จริงๆ แล้วภาคอีสานทั้งภาคน่าจะเรียกได้ว่าเป็นบ้านเกิดของบรรพชีวินของไทยเลยครับ โดยเฉพาะไดโนเสาร์ แม้ว่าแรกๆ การค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทยครั้งแรกที่ภูเวียง ขอนแก่น เมื่อปี ๒๕๑๙ แต่ที่กาฬสินธุ์โดยเฉพาะที่ภูกุมข้าวอันเป็นที่ตั้งของพิพิทธภัณฑ์ น่าจะมีซากไดโนเสาร์กระจัดกระจายอยู่ใต้ดินเป็นจำนวนมาก บริเวณภาคอีสานตอนเหนือตั้งแต่ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร ยันไปถึงหนองคาย บึงกาฬ ล้วนมีการค้นพบซากไดโนเสาร์อีกเป็นจำนวนมากเลยครับ
จากการค้นพบซากไดโนเสาร์ที่ภูกุมข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์นี้เองครับ (ผู้ค้นพบคือท่านพระครูวิจิตร เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ซึ่งเป็นวันที่ติดกับพิพิทธภัณฑ์เลย) จึงได้มีการจัดตั้งพิพิทธภัณฑ์สิรินธรที่นี่ครับ ผมเลยยกให้กาฬสินธุ์เป็นเมืองหลวงของไดโนเสาร์ไทยไปเลยครับเป็นการส่วนตัว เพราะความที่ชอบไดโนเสาร์มาแต่เด็ก เวลาไปเที่ยวไหนหนึ่งในโปรแกรมทัวร์คือการเยือนพิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์นี่ล่ะครับ และพิพิทธภัณฑ์ที่มีซากไดโนเสาร์แสดงอยู่ที่ผมเคยไปได้แก่ พิพิทธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่นิวยอร์ก บริติชมิวเซียมที่อังกฤษ พิพิทธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรุงปักกิ่ง และก็ที่พิพิทธภัณฑ์สิรินธร ผมว่าที่พิพิธภัณฑ์สิริธรนี่จัดการแสดงได้เป็นอินเตอร์และสมบูรณ์แบบไม่แพ้ที่อเมริกาและที่อังกฤษเลยนะครับ แต่อาจจะเป็นรองที่สมิธโซเนียนที่วอชิงตัน แต่ดีกว่าปักกิ่งแน่นอนครับ ส่วนที่กรุงเทพทั้งที่ท้องฟ้าจำลองและที่คลองหกขอบอกว่าไม่ได้เรื่องเสียเลย ตอนที่มาที่นี้คนไทยน้อยครับ น่าเสียดายมีแต่คนท้องถิ่นซึ่งก็เป็นการดีที่ได้ปลูกฝังความรู้ แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นคือฝรั่งพาลูกพาครอบครัวมาชม ซื้อหนังสือและให้ความรู้กับลูกๆ ดีมากครับ ผมถามเค้าเค้าบอกว่าที่นี่จัดแสดงได้ดีมากตามมาตรฐานสากล ติดอยู่ที่การเดินทางเข้ามาออกจะยากลำบากอยู่ ซึ่งก็จริงตามนั้นครับ การเดินทางมาที่ภูกุมข้าวลำบากอยู่ แต่เห็นตอนนี้มีก่อสร้างขยายถนนอยู่ครับ อย่างไรก็ดีเห็นเขาบอกว่าของเรานี่ดีที่สุดในอาเซียนเลยครับ กำลังคิดว่าถ้าพม่าเปิดประเทศแล้ว คงได้เห็นไดโนเสาร์พม่าอีกแน่ๆ เพราะแถวนั้นน่าจะเยอะกว่าบ้านเราอีก
มารู้จักท่านแรกที่สร้างขื่อเสียงให้กับประเทศครับ อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์นี (Isanosaurus attavipatchi) ไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกครับ เป็นโซรอพอดพวกกินพืช ญาติเค้าคือบราคิโอเซารัส ไดโนเสาร์มหึมานั้นเองครับ ชื่อตั้งเป็นเกียรติแก่ คุณปรีชา อรรถภิวัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีครับ
ตัวนี้ชื่อ ซิททาโกโซรัส สัตยารักคิ ครับ เป็นไดโนเสาร์พวกเซอราทอปเชียน หรือไดโนเสาร์ที่มีปากเหมือนนกแก้ว สะโพกแบบนก ค้นพบโดยคุณนเรศ สัตยารักษ์ ที่ชัยภูมิครับ มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลางเมื่อร้อยล้านกว่าปีก่อน กินพืชเป็นอาหาร ยาวประมาณ ๑ เมตร ส่วนที่ค้นพบที่อื่นเช่นที่ชานตงประเทศจีน ที่มองโกเลีย และที่ไซบีเรียเท่านั้นครับ การค้นพบที่ชัยภูมิทำให้ยืนยันได้ว่าคาบสมุทรอินโดจีน รวมเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสแล้วครับ
