ในช่วงเดือนมกราคาของทุกปี เป็นช่วงที่ ซากุระเมืองไทย หรือต้นนางพญาเสือโคร่งออกดอก และนักท่องเที่ยวจะนิยมไปชมกันเป็นประจำ วันนี้ สะพายกล้องท่องเที่ยวก้อขอเก็บภาพมาฝากเพื่อนๆกันอีกเช่นเคยครับ โดยเราจะไปชมกัยที่ ขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ มาพบกับโลกสีชมพูกันครับ

jlyd9soy6oqa

ขุนช่างเคี่ยน หรือสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่   ตั้งอยู่ใน เส้นทางเดียวกับ พระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์ และบ้านม้งดอยปุย สถานีเกษตรที่สูง ขุนช่างเคี่ยนเป็น 1 สถานี เกษตรฯ ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับ เมล็ด พันธุ์กาแฟ  ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ พลับ บ๊วย พลัม อะโวกาโด มะคาเดเมีย และไม้ผลกึ่งร้อน ได้แก่ ลิ้นจี่ และในทุกๆปีของหน้าหนาวช่วงปลายธ.ค-ม.ค. ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย สีชมพู สดจะบานสะพรั่งอวดความงามไปทั่วบริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึก อบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านชาวม้ง บ้าน ขุนช่างเคี่ยนเต็มไปด้วยสีชมพูของต้นนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่มาก ทั้งตามข้างทางถึงในหมู่บ้าน

เปิดกันด้วยภาพวิวเมืองเชียงใหม่ เมื่อมองลงมาจากยอดดอยครับ

2rwyro2xgo7k
ch9chl0sxtuo
05uqhzc4scnj
luyoyfhr5gxu
tyudjqmq3ziv

ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็นดงอยู่รวมกันสีของซากุระนั้นบานเป็นสีชมพูสดใส แถมบางช่วงยังบาน แทรกตัวอยู่ในบ้านพัก ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนัก ขุนช่างเคี่ยนถือเป็นแหล่งชมดอกพญาเสือโคร่งที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุดซึ่งใน แต่ละปีจะ มีนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นทุกปีเพราะดงดอกซากุระดอยที่ขุนช่างเคี่ยนมีความสวยงามไม่แพ้ใคร

87dkbw1c2ljj
jucw3bgpk68z
ljp13erd970n
1gncmmvatqpo
vkk98s59dn1x

นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides[3], อังกฤษ: Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา และมณีพฤกษ์[4] จังหวัดน่าน โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม

ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม

y6mzbu5be2f7
t4av7f6z2e6s
z0tsw42ca4mb
tdu4tzl1b0g3
8o7oqh5tzlpy

นางพญาเสือโคร่งและซากุระ

คำว่า ซากุระกล่าวถึงพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides[3] ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นมีซากุระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ (ญี่ปุ่น: 染井吉野 somei-yoshino ?) ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × oensis

นางพญาเสือโคร่งแตกต่างจากซะกุระญี่ปุ่น คือมีช่วงเวลาการออกดอกต่างกันคือ นางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น และมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากุระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย มีสีที่หลากหลาย

tqswah8cbem2
fp2n62usj8f6
d9ecj3ph81xp
w2jviiwhvn7j
zpsggickbns7
ctx0imh4y9tk

ติดตามกันต่อได้ที่

https://www.facebook.com/TravelofSalaryMan/

https://www.facebook.com/voravuds


ความคิดเห็น