คุณนิยาม คำว่า ความงาม ? ไว้อย่างไร
ไม่ว่าคุณจะให้คำนิยามว่า ความงาม คือ เห็นแล้วชวนหลงใหลน่ามอง ? หรืออะไรก็ตามแต่... เราพาคุณท่องโลกกิจกรรมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่กำลังจะมีในเดือนสิงหาคม 2562 กับนิทรรศการหลักที่เราเผลอเดินไปเจอแล้วถูกใจ
นิทรรศการความงามนิรนาม (FIGURE OF UNKNOWN BEAUTY) จัดขึ้นตั้งแต่ 19 กรกฎาคม - 3 พฤศจิกายน 2562 (เข้าชมฟรี) ห้องนิทรรศการหลักชั้น 8
แผนที่ :
เวลาเปิด-ปิด : 10.00 - 21.00 น. (ปิดวันจันทร์)
เห็นว่า เป็นนิทรรศกาล Art Brut (อาร์ตบรูต) ครั้งใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยนะ เป็นการร่วมมือแสดงผลงานอาร์ต ๆ จากศิลปินชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ทั้งหมด 51 คน มีให้ดูงานศิลป์มากมายหลายรูปแบบ เลือกดูได้ตามใจชอบ ตั้งแต่
- จิตรกรรม
- เซรามิก
- งานสามมิติ
- ภาพถ่าย
มีหัวข้อการจัดแสดง 5 หมวดหมู่เลยนะ เช่น
- การทำซ้ำ ความหนักแน่น และความกลมกลืน
- นานาสิ่งจากชีวิตประจำวัน
- ความปรารถนา คือ บ่อเกิดการสร้างสรรค์
- ศิลปะที่เกิดจากความสัมพันธ์
- สู่มิติใหม่แห่งการสร้างสรรค์
แค่ชื่อก็อาร์ตสุด!!!!!!!!!!!!!!!!!! อาร์ตเกิ๊น เพลินเกิ๊น ระหว่างที่เดิน เอาเป็นว่า ขออนุญาตเลือกถ่ายภาพเฉพาะงานศิลป์ที่เราชื่นชอบ เนื่องจากลืมเอากล้องไปค่ะ TT ฮื้อ ต้องใช้มือถือถ่ายภาพทั้งงานเลย ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
เอาเป็นว่า !!!! มาเริ่มดูความงามนิรนาม ตามคำนิยามของศิลปินชื่อดังชาวไทยและชาวญี่ปุ่น พร้อมกับถอดรหัสจากผลงานแต่ละชิ้นตามประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ชมกันเถอะค่ะ (เราเก็บ 9 งานศิลป์มาเล่า)
1. ภาพบุคคลหลายอาชีพ by พิชญา เลิศทรัพย์เจริญ
คงต้องบอกว่า "สะดุดตา" กับผลงานสีสันสวยที่ถูกสรรค์ด้วยสีไม้ธรรมดา ๆ ร่างบนกล่องกระดาษ สร้างอาร์ตเวิร์คหลากหลายตามใจฉัน พร้อมถ่ายทอดพลังบวก ความสดใส ความสุข ของอาชีพนางพยาบาล นิสิตฝึกสอน พิธีกร ฯลฯ เธอถ่ายทอดพร้อมกับส่งพลังบวกให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี คงต้องขอชื่นชม
เรียบง่าย ถ่ายทอดอารมณ์
2. ไม่เคยทะเลาะ : พี่น้องชอบเล่นว่าว อากาศดีสบายใจ by ปรียานุช เครือนาค
ความงามที่ถูกถ่ายทอดไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 บนผืนกระดาษด้วยสีพาสเทลดูสบายตา แม้จะเป็นภาพที่ดูเรียบง่ายธรรมดา แต่ผลงานนี้เธอได้รับแรงบันดาลใจจากความฝัน จินตนาการ และเขียนถ่ายทอดอย่างเรียบง่าย สดใส แม้ปรียานุชจะเป็นบกพร่องทางการได้ยินแต่เธอสะท้อนสังคมไว้ผ่านภาพได้อย่างลึกซึ้ง
3. แสงสว่าง ความสับสน และอิสรภาพ by ธีรวัฒน์
งานศิลป์ชุดนี้ถูกสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ตั้งแต่ก่อนผู้เขียนเกิดเสียอีก ที่ชอบเพราะเป็นภาพที่แสดงได้ลึกถึงอารมณ์ ความกลัวที่พลุ่งพล่าน และความต้องการอิสรภาพผ่านเปลวไฟ บอกเลย "กินใจ"
4. ลากตามใจ : อากาเนะ คิมุระ
ความอินดี้ของศิลปินชาวญี่ปุ่นอากาเนะ คิมุระ จากจังหวัดชิงะ เธอสร้างงานนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 เป็นการสะบัดเส้นสายลากไปมา ตามอารมณ์ความรู้สึกของเธอในตอนนั้น
5. ภาพนางงาม : ศุภฤกษ์ แสงใส หรือพี่เข้ม
