เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีไหว้ครูและครอบครู

ประสิทธิ์ประสาทวิชาดนตรีไทย ณ มูลนิธิมนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์ฯ ประจำปี 2562

โดย ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ เป็นประธานประกอบพิธีไหว้ครู

พิพิธภัณฑ์บ้านครูมนตรี ตราโมท อยู่ ซอย 3 แยก 4 ถนนติวานนท์ 3

(ซอยตรงข้ามกระทรวงสาธารณสุข) นนทบุรี

เรานั่ง MRT สายสีม่วง มาลงสถานีกระทรวงสาธารณสุข ทางออกที่ 3 ใครมีแรงก็เดิน

เข้าซอยได้ สำหรับเราไม่มีแรงพอ ขอนั่งมอร์เตอร์ไซค์รับจ้างแทน ค่ารถ 10 บาท ส่งถึงที่

ช่วงเช้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ พิธีไหว้ครูจะเริ่มประมาณ 9 โมงเช้า

ขึ้นมาบนเรือน

หัวโขนหรือศีรษะครู ได้แก่

๑. หัวโขนพระอิศวร แทนสัญลักษณ์องค์พระอิศวร ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง และเป็นเป็นเทพเจ้าผู้ทำลายล้าง เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องตั้งให้สูงสุดกว่าหัวโขนอื่ ๐

๒. หัวโขนพระนารายณ์ แทนสัญลักษณ์องค์พระนารายณ์ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้บริหารและรักษาโลก เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องต่ำกว่าพระอิศวร

๓. หัวโขนพระพรหม แทนสัญลักษณ์องค์พระพรหม ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องต่ำกว่าพระอิศวร แต่เสมอกับพระนารายณ์

๔. หัวโขนพระอินทร์ แทนสัญลักษณ์องค์พระอินทร์ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าที่จะคอยให้ความช่วยเหลือคนดี เป็นผู้บันดาลให้ฝนตก เพื่อให้ความชุ่มฉ่ำแก่พืชผลในแผ่นดิน เวลตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งให้ต่ำกว่าพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม

๕. หัวโขนพระพิฆเนศ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิฆเนศ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญา ศิลปศาสตร์ เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เป็นเทพผู้อยู่เหนือการรจนาหนังสือ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งให้ลดลงต่ำกว่าเทพองค์อื่นๆ แต่อาจระดับเดียวกับพระอินทร์

๖. หัวโขนพระวิสสุกรรม แทนสัญลักษณ์องค์พระวิสสุกรรม ซึ่งถือเป็นเทพแห่งการช่างการก่อสร้าง และเกี่ยวข้องกับการละครชาตรี ที่ทรงเสด็จลงมาประทับยังเสากลางเวที เพื่อปกป้องภยันอันตรายทั้งปวง เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งลดลงมาจากพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระอินทร์ พระพิฆเนศ

๗. หัวโขนพระปรคนธรรพ แทนสัญลักษณ์องค์พระปรคนธรรพ ซึ่งถือว่าเป็นครูปี่พาทย์ เป็นผู้ประดิษฐ์พิณ เป็นผู้ปต่งคัมภีร์กฎหมายที่เรียกว่า "นารทิยาธรรมศาสตร์" เป็นผู้รอบรู้ในกาลทั้งสาม คือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ

๘. หัวโขนพระปัญจสีขร แทนสัญลักษณ์องค์พระปัญจสีขร ซึ่งถือว่าท่านเป็นครูพิณและขับร้องต่างๆ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ

๙. หัวโขนพระพิราพ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิราพ ถือว่าเป็นครูอสูรเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ซึ่งศิลปินโขน-ละคร ดนตรีไทย เคารพสักการะในฐานะเป็นครูดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ เป็นเทพเจ้าแห่งความตาย ความหายนะทั้งปวง ในขณะเดียวกันก็เป็นเทพเจ้าแห่งความประสบโชค ขจัดโรคภัยต่างๆ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านซ้ายของเวที ต่ำกว่าพระอิศวร แต่สูงกว่าหัวโขนยักษ์อื่นๆ และแยกออกมาอีกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจากเทพหรือมนุษย์

