วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียงหรือวัดพระปรางค์
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้มีลักษณะเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบและเจาะช่องแสง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็น พระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สําคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้นอย่างแน่นอน เนื่องจากได้ขุดค้นพบฐานโบราณสถานก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐาน พระวิหารหลวง

นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วม สมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกําแพงวัดซึ่งทําเป็นรูปพระโพธิสัตว์ – อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรํา สําหรับความสําคัญวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองเชลียง ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนําถม (ประมาณ พ.ศ. 1780) มาแล้ว โดยมีหลักฐานยอดซุ้มปูนปั้นประตูทางเข้าวัด ซึ่งมีลักษณะรูปแบบศิลปะสมัยบายน
มีการสร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยขอมเรืองอำนาจถึง 800 ปี ที่ตั้งของวัดแห่งนี้มีลักษณะที่เคยเป็นศูนย์กลางของชุมชนมาก่อนและเมืองนั้นก็คือ “เมืองเชลียง”เมืองที่มีอายุคาบเกี่ยวกับยุคทวารวดี ซึ่งวัดพระศรีมหาธาตุราชวรมหาวิหาร มีปรากฎหลักฐานแน่ชัดใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 และเป็นวัดที่มีความสำคัญมาถึงสมัยธนบุรี
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร โบราณสถานสามัญ มีดังนี้
ปรางค์ประธาน

ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบ สถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยา ภายในซุ้มโถงมีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้น มาคล้ายถูกสร้างครอบทับ ตามผนังภายในองค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้
พระธาตุมุเตา

พระธาตุทุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกําแพงแก้ว แต่ก็ยังล้อมรอบด้วย กําแพงศิลาแลงที่ทําเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบาง ซึ่งน่าจะเป็นคนละสมัยกับกําแพงศิลาแลง ที่ทําเป็นท่อนใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
ตัวพระธาตุมุเตาก่อด้วยศิลาแลง ฐานเป็นเหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้น ต่อจากนั้นเป็นบัวถลา 3 ชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายลงมาหมด ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งปี พ.ศ. 2534 ได้ พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์
วิหารพระสองพี่น้อง

วิหารพระสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า ฐานวิหารสองพี่น้อง ก่อทับโบราณสถานที่ก่ออิฐข้างขวาพระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้อง พบฐานรอยพระพุทธบาทด้วย
มณฑปพระอัฏฐารศ

มณฑปพระอัฏฐารศอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิม มณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา
โบสถ์

โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลัง โดยสร้างทับโบสถ์เดิม
สถานที่ตั้ง : ตําบลศรีสัชนาลัย อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64190
เวลาทำการ :เปิดให้เข้าชม: เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย ท่านละ 20 บาท ,ชาวต่างชาติ ท่านละ 100 บาท
Credit: กรมศิลปากร / The Fine Arts Department
Create by: มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มีชีวิต / Living Museum Foundation
ติดตาม Living Museum Foundation ได้ที่
⭐️Facebook: https://www.facebook.com/livingmuseumth
💬Line: @livingmuseumth
🎨IG : https://www.instagram.com/livingmuseum.th
🐦Twitter: https://twitter.com/livingmuseumth
📨E-mail: [email protected]
Admin: Numsomns
livingmuseumth
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 15.10 น.