ผาหินกูบ 2วัน 1 คืน ใกล้ๆกรุงเทพ ไปได้ทุกเสาอาทิตย์ !!

เป็นสถานที่เดินเขาที่เหมาะสำหรับคนมีเวลาน้อยที่อยู่กทมเพราะเนื่องจากขับรถมาไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงแล้ว (3 ชมกว่าๆ) ทำให้สะดวกสำหรับการมาเดินเขาในที่นี่ ช่วงที่ไปครั้งนี้จะเป็นช่วง พฤศจิกายน ต้นๆหนาว อากาศถือว่ากำลังสบายๆ ผาหินกูบเป็นเขาที่เดินไม่ยากมาก ถ้าใครเป็นมือใหม่ลองที่นี่ก่อนก็ได้ ระยะทางประมาณ 8-9 กม ข้างบนผาหินกูบจะมีพื้นที่ชมวิวอยู่ 3 จุด แต่ผมจำไม่ได้ว่าชื่ออะไรบ้าง แต่ทั้งสามที่ก็มีความสวยงามที่แตกต่างกัน รวมทั้งการเข้าถึงที่ต่างกันด้วย ฮ่าๆ (ใครไปมาแล้วคงรู้ว่าต้องปีน ไต่ เดิน ยังไงบ้าง)

การเดินทาง

เราเริ่มเดินทางตั้งแต่ช่วงค่ำๆ ของวันศุกร์เพราะเราจะไปพักที่ใกล้ๆตัวเมืองจันทบรีก่อนจะได้นอนพักอย่างเต็มอิ่ม แต่สำหรับคนที่เตรียมอะไรมาเรียบร้อยแล้วไปพักที่ หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล (จุด start) ได้เลยแล้วกางเต๊นนอนจะสะดวกมากว่า

พอตื่นมาก็เก็บสัมภาระแล้วขับรถเข้าตัวเมืองเพื่อเตรียมของกินขึ้นไปข้างบน เผื่อๆกันไว้ด้วยนะ 55 ทริปนี้ค่อนข้างประหยัด โดยตั้งงบประมาณ 1000 หรือเกินนิดๆพอแล้ว หลังจากนั้นก็ขับจากตัวเมืองไปที่หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล ประมาณเกือบๆ 1 ชม ถ้าไม่หลง ฮ่าๆ สับสนเส้นทางนิดหน่อย แต่เราก็ไปถึงประมาณ 8-9 โมงเช้า ถือว่าสายกว่าคนอื่นเพราะไปถึงเขาก็เริ่มเดินกันแล้ว

จากนั้นก็แต่งตัวเตรียมของให้เรียบร้อย พร้อมพบเจ้าหน้าที่และชำระค่านำทาง และก็พร้อมลุยได้เลยจ้า (ก่อนที่จะมาต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยก่อนนะ ไม่อย่างงั้นจำนวนที่ขึ้นต่อวันอาจจะเกินกำหนดได้ ระวังด้วยนะ 084-8649357,093-9897273 พี่ชัยวัฒน์ (เจ้าหน้าที่))

ผาหินกูบเปิดทั้งปี แต่ขึ้นได้เฉพาะวันเสาร์และลงวันอาทิตย์ !!

เดินขึ้นยอด (8-9 km)

เท่าที่จำได้นะ คือไม่รู้ว่าแต่ละจุดเรียกว่าอะไรบ้าง 55

จุดแรกคือ หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล ที่เราเริ่มเดิน เดินไปสักพัก ประมาณ1/4ก็

จุดที่สอง ลำธารที่พักผ่อน เย็นสบาย นั่งชิวเท่าจุ่มน่ำได้เลย

จุดที่สามเติมน้ำก่อนขึ้นทางชันยาวๆ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นทางราบ ขึ้นนิดๆหน่อยๆ แต่หลังจากช่วงนี้จะเป็นทางชันยาวๆเลย

จุดที่สี่ ถ้ำแสงรอด (จุดที่ต้องถ่ายสักแชะอะ บอกเลย)

จุดที่ห้า ถึงยอดแล้ววววว !!

เวลาในการเดินขึ้น อันนี้แล้วแต่กลุ่มนะ ส่วนนี่ก็ 4-5 ชม

กทม. -> ที่พัก -> หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล ->เดินขึ้นยอด (8-9 km) -> พักค้างบน -> ลงมาที่หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล -> กลับกทม.