๑๐. หัวโขนพระฤษีกไลโกฎ พรภรตฤษี พระฤษีตาวัว พระฤษีตาไฟ แทนสัญลักษณ์ของท่านแต่ละตน ซึ่งถือว่าเป็นครูฝ่ายมนุษย์ ที่ได้ถ่ายทอดท่ารำและจดบันทึกท่ารำพระอิศวรไว้ โดยเฉพาะพระภรตฤษี (พ่อแก่) ศิลปินมักกล่าวถึงและมีไว้บูชา เพราะถือว่าท่านเป็นครูทางนี้โดยตรง ส่วนพระฤษีตนอื่นศิลปินก็ให้ความเคารพนับถือเช่นกัน
เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวที แยกกลุ่มออกมาจากเทพเจ้าหรืออสูร

หุ่นขี้ผึ้ง คุณครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย


ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ เป็นประธานประกอบพิธีไหว้ครู

ครูผู้ทำพิธีนี้จะต้องนุ่งขาวห่มขาว จะเริ่มกระทำพิธีโดยจุดธูป เทียน บูชา แล้วทำน้ำมนต์

ครูผู้อ่านโองการทำพิธี หรือที่เรียกกันว่า "พิธีกร" ครูผู้ทำพิธีนี้จะต้องนุ่งขาวห่มขาว

จะเริ่มกระทำพิธีโดยจุดธูป เทียน บูชา แล้วทำน้ำมนต์ ในขณะทำพิธีนั้นครูผู้ทำพิธีจะ

เป็นผู้อ่านโองการนำให้ผู้ร่วมพิธีว่าตาม ซึ่งเริ่มจากบูชาพระรัตนตรัย ไหว้ครูบาอาจารย์

บิดา มารดา ขอพรต่าง ๆ ขณะทำพิธีจะมีวงปี่พาทย์มาร่วมบรรเลงเพลงหน้าพาทย์

ตามที่ครูผู้ทำพิธีจะเรียกว่าจะให้บรรเลงเพลงใดประกอบในช่วงใด

จากนั้นจึงถวายเครื่องสังเวย และกล่าวลาเครื่องสังเวย

หัวโขนพระพิราพ

เครื่องดนตรีที่นำมาเจิม


คุณญานี ตราโมท

วงปี่พาทย์มาร่วมบรรเลงเพลงหน้าพาทย์



ครูผู้ทำพิธีประพรมน้ำมนต์และเจิมเครื่องดนตรีและหน้าโขนต่าง ๆ จนครบแล้ว

จึงนำน้ำมนต์นั้นมาประพรมให้ลูกศิษย์และเจิมให้แก่ลูกศิษย์ตลอดจนผู้ที่มาร่วมในพิธี

เจิมหน้าโขนต่าง ๆ และเครื่องดนตรี

เครื่องบูชาและเครื่องสังเวย

หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ สุรา น้ำดื่ม

บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ผลไม้ 7 อย่าง อ้อยทั้งเปลือก

หัวหมูสุก-ดิบ เป็ดสุก-ดิบ ไก่สุก-ดิบ กุ้งสุก-ดิบ ปลาสุก-ดิบ ปูสุก-ดิบ ไข่ดิบ

เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย เครื่องกระยาบวช ขนมต้มแดง ขาว

พิธีไหว้ครู เริ่มจากแขกผู้ใหญ่ก่อน ครูจะพรมน้ำมนต์ ก่อนเจิมให้ที่ผ่ามือ

บางท่านเจิมที่หน้าผาก


คุณญานี ตราโมท เจิมที่หน้าผากเหมือนกัน

เด็ก ๆ ก็เจิมที่หน้าผาก

พิธีครอบครูดนตรีไทย ครูจะพรมน้ำมนต์ และเจิมหน้าผาก และรับขันกำนลจากลูกศิษย์

ครูจะเจิมที่ฉิ่ง เพราะเป็นคนแรกที่จะครอบครู แล้ววางฉิ่งบนศีรษะลูกศิษย์

พร้อมกล่าวอวยพร เป็นอันเสร็จการครอบครู


ขันกำนล ขันล้างหน้าใส่ดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าขาว ๑ ผืน และเงินกำนล 24 บาท

วันนี้มีลูกศิษย์เล่นฆ้องวงใหญ่ ต่อเพลงหน้าพาทย์ เพลงสาธุการ 3 คน

เพลงสาธุการ เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงต้องให้ครูเป็นผู้ต่อเพลงให้ โดยการจับมือลูกศิษย์

คนนี้ตีตะโพน ต่อเพลงสาธุการ เหมือนกัน

ซูมแหวนคุณครู แหวนสวย

พิธีไหว้ครูแและครอบครูนาฏศิลป์

ครูพรมน้ำมนต์ เจิมหน้าผาก และรับขันกำนล ก่อนทำพิธีครอบเศียร

ศีรษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร

ศีรษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป

ศีรษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน

"พิธีครอบครู" หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (รับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา

