ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Cultural Center

จากพื้นที่กว่า 600 ตารางเมตร บนชั้น 3 ของอาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินได้สร้างสรรค์เป็น “ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Cultural Center)” ในปี 2558 ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม นับว่าเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เราอยู่ร่วมกัน” คือพื้นที่ที่เล่าเรื่องราวผ่านลำดับเหตุการณ์สำคัญของประชาคมอาเซียน (ASEAN Timeline) เพื่อสร้างความเข้าใจในความเป็นมาของอาเซียน โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญอย่างการเกิดขึ้นของสมาคมอาเซียนในปี 2510 ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย นอกจากนี้ยังมีวีดิทัศน์บทสนทนาระหว่างตากับหลานที่เข้าใจง่าย พร้อมคำบรรยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้พิการทางการได้ยินและชาวต่างชาติ

“ผูกพันหนึ่งเดียว” บริเวณที่ผู้เข้าชมสามารถทำความรู้จักแต่ละประเทศสมาชิก โดยจัดแสดงทั้งข้อมูลทางชาติพันธุ์ ศาสนา สกุลเงิน และภาษาที่ใช้ ผ่านระบบสัมผัสดิจิทัลและจอแสดงผลขนาดใหญ่ ผู้เข้าชมสามารถซึมซับมรดกทางวัฒนธรรมในทุกมิติไปกับ

VTR เล่าเรื่องราวความเป็นมาของอาเซี่ยน

หลากหลายวัฒนธรรมในอาเซี่ยน

“เที่ยวไปในอาเซียน” ประกอบด้วยห้องแรก คือ “มรดกของเรา”นำเสนอความเป็นมาของประเพณีสำคัญ และวัตถุที่ใช้ในประเพณี เช่น สงกรานต์ ไหลเฮือไฟ และหน้ากากเทศกาลมาสการ่า

หุ่นกระบอกน้ำการแสดงเลื่องชื่อของเวียดนาม

หุ่นกระบอกของอินโดนิเซีย

ประเพณีลอยกระทงของไทย

องที่สอง “เข้ามาทักทาย” พบกับหน้าต่างอาเซียนที่แสดงวีดิทัศน์การทักทายด้วยภาษาอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ห้องที่สาม คือ “อยู่สบายอาเซียน” นำผู้เข้าชมสู่สถานที่ต่าง ๆ เพื่อพบกับการใช้ชีวิตในแต่ละท้องถิ่นอย่างสมจริง ห้องที่สี่ คือ “เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย” ใช้กล้อง Kinect ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ให้ผู้เข้าชมได้ลองสวมใส่ชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศอาเซียน 

ห้องสุดท้าย “หลากหลายจานเด่น” สแกนจานอาหารด้วย QR Code เพื่อรับชมภาพสามมิติของอาหารอาเซียนพร้อมวัตถุดิบที่ใช้ผ่านเทคโนโลยี Augmented Reality (AR)

“หมุนเวียนเปลี่ยนเรื่อง” บริเวณที่มีการจำลอง ASEAN Street Food ให้ผู้เข้าชมได้เพลิดเพลินไปกับร้านอาหารริมทางสไตล์อาเซียน และระบบจอสัมผัสสั่งอาหารที่มีพ่อครัว - แม่ครัว 3 มิติ จากเทคโนโลยี ใบพัด Hologram มาปรุงอาหารให้เราได้รับชม 

นอกจากนี้ยังมีมุมนั่งพูดคุยสบาย ๆ ท่ามกลางบรรยากาศสวนสาธารณะ “เรียนรู้ในสวน” ซึ่งมี ASEAN e-Library สำหรับผู้ที่ต้องการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง  

บริเวณสุดท้าย “ชวนกันสร้างสรรค์” พื้นที่จัดกิจกรรมหมุนเวียนทุก 2 เดือน เช่น จัดแสดงพิธีแต่งงานตามประเพณีของแต่ละประเทศอาเซียน และ Workshop ทำขนมมงคลหรือมาลัยข้าวตอก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่น และศิลปะท้องถิ่น เรียกได้ว่ามาที่เดียวครบเครื่องเรื่องอาเซียนจริง ๆ

นามสมมุติ

 วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14.47 น.

ความคิดเห็น