เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา แม่ประนอมได้ไปร่วมงานเปิด งานมนต์เสน่ห์วิถีไทย ที่จัดขึ้นในวันที่ 13 - 15 กันยายน 2559 ที่โรงเรียน OTOP ชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พิธีเปิดมีขึ้นในตอนเย็น 18.00 น. ระหว่างวันก็เลยถือโอกาสเที่ยวเมืองอ่างทองซะเลย ซึ่งก็มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายเหมือนกัน ก็เลยเอามาทำรีวิวให้ชมเป็นแนวทางกันครับ



ขอเชิญตามไปชมพร้อมๆกันครับ

ขอบคุณครับ



แม่ประนอม ครับผมเราเดินทางออกจากรุงเทพตั้งแต่ 9 โมงเช้า

จุดแรกที่เราไปแวะก็คือหมู่บ้านทำกลอง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลเอกราช (หลังตลาดป่าโมก) อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ขับรถมาจากกรุงเทพก็ประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ


หมู่บ้านทำกลอง



ขึ้นชื่อว่าเป็นหมู่บ้านผลิตกลองที่มีชื่อเสียงและดีที่สุดในประเทศไทย โดยชาวบ้านนิยมทำเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470

กลองของที่นี่ทำจากไม้ฉำฉา เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่ สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลอง

การมาเยี่ยมชมหมู่บ้านทำกลองแห่งนี้ นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ สามารถเข้าชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้ ไปจนถึงขั้นตอนการขึ้นกลอง การฝังหมุด สำหรับกลองที่ทำมีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงใหญ่ เช่น กลองทัด กลองสั้น กลองยาว กลองรำวง และกลองเพลที่ใช้ในวัด จนกระทั่งกลองขนาดเล็กจิ๋วสำหรับเป็นของที่ระลึก คุณจะเห็นถึงฝีมือการทำกลองที่ได้คุณภาพ ประณีต สวยงาม และยังสามารถซื้อกลับบ้านได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ที่หมู่บ้านทำกลอง ยังมีกลองยาวที่ยาวที่สุดในโลกก็ว่าได้ โดยมีขนาดหน้ากลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซนติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม้จามจุรีต่อกัน 6 ท่อน กลองใบนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านทำกลอง ที่บ่งบอกว่าคุณมาถึงถิ่นทำกลองของจังหวัดอ่างทองแล้ว กลองใบนี้ตั้งเด่นตระหง่านอยู่หน้าบ้านของ กำนันหงส์ฟ้า หยดย้อย ผู้สร้างกลองขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ. 2537 และใช้เวลาสร้างราว 1 ปี แม้ปัจจุบันหมู่บ้านทำกลองจะมีไม่มากในประเทศไทย แต่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ยังคงอนุรักษ์การผลิตกลองแบบไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ควรค่าแก่การแวะเวียนไปเยี่ยมเยียน และศึกษาถึงภูมิปัญญาไทยที่นับวันจะหาชมได้ยากยิ่ง สอบถามเพิ่มเติม โทร 0-3566-1875

ข้อมูล จาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

มาถึงแล้วครับ ขับเข้าไปไม่ไกล สองข้างทางก็จะเจอกับร้านขายกลองและทำกลองละครับ


ที่นี่เราก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมกรรมวิธีการทำกลองพร้อมซื้อผลิตภัณท์ได้ในราคาที่ถูกกว่ากรุงเทพมาก


เราเดินเล่นถึงเกือบเที่ยง ก็ไปทานร้านผัดไทโบราณเจ้าดังของอ่างทอง



ผัดไทยวัดท้องคุ้ง เป็นร้านผัดไทยโบราณเปิดขายมายาวนานกว่า 100 ปี จนถึงตอนนนี้เป็นรุ่นที่ 4 แล้วครับ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดท้องคุ้ง บรรยากาศสบายๆ ด้านนอกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

