ช่องเขาขาด อนุสรณ์สถานแด่เชลยศึก เรื่องราวประวัติการสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ezqi0kcoyer4

ช่องเขาขาด ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี อยู่ห่างจากสี่แยกแก่งเสี้ยน ประมาณ 75 กิโลเมตร มุ่งหน้าไปทางอำเภอไทรโยค ตั้งอยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 

(Google Map >> https://goo.gl/maps/YjpMsADUTzAYVA5S8)

f6uwrs9no793

ช่องเขาขาดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของพิพิธภัณฑ์ และ ส่วนของเส้นทางเดินธรรมชาติชมช่องเขาขาดในสถานที่จริง

jlbtltdcjjfz

ส่วนของพิพิธภัณฑ์ เป็นตึกสีขาว ด้านในรวบรวมเรื่องราวและภาพประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างทางรถไฟ

y07lx3u3furm

มีการจัดแสดงข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังมีมินิเธียเตอร์ที่พาเราย้อนเวลา ถ่ายทำจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะสายนี้ ผ่านภาพยนตร์แบบขาว-ดำ

mzue8cfre5hc

ด้านในเปิดแอร์เย็นฉ่ำ ในพิพิธภัณฑ์จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความรู้ หากเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีอุปกรณ์ช่วยบรรยายให้ด้วย

vrvp4f5ywnvk
k2ao5jpep9te

ด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ เป็นจุดชมวิวภูเขา

1w380shdwur0

ในส่วนของเส้นทางเดินชมธรรมชาติ ส่วนแรกเป็นทางเดินบันไดลดหลั่นไปตามไหล่เขา

4uuj58qdg71j
st7r6st4i9iw

ตลอดทางเดินปกคลุมไปด้วยกอไผ่ ร่มรื่นมาก

q66srb5op2lr
lrin4re7l8fi
5259w68t6le6

เดินลงบันไดมาได้ 1 หอบ ก็เป็นเส้นทางราบลัดเลาะริมเขา เพื่อเดินไปยังบริเวณช่องเขาขาด

1wzwgq2agdw3

เส้นทางตรงนี้เป็นทางราบ ไม่ชัน เดินชมธรรมชาติได้เรื่อยๆ ลุยกันต่อค่ะ

90f8jil0n9xc
zp3glg0s28iq

ริมแนวเขา มีของใช้ในสมัยก่อน อุปกรณ์สำหรับขุดเจาะภูเขา วางไว้ให้ดู

p6m0lnfwmml1

ถึงแม้ช่วงที่ไปจะเป็นหน้าแล้ง แต่ก็ได้เห็นถึงความเอาตัวรอดของต้นไม้ใบหญ้า ที่พยายามเติมโตขึ้นบนแนวหิน เหมือนกันกับคนเรา ที่ต้องต่อสู้เพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้น

us42esfuac41

ใกล้ถึงช่องเขาขาดแล้ว มีป้ายเตือนด้วยให้ระวังหินถล่มด้วย

u5nlzrjeilm4
anuarookqesp

ถึงแล้วค่ะ บริเวณช่องเขา ที่เกิดจากจากขุดเจาะด้วยสองมือของเฉลยศึกกับอุปกรณ์เพียงชิ้นเล็กๆ เห็นแล้วก็แอบรู้สึกถึงบรรยากาศของความทุกข์ยาก ความเจ็บปวดของเหล่าเชลยศึก

ej8vj7d202wq

มีนักท่องเที่ยวเอาธงมาวางไว้เพื่อแสดงความไว้อาลัยแก่เชลยศึกชาติต่างๆ

bdu9tlt9s2y1
7vnxip4mzo8p

ช่องเขาขาด มีความยาว 73 เมตร ลึกสูง 25 เมตร เกิดจากการตัดเจาะภูเขาหินด้วยมือของทหารเชลยศึกทั้งทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คน โดยเริ่มก่อสร้างและตัดช่องเขาเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 การก่อสร้างใช้เวลา 3 เดือน เชลยศึกต้องทำงานถึง18 ชั่วโมงต่อวัน

4yc84oo9f1r6

ว่ากันว่าชีวิตทหารเชลยศึกเหล่านั้นล้มตายกันเป็นเบือ เพราะทำงานหนักและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม โดยเฉพาะไข้ป่า รวมทั้งความยากลำบาก และความอดอยากในภาวะสงคราม ทำให้เชลยนับหมื่นคนต้องล้มตายลง เส้นทางรถไฟสายนี้จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นเส้นทางที่ต้องใช้ หนึ่งไม้หมอนต่อหนึ่งชีวิต ‘A life for every sleeper’ 

v8px9jczubp2

ช่องเขาขาด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ช่องไฟนรก” (Hellfire Pass) เนื่องจากเชลยที่ทำงานในเวลากลางคืน ต้องจุดคบไฟและก่อกองไฟเวลาทำงาน เมื่อแสงไฟสะท้อนเงาผู้คน ทำให้เห็นเป็นแสงเงาวูบวาบราวกับเปลวเพลิงแห่งนรกนั่นเอง

renpln3htswy

ต้นไม้แห่งช่องเขาขาด หนูก็ไม่พลาดต้องเข้าไป Check-in

6nr03itbvcrc

ขอยืนพักเหนื่อยซักหน่อยค่ะ

ty4yet9qgz4g
q37srekg1aq5

มีธงชาติประเทศต่างๆ ตังไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความทรงจำ

3akifw133muk
b1z9oeds9q21
b1lh1oym8v8m
9dl0mj309g6l

ขึ้นไปด้านบน เป็นจุดชมวิวช่องเขาในมุมสูง มีรถเข็นเศษดินหินตั้งแสดงไว้ให้ดูด้วย

6e9fhnj8rsk8
wf995i62kerr
anfy68h41xc3
riklrkl1ahvb

เดินดูเที่ยวชม จนรู้สึกหิว ก็เดินกลับไปที่พิพิธภัณฑ์กันดีกว่า ขอตากแอร์คลายร้อนซักหน่อย

tn81vbkdozuj

มีร้านค้า ร้านอาหาร ชากาแฟ ไว้คอยบริการด้วย มีโต๊ะม้าหินอ่อนไว้ให้นั่งทานอาหารใต้ร่มไม้เยอะเลย ห้องน้ำก็สะอาดสะอ้าน

3h738w30b61y

เปิดทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ 9.00 น. -16.00 น. ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าชมค่ะ

ปิดทำการเทศกาลสงกรานต์ 13-15 เมษายน , 5 ธันวาคม, 24-27 ธันวาคม ช่วงวันคริสต์มาส, 31 ธันวาคม - 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่

dugpnh2w1y20

--- ที่นี่ก็ดีนะ ---

ความคิดเห็น