เป็นเวลานานหลายปีมาแล้วที่  ผมผู้เขียน ณ  วงเดือน  ได้มีโอกาศไปเที่ยวเยี่ยมชมปราสาทขอมโบราณ ที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งของปราสาทเขมรอารยธรรมโบราณอายุ นับพันปีอีกแห่งที่ตั้งอยู่ที่บ้านหมู่ 2 ต.ตาเป๊ก  อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์  เส้นทางจากตัวเมืองบุรีรัมย์ มุ่งหน้ามา จ.นครราชสีมา ด้านซ้ายมือเลี้ยวเข้าสู่ อ.เฉลิมพระเกียรติ   ระยะทางกว่า 60 กม.  มีป้ายบอกทางมาตลอดจนถึง ที่ตั้งปราสาทเขาพนมรุ้ง จึงบันทึกไว้เป็นความรู้และความทรงจำดี ๆ ที่แห่งนี้

ปราสาทเขาพนมรุ้งแห่งนี้ มีอายุนับหลายพันปี ตั้งอยู่บนยอกภุเขาไฟเก่า ที่มอดสนิทมาแล้วเมื่อหลายล้านปี   สูงระดับเหนือน้ำทะเลปานกลางประมาณ 350 เมตร  ที่นี่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออีกแห่ง ของ จ.บุรีรัมย์ และมีสถาปัตยกรรมโบราณ ที่มีความสวยงามมากอีกแห่งของขอมโบราณที่ได้มาสร้างไว้

ตัวปราสาทเขาพนมรุ้ง คาดว่าสร้างขึ้นเนื่องในลัทธิของศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ  ที่นับถือ พระศิวะ เป็นใหญ่กว่าเทพทุกองค์  จึงถือได้ว่าที่นี่เปรียบดังเขาไกราศ ที่ประทับอยู่ของพระศิวะ นั้นเอง

ปราสาทหินใจกลางที่ตั้งบนยอดเขา  ถือเป็นศูนย์กลางของปราสาททุกหลัง  เป็นอาคารทรงจัตรุรัสย่อมุม มณฑป ภายในห้องโถงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีทางเชื่อมโยงทั้งสี่ด้าน  เสาซุ้มประตูต่าง ๆ  ก่อด้วยหินทรายสีชมภูแกะสลักสวยงามมาก 

ที่บริเวณด้านหน้าก่อนเข้าสู่ภายในตัวปราสาท เหนือวุ้มประตูทางเข้า มีภาพแกะสลักนูนต่ำ ที่เคยดด่งดังรู้จักกันไปทั้วโลกนั้นก็คือ ทับหลังนาราย์บรรทมสินธุ์  ที่ได้หายถูกขโมยไปแต่ราว ปี พศ. 2503  และได้รับการนำส่งคืน เมื่อ ปี พศ.2531 

ด้านหน้าของวิหาร ยังมีสระน้ำขนาดย่อ ๆ 2 สระ  ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีสระน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นบริวารของปราสาท เขาพระวิหารแห่งนี้อีก 2 สระใหญ่ นั้นคือ สระน้ำหนองบัวบาราย  อยู่ที่เชิงเขา และสระน้ำ โคกเมือง 

ทีปราสาทองค์ประธาน ที่มีทับหลังนารายอันเลื่องชื่อ มองจากด้านนอกเข้าไปยังด้านในตัวปราสาท ตรงกลางห้องนี้ เป็นที่ตั้งรูปเคารพที่สำคัญที่สุด นั้นก็คือ แท่งหิน ศิวลึงค์ ขนาดใหญ่ ถือเป็นตัวแทนขององค์พระศิวะเทพ

ที่ปราสาทแห่งนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ช่วงเช้าดวงอาทิตย์ขึ้น จะส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บานถึงกันหมดเป็นที่น่าอัศจรรย์  โดยจะเกิดขึ้นในทุก ๆ ปี ช่วงเดือนเมษายน คือระหว่างวันที่ 2-4  เมษายน และอีกช่วง คือระหว่างวันที่ 8-10  กันยายน  แสงอาทิตย์จะส่องสว่างทะลุบานประตูของตัวปราสาท สว่างไสวเป็นที่ตื่นตาตื่นใจมาก ที่คนสมัยโบราณสามารถคำนวนแสงตกกระทบได้อย่างแม่นยำ     

และอีกช่วงที่พระอาทิตย์ตกดิน  จะสาดแสงส่องสว่างกระทบสู่บานประตูทั้ง 15 บาน ให้มองเห้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ในช่วงออาทิตย์ตะวันตกดิน คือ ในระหว่างวันที่ 5-7  มีนาคม  และ ก็ 5-7  ตุลาคม ของทุกปีเช่นกัน

   ความสวยงามอย่างมีมนต์ขลัง  ของตัวปราสาทเมื่อเดินเข้าไปภายในตัวอาคาร ก็จะยังพบกับเสาศิวะลึงค์  และรูปปั้นเป็นรูป โคนนทิ จะเลยมาอีกห้องหนึ่ง เลยจากที่ตั้งเสาศิวะลึงค์ มาเล็กน้อย ถือว่าเป็นจุดสำคัญอีกแห่งของปราสาทแห่งนี้

ทางขึ้นสู่ตัวปราสาทพนมรุ้ง  สองข้างทางขึ้นจะเป็นเสาหินเป็นสะพานนาคราช 5 เศียร  ทั้งสองฝั่งซ้ายขวา ทอดตัวยาว จนไปสู่บันได ทางขึ้นปราสาท ถึง 5 ชั้น แต่ละชั้นหากเดินไม่ไหวก็นั่งพักขาก่อนที่จะเดินต่อได้

ในการเดินทางมาเยือนปราสาทเขาพนมรุ้งในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วจึงขอบันทึกไว้ให้อยู่ในความทรงจำของผู้เขียนตลอด และบันทึกเป็นข้อมูลความรู้ไว้ ถึงกาเดินทางมาที่ 

โดยสาทารถเดินทางมาด้วยรถยนต์ส่วนตัว มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  218 บุรีรัมย์-นางรอง  ระยะทางประมาณ 50 กม. แล้วเลี้ยวว้ายมาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24  ถึงหมู่บ้านตะโก 14  กม. แล้วเลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข  2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก  มาอีก 12 กม. ก็จะถึงจุดหมายปลายทาง.

โดย.ณ วงเดือน

 วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.14 น.

ความคิดเห็น