Phuket Elephant Sanctuary

ชมช้าง ชมป่า บน Canopy Walkway
สะพานชมช้างที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

bqizn4r9xbm7

ภูเก็ต ไม่ได้มีแค่ทะเล  แต่มีที่ท่องเทียวเชิงอนุรักษ์รูปแบบใหม่ ที่น่าสนใจ

บน Canopy Walkway สะพานชมช้างและธรรมชาติมุมสูงที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ความยาว 750 เมตร สูง 7 เมตรบนป่าเขตร้อนเขียวชอุ่มเนื้อที่ 76 ไร่

Phuke Elephant Sancutuary หรือ PES เป็นศูนย์อนุรักษ์และพักพิงของช้างวัยเกษียณ ที่ ต.ป่าคลอก จ.ภูเก็ต

hz7z534cfl21
w1sikgh6bqyh

ที่นี่คือ ปางช้างยุคใหม่ของภูเก็ต เป็นที่พักของเหล่าช้างที่ถูก Rescue จากที่เคยทำงานหนัก ให้มาใช้ชีวิตแบบธรรมชาติตามสไตล์ช้างบ้าน ซึ่งช้างแต่ละเชือกล้วนมีเรื่องราวที่น่าเศร้า มีรอยแผลที่บอกให้รู้ถึงความเจ็บปวดที่ต้องเผชิญมา แต่ตอนนี้ ทุกตัวได้มีชีวิตที่สุขสงบท่ามกลางการดูแลอย่างดีในบั้นปลายชีวิต มีที่พักที่กว้างขวางสะอาด มีการฟื้นฟูสุขภาพอย่างดี

ช้างทุกเชือกมีเรื่องราว ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ เล่าให้เราฟังด้วยความเอ็นดู 

อย่างเช่น เรื่องราวของ 

**คุณยายมาดี (70ปี) คุณป้ากรรณิการ์ (50ปี)คู่ซี้ต่างวัยที่หัวใจตรงกัน คู่นี้เหมือนคู่แม่ลูก ป้ากรรณิการ์จะคอยดูแล และป้องกันภัยให้คุณยายมาดีตลอดเวลา ถ้ายายมาดี ร้อง ป้ากรรณิการ์ จะเข้ามาทันทีด้วยความเป็นห่วง แต่มีสิ่งเดียวที่ป้าไม่ยอม คือเรื่องกิน

h1lkrf2gfj9d

**ป้าทองกวาว​ และ แวนด้า​ (36ปี) ทองกวาวเป็นช้างที่สาวที่สุดในปางช้าง คู่นี้ ก็ถูก Rescue มาต่างที่กัน แต่ก็มาถูกชะตากันที่นี่ ​

**คุณยายดีเลิศ (60ปี)ช้างลากไม้ที่ขาหักจากการทำงาน ซึ่งมูลนิธิ​ safe elephant foundation rescueมาให้ในช่วงโควิด แต่ให้ที่นี่ดูแล ยายดีเลิศ ไม่คุ้นกับคน ดังนั้นเวลาเขาเดินมา เราต้องแอบไม่ให้เขาเห็น

**ป้าแคทลียา​ (46ปี)ช้างลากไม้ ที่ถูก Rescue มาจากจังหวัดตรัง เข้ากับตัวอื่นยาก และไม่ชอบเดิน ป้าจะอยู่กับที่ในมุมที่ป้าชอบ และไม่ยอมย้ายไปไหนจนกว่าจะค่ำถึงจะกลับเข้าโรงช้าง

** ป้าศรีนวล (43ปี​ )ช้างตาบอด 1 ข้าง ที่ถูกช่วยมาพร้อมดีเลิศ​ช่วงโควิด เป็นช้างขี่​ พานักท่องเที่ยว ​ ตอนที่มาถึงมีอาการติดเชื้อบนผิวหนังอย่างหนัก แต่ตอนนี้ได้รับการรักษาจนหายแล้ว

**ยายแก้วตา (60ปี) ช้าง​ตาบอด2ข้างและ ฟ้ามุ่ย (40 ปี) ยายแก้วตา เป็นช้างขี่มาจากจังหวัดภูเก็ต และถึงแม้จะตาบอด แต่ยายชอบเดินมาก แถมยังมีวีรกรรมหนี

