เนื่องจากความอยากรู้ อยากลอง ของพวกเราว่าจักรยานสีส้มๆที่อยู่ในเชียงใหม่มันใช้ยังไง

เมื่อมาถึงที่แล้ว ขอลองหน่อยแล้วกัน

มาเที่ยวทั้งมีต้องมีภาพหมู่ตามสเต็ป 1…2…3…Say Cheese…

บอกเลยว่าตรงหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์มีจักรยานจอดอยู่เยอะมาก เลือกได้ตามสบายเลย

เริ่มต้นที่วัดพันเตาเป็นวัดแรก ปั่นตรงมาตามถนนจากหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ (Three Kings Monument)

สำหรับเพื่อนๆสายชอบดูวีดีโอ ตามไปที่นี่เลยจ้า


วัดพันเตา (Wat Pan Tao)

เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่ใจกลางเมือง เดิมเป็นเขตสังฆาวาสและพื้นที่หล่อพระอัฎฐารสของวัดเจดีย์หลวง ต่อมาได้สร้างเป็นวัด ซึ่งเดิมคนเชียงใหม่เรียกว่าวัด “ปันเต้า” (พันเท่า) หมายถึง เมื่อมาทำบุญเพียงหนึ่งครั้งจะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า ภายหลังเพี้ยนเป็น “พันเตา” หรืออีกที่มาหนึ่งน่าจะมาจากการใช้วัดนี้เป็นแหล่งสร้างเตาหล่อพระนับร้อยนับพันเตา จึงได้ชื่อว่า “วัดพันเตา” นั่นเอง

The name Wat Pan Tao means ‘to increase a thousand times’. Built in the 14th century, the temple was one of the four monastic shrines that served as a royal residence. Nestled under the shadow of the monumental Wat Chedi Luang, this teak wood marvel features an enormous prayer hall. The most sublime sight at the temple is the wooden viharn, a chapel that features a large gilded carving of a peacock that was believed to have been the royal symbol of the Kings in Chiang Mai.

พระวิหารหอคำหลวง

พระวิหารที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ตัวอาคารเป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ตามศิลปะแบบเชียงแสน เดิมเป็นหอคำหรือคุ้มหลวงที่ประทับของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 ในสมัยพระเจ้าอินทวิชชานนท์ (องค์ที่ 7) โปรดฯ ให้รื้อหอคำแห่งนี้ถวายให้เป็นพระวิหารของวัดพันเตา

สถานที่จัดพิธีลอยผางประทีป

เจดีย์องค์ประธานของวัด อยู่ด้านหลังพระวิหารหอคำหลวง เป็นเจดีย์สีทองทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม รายล้อมด้วยเหล่าเจดีย์รายงดงาม

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (Wat Chedi Luang)

เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่ของเชียงใหม่ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ที่ถนนพระปกเกล้า มีบริเวณกว้างขวาง เมื่อเดินเข้าไปจะพบพระวิหารหลวงทรงล้านนาอยู่ตรงกลาง เจ้าคุณอุบาลี คุณปรมาจารย์และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471

ซุ้มประตูทางเข้าวัด สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เสียค่าเข้าชมด้วยจ้า ส่วนคนไทยก็เข้าได้เลยตามสบาย

นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่วัดเยอะมาก หากเพื่อนๆได้มาเยือนวัดนี้ ตามคติความเชื่อที่ว่าเมื่อได้มาเยือนแล้ว ก็จะมีความยิ่งใหญ่ มีเกียรติยศ ชื่อเสียงกว้างไกล จากการที่พระธาตุเจดีย์หลวงมีความสูงที่สุดในภาคเหนือ ถึง 80 เมตร และตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ต้องมานะจ๊ะ....

Wat Chedi Luang is one of the easiest wats to find, as it sits right in the middle of Chiang Mai close to most backpacker hostels and restaurants. Dating back to 1400, Chedi Luang, which was once the tallest in ancient Thailand, is a massive brick and stucco structure that will make you feel as though you’ve been transported to another time. It is adorned with elephant statues but is somewhat damaged due to an earthquake in the 16th century. This wat is worth a stroll around, if only to feel small in the shadow of its impressive history.


ภายในประดิษฐานพระประธานพระอัฎฐารส ปางประธานอภัย ตามศิลปะแบบเชียงใหม่ตอนต้น ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ (อินเดีย) ส่วนด้านหน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหารดูงดงามยิ่ง นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ


วัดเจดีย์หลวงวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดฯ ให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิมและอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเป็นเวลานานถึง 80 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิระประภา เกิดแผ่นดินไหวทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง


บังเอิญว่าช่วงที่กลุ่มพวกเราไปเที่ยว ทางวัดมีการจัดโรงทานในงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนพอดี

ผลสรุปก็ตามภาพจ้า.......

