• วันที่ 16 เมษายน หลังวันสงกรานต์ มะนาวได้โทรนัดลูกสาว มาเจอกันที่สถานีกรุงเทพฯ(หัวลำโพง) แบบยังไม่มีจุดหมายปลายทาง

  • อ่านมาหลายรีวิวก็ไม่มีเวลาแจ้ง ว่า รถไฟฟรีมีกี่โมง มะนาวจึงไปขอข้อมูลจากประชาสัมพันธ์มาอ่าน ได้ความว่า

  • มีรถไฟฟรี ขาไปผ่านสถานีรถไฟหัวตะเข้ทุกวัน เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่เลยที่เดียวเชียว 04:15 น. จนถึง 18:25 น.

  • ส่วนขากลับเข้ากรุงเทพ ก็มีตั้งแต่เช้าเช่นกันค่ะ เริ่มตั้งแต่ 06:00น. รอบสุดท้าย 18:55 น.ใช้เวลาเดินทางก็ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และให้แน่ๆใจ ควรโทรถาม 1690 ให้แน่นอนก่อนเดินทางนิดก็จะดีค่ะ


  • "นั่งรถไฟไปเที่ยวหัวตะเข้"

  • อ่านวนไปค่ะ ว่าเราจะผ่านกี่สถานี เริ่มจาก กรุงเทพฯ ยมราช อุรุพงษ์ พญาไท มักกะสัน อโศก คลองตัน สุขุมวิท71 หัวหมาก บ้านทับช้าง ซอยวัดลานบุญ ลาดกระบัง พระจอมเก้า >>>>หัวตะเข้<<<< รวมแล้ว 13 สถานี


  • รถไฟออกมาจากสถานีไม่นาน เจ้าหน้าที่พนักงานก็จะมาตรวจตั๋วค่ะ

  • ลงที่สถานีรถไฟหัวตะเข้ เราสองคนแม่ลูกก็ต้องไปจุดเช็คอินกันก่อน

  • มายืนมองดูหนทางที่ เราจะเริ่มเดิน ไปทางไหนกันดี จุดมุ่งหมายคือร้านข้าว ณ ลาดกระบัง และ สี่แยกหัวตะเข้ แบบว่า ทั้งวันยังไม่ได้กินข้าวกันมาเลย มันหิวววว

  • หันหน้าออกถนนหน้าสถานีรถไฟหัวตะเข้ เลี้ยวซ้ายเดินมานิดเดียว ขวามือ จะมีทางเดินเลียบคลองค่ะ


  • เดินมาถึงสุดทาง เราไม่ต้องขึ้นสะพานข้ามคลองนะค่ะ เดินเลี้ยวซ้ายเลียบคลองไปเรื่อยๆจนสุดทาง ต่อด้วยขวา ซ้าย ตามทางเดินยาวไปก็ถึงแล้วค่ะ

  • เป็นชื่อโรงเรียนที่เราสองแม่ลูกไม่กล้าออกเสียง กลัวอ่านผิดค่ะ

  • " สี่แยกหัวตะเข้ คาเฟ่ แอนด์ เกสท์เฮ้าส์ Si Yaek Huatakhe Cafe & Guesthouse "
  • https://www.facebook.com/siyaekhuatakhe/
  • เบอร์ติดต่อ : 081 514 6636
  • เวลาเปิด-ปิด :
  • Mon-Fri: 11:00 am - 7:00 pm
  • Sat-Sun: 10:00 am - 7:00 pm
  • ที่อยู่ : ชุมชนตลาดไม้เก่าหัวตะเข้ ลาดกระบังซอย 17

  • เนื่องจากวันที่มา ยังเป็นช่วงวันหยุดสงกรานต์ ยังไม่มีร้านค้ามาเปิดขาย มะนาวเลยขอรีวิว ร้านสี่แยกหัวตะเข้แบบเต็มๆไปเลยล่ะกันค่ะ

  • มาแล้ววว อาหารเครื่องดื่ม ที่เราสองแม่ลูกสั่งไป

  • 3ภาพบนนั้น ของลูกกกกกกกกกกกกก

  • เมนูเด็ดของเค้าเลยเชียว มาม่าต้มยำทะเล เยอะมากกก อร่อยเวอร์

  • ของแม่ มี2อย่าง อยากจะหม่ำเมนูขนมปัง ก็หม่ำกันไม่ไหวแล้ววว

  • วันนี้ จึงขอจัดแค่นี้ก่อนค่ะ 190 บาท

  • สี่แยกหัวตะเข้ คาเฟ่ แอนด์ เกสท์เฮ้าส์ ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดไม้หัวตะเข้ ตลาดเก่านับ 100 ปี
  • บรรยากาศดีริมคลองประเวศบุรีรมย์ ตัวร้านเป็นบ้านไม้เก่าสองชั้น ถูกปรับปรุงโดยคุณเปา เจ้าของร้าน ที่ต้องการอนุรักษ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม อนุรักษ์วิถีชุมชนหัวตะเข้
  • ชั้น2ยังเปิดให้เข้าพักสามห้องค่ะ มีโอกาศมะนาวต้องไปแน่นอน