จากคอกไปขโมยกล้วยที่สวนข้างๆ ส่วนฟ้ามุ่ย ถูก Rescue จากพัทยา

มาจากพัทยา คู่นี้ ก็มาพบและถูกชะตากันที่นี่ จะคอยอยู่เคียงข้าง และดูแลซึ่งกันและกัน

** ป้าจันทร์เจ้า (41ปี) ตาเสีย 1 ข้าง จาก จ.กระบี่ เดิมเป็นช้างฝึกลากไม้ แต่ไม่ยอม เปลี่ยนมาฝึกเป็นช้างขี่ ก็ไม่เอา เจ้าของส่งไปสุรินทร์ แต่ก็ไม่สามารถฝึกได้ จนในที่สุดก็ถูก Rescue ให้มาอยู่ที่นี ป้าจันทร์เจ้าชอบอยู่ตัวเดียว ไม่ชอบทั้งคน ไม่ชอบทั้งช้าง มาอยู่ที่นี่ปีนึง ถึงจะเริ่มยอมรับคนบ้าง

** คุณยายสายทอง (57ปี)  ช้างลากไม้ที่ตรัง และรับจ๊อบ​ ขายกล้วยที่ลันตา​ นักท่องเที่ยวที่เคยมาที่ Phuke Elephant Sancutary ไปพบเข้า  จึงแจ้งให้ไป Rescue มาไว้ที่นี่

lj1odfkdltbu
qj29ozet45lc
2yrdjbo89bna

บน Canopy Walkway. เราจะสามารถตามติดชีวิตของช้างแต่ละเชือก และฟังเรื่องเ่ล่าของช้างทั้ง 12 เชือกที่ได้รับการช่วยเหลือมา จากมัคคุเทศก์ของศูนย์ ที่เป็นผู้ดูแลช้างอย่างใกล้ชิด

xee67x5jku1g
jk13e2qz4t2m
mnif2xpp52h6
pawxcyaz2gx8

ปัจจุบัน มีช้างตัวเมีย ที่ถูก Rescue จำนวน 12 เชือก ค่าใช้จ่าย 3 แสน บาท/เดือน ซึ่งได้มาจากจากนักท่องเที่ยว  การดูแลคุณยายคุณป้าช้างที่นี่ มีค่าใช้จ่ายถึงเดือนละ 3 แสนบาท ซึ่งได้จาก นักท่องเที่ยว เท่านั้น

5tafmva1702z

การเดินทางมาถึง Phuke Elephant Sanctuaryไม่ยากเลย ขับตาม Google Map มาเลย มาที่ Meeting Point เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ จากนั้น นั่งรถสองแถวเข้าไปในปางช้าง การเข้าชมช้าง จะมีแพคเกตหลากหลาย ครึ่งวัน เต็มวัน การให้อาหารช้าง ในแพคเกตครึ่งวัน จะรวมอาหารมังสวิรัติ ที่แสนอร่อย และจัดเต็ม ทั้ง สลัดจานใหญ่เบิ้ม หมี่ผัดเจ ข้าวผัด มัสมั่นเจ และผัดผักรวม

และไฮไลท์ คือ เครื่องดื่มจากผลไม้ ที่เปรี้ยวอมหวานเติมความสดชื่น จากการเดินชมช้างได้ดีมากๆ

9so5uy9bpwci
gyk7u62k3otz
bzzqhd6ox5us

และก่อนกลับ ก็อย่าลืมแวะซื้อของที่ระลึกกลับไปฝากเพื่อนนะจ๊ะ

al7emnmg75f7
fbf5jla8xeyd
2fzszq06wz0j
vkmmy87wb8tc

ข้อมูลเพิ่มเติม
--------------------
การเข้าเยี่ยมชม  แบ่งเป็น 2 รอบ เช้า และบ่าย แต่ละรอบ จะเริ่มจากการให้ชมวิดีทัศน์ เดินทัวร์ชมปางช้าง  การให้อาหารช้าง   และปิดท้ายด้วย ทานอาหารพื้นถิ่นท่ามกลางธรรมชาติ

พิกัด GPS : https://goo.gl/maps/Rp5TihAvVSmncapWA

-------------
Phuket Elephant Sanctuary

Address: 100 หมู่ 2 ตำบลป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต
Open: 8.30-17.30 น..
Tel.: 07 6529 099 (8.30-17.30 น.) 0 2767 7111 (7.30 -10.00 น.)
Website: www.phuketelephantsanctuary.org
FB :  https://www.facebook.com/phuketelephantsanctuary/

jcu6m0zbarhm
ความคิดเห็น