เสพงานศิลป์, เรียนรู้ศิลปะ ,สร้างแรงบันดาลใจ

ท่องเที่ยวไปในสถานที่ที่สบายกายและสบายใจ

ปล่อยให้สายตาได้เสพรายละเอียดความปราณีตสวยงามของชิ้นงาน และปล่อยกายไปกับบรรยากาศดีๆ



" ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพเป็นองค์กรส่งเสริมด้านศิลปะของเอกชน ดำเนินการในรูปขององค์กรแบบไม่หวังผลประโยชน์ทางการเงิน บริหารและเป็นเจ้าของโดย นายเสริมคุณ คุณาวงค์ และผลงานประติมากรรมที่จัดแสดงเป็นผลงานสะสมร่วมกันของ คุณเสริมคุณ คุณาวงศ์ และครอบครัวคุณาวงศ์ "



ตั้งอยู่ที่ : 4/18-19 ซอยนวลจันทร์ 56 ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

เวปไซต์ : http://www.bangkoksculpturecenter.org/th/index.php



เวลาเปิด :

วันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.00-16.00 น. (พักกลางวัน 12.00-13.00 น.)

เวลาปิด :

ปิดทำการในวันอาทิตย์ วันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์*






โดยศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่โครงการ Bangkok Creative Playground พื้นที่ที่รวบรวมบริษัทและหน่วยงานด้านความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มบริษัท CMO. ในสถานที่นี้เป็นแหล่ง Working space เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้นเลย



โดยจะมีประติมากรรมตั้งอยู่ทุกที่ในบริเวณตึก ทั้งที่เป็นส่วนของออฟฟิศและส่วนของพื้นที่ทำงาน






" บริเวณดาดฟ้าชั้นสองของตึก "

เมื่อขึ้นมาถึงก็ตกตะลึงกับดาดฟ้าของที่นี่

ด้วยความสวยเก๋กับปูเปลือยและสระน้ำ พร้อมหญ้าสีเขียวที่เต็มไปด้วยชิ้นงานประติมากรรม




ในการจัดแสดงงานประติมากรรมของที่นี่ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน :

1. พระพุทธรูป

2. ยุคเหมือนจริง

3. ยุคศิลปะสมัยใหม่ของไทย

4. ยุคทองของนามธรรม

5. ผลงานสื่อประสม สะท้อนอัตลักษณ์ของศิลปิน





ส่วนที่หนึ่ง : พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ 9

เริ่มต้นความน่าตื่นตาตื่นใจต่อด้วยการเดินลงเส้นทางลับ ผ่านตัวบันไดแคบๆลงมาจะพบกับห้องใต้ดินที่จำลอง "กรุพระ" เพื่อให้ได้บรรยากาศและความสมจริงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสมัยก่อนในอยุธยามีการเก็บรักษาพระพุทธรูปไว้ใต้ดินดังเช่นนี้





" ด้านในห้องจัดแสดงพระพุทธรูปที่ถูกปั้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 จากต่างเทคนิคลวาลายและต่างศิลปิน "








" พระพุทธรูปปางสมาธิ "








ส่วนที่ 2 : ยุคเหมือนจริง

ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ศิลปะในสังคมไทยได้เริ่มตอบรับเทคนิควิธีการในการปั้นรูปเหมือน ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศเข้ามาปรับใช้กับงานประติมากรรม จึงส่งผลออกสู่รูปแบบงานที่เปลี่ยนแปลงไป





" เริ่มการเดินชมที่ห้องคลังใหญ่ "






" ผลงานของเซซาเร ฟันตาคิโอติ, อ.ศิลป์ พีระศรี และสิทธิเดช แสงหิรัญ "







" ภาพปั้นเฉพาะใบหน้าของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยอ.ศิลป์ พีระศรี "






ส่วนที่ 3 : ยุคศิลปะสมัยใหม่ของไทย


นำภาพชีวิตของคนธรรมดาสามัญ รูปนักดนตรี นางรำ เด็ก และสัตว์ โดยมีการผสมผสานแนวใหม่และเก่า มีการนำลักษณะ อันอ่อนช้อย อันเป็นอุดมคติแบบพระพุทธรูปแนวประเพณีและรูปปั้นฝีมือชาวบ้านอย่างตุ๊กตาเสียกบาลมาปรับให้เป็นรูปแบบเฉพาะตัว