  • ออกจากร้าน เลี้ยวขวาก็เจอเลยค่ะ จุดชมวิว เดินขึ้นสะพานไม้ข้ามไปก็เป็นกราฟฟิตี้ หัวตะเข้เพียบบบ

  • เดินย้อนกลับมาผ่านร้าน สี่แยกหัวตะเข้ ก็จะพบเจอกราฟฟิตี้แอบซ่อนอยู่ระหว่างทาง น่ารักมากเลย

  • ให้ความรู้สึก ผสมผสาน ทั้งแนวเก่าโบราณ และ ศิลปะสีสันวัยรุ่น ที่สามารถเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวได้อย่างมีความเก๋

  • เดินข้ามสะพานปูนนี้เพื่อไปหาการฟฟิตี้อีกชิ้นก่อนกลับ

  • ได้ภาพแล้วก็เดินกลับสะพานเดิม จึงเห็นชื่อของชุมชน และไปหาข้อมูลมานำเสนอค่ะ(ขอขอบคุณทุกข้อมูลที่มะนาวนำมาลงในรีวิวค่ะ)

  • ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม
  • ชุมชนที่อาศัยมานานเป็นร้อยปี เดิมที่นี่เป็นชุมชนที่มีความคึกคักเป็นที่สุด เพราะติดริมคลองประเวศ-บุรีรมย์ คลองที่ ร.5 ได้โปรดเกล้าให้ขุดขึ้นในปีพ.ศ.2421 โดยคลองนี้ยาว 46 กม.เริ่มต้นจากคลองพระโขนงไปจนถึงเเม่น้ำบางประกง จนเวลาผ่านมาถนนบก ได้เจริญขึ้นพร้อมกันการเดินทางทางเรือได้ลดน้อยลง
  • ตลาดเเห่งนี้ก็เงียบเหงา จนเกือบเป็นตลาดร้างเลยทีเดียวเเต่ระยะหลังได้ทางชุมชนร่วมมือกับองค์กรต่างๆได้เข้ามาฟื้นฟูให้ดีขึ้นถึงเเม้จะเทียบสมัยก่อนไม่ได้เเม้แต่นิดเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการอนุรักษ์ชุมชนเก่าริมคลองกรุงเทพฯ ชุมชนนี้อยู่หลังตลาดสดหัวตะเข้ ที่อยู่คนละฝั่งคลองประเวศน์บุรีรมย์ มีสะพานปูนที่เชื่อมการเดินทางระหว่างสองฝั่งคลอง สภาพบ้านส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นบ้านไม้เดิมๆสภาพดีบ้างผุพังบ้าง เพราะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

  • มาเที่ยวกันเยอะๆน่าคร่าาา มะนาวเชื่อว่า ชุมชนเก่าแห่งนี้ หรือ ที่ไหนๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย คือที่ๆ เราควรจะช่วยกันส่งเสริม ให้คงไว้ชั่วลูกชั่วหลานของเราคนไทยต่อๆไปค่ะ


  • ได้เวลาเดินกลับไปสถานีรถไฟหัวตะเข้แล้ว ซื้อน้ำหวานเย็นๆติดไม้ติดมือมาถุง ฟินสุดๆเลย


  • เดินกลับทางเดิม เพิ่มเติมที่ หยุดมอง หยุดเล่น ชมวิว ดูวิถีชีวิตชาวบ้านที่เค้ากำลังหาปลา




  • เดินห้างเย็นสบาย แต่ คงไมไ่ด้เห็นชีวิตจริงๆแบบนี้ ได้เวลาเดินทางจากหัวตะเข้ ไป หัวลำโพง แล้ววว


  • ค่าใช้จ่าย(2ท่าน)
  • ค่ารถไฟ ไป+กลับ 7x4=28 บาท
  • ค่าอาหาร 190 บาท
  • รวมค่าใช้จ่าย 218 บาท
  • หารสอง 123 บาท















ความคิดเห็น