ผลงานนี้ต้องบอกว่า กริ๊ดจริง ๆ เนื่องจากเห็นแต่ในอินเทอร์เน็ต พี่เข้ม กับผลงานภาพนางงามที่ใช้เพียงแค่เครื่องสำอางในการระบายสีสันลงในผืนผ้าใบ บอกเลยว่า งามยิ่งกว่าภาพถ่ายค่ะ
6. หุ่นนักรบ : โชตะ คัทสึเบะ
ผลงานจากชีวิตประจำวัน โชตะ คัทสึเบะ สร้างหุ่นนักรบผ่านลวดสี โลหะ ตะปูขนาดเล็ก ยางรัด ผ้า ไม้จิ้มฟัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2556 เหล่านักรบเหล่านี้เหมือนจริง แต่มาจากสิ่งของที่ประยุกต์ใช้ทั้งนั้น เขาเริ่มทำตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ด้วยความที่เขาสร้างหุ่นฟิกเกอร์มาเพื่อพกติดตัวเหมือนเพื่อน และหุ่นที่เราเห็นเหล่านี้เป็นหุ่นที่คัทสึเบะมีความผูกพันน้อยที่สุด แต่เท่สุด ๆ
ขอบคุณ โชตะ คัทสึเบะ ที่เปิดโอกาสให้เราได้เห็นความอลังการแบบจิ๋วแต่แจ๋วเช่นนี้
7. ผลงานจากขี้เลื่อย : ศักพงษ์
ชอบตรงนี้ ชอบการประยุกต์เปลี่ยนขี้เลื่อยไร้ค่าให้กลายเป็นสิ่งสวยงาม ภายใต้ชื่อผลงาน "บันไดแห่งความสำเร็จ" แฝงด้วยนัยยะมากมายในงานดังกล่าว เลยหยิบภาพมาฝากกันกับภาพสัตว์ และกรงขังที่สื่อสารถึงการดิ้นรนเพื่อหลุดพ้น ก้าวสู่อิสระภาพ
8. เทปใส และปากกามาร์คเกอร์ เป็นแว่นตา : มาโกโตะ ทากะมารุ
แปลกดีค่ะ ทั้งหมดไม่ใช่แว่นตาจริง ๆ นะคะ แต่เป็นการเลียนแบบโดยใช้เทปใสทาสีดำด้วยมาร์คเกอร์ มาโกโตะ ทากะมารุ ดีไซน์ไว้ตั้งแต่ปี 2513 ที่เห็นทั้งหมดเขาใช้เวลาเพียง 15 นาทีในการถ่ายทอด ทำซ้ำความคิดของเขานะคะ ไม่ธรรมดาเลยล่ะ
9. ตัวอักษรตัดจากกระดาษ : ยูอิจิ ซากุตะ
ตั้งแต่ปี 2530 ยูอิจิ ซากุตะ จากจังหวัดโอกินาระ ตัดอักขระเหล่านี้จากกะดาษโอริงามิมาแปะทำผลงาน ส่วนใหญ่เขาเลือกคำที่ต้องการ ตัดแปะด้วยกรรไกรง่าย ๆ สร้างคำซ้ำ ๆ แสดงถึงสิ่งที่เขาชอบ แปลกตา สวยงาม และล้ำค่าเหนือการเวลาจริงค่ะ และต้องบอกว่าส่วนตัวชอบผลงานนี้สุด ๆ เลย
สีสวย อาร์ต ๆ ส่งถึงความชอบที่เต็มเปี่ยมในงานศิลป์ชิ้นนี้
สุดท้าย เราได้เรียนรู้อะไรจากนิทรรศการ "ความงามนิรนาม"
หลังจากเสพศิลป์ "ความงามนิรนาม" เสร็จสิ้น ฉันกลับมีมุมมองความงามเปลี่ยนไป พร้อมกับได้นิยามความงามของชีวิตจดไว้บอกตัวเองว่า "ความงาม คือ สิ่งถูกสรรค์สร้างขึ้นด้วยตัวเรา และทุกสิ่งจะงามมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน"
สนใจเที่ยวหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชมนิทรรศการ Highlight Exgibition นี้ได้นะคะ รับรองว่า คุณจะได้คำนิยามความงามรูปแบบใหม่ตามที่คุณเห็นและเข้าใจเลยล่ะ :) ไว้พบกันใหม่ในบทความต่อไปนะคะ
บทความที่คุณอาจจะปลื้ม : สักเพื่ออะไร? เรียนรู้วิถี "สักสี สักศรี ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน" @มิวเซียมสยาม
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ
ติดตาม Butter Cutter นักเขียนได้หลายช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์ th.readme.me/id/buttercutter
หากชอบบทความสามารถให้กำลังใจผู้เขียนด้วยการกดไลค์เพจที่ไหนอะไรดีก็ได้นะ จะได้มีกำลังใจหาเรื่อง เอ้ย!! กำลังใจหาสิ่งสนุก ๆ มาบอกเล่ากันอีก หรืออยากให้เราเล่าเรื่องไหน ปรับปรุงอะไร คอมเมนต์ได้เสมอ
ที่ไหนอะไรดี
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 01.03 น.