แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนของพระราชา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา
การสร้างความแข็งแรงให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริ
ที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ จากการพึ่งพาตัวเองนำมาสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
ส่วนหนึ่งยังเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง ไปยังบุคคลอื่นๆ ปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้าย
อยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร วันนี้เราไปตามรอยธรรมะพระราชากันครับ
และเป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่าเรื่องราวโครงการพระราชกรณียกิจ ของในหลวง รัชการที่ 9
เริ่มต้นการเดินทางด้วยสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย มุ่งหน้าสู้ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
หลังจากรับกระเป๋าเดินทาง รถตู้ได้มาจอดรอรับ เดินทางไปยังร้าน สหรส เป็นร้านต้มเลือดหมูชื่อดังของจังหวัดเชียงราย
อิ่มท้องกันแล้ว ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม เพื่อเดินทางไปยังจุดหมายแรกของเราในทริปนี้
●ชุมชนบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย●
ตำบลบ้านแซว ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงแสน ประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน
เป็นชุมชนที่กำเนิดมาจากชาวภาคอีสานที่ย้ายถิ่นฐานขึ้นมาปักหลักอยู่รวมกันมากกว่า 60 ปี
สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบริมแม่น้ำโขง ติดพรมแดนประเทศลาว วิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านแซวมีการใช้ชีวิตในลำน้ำโขง
วัฒนธรรมของที่นี่จะผสมผสานระหว่างอีสานกับล้านนาทั้งเรื่องอาหารท้องถิ่น การแต่งกาย และศิลปะการแสดง
ชุมชนบ้านแซวปัจจุบันกำลังพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงระบบนิเวศ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตริมฝั่งโขง
เหมาะกับทุกกคนที่ต้องการซึมซับวิถีเรียบง่ายบนวัฒนธรรมอีสานล้านนา
กิจกรรม
ล่องเรือชมบรรยากาศธรรมชาติริมน้ำโขงชมพระอาทิตย์ขึ้น-ลงชมศิลปะการแสดงผสานอีสานล้านนา
รับประทานอาหารท้องถิ่น อาทิ แจ่วบอง แกงหยวกกล้วย อ่อมผัก และมีโฮมสเตย์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ
ร่วมถึงการปลูกเสาวรสที่ได้รับคำแนะนำจากโครงการหลวง การดูแล เก็บเกี่ยว ผลผลิตส่งขายให้กับ โครงการหลวงอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ชาวบ้าน ได้แก่ เมล็ดดาวอินคา ที่แปรรูปพร้อมจำหน่าย สามารถนำเป็นของฝากได้
●ชุมชนศรีดอนชัยไตลื้ออำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย●
กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนไชย เป็นการรวมกลุ่มของชาวไตลื้อ ในการทอผ้า ทอผ้าขายเพื่อเป็นรายได้ให้กับครอบครัว มีศูนย์จัดแสดงสินค้า
ศูนย์ทอผ้าด้วยมือ และเย็บผ้าด้วยจักร ผ้าทอได้รับการสนใจอย่างมากจากประชาชน ร่วมถึงหน่วยงานของรัฐมีการสั่งทอไว้ล่วงหน้า
เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ชาวไตลื้อต้อนรับด้วยขนม แหล้ (ไม่แน่ใจเรื่องการออกเสียง) และน้ำอัญชัญหวานชื่นใจครับ
●พิพิธภัณฑ์ลื้อลายดำ●
เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาของชาวไตลื้อและประวัติของผ้าทอไตลื้อตลอดจนวัฒนธรรมต่างๆของชาวไตลื้อ
