Mount Kinabalu หรือภาษามาเลย์ Gunung Kinabalu ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ที่รัฐซาบาห์ (รัฐนี้มีเมืองหลวง คือ โกตา คินาบาลู) ประเทศมาเลเซีย และเป็นมรดกโลกแห่งแรกของมาเลเซียจากยูเนสโก ที่มีความสูง 4,095.2 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เรียกได้ว่าเป็นภูเขาที่สูงอันดับต้นๆ อีกหนึ่งลูกของเอเชีย ที่นักเดินทางท่องเที่ยวใฝ่ฝันจะต้องขึ้นไปพิชิตให้ได้สักครั้ง
หนึ่งในนั้นก็คือตัวผมเองเช่นกัน

ผมเคยเดินทางมาเกาะแห่งนี้แล้วหนึ่งครั้งเพื่อที่จะพิชิตยอด .. แต่ธรรมชาติตอนนั้นยังไม่ต้อนรับคนอย่างผม
เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งตอนนั้นก็ทำให้นักท่องเที่ยวที่กำลังปีนเขาเสียชีวิตอยู่หลายคน
การเดินทางมาพิชิตเขาลูกนี้ของผมครั้งนั้นก็ทำได้เพียงด่านล่าง และพับแผนการเดินทางลงไปทันที

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ 2 ปี ยอดเขาที่ยิ่งใหญ่ลูกนี้มันตามมาหลอกหลอน ยิ้มเยอะเย้ยผมอยู่บ่อยครั้ง
มันทำให้ค้างคาใจเหมือนว่าเราทำอะไรไม่สำเร็จ
ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีอีกครั้งของผมเพื่อนจะไปทำสิ่งที่มันยังค้างให้สำเร็จ การเดินทางจึงได้เริ่มต้นขึ้น
กับการพิชิตยอดเขา “คินาบาลู”

ถือว่าผมเป็นคนที่ชื่นชอบในการเดินขึ้นเขาบ่อย ด้านสภาพร่างกายที่พร้อมอยู่แล้ว ทำให้ไม่เป็นเรื่องยากของการพิชิตยอดเขาในครั้งนี้

แต่สำหรับคนมือใหม่ หรือยังไม่เคยเดินขึ้นเขาสูงระดับ 4000 เมตร ก็ควรมีการเตรียมร่างกายให้พร้อม จากการที่ได้ไปมาถ้าผมไปถึงใครๆก็ไปถึงได้เหมือนกัน มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร

การเตรียมร่างกายก็เพียงแค่ขยันออกกำลังกายบ่อยๆ วันละครึ่งถึงหนึ่งช่วงโมง
ไม่ว่าจะวิ่งออกกำลังกาย เลิกใช้ลิฟท์ แล้วมาใช้บันไดแทน มีตังหน่อยก็เข้าฟิตเนต
ทำอย่างนี้ประจำ ก่อนขึ้นเขาสักเดือน ให้ร่างกายกล้ามเนื้อเราอยู่ตัว ก็สามารถก้าวไปถึงยอดได้

ในส่วนของเส้นทางเดินเท้าขึ้นคินาบาลู จะขอแบ่งออกเป็นสองส่วน

1. Timpohon gate ไปยัง Laban Rata (ที่พัก) ระยะทาง 6 กม.

2. Laban Rata > Low’s Peak summit พิชิตยอดสูงสุดอีก 2.5 ก.ม.



ในสองส่วนนี้เส้นทางจะแตกต่างกันไม่มาก ในส่วนแรกจะเป็นทางชันสลับทางเรียบ

เปรียบเทียบกับบ้านเราก็จะประมาณภูสอยดาว, ส่วนใหญ่จะเป็นบันไดเป็นขั้นๆ ทางเดินกว้าง และเป็นป่าแปลกตาสองข้างทาง โดยเฉพาะป่าบอนไซยักษ์สวยงามมาก

ทั้งยังมีนกนาๆชนิด และดอกไม้ กล้วยไม้ประจำถิ่นอยู่เยอะ เป็นที่ชื่นชอบของนักส่องนก ยิ่งนัก



เส้นทางช่วงที่สอง จะเป็นภูเขาหินที่มีบันไดอย่างดีให้เดิน และบางช่วงมีเชือกให้จับ

เดินไปตามเชือกยังไงก็ไม่หลง ถึงยอดแน่นอน



==============



ถึงแม้ว่าจะเป็นภูเขาที่สูงระดับ 4095.2 เมตร แต่จุดที่เราเริ่มเดิน (Timpohon Gate)

