"Art of the ocean"
หมู่บ้านใหม่ (หลังไฟไหม้) ไฉไลกว่าเดิม
ฤดูร้อน (เเถมมรสุมบางปี) ในเดือนพฤษภาคม 2019 เราเดินทางลงใต้เพื่อกลับไปเยี่ยมบ้านเเละพบปะพี่ๆ-เพื่อนฝูงในจังหวัดภูเก็ตเเละพังงา หลังจบทริปเขาหลักเราใช้เวลาที่เหลืออีก 3 วัน 2 คืน ตัดสินใจเดินทางต่อไปยัง อ.คุระบุรี จ.พังงา เพื่อลงเรือไปยังที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
เเม้จะเป็นคนใต้โดยกำเนิดเเต่พอเป็นสถานที่ๆอยู่ใกล้ตัวเราก็เชื่อว่าใครหลายๆคนคงมองข้ามไปบ้าง อาจด้วยเหตุผลที่ว่า "โอ้ยยย อยู่ใกล้ๆ จะไปเมื่อไหร่ก็ได้น่าาาา" เเละด้วยเหตุผลนี้เเหละทำให้เราเเทบไม่มีความสนใจเกี่ยวกับเกาะๆ นี้เลยในช่วงก่อนหน้า
จนกระทั่งเกิดเหตุหการณ์ไฟไหม้หมู่บ้านมอร์เเกนในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมา เราเป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งที่ได้มีโอกาสในการช่วยประชาสัมพันธ์-ระดมทุนเพื่อขอความช่วยเหลือผ่านทาง Facebook ในครั้งนั้นมีเพื่อนๆเเละพี่ๆหลายท่านช่วยบริจาคเเละสมทบทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายเรื่องอาหารการกินเเละเสื้อผ้าต่างๆ พอมีช่วงว่างในครั้งนี้ เราเลยคิดว่าการลงเกาะไปเก็บภาพสำหรับอัปเดตความเป็นอยู่เเละสภาพหมู่บ้านให้ทุกท่านๆ ที่ช่วยกันระดมทุนในครั้งนั้นได้เห็นก็ท่าจะดี
"หมู่บ้านเก่า"
หลังจากทำการจองเต้นท์พักบนอุทยานฯ เรียบร้อยเเล้ว เราเดินทางด้วยเรือหางยาวเพื่อตรงไปยังหมู่บ้านมอร์เเกน ซึ่งใช้เวลาในการนั่งเรือประมาณ 15 นาที
หลังเรือท่ายาวเทียบฝั่ง ทางด้านซ้ายมือของเราจะเห็นเป็นหมู่บ้านในสร้างขึ้นเเบบดั้งเดิม ทางนี้เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ๆรอดจากไฟไหม้ในครั้งนั้น ซึ่งมีไม่ถึง 10 หลังคาเรือนด้วยซ้ำ เรามีโอกาสได้พูดคุยกับหัวหน้าหมู่บ้านคนใหม่ที่มาจากการเลือกกันเองของคนในหมู่บ้าน
ชายหนุ่มอายุระหว่าง 25 - 35 ปี ผู้เป็นหัวหน้าคนปัจจุบันเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตำเเหน่งหัวหน้าผมู่บ้านจะตกทอดจากพ่อสู่ลูก เเต่ในปัจุบันซึ่งวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนเเปลงไป ชาวมอร์เเกนบางส่วนต้องออกไปค้าขายกับคนบนฝั่ง ทำให้การเลือกหัวหน้าหมู่บ้านในปัจจุบัน ต้องเลือกจากคนที่ความสามารถในการติดติอสื่อสารด้วย ความกล้าเเสดงออก เเละอีกหลายๆอย่าง
พูดได้ว่า เมื่อโลกเปลี่ยนไป คนอย่างเราๆที่อาศัยเเละใช้ชีวิตอยู่ในโลกก็ควรต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย เสียดายที่เรามีโอกาสในการพูดคุยค่อนข้างน้อย เนื่องจากเวลาที่จำกัด ไม่งั้นคงได้ข้อมูลดีๆกว่านี้อีกเยอะกว่า
"ความเชื่อชาวมอร์เเกน"
จุดนี้จากที่เห็นในครั้งเเรก เราซึ่งเป็นคนที่อยู่บนฝั่งมาตลอดเกือบเข้าใจไปว่า นี่เป็นจุดที่ทางหมู่บ้านทำไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป เเต่พี่หล่อเจ้าของเรือหางยาวที่เดินมาด้วยกันหันมาเล่าว่า นี่เป็น "เสาวิญญาณบรรพบุรุษ" ของชาวมอร์เเกนนั่นเอง
"หมู่บ้านใหม่"
หมู่บ้านใหม่ที่สร้างขึ้นหลังจากไฟไหม้ สองข้างทางซ้ายขวาหันหน้าเข้าหากัน ฝั่งที่เราใช้เทียบเรือคือโซนหลังบ้านของชาวมอร์เเกน เรียกได้ว่ามีบ้านวิวทะเลกันเลยทีเดียว
"งานฝีมือที่น้องถักกันเอง"
ใต้ถุนบ้านเเต่ล่ะหลังจะมีเเผงขายสร้อยข้อมือเเละข้อเท้าเล็กๆ เด็กๆส่วนใหญ่ที่ปิดเทอมก็จะมานั่งเฝ้าเเผงของตัวเองกันไป วัสดุส่วนใหญ่ที่เด็กๆนำมาใช้ จะเป็นสิ่งที่สามารถหาได้จากบนเกาะ เช่น เปลือกหอย กะลามะพร้าว ลูกไม้ เเละก้อนหินสีต่างๆ เป็นต้น ราคาจะเริ่มที่ 35 - 100 บาท
เด็กๆ สามสี่ขวบบนเกาะนี้ ส่วนใหญ่ถ้าพ่อเเม่จะให้พี่ๆที่โตกว่าคอยดูเเลน้อง ก็จะปล่อยให้เล่นดินเล่นทรายอยู่ตามอยู่ใต้ถุนบ้านไปตามประสา
"วิวหลังบ้านน้องๆ"
เราได้มีโอกาสเล่นน้ำทะเลหลังบ้านกับน้องๆพักนึง เด็กๆว่ายน้ำเก่งมากจ้าาาา สนุกสนานกันใหญ่เลย
"เเม่ ลูก เเละพี่เลี้ยง"
ตัวเราเองที่จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังเเทบจะเเยกไม่ออกว่าใครมาจากบนฝั่ง ใครอยู่เกาะกันเเน่
จบทริปเเล้วจ้าาาาาา ดีใจได้เจอหน้าลูกที่พลักพรากจากกันไปนาน (หยอกๆ)
เมื่อหมูหายไป - ในวันหยุด
วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08.48 น.