เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ห้ามพลาดเมื่อเยือนมอสโก นั่นคือ พิพิธภัณฑ์อวกาศมอสโกหรือ Museum Of Cosmonautics ที่จะได้เเสดงให้คุณเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของรัสเซียในช่วงปี ค.ศ.1960 ที่เป็นยุคที่มนุษยชาติกำลังสนใจในเรื่องของท้องฟ้า เเละเกิดสงครามเย็นที่ทำให้พวกเขาเเละอเมริกันต้องขับเคี่ยวกันอย่างหนักเพื่อพิชิตอวกาศให้ได้ เเละรัสเซียก็นับว่ามีความโดดเด่นเเละสำเร็จในหลายๆ เรื่องเลยก็ว่าได้

การเดินทางก็เดินทางด้วยรถไฟเมโทรไปยังสถานี VDNKh ซึ่งใกล้ ๆ ก็จะมีแหล่งท่องเที่ยวคือสวนสาธารณะ VDNKh ที่ได้นำเสนอไปตอนที่ผ่านมาแล้ว

พิพิธภัณฑ์อวกาศมอสโก นั้นโดดเด่นอย่างมากตั้งเเต่ประติมากรรมขนาดยักษ์อย่าง Monument to the Conquerors of Space ที่มีความสุงกว่า 100 เมตร ซึ่งเป็นลักษณะของรูปจรวดที่กำลังทะยานขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ทำมาจากเหล็กกล้าเเละไททาเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่นำมาสร้างจรวดเเละยานอวกาศจริงๆ ถือเป็น Land Mark ที่โดดเด่นกันหลงได้อย่างดีทีเดียว


ภายในของ Museum Of Cosmonautics นั้นจัดเเสดงเรื่องราวของการออกไปท่องอวกาศของชาวรัสเซียในยุคนั้น ว่ามีขั้นตอนในการสร้างยานอวกาศเเละคัดเลือกนักบินอย่างไร


มีการเล่าเรื่องราวของ ยูริ กาการิน หนึ่งในมนุษย์คนเเรกที่ไปเดินทางบนอวกาศได้สำเร็จ หรือเเม้กระทั่งสุนัขตัวเเรกของโลกที่ไปอยู่บนอวกาศอย่าง ไรก้า ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของรัสเซียอย่างมาก โดยมีการนำมันมาสต๊าฟไว้ให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมได้ดูกันอีกด้วย

นอกจากนี้เเล้วก็ยังคลอเลคชั่นมากมายเกี่ยวกับการออกท่องอวกาศในช่วงเวลานั้น ทั้งโปสเตอร์ชวนเชื่อ หรือเเม้เเต่ชุดของนักบินอวกาศในยุคนั้นก็มีการนำมาจัดเเสดงอีกด้วย เเละโซนที่บอกเล่าเรื่องราวของยุริ กาการิน ทั้งรูปภาพต่างๆ ที่หาชมอยู่ เครื่องเเบบของเขา เเละชุดนักบินที่เขาสวมในวันที่เสียชีวิตด้วย


ประวัติศาสตร์ของยุคบุกเบิกด้านอวกาศโซเวียต (ค.ศ.1957-1987)

การบุกเบิกสองวันหลังจากที่ สหรัฐอเมริกา ประกาศความตั้งใจที่จะสร้างดาวเทียม, 31 กรกฎาคม 1956 สหภาพโซเวียตประกาศความตั้งใจที่จะทำเช่นเดียวกัน สปุตนิก 1 เปิดตัววันที่ 4 ตุลาคม 1957 สหรัฐอเมริกาหน้าแตกและคนตื่นตะลึงทั่วทุกมุมโลก

โครงการอวกาศของโซเวียตที่เป็นผู้บุกเบิกสิ่งต่างๆในการสำรวจอวกาศ:

ค.ศ. 1957 ขีปนาวุธอาร์-7 เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปลูกแรก

ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรก

ค.ศ. 1957 ไลก้า เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2

ค.ศ. 1959 ลูนา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดวงจันทร์

ค.ศ. 1959 ลูนา 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดวงจันทร์

ค.ศ. 1959 ลูนา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถ่ายภาพแรกของอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์

ค.ศ. 1960 เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) ในสปุตนิก 5 เป็นสิ่งมีชีวิตเดินทางไปอวกาศและกลับมาอย่างปลอดภัย

ค.ศ. 1961 เวเนรา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวศุกร์

ค.ศ. 1961 ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกในอวกาศ ใน วอสตอค 1

