น่าน...ก่อนฝนมา ณ วันวิสาขบูชา 20-22 พฤษภาคม 59 เสน่ห์น่าน...วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง-วัดภูมินทร์-พิพิธภัณฑ์สถานน่าน-วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร-วัดศรีพันต้น-วัดมิ่งเมือง-วัดพระธาตุเขาน้อย-กาดข่วงเมืองน่าน บ่อเกลือ...พระตำหนักภูฟ้าและศูนย์ภูฟ้าพัฒนา-บ่อเกลือสินเธาว์ ปัว...จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติดอยภูคา-วัดภูเก็ต

"เมืองน่าน" จังหวัดเล็กๆทางภาคเหนือ แต่เปี่ยมไปด้วยธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงวิถีชาวบ้านท้องถิ่น


ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นหลังได้เห็น เมืองเล็กๆแห่งนี้มีมนต์เสน่ห์ดึงดูดเหล่านักท่องเที่ยวหลายต่อหลายคน

ให้เข้าไปสัมผัสด้วยตัวเอง

20-22 พฤษภาคม 2559 กลับการเดินทางครั้งนี้จุดหมายปลายอยู่ที่เมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว

เริ่มแต่เช้าของวันที่ 20 พฤษภาคม 59 วันวิสาขบูชา ตามทางสาย 101 กำแพงเพชร-สุโขทัย-แพร่-น่าน ถึงตัวเมืองน่าน 10 โมงกว่า เป้าหมายแรกหาที่กินกันก่อน ข้าวซอยเลย ร้านแรกแหนมสุณี ปิด ร้านต่อไปข้าวซอยต้นน้ำก้อปิด(ปรับปรุง) เลยหันมามองฝั่งตรงข้าม ร้านเฮือนฮอม

เมื่อท้องอิ่ม เริ่มไปที่จุดหมายแรก


พระบรมธาตุแช่แห้ง


พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรโดยข้ามแม่น้ำน่าน เป็นศิลปะการก่อสร้าง ที่มีความวิจิตรงดงามอีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือ เป็นศิลปะการก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุญชัย

เป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่มาเที่ยวที่น่านนั้นต้องห้ามพลาด แวะมากราบไหว้ขอความเป็นสิริมงคล

เริ่มร้อนแล้ว ย้อนกลับเข้ามาในตัวเมืองอีกครั้ง เพื่อเข้าที่พักสำรับพักผ่อนรอตอนเย็น กับกาดข่วงเมืองน่าน(ถนนคนเดิน) และที่ท่องเที่ยวรอบบริเวณ วัดภูมินรทร์ วัดช้างค้ำ พิพิธภัณฑ์ วัดศรีพันต้น วัดมิ่งเมือง วัดหัวข่วง


ที่พัก...โรงแรมน่านลานนา อยู่หลังวัดหัวข่วง ห่างจากแยกข่วงเมือง 200 เมตร เดินถนนคนเดินได้สบาย

ที่พักหักร้อยไม่แพงเกินไป

แดดร่ม ลมโชย เที่ยวบริเวณกาดข่วงเมือง กลางเมืองน่าน เริ่มที่


วัดศรีพันต้น


ตั้งอยู่ในตัวเมืองน่าน ตรงข้ามร้านขนมหวานป้านิ่ม ภายในวัดมีวิหารที่สวยงามตั้งเด่นเป็นสง่า มีสีทองระยับ เป็นอีกวัดหนึ่งในจังหวัดน่านที่มีจิตรกรรมปูนปั้นที่สวยงาม โดยเฉพาะพญานาคเจ็ดเศียรเฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด สีทองเหลืองอร่าม

กลับมาที่แยกข่วงเมือง


พิพิธภัณฑ์สถานน่าน

ตัวอาคารตอนนี้ปิดบูรณะ ส่วนบริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีซุ้มลีลาวดีตั้งเรียงรายสวยงามมาก

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่านและวัดภูมินทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกกธาตุไว้ภายใน เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัยจากเจดีย์ทรงลังกา ฐานจากชั้นแรกถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้

วัดภูมินทร์


ถ้ามาน่านแล้วไม่ได้มาวัดนี้เหมือนมาไม่ถึง วัดภูมินทร์เป็นวัดที่อยู่ใจกลางเมือง เป็นวัดที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ คือโบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันประตูไม้ทั้งสี่ทิศแกะสลักลวดลายสวยงามมาก นอกจากนี้ฝาผนังยังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมา และถ้ามาที่วัดนี้พลาดไม่ได้กับการมาชมภาพเขียนผนัง ปู่ม่าน-ย่าม่าน ที่กำลังกระซิบบอกรัก กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองน่านไปแล้ว

กาดข่วงเมืองน่าน(ถนนคนเดิน)


ถนนคนเดินเมืองน่าน แห่งนี้ตั้งอยู่ด้านข้างของวัดภูมินทร์ ซึ่งจะเปิดทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 17.00-22.00 น. มีของอร่อย ของที่ระลึกน่ารักมากมาย เป็นสีสันอีกแห่งในเมืองน่านที่แสนสงบเงียบ

เช้าวันใหม่ 22 พฤษภาคม 59 หลังฝนตกเมื่อคืน กับดูบรรยากาศยามเช้า ของเมืองที่ดูเงืยบสงบ ตามวิถีชีวิต