ก็อยู่ที่ระดับความสูง 1,866 เมตร เข้าไปแล้ว



สรุปความยากง่ายของเส้นทาง อยู่ที่ระดับปานกลาง ถือว่าไม่ยากมาก มือใหม่ มือเก่า จะเก๋าหรือไม่เก๋า ก็ไปได้หมด เปรียบเทียบกับเส้นทางภูเขาเมืองไทยยังไปง่ายกว่าหลายที่

เพียงแต่ที่นี่จะถูกขีดจำกัดในเรื่องของระยะเวลา และความสูงที่อาจจะต่างจากบ้านเรา



============

จำกัดเวลาอย่างไร.??

เช่นวันแรกถ้าเดินขึ้นไปถึงที่พักหลัง1ทุ่ม ไลน์บุฟเฟ่ต์อาหารก็จะเก็บ .. แต่จะตักใส่เป็นข้าวกล่องไว้ให้



รวมถึงอีกวันลงมาจากยอดด้วยถ้ามาช้ากว่า10 โมง ไลน์อาหารบุฟเฟ่ต์ก็จะเก็บ แต่สามารถขอข้าวกล่องทีหลังได้



และการเดินขึ้นยอดตอนตี 2กว่าๆ ถ้าไปถึงจุด Check Point หลังจาก ตี 5. เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาติให้เดินไปต่อ จะต้องเดินกลับซับน้ำตาไปที่พักอย่างเดียว. เคยมีนักท่องดเที่ยวไม่ทันเหมือนกัน ต้องเดินกลับ แต่น้อยนักที่จะไม่ทัน กับระยะทางกิโลครึ่งจากที่พักถึงจุด Check Point

ชุด-อุปกรณ์ ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญของการเดินทาง ไม่ว่าจะเที่ยวป่า ปีนเขา ดำน้ำ เที่ยวทะเล

ก็ล้วนแต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ให้เข้ากับสถานที่ กับกิจกรรมที่ทำ



การเตรียมชุดอุปกรณ์ของที่นี่ก็แทบจะไม่แตกต่างอะไรกับการเที่ยวป่า ขึ้นเขาบ้านเรา

แถมจะง่ายกว่าด้วยซ้ำในเรื่องของการที่ไม่ต้องแบกอะไรไปมากเพราะเราไปแค่ 1 คืน

ข้างก็บนมีบ้านพัก ผ้าห่ม สบู่ ยาสระผม น้ำอุ่น อาหารบุฟเฟ่ต์ ที่เตรียมไว้ให้เป็นอย่างดี ที่รวมมาในแพ็คเกจ แถมมีของขายด้านบนด้วย



แต่อุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวที่เราควรจะมีในการขึ้นเขาจะแบ่งง่ายๆ สำหรับ 2 วัน1คืน ดังนี้

1 เป้ .. ขนาดเล็กหรือปานกลาง สำหรับใส่ขวดน้ำ เสื้อกันหนาว ข้าวห่ออุปกรณ์ที่จำเป็นกับการอยู่บนเขา 1 คืน อะไรไม่จำเป็นฝากไว้ที่อุทยานด้านล่าง เสียค่าฝากไม่กี่บาท จัดของให้เบาไว้ดีที่สุด อาจจะไม่ต้องใช้ลูกหาบด้วยซ้ำไป



(เสื้อผ้าสัมภาระต้องนำใส่ถุงมัดให้แน่นก่อนที่จะใส่กระเป๋าอีกชั้นเพื่อป้องการการเปียกจากน้ำฝน)

2 ชุด จะขอแยกออกเป็น 2 ส่วนในการเดินทาง คือช่วงแรก Timpohon gate ไปยัง Laban Rata (ที่พัก) ช่วงนี้อากาศกำลังสบายๆ เสื้อกางเกงสั้นหรือยาว ก็ตามแต่ทุกคนถนัด แต่มีโอกาสเจอฝนควรมีเสื้อกันฝนติดเป้ไปด้วย ใครที่ขี้หนาวก็ติดเสื้อกันหนาวใส่เป้ไป ยังไงก็ต้องได้ใช้อยู่ดี

ส่วนที่สอง Laban Rata > Low’s Peak summit พิชิตยอดสูงสุด ช่วงนี้จะต้องเดินตั้งแต่ตี 2 ครึ่งโดยประมาณ อากาศหนาว อุณหภูมิบนยอดจะอยู่ที่ประมาณ -2 ถึง -5 องศา