ร้านต้องเข้าไปในวัดเลยครับ


ร้านดังจริงครับ คนมาทานกันเยอะและสั่งห่อกันทั้งนั้นเลย


รายการแจ๋งก็ดั่งด้นมาชิมแล้วด้วยนะ


ราคาครับ ถูกม๊ากๆๆๆๆๆๆ


ที่นี่เค้าใช้เตาถ่านผัดครับ รสชาติอร่อยจริงๆครับ


ผัดไทเค้าใส่มะเฟื่องด้วยนะ รสชาติเข้ากันดีทีเดียวเลยครับ


แล้วอย่าลืมสั่งก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำด้วยนะ ปรุงได้อร่อยจริงครับ


อิ่มแล้ว เราก็ไปเที่ยว "โบสถ์ปรกโพธิ์" วัดสังกระต่าย จ.อ่างทอง กันครับ สถานที่ท่องเที่ยว Unseen แห่งใหม่ของจังหวัดอ่างทอง



เป็นโบราณสถานแห่งใหม่ของจังหวัดอ่างทอง เป็นโบสถ์ร้างโบราณมีรากต้นโพธิ์ 4 ต้น ที่รากได้ชอนไชยึดผนังโบสถ์ไว้ทั้งหลังอย่างแน่นหนา มีพระประธานองค์ใหญ่อยู่ด้านในโบสถ์



ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ต.ศาลาแดง อ.เมือง จ.อ่างทอง ไม่ไกดจากผัดไทที่เราทานกันครับ

ภายในโบสถ์มีทั้งหมด 3 ห้อง


ภายในห้องแรกมีพระบูชา คือ หลวงพ่อแก่น เมื่อเข้ามาในห้องใหญ่มีพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์ คือ หลวงพ่อวันดี และอีก 2 องค์มีขนาดย่อม ลงมา คือ หลวงพ่อศรี และหลวงพ่อสุข ส่วนห้องสุดท้ายเป็นห้อง ว่างเปล่า



ตัวโบสถ์ไม่มีหลังคาแต่ร่มรื่น เนื่องจากอาศัยร่มเงาของต้นโพธิ์ที่ปกคลุมจนเปรียบ เสมือนหลังคาไปแล้ว ส่วนผนังโบสถ์ก็อยู่ในสภาพที่เก่าแก่ ทรุดโทรม แตกหัก แต่คงสภาพอยู่ได้โดยไม่พังทลายลงมา เพราะได้รากต้นโพธิ์ ทั้ง 4 ต้น ที่ขึ้นอยู่ 4 มุม รากได้ชอนไชยึดผนังโบสถ์ไว้ทั้งหลังอย่างแน่นหนา

ที่มาข้อมูล จากเวป paiduaykan.

จุดหมายต่อไป เราไปเที่ยว บ้านหุ่นเหล็ก กันครับ



บ้านหุ่นเหล็ก เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนายไพโรจน์ ถนอมวงษ์ ที่นำอะไหล่เก่าเหลือใช้จากเครื่องยนต์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นหุ่นต่าง ๆ นำมาเชื่อมประกอบกันในรูปแบบต่างๆรวมทั้งหุ่นยนต์ที่โด่งดังจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง พวกทรานส์ฟอร์มเมอร์ส สตาร์วอร์ เอเลี่ยน ฯลฯ มีตั้งแต่ขนาดใหญ่ 2-4 เมตร ไล่มาถึงหุ่นขนาดเล็ก



เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น. ค่าบำรุงสถานที่ ท่านละ 20 บาท (เด็กความสูงต่ำกว่า 120 cm เข้าฟรี)



ที่ตั้ง ถนนสายเอเซีย(ทางหลวงหมายเลข 32) ฝั่งขาเข้า หลักกิโลเมตรที่ 55.5

41/2 หมู่ 6 ต.ตลาดกรวด อ.เมือง จ.อ่างทอง

โทร: 081-3393345

จุดหมายต่อไป เราไปไหว้พระที่ใหญ่ที่สุดในโลก “หลวงพ่อใหญ่" ที่ วัดม่วง กันครับ



รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว

จากวัดร้างที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายหรือ พ.ศ. 2230 ตั้งอยู่แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า และพม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมากสิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก


