" ช ว น ไ ป เ ส พ ศิ ล ป์ "

ที่นี่

กรุงเทพมหานคร

ห นึ่ ง วั น กั บ ก า ร เ ดิ น ท า ง ร อ บ ก รุ ง ที่ เ ต็ ม ไ ป ด้ ว ย ค ว า ม รู้ ที่ ล้ น ห ล า ม


( ๑ )

นิ ท ร ร ศ น์ รั ต น โ ก สิ น ท ร์

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็นอาคาร ๔ ชั้น ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชนัดดาราม

จัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกรุงรัตนโกสินทร์

โดยอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

เวลาทำการ เปิดให้บริการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ ยกเว้น วันจันทร์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.

รอบเข้าชม มีรอบเข้าชมทุกๆ ๒๐ นาที ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. จำนวนทั้งสิ้น ๒๒ รอบต่อวัน

โดยรอบสุดท้ายให้บริการในเวลา ๑๗.๐๐ น. และ ในกรณีที่ต้องการเข้าชม ๒ เส้นทาง

รอบสุดท้าย เวลา ๑๕.๐๐ น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

แต่ในวันที่เราไปคนค่อยข้างเยอะ เราจึงได้แค่เดินชมชั้นล่าง ซึ่งเป็นการจัดงานเกี่ยวกับในหลวง ร.๙

" สื บ ส า น . . . ส ม า น มิ ต ร "

เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ด้านการเจริญพระราชสัมพันธ์ไมตรีกับนานาชาติ

พระราชกรณียกิจสำคัญอย่างหนึ่ง คือการเจริญพระราชสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

และเสริมสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

ทำให้ในทุกวันนี้ประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

( ๒ )

ห อ ศิ ล ป์ ร่ ว ม ส มั ย ร า ช ดำ เ นิ น

เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา

ถนน ราชดำเนินกลาง แขวง วัดบวรนิเวศ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร

เวลาทำการ เปิดให้บริการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ ยกเว้น วันจันทร์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.


หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน บริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

เป็นอาคารประวัติศาสตร์ขนาด 4 ชั้น สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๙๑

ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อาคารหลังนี้ได้ถูกบูรณะโดยยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมภายนอกไว้

และได้ปรับปรุงภายในอาคารเพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย



กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมใน ๖ สาขา ได้แก่

ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ดนตรีและการแสดง การออกแบบ ภาพยนตร์

อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ใจกลางเมืองเพื่อให้บริการเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้เข้าไปชมงานศิลปะค่ะ






( ๓ )

อ นุ ส า ว รี ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย

เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ

แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒

และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓

ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

( ๔ )

ร้ า น ก๋ ว ย เตี๋ ย ว " ติ่ ง เ ตี๋ ย ว เ รื อ "

ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร

เปิดทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ และ หยุดทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.

ร้านก๋วยเตี๋ยวรสชาติไม่ธรรมดาที่เปิดขายมายาวนานกว่า ๔๐ ปี จากรุ่นสู่รุ่นในราคาเพียงชามละ ๑๒ บาท


( ๕ )

ม น ต์ น ม ส ด | M o n t N o m s o d

สาขา หน้าศาลาว่าการ กทม.

ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร

เปิดบริการทุกวัน : ๑๔.๐๐ น. - ๒๓.๐๐ น.

"มนต์นมสด" ตำนานความอร่อยของ ร้านขนมปัง-นมสด กว่า ๕๐ ปี

เครื่องดื่มมีทั้งแบบร้อนและแบบเย็น ราคาเริ่มต้นที่ ๓๐-๔๕ บาทค่ะ

สำหรับขนมปังนี่ก็มีราคาราคาเริ่มต้น ๑๕ บาท จนไปถึงขนมปังนึ่งจิ้ม จิ้มสังขยา และ ช็อกโกแลตราคา ๖๕ บาทค่ะ


เวลาสั่งอาหารต้องเดินไปที่เคาน์เตอร์ เพื่อสั่งของ และจ่ายเงิน แล้วเอากลับมาทานที่โต๊ะ

โดยทางร้านแบ่งเป็น ๓ จุดด้วยกันค่ะ

จุด ๑ ขนมปังปิ้ง , จุด ๒ เครื่องดื่มชนิดขวด / ขนมปังนึ่ง และ จุด ๓ เครื่องดื่มแก้ว มีแบบร้อน และเย็น


( ๖ )

เ ท ว ส ถ า น โ บ ส ถ์ พ ร า ห ม ณ์

เทวสถาน สำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เทวสถานโบสถ์พราหมณ์

เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๒๖๘ ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ใกล้เสาชิงช้า และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า จะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม (พระผู้สร้าง)

ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๑๕

ภายในเทวสถาน จะมีโบสถ์อยู่ ๓ หลัง คือ

๑. สถานพระอิศวร , ๒. สถานพระพิฆเนศวร และ ๓.สถานพระนารายณ์


( ๗ )

เ ส า ชิ ง ช้ า

ถนน บำรุงเมือง แขวง เสาชิงช้า , กรุงเทพมหานคร

เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า

ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ก็ตาม



แนะนำให้ไปถ่ายรูปเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินจะได้บรรยาศที่สวยมากค่ะ


( ๘ )

วั ด สุ ทั ศ น เ ท พ ว ร า ร า ม ร า ช ว ร ม ห า วิ ห า ร

ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๐

เดิมพระราชทานนามว่า "วัดมหาสุทธาวาส"


โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)

ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม

จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้า

จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ


การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๓๙๐

และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศนเทพวราราม" ปรากฏในจดหมายเหตุว่า "วัดสุทัศนเทพธาราม"

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ

และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"




( ๙ )

เ ย า ว ร า ช

ถนนเยาวราช เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1 กิโลเมตร

ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร"

นักท่องเที่ยวมักเรียกว่า " เยาวราช หรือไชน่าทาวน์เมืองไทย "


ถือเป็นแหล่งของกินสุดฮิตของวัยรุ่นและคนทำงานที่ชอบซอกแซกหาของกินอร่อย ๆ ยามค่ำคืน

ซึ่งร้านอาหารจำนวนมากในย่านนี้


( ๑๐ )

สถานที่สุดท้ายของวันนี้

ร้ า น ก๋ ว ย จั๊ บ น า ย เ อ็ ก

ซอยเยาวราช9 ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร

ตรงมาจะเป็นเยาวราช ซอย 9 ซึ่งจะมี ร้านก๋วยจั๊บนายเอ็ก ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ปากซอย

ตรงจุดนี้จะมีจุดสังเกตที่ชัดเจน คือ เป็นที่ตั้งของธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน


เด็ดสุดใจ ยกให้เลย คือหมูกรอบบ กินแล้วฟินมากจริงๆ คนต่อคิวยาวมาก




และด้านหน้าธนาคารออมสินเป็น ร้านขนมปังเจ้าอร่อย เจ้านี้คิวแน่นมาก ๆ แต่มาทั้งทีห้ามพลาดเลยค่ะ


อย่าใช้ชีวิต ที่ ใช้ชีวิตไปวัน ๆ

จงทำให้เรื่องยาก ๆ เป็นเรื่องง่าย ๆ และ อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก

จงใช้สติในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน


หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยค่ะ
Please forgive any error mistakes.
THANK YOU
ฝากติดตามรีวิวได้ที่ : https://www.facebook.com/skip.travel

Skip กระโดดเที่ยว

 วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 23.35 น.

ความคิดเห็น