ประติมากรที่โดดเด่นในแนวนี้ก็คือ เขียน ยิ้มศิริ ชิต เหรียญประชา และสมโภชน์ อุปอินทร์





" หวี " โดยอ.เขียน ยิ้มศิริ






" แม่กับลูก " โดยอ.เขียน ยิ้มศิริ







ส่วนที่ 4 : ยุคทองของนามธรรม

ยุคทองของประติมากรรมแนวนามธรรมโดยประติมากรคนสำคัญที่อยู่ในกระแสกึ่งนามธรรมหรือนามธรรม ได้แก่ ชำเรือง วิเชียรเขตต์ ,ชลูด นิ่มเสมอ,นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ,วิชัย สิทธิรัตน์, เข็มรัตน์ กองสุข, ชีวา โกมลมาลัยและ อินสนธ์ วงศ์สาม เป็นต้น




" เดินถัดมาเรื่อยๆจากส่วนรูปปั้นเหมือนจริง "





" เติบโต " โดย นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน






" รูป 1 " โดย ชำเรือง วิเชียรเขตต์

เป็นอีกหนึ่งประติมากรรมที่ฉันสะดุดตามาก ยืนพินิจพิเคราะห์ถึงความหมายที่ศิลปินต้องการจะสื่ออยู่อย่างตั้งใจ

Concept ได้รับความบันดาลใจจากทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ พลังของจักรวาล รวมทั้งสิ่งสร้างสรรค์ ต่าง ๆ ของมนุษยชาติทางรูป ทางเสียง รวมทั้งดนตรีและทางภาษา และจากมโนภาพบริสุทธิ์ของจิตภายในส่วนตัว รวมด้วยความคิดฝันและศิลปวัฒนธรรมประจำชาติที่บริสุทธิ์"






" ผลงานของคุณอินสนธิ์ วงศ์สาม "

ฉันเคยเห็นผลงานรูปแบบนี้ของคุณอินสนธิ์เมื่อมาจัดแสดงนิทรรศการหนึ่งที่หอศิลป์ BACC

เลยคุ้นหูคุ้นตากับชื่อและความโดดเด่นของผลงานนี้







" Sleeping "






" จัดแสดงประวัติชีวิตอันน่าผจญภัยของคุณอินสนธิ์ "







ส่วนที่ 5 : ผลงานสื่อประสม สะท้อนอัตลักษณ์ของศิลปิน

" ศิลปะบนความหลากหลายและการใช้ศิลปะเป็นเครื่องสื่อสารทางความคิด "






" อิสระ...ตื่นอยู่...เบิกบาน...สงบเย็น " โดย พัดยศ พุทธเจริญ







"ขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ, อัปปนาสมาธิ " โดย นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

Concept การสร้างสรรค์งานประติมากรรมของข้าพเจ้าแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบทางความคิด

รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบที่สร้างสรรค์จากความพอใจส่วนตัว

รูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบที่สร้างสรรค์จากความพอใจส่วนตัวมาสู่ความเป็นเหตุและผลที่มีความสืบเนื่องผูกพันกัน

รูปแบบที่ 3 พัฒนาสู่การเน้นเนื้อหาสาระของการแสดงออก






" สินค้าส่งออก " โดย ทวี รัชนีกร

Concept เป็นชิ้นงานที่สะท้อนสภาพสังคมอันฟอนเฟะที่ผู้หญิงไทยถูกขายเป็นสินค้าไปต่างประเทศ

รูปสามเหลี่ยมสีทองกลางลำตัวบนแท่นไม้แข็งทื่อสะท้อนความอัปยศที่ต้องนำความเป็นเพศแม่ออกขายเพื่อดำรงชีวิต








" นาคาสโมสร " โดย แดง บัวแสน






" รายละเอียดบนชิ้นงานอื่นๆ ที่น่าสนใจ "





ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.bangkoksculpturecenter.org/th/collection.php



อีกหนึ่งสถานที่สำหรับการเสพศิลป์ดีๆในหลากหลายรูปแบบ

ทั้งการได้ศึกษาขั้นวิวัฒนาการไปพร้อมๆกับรายละเอียดของผลงานแต่ละชิ้น

สุดท้ายแล้วสิ่งที่เราได้รับ ความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน และการสัมผัสศิลปะที่มีคุณค่าลึกไปถึงจิตใจ จะช่วยหล่อหลอมบางสิ่งให้แก่จิตใจเราอย่างแน่นอน




Adventure-of-St

 วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 16.33 น.

ความคิดเห็น