มันคือความหนาวของร่างกายคนไทยอย่างเราๆ แน่นอนต้องเป็นกางเกงขายาว และเสื้อกันหนาวอย่างดี กางเกงคงไม่ต้องแนะนำอะไรมาก แต่ถ้าเป็นเสื้อแล้วแนะนำว่าควรใส่ 3 ชั้นดังนี้

- ชั้นด้านในลองจอน เป็นเสื้อยืดแขนยาวปกติ อาจจะเป็นตัวเดียวกับที่เราใส่ขึ้นมาก็ได้

- ชั้นกลาง จะต้องเป็นเสื้อกันหนาวที่ดีพอสมควรที่จะเก็บความร้อนในตัวเราไม่ให้ออกมา และกันความเย็นจากด้านนอกเข้ามาในตัว

- ชั้นนอก ตัวนี้จะใส่คลุมเสื้อทั้งสองตัวไว้ จะต้องมีคุณสมบัติสามารถกันลม, ฝน, ได้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้อากาศหนาวจากภายนอกเข้ามาภายในเสื้อ

- ชั้นพิเศษ .. ชั้นนี้สำหรับคนที่ขี้หนาวสุดๆ ก็เอาเสื้อกันหนาวที่นำติดตัวมาคลุมเข้าไปอีกชั้น (ปล.เสื้อกันฝนควรพกติดตัวไว้ทุกเส้นทาง เพราะอากาศที่นี้เปลี่ยนแปลงบ่อย ดูแลสุขภาพดีดีนะครับ) ทิฟฟี่แผงสีเขียวติดตัวไปด้วย



1. ถุงมือ อันนี้ก็ขาดไม่ได้เช่นกันกับสภาพอากาศ อุณหภูมิที่ติดลบ และบางช่วงเส้นทางที่จะต้องใช้เชือก ถุงมือก็มีประโยชน์ไม่น้อย จะลำบากก็ตอนที่จะถอดมาถ่ายรูป นี่แหละ

2. รองเท้า .. โอ้!! อันนี้สำคัญๆ คงไม่มีใครใส่เท้าเปล่าขึ้นไปแน่ๆ

รองเท้าสำหรับเดินที่นี่ ก็ไม่มีพิเศษอะไรมากมาย คล้ายๆกับเดินป่าบ้านเรา เอาที่ตัวเองถนัด ใส่แล้วไม่กัดก็พอ ส่วนผมใช้สตั๊ดดอยที่หาซื้อหน้าอุทยานในราคา 60 บาท แถมฝนตกก็ไม่เปียกหุ้มน้ำอีกด้วย

สรุปคือเป็นรองที่สวมรัดกุมถ้ากันน้ำได้ก็นจะดี เอาที่เราถนัดกันเลย



3. ไฟฉายคาดหัว ย้ำว่าต้องคาดหัว ติดหัว เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างอื่น หรือไม่มี เจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้เดินขึ้นพิชิตยอดแน่นอน (อันนี้ที่ อช.มีขาย แต่ควรเตรียมไปตั้งแต่ออกจากบ้าน)

4. ขวดน้ำ ควรติดไว้ข้างเป้ตลอดอย่างน้อย 1 ลิตร ส่วนใครที่สามารถกินน้ำตามธรรมชาติได้ ทุกๆศาลาจุดพักมีแท้งค์น้ำให้เติม

5. ผ้าบัฟ (ผาปิดหน้าปิดหู) กันหนาว และหมวก

6. TREKKING POLE ไม้เท้าเดินป่า ไม้เท้าขึ้นภูเขา ไม้เท้าค้ำยัน ไม้วิเศษ จะไม้อะไรก็ตามแต่ อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ช่วยในการเดินได้ในระดับหนึ่ง

7. อาหาร .. ในแพ็คเกจเขาจะมีอาหารเที่ยงห่อให้เรา แต่แนะนำติดช็อคโกแลต อาหารที่พอจะเพิ่มกำลังใส่เป้ขึ้นไปด้วย ช่วยในยามหิวหรือหมดแรงระหว่างทาง



สรุปที่กล่าวมาทั้งหมดเหมือนจะยาวไปหน่อย สรุปสั้นๆก็คือ จัดชุดเดินป่าหน้าหนาวเหมือนในบ้านเรานี่แหละ แต่จะง่ายกว่าหน่อยที่ไม่ต้องแบกเต็นท์ แบกอาหารขึ้นไปทำ เท่านั้นเอง สำหรับ 1 คืน

