สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมเอาเรื่องราวน่ารักๆ จาก Shirakawa-go (หมู่บ้านชิราคาวะ) เมือง Takayama หมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าเป็น "มรดกโลกที่ยังมีลมหายใจ" มาฝากเพื่อนๆ ครับ

"เพราะการเดินทางทำให้โลกใบเดิมของเรากว้างขึ้น" ประโยคนี้ทำให้ผมและแฟนจับมือกันออกเดินทางไปเรียนรู้โลกกว้าง เราสองคนทำเพจเล็กๆ ชื่อ "หนีงานไปเที่ยว" และ Blog ที่ชื่อ www.ibreak2travel.comอ่านมาถึงบรรทัดนี้เราอยากบอกว่า….

ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนรู้จักกันใหม่ๆ "ผม คือ นักท่องเที่ยวที่ต้องทำงานประจำ ส่วนแฟนผม คือ คนทำงานประจำที่อยากเที่ยวบ้าง" เราต่างกันเหลือเกิน เมื่อมาคบกัน 2 ความต่างก็หาจุดลงตัวจนทำให้เรามาถึงจุดที่อยากทำเพจพาเพื่อนๆ คนทำงานไปเที่ยวกับพวกเราบ้าง


ถ้าเราไปได้ ใครๆ ก็ไปแบบเราได้แน่นอนเราขอฝากร้านด้วยครับ แวะไปกด Like เพจกันสักนิด เป็นกำลังใจให้พวกเราสักหน่อย (อย่าลืมตั้งค่าเป็น See First หรือ "เห็นก่อน") จะได้รู้ว่าพวกเรายังมีคุณๆ อยู่เสมอ

https://www.facebook.com/ibreak2travel
http://ibreak2travel.com/


Shirakawa-go (หมู่บ้านชิราคาวะ) "มรดกโลกที่ยังมีลมหายใจ"

อีกหนึ่งสถานที่ที่พวกเราอยากชวนเพื่อนๆ ไปเที่ยวชมความงามในฤดูใบไม้แดงกับวิวหมู่บ้าน สวยเหลือเกินจริงๆ หมู่บ้านนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ของญี่ปุ่น จัดเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่น่าสนใจคือ "มรดกโลกแห่งนี้ยังมีคนอาศัยอยู่จริง" มีเพียงไม่กี่แห่งในโลกหรอกครับที่ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทั้งๆ ที่ไม่ใช่โบราณสถาน ซึ่งหมู่บ้านชิราคาวะเป็นหนึ่งในนั้น


แสงสวยๆ ยามเช้า จากมุมสูง ถ่ายจากจุดชมวิว


ความน่าสนใจของหมู่บ้านนี้ คือ มีธรรมชาติแวดล้อมที่สวยงามมากๆๆๆๆๆๆๆ หมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขาทางตอนเหนือของจังหวัดกิฟุ (ใจกลางญี่ปุ่น) ระหว่างเดินทางไปยังหมู่บ้าน เราจะได้เห็นทัศนียภาพอันสวยงามสุดๆๆๆ ของหุบเขาที่ล้อมรอบหมู่บ้านนี้อยู่ (แนะนำว่าอย่านั่งหลับบนรถ) ซึ่งความสวยงามก็จะสลับกันไปตามฤดูกาลครับ ยิ่งช่วงฤดูใบไม้แดงยิ่งสวยมาก ภูเขาจะมีสีแดงสลับเหลือง-เขียว สวยจริงๆ ครับ

ไปเช้าคนน้อย...โพสท่าชิคๆได้สบาย

ใบไม้แดงๆกับแสงแดดดูอบอุ่นจัง

หุบเขาที่ล้อมรอบหมู่บ้าน กับแสงยามเช้า

ใบไม้ที่แดงบ้าง เหลืองบ้าง สลับสีสวยงาม

ใบสีเหลืองๆ ก็มี

เอกลักษณ์ของหมู่บ้านแห่งนี้คือรูปทรงของบ้านที่เป็นหน้าจั่วสามเหลี่ยม

ที่คนท้องถิ่นเรียกกันว่า "Kiritsuma-Gassho-zukuri" หรือ "กัสโช่" ที่หมายถึงรูปมือพนม โดยวัฒนธรรมการสร้างบ้านสไตล์นี้นั้นมีมากว่า 250 ปีแล้ว