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (Wat Phra Singh)

เนื่องจากเป็นวัดที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิงห์มาก่อน ชาวล้านนา จึงเรียกว่า วัดพระสิงห์ ที่เรารู้จักกันดี บ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนา (ลังกาวงศ์) เพราะทุกที่ที่ปรากฏว่ามี พระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์ แสดงให้เห็นว่าได้มีพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์แพร่หลายไปถึง ฉะนั้นควรถือกันว่าพระพุทธรูปที่เรียกพระนามอย่างนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท


พระสิงห์ หรือพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณศิลปะเชียงแสนโบราณ ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.700 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เชียงแสนสิงห์หนึ่ง”ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา

จุดเด่นที่น่าสนใจของวัดพระสิงห์ คือ “วิหารลายคำ” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่ง "ลายคำ" คือการใช้ลวดลายสีแดงและทองประดับบนผนังด้านหลังรวมทั้งส่วนโครงหลังคาซึ่งสีดังกล่าวนี้สื่อแสดงถึงความขลังและศักดิ์สิทธิ์มีรูปแบบความเป็นพื้นเมืองอันงดงามสมบูรณ์แบบมากที่สุดแห่งหนึ่ง

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องสุวรรณหงส์

ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง "สังข์ทอง" มาหลายรอบก็เพิ่งจะได้ไปดูนี่แหละ เพื่อนๆอย่าลืมไปชมกันนะ

ลองดูว่าจะหา "เงาะป่า" เจอมั้ย

วัดอินทขีลสะดือเมือง (Wat Inthakin)

เริ่มเดินทางตั้งแต่เช้า มาถึงวัดนี้ก็ใกล้เที่ยวพอดี มีแพลนไว้แล้วในกูเกิ้ลแมพว่า จะไปต่อที่ร้านก๋วยจั๊บตรงหลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ส่วนตอนนี้ก็ชมวัดกันต่อเลยจ้า....

วัดอินทขีลสะดือเมือง เสาหลักเมืองเมื่อแรกเริ่มสร้างเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดร้างและเคยเป็นที่ประดิษฐานเสาอินทขีล (เสาหลักเมือง) ของเมืองเชียงใหม่

ส่วนคำว่า "สะดือเมือง" นั้นเนื่องจากวัดตั้งอยู่ใจกลางของเมืองเชียงใหม่ผู้คนทั้งหลายจึงนิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะดือเมือง ดังนั้นทางวัดจึงตั้งชื่อว่า วัดอินทขีลสะดือเมือง มีพระพุทธรูปที่สำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาเป็นเวลานาน ซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันคือ หลวงพ่อขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบล้านนา มีพระพักตร์อิ่มเอิบ ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา ทำให้ผู้ที่มากราบไหว้บูชาได้รับความสุขใจ และสงบใจ

Wat Inthakin

Inthakhin is the name of the Lak Mueang (the "city pillar") of Chiang Mai. It is said that the pillar was first erected by King Mangrai at the founding of the city on April 12, 1296 CE at Wat Sadue Mueang (lit. "Temple of the Navel of the City"; also known as Wat Inthakhin) on Inthawarorot road. It was brought to its present location inside a shrine on the temple grounds of Wat Chedi Luang by the Lanna king Kawila in 1800 CE.

ร้านก๋วยจั๊บน้ำข้นสามกษัตริย์

เที่ยงปุ๊ปกระเพาะก็ทำงานปั๊ป ตามเวลาจริงๆ รีบปั่นจักรยานจากวัดอินทขัลสะดือเมืองมาไม่ไกลจ้า เปิดกูเกิ้ลแมพแล้วตามมาได้เลย !!!!

ดูสิว่ามันน่ากินขนาดไหน ท้องร้องเลยขอบอก !!!!


หมูกรอบบบ ลืมไปเลยว่ากำลังไดเอท ถ้าได้มาเยือน บอกได้คำว่าเดียวว่า "กินเถอะ" แล้วค่อยไปลดใหม่.....

หลังจากอิ่มท้องแล้วก็เดินทางต่อ เพราะสายบุญอย่างพวกเรา ยังไม่หยุดเพียงเท่านี้......

แต่ขอนั่งรถแล้วนะ ปั่นจักรยานไม่ไหว ท้องตึง !!!!

วัดเชียงมั่น (Wat Chiang Man)

ปิดท้ายทริปนี้ที่วัดเชียงมั่น ห้ามพลาดที่จะเดินทางมาเยือนด้วยประการทั้งปวง จากความเชื่อที่ว่าจะทำให้ชีวิตมีความมั่นคง มีบุญบารมียั่งยืนนาน เหมือนชื่อวัด

"วัดเชียงมั่น" เป็นวัดคู่บุญบารมีของพญาเม็งราย อีกทั้งยังเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในราชวงศ์อีกด้วย ในอดีตจึงถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น

สร้างพร้อมกับเมืองเชียงใหม่เมื่อ 700 กว่าปีมาแล้ว ยาวนานมากๆเลยจ้า.....

เจดีย์ช้างล้อม วัดชียงมั่น

Wat Chiang Man , the oldest temple in the city, was part of the original structure of the city and has two sacred Buddhas made from crystal and marble. Chedi Chang Lom - the 'Elephant Chedi' is the oldest construction within the temple complex. The square base supports a second level which has the front half of 15 life-sized brick-and-stucco elephants emerging from it. The elephants seem to carry the upper levels of the building on their backs. The gilded upper part of the chedi contains a bell shaped relic chamber directly underneath the pinnacle.

เชียงใหม่ครั้งนี้ ฮอมบุญ อิ่มใจ๋ อิ่มท้องด้วย สุขสุดๆไปเลยจ้า บอกเลยว่าแค่รอบกำแพงเมืองเชียงใหม่ก็ไปได้อีกหลายวัดจ้า นี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น !!!! หวังว่าเพื่อนๆจะมีความสุขอิ่มบุญไปกับพวกเราเช่นกันนะคะ แล้วพบกันใหม่จ้า

Atcha Rattanaopas

 วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 00.46 น.

ความคิดเห็น