เที่ยวฟุคุชิมะ 2 คืนสุดท้ายกับที่ซุกหัวนอนที่มีชื่อว่า 料理旅館 田事 (tagoto-aizu)

ในเมื่อเรามาเที่ยวญี่ปุ่น ก็จะเป็นการดีมากที่ได้มาลองใช้วิถึชีวิตแบบชาวญี่ปุ่นแท้ๆ กันบ้างนะคะ

ที่นี่เป็นเรียวกัง บ้านพักแบบญี่ปุ่นๆ แท้ๆ ที่ทันสมัยและไฮเทคมาก

เราเลือกมาพักที่นี่กันค่ะ ในราคา คืนละ 8314 เยน (4159 บาท) พร้อมอาหารเช้า

สำหรับเรามองว่าราคาค่อนข้างสูงพอสมควรเลยล่ะกับที่พักแนวนี้

ยังไงก็ต้องลองสักตั้งว่าเป็นไงบ้าง สำหรับราคาขึ้นลงแล้วแต่ช่วงที่มาพักด้วยนะคะ จองผ่านเวป อโกด้า

หากไปช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวก็จะกระโดดขึ้นมาหน่อย เหมือนที่พักปกติทั่วไป

ส่วนเรื่องทำเลที่พักที่นี่ คนไทยนิยมมาพักกันมาก ช่วงที่เราไป ก็เจอเพื่อนบล็อกหลายๆ คน

มาพักพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย อิอิ

เพราะทำเลที่พัก ใกล้กับ Aizu-Wakamatsu Station เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น

อีกทั้งยังใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเมือง Aizu อีกด้วย

ไปดูกันค่ะว่า เรียวกังที่นี่เป็นอย่างไรกันบ้าง


สองวันสุดท้ายเรามีรถ จึงนำมาจอดที่เรียวกังได้ จะมีที่จอดรถให้สองข้างฝั่งของ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu) ค่ะ

หากใครเดินทางมาจาก สถานีรถไฟไอซิโดยตรงสามารถจ้างแท็กซี่มาส่งที่พักได้เลย

คืนสองตอนส่งรถเสร็จเราก็เดินฝ่าความมืดกลับเรียวกังกันเองนะ 555

ส่วนขากลับออกจากเรียวกัง เจ้าของเค้าใจพี ขับรถมาส่งที่สถานีรถไฟด้วยค่า

料理旅館 田事 (tagoto-aizu) เป็นทีเรียวกังขนาดใหญ่ ไม้แบบญี่ปุ่น 2 ชั้น

ตอนแรกเดินเข้ามาที่ประตูด้านในของ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu) ตกใจทันทีเลยค่ะ ประตูเปิดอ้า

คือประตูไม้นั่นเป็นบานเลื่อนอัตโนมัติ เรามาถึงตอนเมืดๆ ซะด้วย นึกว่าเจอดีเข้าแล้วสิ



เข้ามาภายใน ด้านซ้ายเป็นที่เช็คอิน รับกุญแจห้อง

มีบันไดขึ้นไปยังที่พัก ส่วนพื้นที่ชั้นล่างจะเป็นห้องอาบน้ำ ห้องอาหาร ห้องสัมมนา

และห้องนั่งเล่นของ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu)

จะบอกว่า ทุกพื้นที่ของเรียวกังที่นี่ จัดพื้นที่ใช้สอยได้คุ้มค่าหมดทุกจุดจริงๆ ค่ะ

ตอนเข้ามายังเรียวกัง ก็จะมีรองเท้าใส่ภายในที่พักแบบโบราณให้เปลี่ยนด้วย

ชั้นล่าง เป็นห้องทานอาหารเช้าค่ะ


ห้องทานอาหารเช้าจะมี 2 ด้าน นอกกับใน ทั้งสองวัน เราก็ทานกันด้านนอกตลอด ห้องนี้จะเป็นภายในอีกทีหนึ่ง

การตกแต่งแบบบ้านโบราณญี่ปุ่นแท้ๆ ก็จริง แต่เปิดฮีตเตอร์ตลอดเวลานะคะ

เตาผิงอุ่นๆ ตรงกลางนั้น เพื่อการตกแต่งอย่างเดียวจริงๆ 555


ถัดจากห้องอาหาร จะเป็นห้องนั่งเล่น

เรานี่เดินสำรวจมาหมดล่ะ อิอิ ว่ามีไรน่าสนใจบ้าง

ข้างๆ ห้องนั่งเล่นจะมีห้องน้ำ และ ห้องอาหารแบบนั่งโต๊ะกันแบบห้องโถงใหญ่ เราไม่ได้ถ่ายภาพมาค่ะ