การเดินทางจากไทยตอนนี้ก็สะดวกมากขึ้น

เพราะมีไฟล์ทบินตรงโดย ไทยสมายด์

ไดเร็คไฟล์ทสู่เมืองโกตาคินาบาลู เกาะบอร์เนียว

สะดวกสบาย ไม่ต้องต่อเครื่องให้มันยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว สามารถเข้าไปดูรายละเอียดตารางเที่ยวบินได้ที่

https://www.thaismileair.com/



ต่อจากนี้การเดินทางจากสนามบิน Kota Kinabalu – Padang Merdeka เป็นสถานีรถตู้ไปคินาบาลู เที่ยวละ 5 RM



จากนั้นต่อรถตู้จาก Padang Merdeka – Kinabalu national park อีกคนละคนละ 25 RM

แน่นอนค่าใช้จ่ายย่อมมาเหนือสิ่งอื่นใดในการตัดสินใจออกเดินทางของใครหลายๆคน แต่จะสมเหตุสมผล เหมาะสม จะแพงหรือจะถูกก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก การดูแลรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ตามแต่สถานที่



การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติคินาบาลูเราต้องจองที่พักบนอุทยานล่วงหน้า เพราะทางอุทยานจะจำกัดนักท่องเที่ยวต่อวัน วันล่ะ 200 คน สามารถจองโดยตรงกับอุทยานได้เลย เพราะการจองกับอุทยานจะได้ราคาถูกกว่าการจองผ่านเอเจนซี่



ในที่นี้จะยกในราคาค่าใช้จ่ายในการปีนเขา

โดยการจองผ่านอุทยานที่ผมได้ไปมา โดยจะยกมา 2 ราคาในเส้นทางปกติ

ระหว่างทริป 2 วัน1คืน และทริป 3 วัน2คืน โดยจะแยกเป็นราคาต่างชาติและชาวมาเลเซีย

...

ทริป 2 วัน1 คืน ในราคานต่างชาติ 2130 RM ต่อคน แพ็คเกจนี้จะรวมที่พักและอาหารบนเขา

ถ้าไป 2-3 คน ตกหัวละ 1880 RM , 4-6 คน ตกหัวละ 1780 Rm



ถามว่าทำไมค่าใช้จ่ายถูกลงกว่าไปคนเดียว เพราะว่าไกด์1 คนต่อนักท่องเที่ยว 6 คน

ถ้าไปคนเดียวก็จ่ายค่าไกด์เต็ม ถ้าไปหลายคนก็จะได้หารค่าไกด์ลงมา เท่านี้เอง

เพราะฉะนั้นควรหาเพื่อนไปหารด้วย ถ้าไปคนเดียวจริงๆอาจจะไปขอแจมที่หน้างานได้



ใครที่จองแพ็คเกจนี้ คืนแรกที่มาถึงสนามบินสามารถพักที่ตัวเมืองโกตาคินาบาลูก่อนได้ 1 คืน แล้วค่อยออกเดินทางมาอุทยานตั้งแต่เช้ามืด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 โมง

หรือจะมุ่งตรงมาที่อุทยานก็มีที่พักให้บริการ



ทริป 3 วัน 2 คืน (พักด้านล่าง1 คืน บนเขา1คืน) ในราคาต่างชาติ 2280 RM ต่อคน

2-3คน 2030 RM ต่อหัว 4-6 คน ราคา 1930 RM ต่อหัว



แพ็คเกจนี้จะรวมที่พักอุทยานด้านล่าง 1คืน ที่ดูจะสะดวกสบายและเหมาะสมกับเวลา

สามารถเข้าไปชมราคาลายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมกันได้ที่เวป

http://www.mountkinabalu.com/



===============

ลูกหาบสำหรับใครที่ดูเหมือนจะย้ายสำมะโนครัวมาค้างบนเขา 1 คืน. ย้ำว่า 1 คืน ไม่รู้จะขนอะไรกันมามาก ด้านบนก็มีที่พัก อาหาร สบู่ ยาสระผมให้หมดรวมในแพคเกจ



แต่ถ้าขนของมาแบกไม่ไหวก็จ้างลูกหาบเพิ่มเติมในราคาเป็นเงอนไทยเที่ยวละประมาณ 500 บาท ขึ้นลงก็ 2 เที่ยว รวม 1000 บาท