มีการจัดแสดงวิถีชีวิตไตลื้อ ผ่านการแสดง การเล่นเครื่องดนตรี การขับลื้อและการปั่นฝ้ายไตลื้อเป็นลวดลายบนผืนผ้าอันวิจิตร
● ชุมชนปงใหม่ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ●
ชุมชนปงใหม่ เป็นชุมชนตามแนวทางวิถีพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจาก จ.พะเยา ประมาณ 90 กิโลเมตร
ชุมชนเข้มแข็งด้วยกองทุนแม่ของแผ่นดิน จัดสวัสดิการแก่ชุมชน การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
การมาเยี่ยมชมที่นี่ท่านจะได้รับกลิ่นไอของความเป็นธรรมชาติแนวตะเข็บชายแดนไทย-ลาว
กิจกรรม มีการแสดงกลองยาว การทำเครื่องสีข้าวกล้องแบบมือหมุนโบราณ การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
●โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม จังหวัดพะเยา ●
เป็นโรงเรียนที่ให้โอกาสการศึกษากับเด็กชาวเขาที่ไม่มีบัตรประชาชน ยึดหลักปรัชญาการศึกษา ศาสตร์พระราชา
มีกิจกรรมมอบอุปกรณ์และเสื้อผ้าให้นักเรียน ตามรอยผู้ให้แบบอย่างจากพระราชา มีการแสดงของนักเรียน 5ชาติพันธุ์มาให้ชมกันด้วย
ภานในโรงเรียนยังปลูกกาแฟ และนำผลผลิตมาแปรรูป นำมาขายเป็นร้านกาแฟสดภายในโรงเรียนอีกด้วยครับ
โดยสมาคมการตลาดท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังได้มอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนของโรงเรียน
●บ้านหนองกลาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ●
บ้านหนองกลาง เชียงม่วน เป็นชุมชนที่สานต่อโครงการของพ่อลดการเผาและทำลายป่า ปัจจุปันได้มีการปลุกป่าชุมชน
มีพระธาตุภูปอที่มีองค์เทวดากว่า 1000 องค์อยู่ล้อมรอบพระธาตุ ด้านบนสามารถมองเห็นอำเถอเชียงม่วนได้ทั้งอำเภออีกด้วย
กิจกรรมล่องแก่งหลวง ค่าบริการ ลำละ 1500 บาทนั่งได้ไม่เกิน 10 คน ใช้เวลาในการล่องประมาณ 30นาที
ส่วนมากนิยมในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป สามรถติดต่อได้ที่ ท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านหนองกลาง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-172346313171423/?ref=br_rs
ชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เชียงม่วน และทานมื้อกลางวัน อาหารท้องถิ่น โดยกลุ่มแม่บ้านหนองกลาง ได้รับการต้อนรับผูกข้อมือ
●ชุมชนทุ่งโฮ้ง อำเภอทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่●
ตำบลทุ่งโฮ้ง แต่เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ประชาชนในท้องถิ่นเป็นชาวไทยพวน เรียกว่า "บ้านตั้งโฮ้ง" หมายความว่า
ทั่งสำหรับช่างใช้รองรับในการตีเหล็ก จึงเกิดการสึกหรอหรือเป็นแอ่งหรือหลุมเนื่องจากประชาชนเกือบทุกหลังคาเรือนจะมีอาชีพตีเหล็ก
ใช้เป็นภาชนะอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ จนได้ขนานนามว่าบ้าน "ตั้งโฮ้ง" ต่อมาได้เปลี่ยนหรือเพี้ยนไปเป็น "ทุ่งโฮ้ง"
เข้าชมศูนย์การเรียนรู้ การย้อมผ้าจากต้นฮ่อม ถือเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ
ที่สืบทอดมานาน เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ ซึ่งปัจจุปันผ้ามัดย้อนด้วยฮ้อมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้ง กลุ่มวัยทำงาน และวัยรุ่น
● ชุมชนไทรน้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ●
พบกับผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผุ้หญิงได้เล่าถึงถิ่นกำเนิดของเสาชิงช้าที่นำต้นสักจาก จังหวัดแพร่ และชมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