ภูมิปัญญาของการสร้างบ้านทรง "กัสโซ่" นี้

เพื่อป้องกันหิมะสะสมบนหลังคาในช่วงฤดูหนาว โครงสร้างบ้านนั้นแข็งแรงมาก การออกแบบยังคำนึงถึงทิศทางแสง เพื่อให้บ้านอบอุ่นในฤดูหนาวและเย็นสบายในฤดูร้อนด้วยครับ

บ้านโบราณทรง "กัสโซ่"


ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่นี่ทำการ เกษตรด้วยนะครับ


หากจะมาเที่ยวที่หมู่บ้านชิราคาวะ

แนะนำให้มากันแต่เช้าเลยครับ สะดวกสุดก็คือมานอนที่เมืองทาคายาม่า (เดี๋ยวจะทำรีวิวนำเที่ยวทาคายาม่าให้อ่านกันด้วยนะ) จากนั้นตื่นแต่เช้า นั่งบัสเที่ยวแรก 7:50 น. ไปกันเลยครับ ใช้เวลาแค่ 50 นาทีก็ถึงแล้ว

เมื่อมาถึงหมู่บ้านก็ให้รีบขึ้นไปที่จุดชมวิวเลย จะเดินไป หรือจะขึ้นรถบัสในหมู่บ้านก็ได้ครับ จุดรอรถบัสในหมู่บ้านจะอยู่ตรงสระบัวใกล้ๆ กับจุดลงรถ Nohi Bus นั่นเอง (ขอแผนที่ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาทีไปถึงจุดชมวิว


ช่วงสายๆ นักท่องเที่ยวมากันเยอะเลย

ที่หมู่บ้านมีหลายแห่งนำบ้านทรง "กัสโช่" มาทำเป็นที่พักนะครับ สนใจลองติดต่อจองกันได้ในเว็บจองโรงแรมทั่วไป



ผ้าปูที่นอน ชุดยูกาตะ ที่เกสท์เฮาส์นำมาตากไว้

สะพานนี้ แลนด์มาร์คยอดนิยม

ใครๆ ก็มาถ่ายภาพบนสะพาน

ใบไม้แดงมากๆ แล้วววว

การเดินทาง

ซื้อตั๋ว Nohi Bus ที่สถานีใกล้กับ JR Takayama ราคาตั๋วเที่ยวละ 2,210 เยน/คน แนะนำให้จองตั๋วขาไปและขากลับล่วงหน้านะครับ ไม่งั้นอาจพลาดชมแสงเช้าสวยๆ ของที่หมู่บ้านนะ
.
ติดต่อจองตั๋วได้ที่ www.japanbusonline.com หรือโทรไปที่ (0577) 32-1688 ครับผม

หน้าตารถบัสครับ


Nohi Bus Center อยู่นี่จ้า


ขยะของท่าน นำกลับมาทิ้งข้างนอกเองนะจ๊

คำเตือน : หมู่บ้านนี้ไม่มีถังขยะให้นะจ๊ะ ซื้ออะไรกินที่นี่ ให้ทิ้งที่ร้านเลย แต่ถ้านำขยะเข้ามาเราต้องนำกลับไปทิ้งข้างนอกเองนะครับ


<h2 style="color: rgb(51, 51, 51); background-color: rgb(255, 255, 255); white-space: normal;">แวะไปกด Like เพจกันสักนิด เป็นกำลังใจให้พวกเราสักหน่อย จะได้รู้ว่าพวกเรายังมีคุณๆ อยู่เสมอ
</h2><h4 style="color: rgb(51, 51, 51); background-color: rgb(255, 255, 255); white-space: normal;"><a href="<a href=" <a="">https://www.facebook.com/ibreak2travel/</a>    <a href="http://ibreak2travel.com/" target="_blank" >http://ibreak2travel.com/</a></h4>

หนีงานไปเที่ยว

 วันพฤหัสที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เวลา 16.31 น.

ความคิดเห็น