แบกน้ำหนักได้ไม่เกิน 10. กิโลกรัม

"ผมไปได้..ใครใครก็ไปได้เช่นกัน"
======================
ก่อนไปได้มีเวลา 1 วันในการหาข้อมูลอ่านรีวิวจากที่ต่างๆ
ส่วนใหญ่อ่านแล้วทำให้ถอดใจ เหมือนจะไปยาก ตอนนั้นคิดหนัก รองเท้าก็ยังไม่มี จะต้องเสียตังหลายพันซื้อกันเลยเหรอ.
สรุปสตั๊ดดอยซื้อที่หน้าอุทยาน 60 บาท ที่ได้รับการันตรีจากลูกหาบที่นั่นว่าใช้ดีที่สุด

แต่รีวิวนี้บอกเลยไปง่าย ในความรู้สึกส่วนตัวของผม..ถ้าวัดกันที่เส้นทาง
ไม่เอาที่ความสูง เดินง่ายกว่าเขาเมืองไทยหลายลูก
กับระยะทาง 6 กิโลถึงที่พัก และอีกสองโลกว่าในการขึ้นยอด
..
ถ้าเส้นทางเทียบยอดต่อยอด ยอดภูสอยดาวขึ้นยากกว่าเยอะ
เส้นทางกว้าง ส่วนมากเป็นบันใด(อย่างดี)
เชือกที่เห็นจับถ่ายรูปกัน ถ้าคนที่เคยเดินมาหน่อย ก็ไม่ต้องใช้ก็ได้
ยังแอบคิดว่าเขาเอามาวางไว้ให้เดินตามเป็นเส้นจะได้ไม่หลง
แต่เพื่อความไม่ประมาทก็ควรใช้มันซะ
========================
เรื่องความสดวกสบายไม่ต้องห่วงว่าจะนอนเต็นท์ นอนตากฝน
ขี้ในพุ่มไม้ เพราะที่นี้มีเตียงนุ่มๆ น้ำอุ่นให้อาบ สบู่ยาสระผม
ผ้าเช้ดตัวพร้อม ห้องน้ำสะอาด และตามเส้นทางเดินทุก 1 ก.ม.
ก็มีศาลาพัก ห้องน้ำชักโครกอย่างดีให้บริการ
ส่วนอาหารก็ไลน์บุฟเฟ่ต์มากมาย ร้ายขายของขายเครื่องดื่มก็มี ..
แต่ก็แลกด้วยทรัพย์ที่จ่าย หลายคนเงินร้อย เงินพันก็ว่าแพง
ก็แล้วแต่ดุลพินิจของแต่ละคน

แผนที่เส้นทางโดยรวมของการเดินพิชิตยอดเขาคินาบาลูโดยรวม
ภาพจากเวป http://www.mountkinabalu.com/



ก่อนที่จะไปเดินทางพิชิตยอดกัน. มาดูวิวของภูเขาคินาบาลูกันก่อน
ว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหน



จากนั้นก็เชคอินเข้าที่พักครั้งนี้ผมจองแพคเกจ 4 วัน 3 คืน กับทางอุทยานคินาบาลู
คือวันแรกเดินทางจากสนามบิน kk มาพักด้านล่างอุทยานก่อนหนึ่งคืน
จากนั้นพักบนเขา 1คื่น ส่วนวันเดินลงมาพักที่บ่อน้ำร้อนอีก 1 คืน
รวมอาหารทุกมื้อของการเดินทาง ยกเว้นมื้อเที่ยงวันแรก และวันสุดท้าย
ซึ้งเป็นเวลากำลังดี ไม่รีบ ไม่ช้ากินไป สำหรับการพิชิตยอด

..
สำหรับที่พักด้านล่างอุทยานที่มพักก็จะประมาณนี้ เป็นห้องน้ำรวม
มีสบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัวบริกการ รวมถึงที่พักบนเขาด้วย



ี่ห้องอาหารจะจัดให้แบบไลน์บุฟเฟ้ต์. ทั้งเช้าและเย็น


มาถึงวันที่จะต้องนำร้างกาย สองเท้าก้าวเดินพิชิตยอด.
ที่มียอดเขาบบแหงดหน้ามอง ตั้งตระหง่านท้าท้ายอยู่หน้าห้องพัก



ก่อนเดินทางจะต้องมาลงทะเบียนเพื่อรับบัตรห้อยคอติดตัว และห้ามทำหายเด็ดขาด

เพราะจะต้องนำไปแสดงให้เจ้าหน้าที่ดูตามจุดเช็คพอยช์ต่างๆ ถ้าไม่มีจะไม่สามารถผ่านไปได้