ภายหลังท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ (หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ) ได้มาปักกลดธุงดงค์ เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วงขึ้นมาใหม่ และจะส่งผลให้ผู้ที่เคยอาศัยบริเวณนี้ในสมัยก่อนได้มาเกิด ซึ่งในบริเวณวัดร้างยังคงมีศิลาขาวและศิลาแดงตั้งอยู่ ซึ่งก็คือ องค์ของหลวงปู่ขาวและหลวงปู่แดงนั่นเอง ต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้ ในปีพ.ศ. 2526 ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการเริ่มบูรณะและได้สร้างเสนาสนะต่างๆ ขึ้น โดยได้รับการบริจาคทั้งเงินทำบุญและทำบุญด้วยแรงงาน ร่วมกันดำเนินงานในการก่อสร้าง จนกระทั่งวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะให้วัดม่วงเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ และวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ได้แต่งตั้งท่านพระครูวิบูลอาจารคุณเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดม่วง เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2529


ในปี พ.ศ. 2534 ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ได้ร่วมพลังจิตอธิฐาน ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพระนามว่าพระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ เพื่อน้อมถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยขนาดหน้าตักกว้าง 62 ม. สูง 93 ม. มูลค่าในการก่อสร้างราวหนึ่งร้อยหกล้านบาท โดยใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 16 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2550 ปัจจุบันวัดม่วง มีพื้นที่กว้างขวางถึง 72 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าว ท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้ซื้อรวบรวมได้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ เพื่อจัดทำเป็นสถานที่ศึกษาพระธรรม พระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ตลอดจนประชาชนทั่วไป, โรงพยาบาลสงฆ์, ศูนย์จำหน่ายสินค้าศิลปาชีพในโครงการหลวง

สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3563 1556, 0 3563 1974



การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร ถ้าตั้งต้นจาก กรุงเทพไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวา ผ่านหน้าเรือนจำ เจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสายโพธิ์พระยาท่าเรือ วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ

ข้อมูล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

หลังจากเที่ยวมาถึงตอนเย็นกันแล้ว ก็ไปร่วมกิจกรรมพิธีเปิดงาน งานมนต์เสน่ห์วิถีไทย ที่จัดขึ้นที่โรงเรียน OTOP ชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นงานในโครงการส่งเสริมกิจกรรมสร้างแรงดึงดูดนักท่องเที่ยว


อาหารที่ชาวบ้านทำมาเลี้ยงในงานครับ อร่อยๆแบบพื้นบ้านจริงๆ


ท่านรองผู้ว่ามากล่าวเปิดงานครับ


แล้วก็ต่อด้วยการแสดงพื้นบ้าน


แล้วก็มีออกงานร้านขายของกันครับ


ขากลับ เราใช้เส้นทางผ่านอยุธยา เพื่อแวะไปนั่งชิวทานอาหารริมน้ำบรรยากาศดีๆที่ โรงแรม ศาลาอยุธยา


นั่งชิวพักผ่อนทานอาหารวิวพระปรางค์องค์ใหญ่วัดพุทธไธยสวรรค์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพลินมากจนอยากจะนอนค้างที่นี่ซักคืนเลยครับ


หลังจากทานอาหารนั่งเล่น ก็ประมาณ 3 ทุ่มแล้ว


ก็ขับรถกลับกรุงเทพประมาณชั่วโมงนึง ก็จบทริปใน 1 วันแบบชิวๆเบา

ก็ลองไปเที่ยวกันดูแบบสบายๆใน 1 วันที่อ่างทองกันนะครับ

ขอบคุณที่ติดตามกันครับ


แม่ประนอม ครับผม

ความคิดเห็น