วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร @เชียงใหม่

ผ่านจากประตูวัดเข้ามา เราจะเห็นวิหารหลวง ซึ่งสร้างในสมัยของครูบาเจ้าศรีวิชัยเมื่อ พ.ศ. 2467 แทนที่อาคารทรงจัตุรมุขหลังเดิม  ถือเป็นอาคารที่แสดงศิลปะผสมผสานระหว่างรัตนโกสินทร์และล้านนา สังเกตได้จากหน้าบันด้านหน้าที่ประดับด้วยรูปนารายณ์ทรงครุฑล้อมรอบด้วยลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นลวดลายที่ไม่ปรากฏในศิลปะล้านนาและมีการแทรกรูปเสือ (ปีขาล) สัญลักษณ์ประจำปีเกิดของครูบาเจ้าศรีวิชัย 

สีทองอร่ามเหลือง เรืองรอง มาแต่ไกล ของวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า วัดพระสิงห์ เด่นเป็นสง่าตัดกับท้องฟ้าสีครามสดใน เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่เก่าแก่ที่สุดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และยังเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีมะโรง ตามคติของชาวล้านนาอีกด้วย ดังนั้น ใครที่เกิดปีมะโรง น่าจะหาโอกาสมากราบนมัสการดูสักครั้ง

หอธรรม หรือหอไตร

วัดพระสิงห์มีชื่อว่า ‘วัดลีเชียงพระ’ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ตลาดกลางเมือง คำว่า ลี เป็นภาษาล้านนา แปลว่า ตลาด ผู้สร้างคือพญาผายูเมื่อ พ.ศ. 1888 เพื่อเป็นที่ประทับของพระมหาอัคญะจุฬเถระ ที่ทรงอาราธนาจากเมืองหริภุญไชย ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในพื้นที่ภาคเหนือ

ตั้งอยู่ด้านหน้าวิหารหลวง หอธรรม 2 ชั้นหลังนี้เป็นอาคาร 2 ชั้นที่มีการตกแต่งชั้นล่างด้วยปูนปั้นรูปเทวดาที่น่าจะทำหน้าที่เป็นอารักษ์ช่วยรักษาพระธรรมที่เก็บรักษาเอาไว้ในหอธรรมหลังนี้ ซึ่งเป็นหอธรรมที่งดงามที่สุดในภาคเหนือ

เทวดาอารักษ์รายรอบหอธรรม 

เทวดาปูนปั้น รายรอบหอไตร หรือ หอธรรม

ลายปูนปั้นต่าง ๆ ประดับโดยรอบ

เจดีย์ทรงระฆังที่เก่าแก่ที่สุดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พระธาตุเจดีย์ประจำปีมะโรง ตามคติของชาวล้านนา

อุโบสถของวัด สังเกตได้จาก ‘หลักเสมา’ ที่ตั้งอยู่รอบ ประดิษฐานพระประธาน ที่ตั้งอยู่ภายในกู่พระเจ้า ณ กึ่งกลางอุโบสถทำให้สามารถนมัสการพระพุทธรูปได้ทั้งสองฝั่ง 

ภายในวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญพระพุทธรูปปูนปั้น
ที่เชื่อกันว่าเป็นพระประธานเดิมของวิหารหลวงหลังเก่าก่อน

ขอบคุณที่รับชม

สายลม ที่ผ่านมา

 วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 12.34 น.

ความคิดเห็น