ข้าวห่อแบบง่ายๆ ที่เตรียมไว้ให้รวมอยู่ในแพตเกจ
สำหรับมื้อเที่ยงระหว่างทาง


ไกด์ซูน ไกด์ที่จะอยู่กับผมตลอดระยะเวลา 2วัน1คืน บนเขา อธิบายเกี่ยวกับเส้นทางเดิน


หลังจากที่ลงทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย รถก็จะมาส่งเราที่จุดเริ่มเดิน (Timpohon gate)
เดินออกมาไม่ใกล ก็จะมีน้ำตกเล็กๆน้ำตก Carson น้ำตกรับแขก เหมือนคอยต้อนรับเหล่านักเทรคกิ้ง
เข้าสู่ขุนเขาคินาบาลู



"ความเหนื่อย อาจจะทำให้เราคิดถึงแค่เพียงจุดหมาย
จนลืมสิ่งที่อยู่รอบข้าง บางครั้งถ้าเราสนใจในสิ่งรอบข้าง
ก็อาจจะทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อยก็ได้"
...
คินาบาลู .. ที่นี่นอกจากจะขึ้นชื่อในเรื่องของภูเขาแล้ว
กิจกรรมส่องนก ชมกล้วยไม้ และดอกไม้หายาก
ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน



เราเดินใต่ความสูงขึ้นมาเรื่อยๆ .. ดอกไม้ประจำถิ่น ป่าแปลกตา
เริ่มปรากฏให้เห็น คงจะเป็นระยะทางอีกไม่ใกลจะถึงจุดหมาย
แต่การย่างกายเริ่มช้าลง เพราะหลงพวงอยู่กับความสวยงามของ
วิว และธรรมชาติป่าไม้ของช่วงนี้อย่างจัง จุดหมายไลน์อาหารบุฟเฟ่ต์ น้ำอุ่นๆ เตียงนุ่มๆ
ที่รออยู่ตรงหน้า อนนี้ลืมเรื่องพวกนั้นไปหมด ขอชมความงามของสองข้างทางไปก่อน



ระยะทาง 6 กม. เดินชมนก ชมไม้ ถ่ายรูป หยุดชมวิวมาเรื่อยๆ
ไม่นานก็าถึง Laban Rata (ที่พัก) คินที่ 2 ของผมในทริปนี้ เป็นที่พักที่ตั้งอยู่บนเขาคินาบาลู
ที่ความสูง 3,273 เมตร จากระดับน้ำทะเล.

ที่พักที่นี้ก้พร้อมไปด้วยทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินที่รวมมาอยู่ในแพคเกจแล้ว
เป็นไลน์บุฟเฟ่ต์ หลายๆอย่าง ห้องน้ำห้องท่าก็สะดวกสะบาย มีน้ำอุ่น สบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัวพร้อม
ห้องนอนก้เป็นเตียงนุ่มๆ ผ้าห่มหนาๆ ที่มาในรูปแบบของโฮสเทล



มุมสูงของ Laban Rata (ที่พัก)

วิวบริเวณที่พัก. วันนี้เราจะต้องรีบเข้านอน เพราะจะต้องเก้บแรงักผ่อน
ต้องตื่นตอนตี 2 เพื่อเตรียมตัวพิชิยอด



ตีสอง ผมตื่นก่อนเสียงนาิกาปลุก อาจจะเพราะร่างกายพักผ่อนเต็มที่ตั้งแต่หัวค่ำ
สิ่งสำคัญตอนนี้คือไฟฉาย กับร่างกายที่ต้องการตัวช่วยจากเสื้อหนาๆ
เพราะอุณภูมิลดลงอย่ารวดเร็ว

ทำธุระส่วนตัวเสร็จ เติมแรงด้วยอาหารในยามตีสองกว่าๆ
อาจจะไม่ใช่เวลาปกติสักเท่าไหร่ แต่ด้วยกว่าจะกลับมาอีกทีก็หลายชั่วโมง
ทำท้องให้อิ่มถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยไม่ต้องจ่ายตังค์เพิ่ม อาหารทุกมื้อถูกรวมอยู่ในแพคเกจ
ที่เราจ่ายไปเรียบร้อยแล้ว จะมีแต่น้ำเปล่าที่จะต้องซื้อเพิ่มติดตัวขึ้นไป