เดินขึ้นยอด (8-9 km)

หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล -> ลำธารที่พักผ่อน -> เติมน้ำก่อนขึ้นทางชันยาวๆ -> ถ้ำแสงรอด -> ผาหินกูบ

ค่าใช้จ่าย

ค่าน้ำมัน 1000 บาท

ค่าของกินรวมขากลับ 1000 บาท

ค่าที่พัก 1000 บาท สำหรับ 4 คน (วันศุกร์ สำหรับใครไปเช้าละเดินหรือว่าไปกางที่ หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล ส่วนนี้ก็ตัดได้เล้ย)

ค่าอื่นๆ เจ้าหน้าที่ คนละ 250 บาท อื่นๆ รวม 1000 บาท

รวมทั้งหมด ประมาณ 4000 บาท 4 คน ตกคนละ 1000 บาท จริงๆเกินมานิดๆ แต่จำค่าใช้จ่ายไม่ได้ เอาไว้ประมาณการกันเน้อ

สิ่งที่ควรระวังและต้องเตรียมตัว

1.ร่างกายต้องพร้อมนะ

2. ที่นอน: เต็นท์ หรือ เปล แต่ข้างบนที่โล่งค่อนข้างน้อย ถ้าเป็นเปลจะสะดวกกว่า

3.เสื้อกันหนาว ถุงมือ

4.ถ้าช่วงหน้าฝนระวัง ทาก

5.ถุงนอน ไฟฉาย ขวดน้ำ

6.เดินไปชมวิวหรือบนหิน ระวังอุบัติเหตุด้วย ถ้าไม่ระวังค่อนข้างอันตราย

ทั้งนี้ไปเดินเขาที่ไหนก็แล้วแต่ ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมกันด้วยนะ ขาลงเห็นอะไรก็ช่วยกันเก็บลงมาด้วยนะ

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

รถส่วนตัว ค่าน้ำมัน 1000 บาท

ที่พัก 1000 บาท

ค่าอาหาร 1000 บาท แล้วแต่ความกินจุของแต่ละทีมนะ

อื่นๆคือ ค่าเจ้าหน้าที่นำทาง คนละ 250 บาท = 1000

ทั้งหมดนี้ ประมาณ 4000 บาท โดยตกคนละ 1000 บาท ซึ่งอาจจะปรับเพิ่มลดนิดหน่อย เพราะขึ้นไปข้างบนไม่เสียอะไรแล้วจ้า

ตลาดยามเช้าในเมืองจันทบุรี

ตื่นเช้ามาจากที่พัก เราก็เข้าเมืองมกินอาหารเช้าและเตรียมของไปกินที่ผาหินกูบกัน ตลาดคนคึกคักมาก อาหารเต็มไปหมดเลย สุดท้ายได้ข้าวเหนียวหมู ไก่ทอดกับข้าวเหนียวและหมูแผ่นข้าวเหนียว ทั้งหมดนี้รวมเป็น 3 มื้อ กินวันนี้หมดเลยจ้า ส่วนคืนก่อนลงก็จะแวะ 7-11 ซื้อพวกขนมปังและก็อื่นๆ ไปกันพลาด

Start

เมืองจัทบุรี -> หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล

โดยเราเดินนทางเจ้าตัวเมืองจันทบุรี ประมาณเกือบชม. มาที่ หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งเพล ซึ่งเป็นจุดที่เจอเจ้าหน้าที่และเตรียมตัวเดินขึ้นผาหินกูบ

แนะนำให้มาถึงเช้านิดนึงก็ดี เผื่ออากาศร้อนตอนสายๆ

พี่ลูกหาบที่นี่แบกของเอาเรื่องอยู่ ค่อนข้างเเยอะเลย แต่เราอะหรอ แบกเองสิ 555

เดินมาสักพักก็จะมาเจอกับจุดพักแรก ที่มีลำธารให้นั่งพักและน้ำที่เย็นสบาย แต่ยังไม่ถึงนะนี่เพิ่งเริ่มต้น

ต้นนไม้ที่นี่ก็ใหญ่เหมือนกัน ดูภาพเปรียบเทียบได้เลย

อีกจุดนึงที่เป็นจุดที่เตรียมตัวจะขึ้นทางชันยาวๆ มีน้ำให้กรอกเติมพลังกันก่อน ใครมาเจอก็กรอกน้ำด้วยนะ เด่วไม่มีน้ำำระหว่างทาง จากนั้นก็ลุยยาวๆเล้ย