จริงๆ แล้วในเวป หรือเฟสบุ๊คของ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu) จะเน้นเป็นห้องอาหาร

มากกว่าที่พักนะคะ ที่พักเนี่ยเรามองว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

มุมเล็กๆ ภายในเรียวกัง ที่ดูน่ารักๆ คือถ่ายแสงเวลาไหนก็สวย

ว่างั้นเหอะ


ถัดจากที่เช็คอิน รับกุญแจ เลี้ยวไปทางซ้ายมือ จะเป็นห้องประชุม สัมมนาภายในเรียวกังค่ะ

มีบริการให้เช่าพื้นที่ประชุม จัดสัมมนาที่นี่ด้วย คือที่นี่จริงๆ ก็คือเป็นเรียวกังแบบรุ่นใหม่มากกว่าค่ะ



ตอนแรกเราก็ไม่รู้หรอกค่ะว่า นี่คือห้องประชุม สัมมนากัน พอดีพนักงานหรือคนที่ดูแลเรียวกังในเวลานั้น

เห็นเรากำลังถ่ายภาพห้องอาหารอยู่ เค้าก็ชวนให้เรามาถ่ายภาพห้องประชุมนี้ด้วย

เขาน่ะพูดกันเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ ส่วนเราตอบรับให้สัญญาณเป็นภาษามือ รอบเดียวรู้เรื่อง 555


ยังอยู่กันต่อที่ชั้นล่างนะคะ แต่นแต้นนนนนน มาดูห้องอาบน้ำกัน

ห้องอาบน้ำในเรียวกังเค้าเป็นแบบนี้ๆ

ภายในห้องอาบน้ำเป็นห้องน้ำรวม หรือแยกได้หมด ใช้วิธีการนั่งอาบค่ะ มีอ่่างน้ำร้อนให้แช่ตัวด้วย นั่นเป็นน้ำอุ่นนะคะ

ไม่ใช่ออนเซ็นกลางแจ้งเหมือนที่อื่น ที่นี่จะเป็นห้องน้ำที่ค่อนข้างมิดชิดมากกว่า

แต่หากมาอาบน้ำรวมๆ กันแบบนี้เวลาต้องการแช่น้ำอุ่นแบบส่วนตัว ก็จะมีที่กั้น (ไม้สีดำๆ) กั้นพื้นที่ในอ่างให้ค่ะ แต่หากใครอยากอาบน้ำเดี่ยวๆ ก็จะมีห้องอาบน้ำแยกให้อีก อยู่ใกล้ๆ กัน

คิดกันได้ยัง ว่าจะอาบน้ำห้องไหนดี อิอิ


ขึ้นไปบริเวณชั้นสองกันค่า ซึ่งจะเป็นที่พักของพวกเรา

ซึ่งการตกแต่งจะเป็นไม้เกือบทั้งหมด เจ้าของบ้านใจดี ยกกระเป๋าหนัก 30 โลขึ้นห้องให้เราด้วย แขนเรายกเองได้คงหลุดไปแล้ว 555

กุญแจเปิดห้องพัก ยังคงเป็นลูกบิดประตูนะคะ เปิดเข้าไปดูข้างในกัน

ภายในห้องพักส่วนตัว มีบานเลื่อนกระดากษเปิดเข้าไปอีกชั้น เป็นพื้นที่ส่วนของห้องนอน

คราวนี้แหละ มองเป็นเรียวกังแท้ๆ หน่อยค่า

เห็นที่นอนแบบนี้ล่ะบอกเลยว่า นุ่มมากกกกก นอนหลับสบายมากกกกก

ภายในห้องพักจะมีฮิตเตอร์ให้ มีตู้เซฟ ตู้เย็น และที่เสื้อคลุม

มีโต๊ะกลางนั่งพื้นแบบญี่ปุ่นๆ กันด้วย เราเอาคอมมาวาง นั่งทำรูปไปด้วย

อย่างเพลิน

มีขนมโบราณ และหมากฝรั่งในห้องพักให้ด้วยนะคะ และยังมีที่เขี่ยบุหรีในห้องอีก

คือเราไม่แน่ใจนะว่า ในห้องนี้ให้สูบบุหรีได้ด้วยไหม พอเห็นที่เขี่ยบุหรีในห้องพัก็คิดไง

แต่ห้องที่เราพักเนี่ย กลับไม่มีกลิ่นบุหรีติดอยู่เลยนะสิ

ความไฮเทคทันสมัยของเรียวกังใหม่ๆ ของ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu) คือ