===============
ก่อนจะเริ่มเดินเตรียมความพร้อมให้เรียบร้อย ชุด เสื้อผ้า ถุงมือ ไฟฉายคาดหัว
และโดยเฉพาะบัตรที่เราแขวนคอมาตลอดตั้งแต่ได้รับจากจุดลงทะเบียน
จะต้องติดตัวไว้เสมอ เพราะการเดินขึ้นยอดตอนตี 2กว่าๆ ถ้าไปถึงจุด Check Point
เราจะต้องนำบัตรนี้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่มีก็จะไม่ให้ผ่าน. รวมไถึงไฟฉายด้วย
และถ้ามาไม่ทันหลังจาก ตี 5. เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาติให้เดินไปต่อ จะต้องเดินกลับซับน้ำตาไปที่พักอย่างเดียว.
เคยมีนักท่องเที่ยวไม่ทันเหมือนกัน ต้องเดินกลับ แต่น้อยนักที่จะไม่ทัน กับระยะทางกิโลครึ่งจากที่พักถึงจุด Check Point



หนึ่งชั่วโมงผ่านจุดเชคพ้อยท์ ค่อยๆเดินตามเชือกที่มีแสงสว่างจากไฟคาดหัวคอยนำทาง
ไม่นานผมก็มาจุดสูงที่สุดของเขาคินาบาลู คือ Low's Peak ความสูง 4095.2 เมตร
ที่ตั้งตามชื่อหัวหน้าทีมสำรวจชื่อ Hugh Low และได้ถูกบันทึกว่าเป็นคนแรกที่พิชิตยอด Low's Peak
ในเวลายังไม่ถึงตี 5 กับฝรั่งร่างใหญ่อีกคน ที่เหมือนว่าจะขึ้นมาไวกว่าปกติในขณะที่อุณภูมิบนยอด
ติดลบ 5 องศา มันเป็นเวลาที่ไม่ควรจะมาก่อนซะด้วยซ้ำ.

ตอนนั้นก็ทำได้เพียงโขดหิน ซอกหิน ที่พอจะพาร่างกายเข้าไปซุกหลบลม
พอจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นมาหน่อย ช่วงที่รอคอยพระอาทิตย์ขึ้น
======================

ความสว่างที่มาจากดวงอาทิตย์เริ่มองเห็นทิวทัศน์ขึ้นเรื่อยๆ
บรรดานักท่องเที่ยวที่เดินตามมาก็เริ่มทยอยกันขึ้นมาบนยอด
ทำให้ยยอด Low's Peak ตอนนั้นดูจะคับแคบ เบียดเสียดขึ้นมาทันที
ผมตัดสินใจลงไปตั้งหลักก่อน หามุมตั้งกล้องถ่ายรูป รอจังหวะคนน้อย
แล้วค่อยเดินขึ้นมาใหม่



ยอด South Peak ที่สูง 3,929 เมตร เผยโฉมออกมาให้เห็นที่เหมือนจะเป็นสัญลักษณ์พระเอกของที่นี่
แทนที่จะเป็นยอดสูงสุด และสามารถดูได้จากแบงค์หนึ่งริงกิตแบบเก่ากับหนึ่งร้อยริงกิต จะมีรูป South Peak
อยู่บนธนบัตร


บรรยากาศบนความหนาว



ถ่ายรูปกับป้ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน ตามธรรมเนียม เดี๋ยวจะหาว่ามาไม่ถึง
ขอบอกเลยว่า 4 รอบกับการเดินขึ้นยอด
ในการเดินทางเพียงครั้งเดียว
ที่บอกว่า 4 รอบ เพราะตั้ง Gopro ถ่าย Time Lapse
บนยอด 1 ตัว. ด้านล่างตรงเซาท์พีคก่อนขึ้นยอดอีก 1 ตัว
คนละมุม จึงต้องเดินขึ้นลง กลัวกล้องหาย และเชคแบต
และเชคเมโมรี่ตลอด
อีกรอบสุดท้ายขึ้นไปถ่ายรูปกับป้ายตอนไม่มีคน



ทริปนี้ยังไม่จบ หลังจากพิชิตยอดระดับ 4095.2 เมตรเป็นที่เรียบร้อย
เรายังเหลือเส้นทางอีก 8 กม. กว่าๆที่จะต้องเดินลงรวอเดียว
ก็เป็นเส้นทางที่เราเดินขึ้นจากเมื่อวาน แต่เพียงแค่แวะเก็บของ
สัมภาระ เชคเอาท์ และกินมื้อเช้าอีกมื้อเท่านั้นเอง แล้วก็เดินลงแบบยาวๆ
ช่วงนี้อาจจะถูกกดดันด้วยเวลาหน่อย เพราะถ้าไปถึงช้ากว่า5 โมงเย็น
อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงเวลาเพิ่มให้กับรถที่มารอรับไปยังอุทยาน