แบบจำลองไดโนเสาร์ในประเทศไทย กับไดโนเสาร์ร่วมสมัย มีตัวที่โหดกว่าทีเร็กซ์ด้วยตัวนี้อยู่ในเรื่องจูราสิคพาร์คภาค ๒ กับในไอซ์เอจ ๓ แต่สุดท้ายทีเร๊กซ์มาทวงบัลลังก์โหดตลอดกาลไปได้อีก อ้อตัวที่เงาสะท้อนน่ะ เป็นแค่ตัวเกือบเป็นไดโนเสาร์นะครับ
ตัวต่อมาคือ Opetiosaurus bucchichi หรือ Aiialosaurus bucchichi ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของโมซาซอร์ หรือไดโนเสาร์ในทะเลกลุ่มแรกๆ เลยครับ มีรูปร่างคล้ายจระเข้ครับ
ต่อมาคือราชันย์แห่งท้องฟ้าครับ เทอราโนดอน เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มเทอโรซอร์แปลตรงตัวเลยว่าไดโนเสาร์บินได้ จากโครงกระดูกตอบคำถามว่าทำไมถึงบินได้ เพราะกระดูกบางและกลวงทำให้ตัวเบาครับ การหาอาหารเหมือนกในปัจจุบัน คือชอบโฉบกินปลาเหมือนกันเลยครับ
ต่อไปคือ เพลซิโอซอรัสครับ ใครเคยดูโดเรม่อนคงจำพีสุเกะได้ แต่พีสุเกะออกจะน่ารักกว่าความจริงไปเยอะครับ
และก้อมาเฉลยตัวนี้ครับ Siamosaurus suteethorni เห็นเด็กๆ เรียกทีเร็กซ์แต่จริงๆ ไม่ใช่นะครับ สยาโมซอรัสเป็นไดโนเสาร์ตระกูลเทอโรพอดแปลว่าเดินสองเท้า มีขนาดถึง 7 เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น เกิดก่อนทีเร๊กซ์ตั้งกว่า 60 ล้านปี เรียกว่าไม่ได้โคจรมาเจอกันแน่ยกเว้นในหนังจูราสิคพาร์คภาค ๓ ครับ แต่เขาว่ากันว่าโหดกว่าทีเร็กซ์อีก ตัวนั้นชื่อ สไปโนซอรัสเป็นญาติกับสยาโมซอรัสนี่เอง ผู้ค้นพบคือคุณวราวุธ สุธีธรครับ
ตัวนี้แหล่ะครับ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) ท่านนี้เป็นประเภทซอโรพอดหรือไดโนเสาร์กินพืชคอยาวครับ ภูเวียงโกซอรัสเป็นไดโนเสาร์ประเภทไททันโนซอรัส เพื่อนร่วมรุ่นดังๆ ก็อย่างบราคีโอซอรัสไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ภูเวียงโกซอรัสตัวเล็กกว่าหน่อยครับ มีขนาดประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร ค้นพบครั้งแรกที่ภูเวียงในปี ๒๕๒๕ ครับเลยได้ชื่อว่าภูเวียงโกซอรัส ที่ภูกุมข้าวพบโครงกระดูกพวกเขาอย่างน้อย ๖ ตัวมีจำนวนมากกว่า ๘๐๐ ชิ้น ขณะที่ภูเวียงเองก็ยังค้นพบกระดูกของพวกวัยเยาว์ขนาดประมาณ ๒ เมตรด้วยครับ
ตัวนี้เป็นโครงกระดูกของซิททาโกโซรัส สัตยารักคิ
ตัวนี้ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นคอมพ์ซอกนาธัส ค้นพบที่ภูเวียงครับ ไดโนเสาร์ขนาดเล็กตัวเปิดฉากจูราสสิกพาร์คภาค ๒
ชื่ออะไรหนอ จดมาไม่ยักกะเจอตัวนี้ น่าจะเป็นกินรีมิสมัส ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศของไทย สังเกตจากชื่อกินรีนะครับ เจ้าตัวนี้ปรากฎตัวในจูราสิกพาร์คภาคแรกเลย ตอนที่เด็กน้อยเรียกชื่อตัวนี้ว่ากินรีมิสมัส ผมล่ะภูมิใจ
สเตโกซอรัสครับตัวนี้ เป็นอีกตัวที่ดังมากด้วยแผงหลังที่ใช้เป็นเกราะป้องกันตัว ขุดพบที่กาฬสินธุ์เหมือนกัน
พระเอกของเราครับ สยาโมไทรันนัส อิสานเอนซิส เป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ที่พบในไทย ค้นพบที่ภูเวียง มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนต้นของยุคครีเตเชียสเมื่อ ๑๓๐ ล้านปีก่อน ก่อนกำเนิดทีเร็กซ์อีกครับ การค้นพบที่เมืองไทยทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า ไทรันนอซอรัสหรือทีเร๊กซ์เริ่มวิวัฒนการในเอเบียก่อนไปเอเชียเหนือและไปสูญพันธ์ที่อเมริกาเหนือ
ตัวนี้ชื่อ พาชีซีพาโลซอรัส ครับ
ตัวนี้ผมไม่แน่ใจว่าใช่ โอวีเรปเตอร์เหรือเปล่า ดูจากจงอยที่กระโหลก
Site ที่ขุดไดโนเสาร์ครับ ขอปิดกระทู้ด้วยภาพสุดท้ายจากพิพิธภัณฑ์นะครับwww.facebook.com/theTravelBagStory
TravelTherapy
วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 01.29 น.