาเป็นทางลงว่าชันแล้ว ขากลับรู้สึกว่าชันมากกว่า ณ จุดนี้เข้าใจแล้วว่าทำไมต้องเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น

แต่เราก็ไม่ปล่อยโอกาสนี้ให้เสียเปล่า ขามาแทบไม่ได้จับกล้อง ขากลับได้เดินช่วงนึง ภาพหมู่ต้องมา

กลับขึ้นมาถึงสภ.ปิล๊อกจัดการสัมภาระขึ้นรถ แล้วเราจึงกลับมาหมู่บ้านอีต่องอีกครั้ง วันนี้ฝนไม่ตก อากาศเย็นสบาย สบายแค่ไหนถามน้องๆ ในภาพดู

อาคารหน้าเหมืองปิล๊อก กับฉากหลังเป็นภูเขากับสายหมอก นาทีนี้ยืนสูดลมเข้าปอดยาวๆ สามที

เดินทะลุผ่านอาคารในเหมืองเข้ามา จุดนี้จะเจอเป็นเหมือนแอ่งน้ำสีเขียวใส ถัดเข้าไปก็จะเป็นน้ำตกปิล๊อก มันดีมาก

ภายในเหมืองปิล๊อก มีการจัดแสดงเครื่องไม้เครื่องมือ ที่ใช้ในยุคเหมืองแร่ มีตัวอาคารกระจายตัวอยู่ในจุดต่างๆ คือรวมๆ แล้วมีเสน่ห์มากเลย ด้วยอากาศ ด้วยความเย็น ด้วยความเขียว ดี

อีกพิกัดที่ต้องห้ามพลาด น้ำตกจ๊อกกระดิ่น จุดนี้เราต้องขับรถลงไป เส้นทางค่อนข้างชัน รถเก่งโหลดต่ำสามารถไปถึงได้ แต่คนขับต้องช่ำชองหน่อยนึง

น้ำตกจ๊อกกระดิ่น เป็นภาษาพม่า แปลว่า น้ำตกที่ไหลผ่านซอกหินผา ปกติสามารถลงเล่นน้ำได้ เช็คได้กับป้ายสถานะการณ์น้ำบริเวณน้ำตก ช่วงที่เราไปเป็นหน้าฝน เจ้าหน้าที่แจ้งเตือนไม่ให้ลงเล่น คนก็เลยดูน้อยๆ สวยงามไปอีกแบบ

ข้างบนอันตราย แต่ข้างล่างเล่นได้นะเออ

ก่อนที่เราเลือกจะเดินทางมาที่นี่ ก็ได้ยินได้ฟังเรื่องราวของ ป้าเกล็น และ เหมืองสมศักดิ์ มาประมาณนึง ตอนนั้นก็นึกสงสัยว่า เพราะอะไรจึงทำให้หญิงชราคนนึง ถึงเข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ไม่ง่ายอย่างนี้ เมื่อได้มาพบป้าเกล็น ได้ฟังเรื่องราวที่ป้าเล่า ได้เห็นแววตาที่แสนจะมีความสุข เราจึงรู้ได้ว่า สิ่งที่ทำให้ป้าเกล็นกลับเข้ามาอยู่ในเหมืองแร่แห่งนี้ เป็นเพราะคำมั่นสันญาที่มีต่อสามีอันเป็นที่รัก “เราบอกพี่ศักดิ์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตว่า ที่นี่จะเป็นเหมืองสมศักดิ์จนวันสุดท้าย...” ที่นี่บรรยากาศดีมาก อากาศดีมาก อาหารดีมาก ทุกอย่างดีต่อใจมากๆ แต่สิ่งที่ดีที่สุดสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยว ใฝ่ฝันที่จะเข้ามาพักในเหมืองแร่สมศักดิ์สักครั้งนึง สิ่งนั้นคือ ป้าเกล็น และเรื่องราวในความทรงจำของป้า มันสวยงามมากจริงๆ

...ด้วยอายุของป้าเกล็นที่เพิ่มมากขึ้น และปัญหาสุขภาพของป้าเกล็น เหมืองแร่สมศักดิ์จะเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้าพัก ถึงสิ้นปี 2562 เป็นปีสุดท้าย...


ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจไปเหมืองแร่สมศักดิ์
- รับนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม อย่างน้อย 4 คน ขึ้นไป
- บริเวณที่พักไม่มีสัญาณโทรศัพท์ทุกเครือข่าย
- ที่พักไม่มีสัญญาณ Wifi
- บ้านพักเป็นเรือนรับรองเก่าตั้งแต่สมัยทำเมืองแร่
- เส้นทางเข้าเหมืองแร่สมศักดิ์ ขรุขระและสูงชันมาก
- เหมาะกับผู้ที่ชอบธรรมชาติมากๆๆๆๆ
- ไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบความทุรกันดาร

ค่าใช้จ่าย
- ผู้ใหญ่ คนละ 1,600 บาท
- เด็กอายุ 6-12ปี คนละ 800 บาท
- เด็กอายุ 5ปีลงมาบริการฟรี
ค่าใช้จ่ายนี้รวม
- บ้านพัก 1 คืน (จัดห้องพักตามจำนวนคน)
- บริการรถขับเคลื่อน 4 ล้อรับส่งจากสภ.ปิล๊อก มายังเหมืองแร่สมศักดิ์
- บริการนำเที่ยวบริเวณใกล้เคียงปิล๊อก เช่น ตลาดปิล๊อก เนินเสาธง ช่องมิตรภาพ
- อาหารมื้อเย็น + บาร์บีคิว และ อาหารมื้อเช้า
- ขนมเค้ก ชา กาแฟ โอวัลติน
ติดต่อจองบ้านพัก Line : @somsakmining


ติดตามผลงานได้ที่นี่เลยจ้า แค่อยากออกไป


#แค่อยากออกไป #เหมืองแร่สมศักดิ์ #เหมืองสมศักดิ์
#ปิล๊อก #กาญจนบุรี #ป้าเกล็น #somsakmining

แค่อยากออกไป

 วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 20.44 น.

ความคิดเห็น