===================

ภาพนี้เป็นอีกเส้นทางสำหรับคนที่ชื่นชอบในความท้าทาย

ที่ต้องปีนหน้าผาในทางชัน ถ้ามีโอกาศอีกครั้งจะกลับไปลองใช้เส้นทางนี้



ขากลับคงไม่ต้อง งานนี้เก็บกล้องเข้ากระเป๋าให้เรียบร้อย
สองเท้ารีบก้าวเดินให้ทันเวลา เนื่องจากเราใช้เวลาไปถึงยอดเป็นคนแรกๆ
และเตร็ดเตร่เป็นคนสุดท้ายในการลงมา ทุกอย่างตอนกลับเลยรีบไปหมด

==============
ตัดภาพมาทีเดียวหลังจากที่ลงมาถึงด้านล่าง ใช้เวลาเดินทางไม่นาน
ก็มาถึงบ่อน้ำร้อน poring hot spring อีกหนึ่งสถานที่ยอดนิยมสำหรับการได้มาแช่น้ำร้อน
คงายกล้ามเนื้อให้หายเหนื่อยหลังจากที่ลงจากเขา และเป็นที่พักคืนสุดท้ายของเราในทริปนี้

การที่ได้มาแช่น้ำร้อนท่ามกลางธรรมชาติ หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการปีนเขา
ผมว่ามันเป็นอะไรที่ลงตัวสุดๆละ

***แต่เดี๋ยวก่อน บัตรปีนเขาที่ติดตัวเราตั้งแต่วันลงทะเบียนยังมีประโยชน์
เพราะเพียงแค่โชว์บัตรกับเจ้าหน้าที่ ก็รับสิทธิ์แช่น้ำร้อนฟรี ดดยไม่เสียงเงินสักริงกิตเดียวนะครับ





บ้านพักภายใน poring hot spring



===============
นอกเหนือจากที่พัก และบ่อน้ำร้อนแล้ว ใครยังพอมีแรง
หรือได้เรี่ยวแรงกลับมาจากการนอนแช่อยู่ในอ่าง
ก็สามารถมาเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติกับเส้นทาง Canopy Walkway ที่ดูจะืต่นเต้นนิดหน่อยสำหรับผม
แต่อาจจะมีเสียวๆสำหรับคนที่กลัวความสูง. ที่ที่ชอบคือมันเต็มไปด้วยป่าไม้ เขียวขจีเต็มไปหมด
จริงๆ ถ้าไม่ติดว่ารีบกลับ งต้องเดินกันรอบใหญ่ .. เสียดายที่เมื่อวานมาถึงช้า



สรุปทริปคินาบาลู ครั้งนี้ ถือว่าโชคดีที่ไม่เจอฝน. ถึงแม้สภาพอากาศจะไม่เปิด
แต่ก็พอมีบางจังหวะให้ได้เห็นตะวันกันบ้าง

การเดินทางก็สดวกสบาย เพราะสามารถบินตรงมาลงที่ "โคตาคินาบาลู" ได้เลย
ไม่ต้องต่อเครื่องเหมือนครั้งก่อน

ความลำบากก็อย่างที่สรุปตั้งแต่ข้างต้น ถือว่าเดินไม่ยากอย่างที่คิดไว้
แต่ก็ไม่ง่ายจนเกินไปสำหรับมือใหม่ "ถ้าผมมาได้ ทุกคนก็มาได้เช่นกัน"

อาหารการกินถือว่าพอกินได้ ไม่ได้เลวร้ายอะไรสำหรับคนไทย บางอย่างก็อร่อย
แต่แนะนำเตรียมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ้านเรามาด้วยก็ดี
สุดท้ายนี้ขอบคุณสำหรับที่เข้ามาติดตาม เยี่ยมชม
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นทุกๆท่าน
หวังว่ารีวิวเล็กๆของผมนี้ จะพอมีประโยชน์สำหรับใครที่วางแผนจะไปพิชิตยอดเขาลูกนี้

โอกาศหน้าจะเดินทางไปที่ไหน จะนำภาพและรีวิวมาให้ได้ติดตามชมอีกครับ



สะพายเป้ เท่ทั่วไทย

 วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 23.01 น.

ความคิดเห็น