วัดหัวห่วง


วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


วัดภูมินทร์


วัดมิ่งเมือง


เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน

วัดไผ่เหลือง


สายวันนี้ จุดหมายปลายทาง อยู่ที่บ่อเกลือ กับ ปัว ก่อนอื่นแวะชมวิวตัวจังหวัดน่าน มูมสูงที่วัดพระธาตุเขาน้อย กันก่อน


วัดพระธาตุเขาน้อย


ตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อยสามารถเดินทางมาได้ทั้งรถยนต์และจักรยานมีทางสำหรับรถยนต์ขึ้นไปถึงพระธาตุ หรือถ้าใครจะออกกำลังกายสามารถเดินขึ้นบันไดนาคที่มีจำนวน 303 ขั้น ขึ้นมาถึงด้านบนได้เช่นกัน บริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร

บริเวณด้านบนสามารถมองเห็นวิวตัวเมืองน่านได้อย่างงดงาม

หลังจากลงเขาแล้ว เตรียมตัวขึ้นเขาผ่านเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ผ่านทางอำเภอสันติสุข ไปยังบ่อเกลือ ทางช่วงนี้มีขึ้นๆลงๆกับโค้งซ้ายและขวา บนทางที่เรียกกันว่า"ถนนลอยฟ้า น่าน" สำหรับใครที่เมารถ กินยาแก้เมาได้เลย นานพอควรกว่าถึงจุดหมายแรก "พระตำหนักภูฟ้าและศูนย์ภูฟ้าพัฒนา"อำเภอบ่อเกลือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 จากการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่เด็ก เยาวชน เกษตร และประชาชนทั่วไปที่มาของภาพ และข้อมูลเยี่ยมชม อาทิ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องสมุด อาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อาคารแปรรูปชาอูหลงพร้อมทั้งให้ทดลองชิม การปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรโปนิกส์ การศึกษาเส้นทางธรรมชาติให้เดินเที่ยว เช่น สวนธรรมภูฟ้า ศูนย์วัฒนธรรมภูฟ้า เป็นต้น มีร้านค้าสวัสดิการที่นำสินค้าของทางโครงการที่เป็นฝีมือชาวบ้านนำมาจัดจำหน่ายให้เลือกซื้อกันมากมาย และมีพระตำหนักภูฟ้าที่สวยงามซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเทพฯ ขณะเสด็จมาทรงงานที่ศูนย์ภูฟ้า อีกทั้งยังมีบริการห้องประชุม ห้องสัมมนา และที่พักให้เลือกหลายรูปแบบ พร้อมอาหารพื้นเมืองเลิศรสบริการ


พระตำหนักภูฟ้า


ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา


ต่อที่บ่อเกลือสินเธาว์ อำเภอบ่อเกลือ


บ่อเกลือสินเธาว์


บ่อเกลือสินเธาว์บนภูเขาแห่งเดียวในไทย ปัจจุบันชาวบ้านยังมีการต้มเกลือแบบโบราณอยู่ จากการสอบถามคนต้มเกลือ บอกว่าช่วงเข้าพรรษาจะหยุด จนลอยกระทงเสร็จถึงจะกลับมาต้มอีกทีครั้ง

จากบ่อเกลือขึ้นเขาอีกครั้ง เพื่อไปจุดชมวิวอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ความสูง 1715


เดินทางต่อ มุ่งสู่อำเภอปัว เป็นเมืองสีเขียวในหุบที่เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติแสนงดงาม เป็นที่อยู่ของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งคนไทลื้อ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เมี่ยน และลัวะ แต่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อสถานที่แรกที่ไป ถ้าอยากเห็นเมืองปัวในแบบที่สวยที่สุดควรมาหน้าฝนช่วงฤดูทำนาตั้งแต่กลางเดือน กย – ตค วิวทุ่งนาและเขาเขียวขจีเป็นจุดเด่นของปัว มาถึงจุดหมายที่แวะชม


วัดภูเก็ต


เป็นอีกวัดที่มีนักท่องเที่ยวนิยมชมชื่นในการไปเที่ยวชมความงดงามเเละความสงบของวิวทิวทัศน์ ที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลมาเที่ยวชมก็คือระเบียงที่อยู่ด้านหน้าโบสถ์เป็นลานกว้างขวางมาก มีม้านั่งเรียงไว้ให้ถ่ายรูปสวยๆ กับวิวที่อยู่ด้านหน้า เทือกเขาสลับซับซ้อนเป็นเขตอุทยานแห่งชาติภูคา พื้นที่กว้างใหญ่ที่เป็นที่ราบอยู่ระหว่างเขาเล็กๆ ที่ตั้งของวัดภูเก็ต กับเทือกเขาใหญ่ด้านหน้า เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตร ปลูกข้าว และพืชอื่นๆ ตามฤดู ในฤดูแล้งเราจะเห็นการปลูกผักและข้าวโพดสีเขียวขจีสวยมาก

ที่พักสำหรับคืนนี้ ที่โฮมสเตย์ตานงค์ ในโซนไผ่โอบ กับวิวทุ่งนา ข้าวโพด และภูเขา


วันที่ 22 พฤษภาคม 59 วันที่ต้องกลับ ก่อนกลับแวะขึ้นไปนมัสการ วัดพระะาตุจอมทอง ห่างจากที่พักไม่ไกล


และมาถึงแพร่ แวะนมัสการพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล


ผ่านแพร่ ก้อจบแล้วนะครับ ขากลับท่ามกลางสายฝน จากเด่นชัย ถึงสุโขทัย จดหมายปลายทางกำแพงเพชร กลับระยะทางร่วม 1000 กม.ตามเส้นทาง 101 กำแพงเพชร-น่าน



ความคิดเห็น