มีที่นอนแบบเตียงด้วยค่ะ

เดาว่าห้องนี้น่าจะมีราคาที่แพงสุดในเรียวกังนี้ล่ะ เพราะว่า เป็นเตียง และมีห้องน้ำในตัวด้วย สะดวกมากกว่าใคร

ส่วนห้องที่เราพัก ชั้น 2 ห้องน้ำ และอ่างล้างหน้าจะใช้ร่วมกัน ห้องน้ำมีแยกชาย-หญิง

เราก็ซ่าสะดวกอยู่นะ อยู่หน้าห้องเราพอดีเป๊ะ

จากนั้นก็ตัดเวลามากันที่ห้องอาหารเช้าที่ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu) กันค่ะ

ตอนเราเข้ามาเช็คอิน พนักงานจะถามก่อนเลยว่าจะรับอาหารเช้าตอนกี่โมง เราแจ้งบอก 8 โมงเช้า

เจอกันที่ห้องอาหาร

บรรยากาศภายในห้องอาหารเช้า เริ่มคึกครื้นกันล่ะเพราะมีเพื่อนๆ มาร่วมทานข้าวด้วยกันในมื้อนี้

ตอนแรกเราก็มีกังวลนะว่า อาหารญ๊่ปุ่นแท้ๆ เนี่ยเราจะกินได้ไหมนะ เดี่ยวลองดูกัน 555

แต่ถ้าให้บอกชื่ออาหารแต่ละอย่าง บอกเลยว่า ไม่รู้จริงๆค่ะ

ภายในห้องอาหารมาเป็นแบบสำรับอาหารเป็นชุดแบบญี่ปุ่นๆ นะคะ โดยมีให้เราเลือกรูปแบบข้าวด้วยว่าเป็นแบบไหน

เราเลือกข้าวสวยญ๊่ปุ่นแบบโรยงา นี่คือเป็นข้าวหน้าปลาโรยงา เอาไว้กินกับสำหรับอาหารญี่ปุ่นแบบต่างๆ

บอกเลยว่า อร่อยมากกกกกกกกก

ไม่ว่าจะวันที่ 1 หรือ 2 เราก็ขอเลือกข้าวหน้างาแบบนี้แหละ อร่อยจริงๆนะเออ

พร้อมรายการอาหารที่เปลียนไปไม่ซ้ำวัน ดีที่มีเไข่ด้วย กินได้ 555

อย่างอื่นก็กินได้เหมือนกันน่ะ แต่ไม่ทุกอย่าง


จานนี้เหมือนแท่งไอติม แต่ไม่ใช่ไอติมน่ะ นี่เป็นมิโซะค่ะ

ที่หมักจากข้าวญี่ปุ่น หรือข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง กับเกลือและ fungus kōjikin (ญี่ปุ่น: 麹菌)

ก็อร่อยดีนะ เราก็กินหมดแหละเวลานั้น อิอิ

วันที่สองก็ยังไม่พลาดกับข้าวหน้างา ที่มาพร้อมด้วยยต้มจิดแบบญีปุ่่น อร่อยมากกก

ถ้าอาหารเป็นเซ็ตแบบนี้ หากเราต้องการจ่าย แยกต่างหากกับค่าที่พัก ราคาเซ็ตละ 1800-2000 เยนค่ะ

ระหว่างการพักผ่อนยังมีเวลาที่รีแลกซ์เล็กหน่อยที่ 料理旅館 田事 (tagoto-aizu)

เก็บภาพเป็นที่ระลึกกันหน่อย กับชุดยูกาตะ

ป่าวหรอก ชุดเรามันคือชุดคลุมอาบน้ำดีดีนี่เอง 555

แต่ทำไมใส่แล้วตัวกลมป๊อกแบบนี้ล่ะ ><

ชุดยูกาตะ แบบญี่ปุ่นต้องเป็นแบบนี้เลยค่ะ เราไม่ได้เอามาจากไทยด้วย คิดเองว่าคงไม่ได้ใช้

บวกกับกระเป๋าที่แน่นมาก แต่คิดผิดอ่ะ ใส่ชุดคลุมต่อเไปเหอะ

ปล่อยให้น้องๆ เค้าใส่ชุดยูกาตะโพสอวดลงในโซเชียลกันไปน่ะ

ขอบคุณที่ติดตามชมค่ะ

Rinsa yoyolive

RinSa YoyoLive

 วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 16.38 น.

ความคิดเห็น