"ตลาดน้อย" เป็นย่านชุมชนจีนที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของสำเพ็ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสำเพ็ง ซึ่งจัดว่าเป็นตลาดใหญ่ในขณะนั้น และเรียกตลาดใหม่แห่งนี้ว่า "ตะลักเกี้ย" ซึ่งแปลว่า "ตลาดน้อย"

การเดินทางไปตลาดน้อยนี้สามารถเดินทางได้หลายทาง ทั้งทางรถ รถไฟฟ้า และทางเรือ ซึ่งครั้งนี้ "ดินสอขอเขียน" เลือกเดินทางโดยเรือข้ามฟากจากท่าเรือสี่พระยา (ค่าเรือข้ามฟาก 4.50 บาท) ข้ามไปยังท่าเรือสี่พระยา

เมื่อถึงท่าเรือสี่พระยาแล้วเราเดินลัดเลาะไปตามซอยวานิช 2 จนพบกับ "วัดแม่พระลูกประคำ" เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทรงกอทิกที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ตัวโบสถ์หันหน้าออกไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา

d785juosp22z
ydruo2gw6kc0

โบสถ์แห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญ 2 รูป ซึ่งเป็นสมบัติเก่าแก่ตั้งแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่

2 ได้แก่

"รูปแม่พระลูกประคำ" และ "รูปพระศพของพระเยซูเจ้า"

โดยทั้งหมดนี้ยังคงเก็บรักษาและใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาจนถึงปัจจุบันนี้

3elyyr5rzawb
03yhvo9oxzfu
ctcxa7r6ewtt

จากนั้นเราเดินไปเรื่อยๆ จะพบกับความสวยงามและมีเอกลักษณ์ของ "กราฟฟิตี้" บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนตลาดน้อย โดยวาดเป็นรูปร้านค้า ที่แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้ที่เต็มไปด้วยของกินที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็น เป็ดตุ๋นเจ้าท่า เจ๊ภาอาหารปักษ์ใต้ กะหรี่ปั๊ปคุณปุ๊ ฯลฯ

8yda3iwrxm8p
vb71zwexpfjk

เราเดินไปตามทางเรื่อยๆ จนมาพบกับ "ศาลเจ้าโรงเกือก" ศาลเจ้าเก่าแก่ของย่านตลาดน้อยที่มีอายุมากกว่า 120 ปีแล้ว ที่นี่เป็นที่ตั้งของ "เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง"

igw1rp85agvw
t89hu6g7qlxs
v8i0skh6llxo

ออกจากศาลเจ้าโรงเกือกไปอีกไม่ไกลก็จะพบกับ "บ้านโซวเฮงไถ่" คฤหาสน์เก๋งจีนที่มีอายุมากกว่า 200 ปี ทำจากไม้ มี 2 ชั้น ตรงกลางมีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ หากจะเข้าไปถ่ายรูป ต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนนะคะ วันที่ "ดินสอขอเขียน" ไปนั้น ไม่ได้เข้าไปข้างใน เนื่องจากบ้านยังไม่เปิด จึงไม่กล้าเปิดประตูเข้าไป เลยได้แต่ภาพหน้าบ้านมาค่ะ

7yg14p71py8w
ppxramt2qkvv


และสถานที่สุดท้ายของการเดินเที่ยว "ตลาดน้อย" วันนี้คือ "ย่านเซียงกง" ซึ่งเป็นแหล่งค้าอะไหล่เก่า

oqt3gc959dcd


ติดตามเรื่องกินเรื่องเที่ยวกับดินสอขอเขียนได้ที่ https://www.facebook.com/EatAndTravelWithTT/


ความคิดเห็น