ครูจะอยู่กับศิษย์คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนการรำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใด

ที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจ มีความมั่นใจ

มากขึ้น และพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ที่ศึกษา

ปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาจะต้องผ่านพิธีครอบครู

ก่อนจึงจะต่อท่ารำได้

ลูกศิษย์นำขันกำนล มีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้าขาว เงินกำนลครู ๒๔ บาท (อาจแตกต่างกันไป

มีตั้งแต่ ๖ บาท ๑๒ บาท ๒๔ บาท หรือ ๓๖ บาท) ผู้ที่ได้รับครอบถือว่าเป็นศิษย์ที่มีครูแล้ว

และในวงการนาฎศิลป์ได้รับคนผู้นี้เป็นนาฎศิลป์โดยสมบูรณ์

เสร็จพิธีแล้ว

ดร. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ 2557

ได้รับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง จากวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร

มานุษยวิทยาดนตรี Esat-West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา

ครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครุศาสตรมหาบัณฑิต

(บริหารหารศึกษา) และครถศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาศึกษา) คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเรียนขิมกับบิดา พอเข้าวิทยาลัยนาฏศิลปเริ่มเรียนพื้นฐาน

ฆ้องวงใหญ่กับหลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูปสาตนวิลัย) พระประณีตวรศัพท์ (เขียนวรวาทิน)

และครูดนตรีไทยท่านอื่น ๆ ได้รับกาถ่ายทอดเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงถึงเพลงองค์พระพิราพ

ตลอดจนได้รับการสืบทอดเป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยจากนายมนตรี ตาโมทย์

เริ่มรับราชการครูแผนกร.ร.นาฏศิลป และเกษียณอายุราชการใสนตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปการ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นายสิริชัยชาญถือเป็นผู้สร้างสรรค์

ผลงานมาโดยตลอด ทั้งการออกแบบซึงให้มี ๓ ขนาดร่วมกับเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่

นอกจากนี้ยังรับใช้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน โดยถวายการสอนระนาดเอก

น้ำมนต์ในพิธี อยากเอากลับบ้านเหมือนกัน แต่ไม่มีขวดใส่

โกศอัฐิคุณครูมนตรี ตราโมท เข้ากราบก่อนกลับ

ห้องพระ

ยังมีอีกหลายห้อง อีกหลายอย่างที่น่าสนใจให้ชม แต่วันนี้เราเหนื่อยแล้ว

ไว้วันหลังค่อยแวะไปใหม่ละกัน

เราถามคุณครูสิริชัยชาญ ว่า ข้าวตอกดอกไม้ที่โปรยที่เครื่องเซ่นสังเวย เก็บไปบูขาได้ไหม

คุณครูบอกได้ เลือกเก็บที่ไม่มีใครเหยียบนะ เราเก็บมาได้นิดหน่อย หนึ่งในลูกศิษย์ที่นั่นบอก

พี่เอาขี้เถ้าธูปในกระธางไปดีกว่า สุดยอดกว่า... เราก็นึกตาม เออจริง!! ธูปจุดบูชาเทพ บูชาครู

ต้องสุดยอดแน่นอน!! แล้วจะเอาอะไรตักละ ลูกศิษย์คนเดิม ล้วงไปใต้โต๊ะพิธีหยิบถาดอลุมิเนียม

แม่พิมพ์ขนมอันเล็ก ๆ ส่งมาให้ เพื่อนที่ไปด้วยก็มีถุงพลาสติก ตักเลยสิจ๊ะจะรออะไรอยู่!!

พิพิธภัณฑ์บ้านครูมนตรี ตราโมท เปิดให้ที่ผู้สนใจเข้าชมฟรี

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 081- 652-3524

แผนที่ พิพิธภัณฑ์บ้านครูมนตรี ตราโมท

เลขที่ 14 ซ. 3 แยก 4 ถ. ติวานนท์ 3 (ซอยตรงข้ามกระทรวงสาธารณสุข)

ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ. นนทบุรี



Joy'Gangster




ขอบคุณข้อมูล :

พิธีไหว้ครูนาฎศิลป์ : http://www.banramthai.com/html/waikru.html

พิธีไหว้ครู ดนตรีไทย : http://staffzone.amnuaysilpa.ac.th/greet%20a%20teacher_2.htm

ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๗ : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=haiku&month=20-01-2015&group=2&gblog=123


Joy'Gangster

 วันพฤหัสที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 16.07 น.

ความคิดเห็น