เมื่อปีก่อน   บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ พร้อมกับท่านปรมาจารย์ มหากมล มงคลเกตุ ได้มีโอกาสไปเยือนเที่ยวชมย้อนรอยประวัติศาสตร์ ของสะพานรถไฟสายมรณะ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.ท่ามะขาม อ.เมืองกาญจนบุรี ที่เป็นรู้จักกันไปทั่วโลก เพราะมีการตายของผู้คนเป็นจำนวนมาก จากการสร้างทางรถไฟสายไป พม่าแห่งนี้ จึงขอบันทึกภาพเรื่องราว ความเป็นมา ที่ได้ไปเที่ยวชมไว้ ในที่แห่งนี้อีกเรื่องราว

ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นที่ สถานีชุมทางหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผ่าน จ.กาญจนบุรี ระยะทางกว่า 415 กม. ซึ่งจะต้องผ่านข้ามแม่น้ำแคว จุดหมายปลายทางที่ ที่ประเทศพม่า เมืองตาน-พะยูซะยะ ซึ่งระยะทางรถไฟ อยู่ที่ ไทยเรา 303.95 กม. และ ระยะทางในพม่า อีก 111.05 กม. มีจำนวนสถานี ทั้งสิ้นจากต้นทางมา  37 สถานี

ทางรถไฟสายนี้ สร้างขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่น เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น ทหารอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ฮอลันดา นิวซีแลนด์ ตลอดจนกรรมกร จีน ญวน ชวา พม่า อินเดีย  มาสร้างเพื่อเป็นเส้นทางสายยุทธศาสตร์ ผ่านทางพม่า โดยใช้เวลาในการสร้างเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2485 ถึง ตุลาคม 2486 

สะพานข้ามแม่น้ำแคว นี้ที่ได้ชื่อว่า เป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ เพราะเชลยศึกที่เกณฑ์มาสร้าง ทางรถไฟสายนี้ ต่างเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมากจากการขาดสารอาหาร โรคไข้ป่า และการถูกทารุณยกรรม ต่าง ๆ  ซึ่งได้เคยมีการเปรียบเทียบว่า " หนึ่งไม้หมอนของทางรถไฟ เท่ากับหนึ่งชีวิตที่เสียไป "

สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแคว แห่งนี้ ถือได้ว่า " เป็นสัญญลักษณ์แห่งสันติภาพ " และเป็นสถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ของจังหวัดแห่งนี้เลยทีเดียว ซึ่งโดยรอบของสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ ยังมีร้านอาหาร และที่พักผ่อนชมวิวทิวทัศน์เอาบรรยากาศ ที่สวยงามน่ามาเที่ยว มาพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะมาดู ความสวยงามของสะพานแห่งนี้ ที่สวยงามมาก จากการนำเหล็ก  ที่ใช้ในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ที่ใช้เหล็กที่นำมาจาก ประเทศ มลายู ชื่อสมัยนั้นนำมาเป็นชิ้น ๆ  เพื่อมาประกอบเป็นสะพานขึ้น เป็นเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก เป็นระยะ  และได้ถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดทำความเสียหายมาหลายครั้ง ภายหลังสงครามสงบ รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในปี 2489 จนสามารถใช้การได้จนถึงทุกวันนี้

ในช่วงกลางสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ ที่ด้านหลังจะมองเห็นวิวทิวทัศน์เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรม อาคารทรงเก๋งจีนโบราณ และรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่  ซึ่งก็ดูมีความสวยงามดู สงบร่มเย็น ติดแม่น้ำเหมาะแก่การไปร่วมทำบุญพักผ่อน ปฎิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว

ในการเดินทางมายังสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ มาได้หลายเส้นทาง  1.หากเริ้มต้นทางมาจาก กทม.ด้วยเส้นทางเพชรเกษม ใช้ทางหลวงหมายเล 4 สู่ จ.นครปฐม เข้าสู่ จ.ราชบุรี เข้าสู่ เมืองกาญจนบุรี ได้เลย 2. หากมาจาก กทม ใช้ทางหลวงสายปิ่นเกล้า -นครชัยศรี เส้นทางหลวง หมายเลข 338 สู่ จ.ราชบุรี และเข้าสู่เมืองกาญจนบุรี ได้เลย

สะพานข้ามแม่น้ำแคว ของทางรถไฟสายมรณะ แห่งนี้ ซึ่ง บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ  ได้มีโอกาสมาเยือนเที่ยวชม และได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราว อันน่าสะเทือนใจ ได้บันทึกไว้เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจ และให้อยู่ในความทรงจำ  ที่ได้มาเยือนในสถานเก่าแก่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ให้อยู่ในความทรงจำ ดี ๆ ตลอดไป.

โดย.ณ วงเดือน

 วันพฤหัสที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16.04 น.

ความคิดเห็น