คือ การแปรรูปผลผลิตจากกลอย และรับประทานอาหารมื้อเย็นเป็นอาหารพื้นบ้านที่หาได้จากท้องถิ่นทั่วไป เรียกได้ว่าสดสะอาด
ปลอดสารพิษ พร้อมกับชม วิวนาข้าวสีเขียว และหมอกหลังอากาศเย็นสบายมากเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหารเพื่มขึ้น
●ชุมชนบ้านห้วยพ่าน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน●
บ้านห้วยพ่านอยู่ห่างจากตัวเมืองน่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชม. และรถที่ใช้เดินทางเข้าไปได้ต้องเป็นรถกระบะยกสูง
เนื่องจากถนนที่เข้าไปเป็นทางคอนกรีตสลับกับลูกรัง ใช้เวลาเดินทางเข้าไปอีก 20 นาที โดยชุมชนนี้เน้นในเรื่องของการศึกษาเรียนรู้
มีศูนย์การเรียนรู้และศูนย์เด็กเล็กภายในหมู่บ้านเป็นสถานที่สอนหนังสือแกเด็กๆ รอบๆหมู่บ้านยังมีลำธารไหลผ่านลงสู่ลำน้ำน่าน
เลยทำให้หมู่บ้านนี้มีน้ำที่อุดมสมูรณ์ สามารถปลุกข้าวได้ตลอดทั้งปี แต่ด้วยเป็นเขาที่สูงจึงเป็นนาขั้นบันได มื้อกลางวันเราทานกันที่บ้านห้วยผ่าน
โดยกลุ่มชาวบ้านได้ทำอาหารไว้ต้อนรับเมนูเด่นคือ ปลาในกระบอกไม้ไผ่ รสชาติหอมและอร่อยมากเลยครับ
ทานมื้อเที่ยงกันอิ่มแล้วได้เวลาเดินทางไปยังสถานที่ต่อไป
● ชุมชนบ้านบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ●
ชุมชนบ้านบ่อสวกโดดเด่นในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุมากกว่า 700 ปี โดยมีกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับการสืบทอดรุ่นต่อรุ่น
สอนและถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นหลังไม่ว่าจะเป็นประวัติ กระบวนการทำตั้งแต่ดินจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของขบวนการ
นำเยาวชนในชุมชนที่สนใจมารวมกลุ่ม และที่นี้ยังมี พิพิธภัณฑ์ ที่รวบรวมเครื่องปั้นดินเผา ของใช้ ในครัวเรือน
และบ้านในสมัยก่อนไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษา และชิมน้ำอัญชัญลำใย เปียกปูนมะพร้าวอ่อน กับ แกงฮังเลกระทงใบตองด้วย
●วัดภูมินทร์ วัดช้างค้ำวรวิหาร พิพิธภัณ์สถานแห่งชาติน่าน ●
ทั้งสาม สถานที่เรียกได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดน่าน ถ้าใครมาน่านแล้วไม่มาเที่ยวชม ถือว่าพลาดมากครับ
วัดภูมินทร์ พระอุโบสถจตุรมุข ทั้งสี่ด้าน ด้านในยังมี "ภาพกระซิบรักบันลือโลก"อีกด้วยครับ
ข้ามถนนไปจะพบกับ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน ต้อนรับด้วยซุ้มทางเดินลีลาวดี ไว้ให้ถ่ายรูปกัน
แอบเสียดายเวลาไม่พอ อดเจ้าไปชมความงานของ วัดช้างค้ำเลย โอกาสหน้าจะแวะมาเยี่ยมเยือนแน่นอนครับ
ได้เวลาสมควรแก่การเดินทางไปยังสนามบินน่านนคร เพื่อกลับกรุงเทพกันแล้ว ลาก่อน เมืองน่าน ครั้งหน้าจะอยู่นานกว่านี้
สำหรับทริป ตามรอยธรรมะพระราชา 4 จังหวัดล้านนาตะวันออก ทริปนี้ ผมมีความสุขที่ได้เดินตามรอยของพ่อ
ได้ความรู้หลักเศรษกิจพอเพียงในมุมมองของการนำไปปฎิบัติ ได้รับความรู้ใหม่ๆจากชาวบ้าน จากที่เคยทราบมาบ้าง
วันนี้ทำให้ผมได้รับรู้และเข้าใจ ถึงการดำเนินวิถีชีวิตของชาวบ้าน และสิ่งที่พ่อได้มอบไว้ให้กับเรา คนไทยทุกคน
หากท่านใดมีโอกาส ลองแวะเที่ยวได้ครับ ท่านจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่มีคุณค่ามากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต
ตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง เพื่อสุขที่เพียงพอ
Mr'Napat Ittiyos
วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.35 น.