ค.ศ. 1961 คนแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ 24 ชั่วโมงคือ Gherman Titov ใน วอสตอค 2

ค.ศ. 1962 วอสตอค 3และวอสตอค 4 เป็นการปล่อยยานคู่กันเป็นครั้งแรก

ค.ศ. 1962 มาร์ส 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวอังคาร

ค.ศ. 1963 วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นผู้หญิงคนแรกในอวกาศใน วอสตอค 6

ค.ศ. 1964 วอสฮอด 1 เป็นยานที่สามารถบรรทุกลูกเรือได้3 คนลำแรก

ค.ศ. 1965 อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ ใน วอสฮอด 2

ค.ศ. 1965 เวเนรา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวศุกร์

ค.ศ. 1966 ลูนา 9 เป็นดาวเทียมดวงแรกลงจอดบนดวงจันทร์

ค.ศ. 1966 ลูนา 10 เป็นยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรก

ค.ศ. 1967 คอสมอส186 กับ คอสมอส188 เป็นการนัดพบและเทียบท่าไร้คนขับครั้งแรก

ค.ศ. 1968 สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่โครงจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย เต่ารัสเซีย ในซอนด์ 5

ค.ศ. 1969 โซยุซ 4และโซยุซ 5 เป็นการนัดพบและเทียบท่าแบบมีคนขับครั้งแรก

ค.ศ. 1970 ลูนา 16 เป็นยานที่มีการเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์โดยใช้ยานระบบอัตโนมัติครั้งแรก

ค.ศ. 1970 ลูโนฮอด 1 การนำหุ่นสำรวจอัตโนมัติมาใช้บนดวงจันทร์ครั้งแรก

ค.ศ. 1970 เวเนรา 7 เป็นยานอวกาศที่ลงจอดและสำรวจดาวศุกร์ยานแรก

ค.ศ. 1971 ซัสยุส 1 เป็นสถานีอวกาศลำแรก

ค.ศ. 1971 มาร์ส 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวอังคาร

ค.ศ. 1971 มาร์ส 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่จะลงจอดบนดาวอังคาร

ค.ศ. 1975 เวเนรา 9 ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวศุกร์เป็นภาพแรก

ค.ศ. 1980 Arnaldo Tamayo Méndez (คิวบา) เป็นชาวลาตินและผิวสีคนแรกในอวกาศ โซยุซ 28

ค.ศ. 1984 Svetlana Savitskaya เป็นผู้หญิงคนแรกที่เดินในอวกาศ ในสถานีอวกาศซัสยุส 7

ค.ศ. 1986 ลูกเรือใน สถานีอวกาศซัสยุส 7กับสถานีอวกาศเมียร์ เป็นลูกเรือชุดแรกที่เยือนสถานีอวกาศสองที่ ในภารกิจเดี่ยวกัน

ค.ศ. 1986 เวกา 1 และ เวกา 2 เป็นยานแรกที่ใช้บอลลูนบังคับในการสำรวจดาวศุกร์ และการถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวหางครั้งแรก

ค.ศ. 1986 สถานีอวกาศเมียร์ เป็นสถานีอวกาศแบบประกอบลำแรก

ค.ศ. 1987 Vladimir Titov และ Musa Manarov เป็นลูกเรือชุดแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ มากกว่า1ปี ในโซยุซทีเอ็ม-4

นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก First Women In Space ชาวรัสเซีย

วาเลนตีนา เตเรชโควา (6 มีนาคม ค.ศ. 1937- ปัจจุบัน (80 ปี))

วาเลนตีนา วลาดีมีรอฟนา เตเรชโควา (อังกฤษ: Валенти́на Влади́мировна Терешко́ва; 6 มีนาคม 2479 - ปัจจุบัน ) นักบินอวกาศรัสเซียเกษียณอายุ นักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจรกับยานอวกาศชื่อ "ยานวอสตอค 6" เมื่อปี พ.ศ. 2506

วาเลนตีนา เตเรชโควา เกิดที่บอลโชเยมัสเลนนีโคโว หมู่บ้านขนาดเล็กในแคว้นยาโรสลัฟล์ หลังจากจบการศึกษามัธยมปลายได้เข้าทำงานในโรงงานทำยางรถอยู่ระยะหนึ่งแลัวจึงเข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรม ต่อมาได้เข้าเป็นนักกระโดดร่มที่สโมสรการบินท้องถิ่นและกระโดดร่มเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 22 ปี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2502 สองปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2504 เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์และได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

