วัดสามพระยาวรวิหาร

ทุก ๆ 13 เมษายน ถือเป็นเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทย ในทุกวันสงกรานต์พุทธศาสนิกชน มักจะเข้าวัดทำบุญ ทำกิจกรรมรับปีใหม่ไทยร่วมกัน

อย่างที่วัดสามพระยาแห่งนี้ จัดประเพณีสงกรานต์ติดต่อกันมายาวนาน แต่ปีนี้พิเศษคือมีกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทรายประกวดประขันกันเพื่อความสามัคคี และสนุกสนาน โดยจัดให้มีการก่อพระเจดีย์ทรายกันในวันที่ 12 และจะประกาศผลในวันที่ 13 ในช่วงการทำบุญเลี้ยงพระ

กิจกรรมก่อพระเจดีย์ทราย

ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย

แต่ละกลุ่มรวมตัวก่อน ร่วมก่อพระเจดีย์ทราย

เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

กำลังตกแต่งกันอย่างขมักเขม่น

การตัดสินผลการประกวด จะมีขึ้นในวันรุ่งขึ้นหลังจากทำบุญเลี้ยงพระแล้ว

กิจกรรมสรงน้ำพระประจำวันเกิด

กิจกรรมทำบุญนั้นเริ่มกันจริง ๆ จัง ๆ ในวันที่ 13 เมษายน โดยมีการนิมนต์พระมาเพื่อเลี้ยงพระเพล แต่ละบ้านก็จะจัดเตรียมอาหารคาวหวานเอามารวมกันเพื่อถวายเพล

พระสงค์ให้พร

เลี้ยงพระเพล

กับข้าวง่าย ๆ ทุกบ้านจัดเตรียมกันมาถวายพระ

เด็ก ๆ แต่งตัวด้วยชุดไทยประยุกต์ และผู้อาวุโสมาร่วมทำบุญ

กลับมาดูกันที่เจดีย์ทรายที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว เจอลมบ้างอะไรบ้าง

สวยสดงดงาม

หลังจากเลี้ยงพระเพลเสร็จแล้ว ท่านเจ้าอาวาสก็ประกาศให้รางวัลทุก ๆ ทีมที่ส่งเจดีย์ทรายเข้าประกวด หลังจากนั้น ก็แวะไปกราบพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดสามพระยา

หลวงพ่อพระพุทธเกสรประดิษฐานภายในพระอุโบสถ

หลวงพ่อพระพุทธเกสรประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดสามพระยาวรวิหารมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล พุทธลักษณะหล่อขึ้นด้วยเนื้อโลหะพิเศษลงรักปิดทอง ประทับบนรัตนบัลลังก์ ปางมารวิชัย ปางพระพุทธเจ้าชนะมาร นั่นหมายความว่า “ชนะสิ่งเลวร้ายทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ให้มลายหายไป”

มีคติความเชื่อว่า หากใครได้ไปกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อพระพุทธเกสรแล้วไซร้ จักทำให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นที่รักแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

พระที่ประดิษสถานอยู่ในวิหาร

พระเก่าแก่ที่เก็บไว้ในวิหารของวัด

(ขวา) หลวงพ่อพระนั่ง

พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระพุทธรูปปางนี้มีพระพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งบัลลังก์ หย่อนพระบาททั้งสองทอดลงมาเหยียบบนพื้น พระพาหาทั้งสองประคองบาตร ซึ่งจะแตกต่างกับพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ที่สร้างกันโดยทั่วไป เพราะฉะนั้นชาวบ้านบ้างจึงเรียกว่า หลวงพ่ออุ้มบาตรก็มี

ความเป็นมาของพระพุทธปางนี้คือ ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับ ณ วัดโฆสิตาราม ในนครโกสัมพี วันหนึ่งมีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับพระวินัย ทรงตักเตือนแล้วก็ไม่ฟัง จึงทรงหลีกเร้นจากเหตุวุ่นวายนั้นไปประทับที่ป่ารักขิตวันในละแวกบ้านปาริเลยยกะ ได้มีลิงและช้างชื่อว่าปาริเลยยกะคอยปรนนิบัติ

พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์เป็นพระประจำวันของคนที่เกิดวันพุธกลางคืน เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ มีคติความเชื่อว่า หากใครได้ไปกราบไหว้ขอพรทำ ให้มีเงินมีทองใช้ มีกินมีใช้ไปตลอด

หลวงพ่อพระนอน

หลวงพ่อพระนอนเป็นพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหูยักษ์ศักดิ์สิทธิ์อันสำคัญอีกองค์หนึ่ง สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระพุทธรูปปางนี้มีพระพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปในพระอิริยา บถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายวางทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนยรองรับ ลืมพระเนตรมองมาข้างหน้า และแย้มพระโอษฐ์ หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน์

จากนั้น ก็กลับมาที่ชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อมาร่วมกิจกรรม รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ที่จัดมาเป็นประจำทุกปี

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างสนุกสนาน

ถ่ายภาพร่วมกัน

ขบวนแห่พระพุทธรูปที่ท่าพระจันทร์

จากนั้น ก็ไปเล่นน้ำสงกรานต์กันค่ะ ย่านยอดนิยมในกรุงเทพฯ ก็ไม่พ้น "ถนนข้าวสาร" แห่งนี้หรอกค่ะ ช่วงจากแยกบางลำภูไปจนถึงถนนข้าวสารถูกปิดถนนเพื่อให้เป็นถนนคนเดิน คนเล่นน้ำอย่างแท้จริง

หนุ่ม ๆ จากต่างประเทศมาร่วมเล่นน้ำในเทศกาลสงกรานต์

สนุกสนาน รื่นเริง

ครอสเพลย์ก็มากับเขาด้วย

บรรยากาศสนุกสนาน ครื้นเครง

สายลม ที่ผ่านมา

 วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 03.11 น.

ความคิดเห็น