บทบาทในโปรแกรมอวกาศโซเวียต

หลังจากการโคจรของยูริ กาการิน ความคิดที่จะให้มีนักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกได้เกิดขึ้นเพื่อสงครามโฆษณาชวนเชื่อระหว่างสองค่ายลัทธิ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 วาเลนตีนาก็ได้รับการคัดเลือกเป็นสตรีหนึ่งในห้าคนจากผู้สมัครสตรีมากกว่า 400 คน ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการกระโดดร่ม รวมทั้งการมีอายุต่ำกว่า 30 ปีและมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 70 กิโลกรัมและที่สำคัญคือการมีพื้นเพจากชนชั้นกรรมาชีพและมีบิดาเป็นวีรชนเสียชีวิตในการต่อสู้กับพวกนาซี

การฝึกเป็นนักบินอวกาศเป็นงานที่หนักมากสำหรับสตรี นอกจากการฝึกทั่วไปแล้วยังต้องฝึกหัดเป็นนักบินไอพ่นและต้องกระโดดร่มมากกว่า 120 ครั้ง (นักบินอวกาศรัสเซียเรียกว่า "คอสโมนอต" เนื่องจากต้องออกจากวงโคจรลงสู่ผิวดินบนบก ต่างจากนักบินอวกาศอเมริกัน "แอสโตรนอต" ที่ลงบนผิวมหาสมุทร)fall down on ocean

การขึ้นสู่วงโคจรของวาเลนตีนานับเป็นผลสำเร็จเป็นอย่างสูง เธอโคจรรอบโลก 48 รอบในเวลาเกือบ 3 วัน มากกว่าเวลาในอวกาศของนักบินอวกาศอเมริกันทุกคนรวมกันในช่วงนั้น นอกจากการเป็นสตรีคนแรกแล้ว วาเลนตีนายังเป็นนักบินพลเรือนคนแรกของโลกอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีโครงการนักบินอวกาศสตรีต่อเนื่องมาอีกระยะหนึ่ง แต่กว่าจะมีนักบินสตรีคนที่ 2 ได้บินก็กินเวลาต่อมาอีกถึง 19 ปี เมื่อสหภาพโซเวียตส่ง "สเวตลานา ซาวิตสกายา" ขึ้นบินเนื่องจากแรงกดดันในความก้าวหน้าทางอวกาศของอเมริกาในโครงการกระสวยอวกาศ

ชีวิตภายหลังจากขึ้นบินสู่อวกาศ

หลังการขึ้นบินครั้งนั้นแล้ว วาเลนตีนาได้กลับไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมอวกาศจากโรงเรียนนายเรืออากาศจูคอฟสกีถึงระดับปริญญาเอก รับรัฐการในกองทัพอากาศได้ยศถึงพลอากาศโท ได้เข้าสู่งานการเมือง ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญถึงระดับกรรมการกลางของพรรคฯ เธอถูกนีคีตา ฮรุชชอฟเลขาธิการพรรคและนายกรัฐมนตรีจับคลุมถุงชนให้แต่งงานกับนักบินอวกาศด้วยกันและมีการจัดงานแต่งงานใหญ่โตที่พระราชวังเครมลิน ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติทั้งฝ่ายการเมืองและวงการอวกาศ หลังจากมีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน (ต่อมาเป็นแพทย์หญิง) ทั้งสองก็หย่าขาดกัน วาเลนตีนาได้แต่งงานอีกครั้งหนึ่งกับนักวิทยาศาสตร์

วาเลนตีนา เตเรชโควา ได้ทำงานอยู่ในแวดวงรัฐบาล ได้รับตำแหน่งที่สูงหลายตำแหน่ง ได้รับเกียรติและการยกย่องมากมาย โดยเฉพาะการเป็นวีรสตรีแห่งสหภาพโซเวียต ได้เป็นผู้แทนประเทศในบทบาทของสตรีทั้งในระดับนานาชาติและที่สหประชาชาติ มีการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์โดยใช้ชื่อของเธอ หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แม้ชื่อเสียงและกิจกรรมจะจางลง แต่ผู้คนก็ยังระลึกถึงเธออยู่เสมอ ในวงการอวกาศและการบิน จะเป็นรองก็เพียงจากยูริ กาการินและอะเล็กเซย์ เลโอนอฟเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2543 สมาคมสตรีแห่งปีนานาชาติได้ยกย่องเธอให้เป็น "สตรีแห่งศตวรรษ"

อ้างอิง: www.worldtraveltrips.com , http://www.kosmo-museum.ru

ความคิดเห็น