เจ้าหนูตัวน้อยนี่ ฟิตมากๆ เขาเดินไปไกลแล้วแต่วิ่งลงมาตามพ่อว่าอยู่ไหน พอเจอแล้วก็วิ่งกลับขึ้นไปอีก เหมือนสนามเด็กเล่นเลย (สวนหลังบ้านเขาแหละ) 5555 แซวๆ

จุดที่เจ้าหนูสองคนทิ้งกระเป๋าไว้แล้ววิ่งลงไปหาพ่อเขา ไวน่า

ก่อนถึงถ้ำ จะมีทางชันที่ต้องไต่เชือกขึ้นไป ค่อนข้างชัดมาก ระวังๆกันด้วยนะ

ใครพามาถึงจุดนี้ก็ต้องหยุดพักและถ่ายรูปสักรูป เพราะมันอดไม่ได้จริงๆก็ส่องที่รอดเข้ามาตรงกลางถ้ำ มันจึงเป็นจุดไฮไลท์ ของที่นี่เลยก็ว่าได้

ใครละจะอดใจไว้ ไปๆ คนละรูป เอามาอวดกันบ้างนะ

ถึงข้างบนและก็มานั่งพักบนหินสะหน่อย

แต่ที่นี่เป็นอีกจุดนึงอยู่ด้านข้างๆ ใครกลัวความสูงไม่แนะนำให้เดินมานะ จริงๆมันก็ไม่อันตรายมากนะ แต่ด้วยความที่มันชันทั้งทางซ้ายและขวา เหลือไว้ให้เดินแค่ตรงกลาง คนกลัวความสูงคงหวาดเสียวน่าดู 555 อยู่รูปถัดๆไป

ผาหินกูบตอนพระอาทิตย์ตก

พระอาทิตย์อยู่หลังผาเห็นเป็นแสงแดดของพระอาทิตย์ที่ตกลงเป็นภาพที่เราพบบ่อยทุกวัน แต่มันช่างแปลกที่มันจะสวยมาก เมื่อเราอยู่บนเขาหรือที่ๆเราไปเที่ยว

ไม่ได้กลัวครับ แค่นั่งพักเฉยๆ 5555

เพื่อนเขาเหนื่ยแล้วเลนนั่งพักไม่ไปไหนเลยครับ

จริงๆจุดนี้ถ้าคนกลัวความสูง ก็ไม่แนะนำให้เดินมาฝั่งนี้ เพราะว่าจจากภาพมันจะเหลือแค่ตรงกลางให้เดินเหมือนหลังช้าง

แต่ถ้าใครชอบอยู่แล้วสบายๆเลยจ้า

จริงๆ ครั้งนี้ก็ถือเป็นครั้งแรกที่นอนเปล ซึ่งก็ได้ลองจัดเปลถูกๆมาลองดู ก็ถือว่าใช้ได้เลยนะ เหมาะสมกับราคาและน้ำหนักของเรา 55 แต่ด้วยความที่ไม่เคยนอนเปลและก็ไม่ทราบสภาพอากาศข้างบนเขา ทำให้ทั้งคืนนอนคดเป็นกุ้งเลย ขนาดมีถุงนอนแล้วด้วยนะ 555 มันไม่ได้กันลมนี่น่า แต่จริงๆเขาต้องใช้ไฟล์ชีทให้ความร้อนด้วยนิดนึงจะดีขึ้น (ถูกไหมน้า ถ้าผิดขออภัยด้วย) ก็นั้นแหละ หนาวมากก

** สภาพอากาศด้านบนตอนนั้น: ลมแรง และหนาว

ก่อนกลับก็จัดมุมนี้สักแฉะ เด๋วมาไม่ถึง !!

ขอบคุณเพื่อนร่วมทริปในครั้งนี้ พี่บอล พี่ปีใหม่ มาย

ทริปนี้เป็นทริปที่คิดแล้วก็ชวนและก็ไปเลย พี่ปีใหม่นี่ ชวนวันเดียวก่อนที่จะไป 5555 สุดยอดมาก แต่ขอโทษกับที่พักที่เตียงสูงไปหน่อย ทำให้บาดเจ๊บนิดหน่อย(มั้ง) ก่อนเดินขึ้นเขา ไว้ไปด้วยกันอีกเน้อ

แบกผาหินกูบแบบเต็มๆก้อน 555

ขอบคุณทุกคนที่ติดตามและอ่านมาถึงตรงนี้

ไปเองก็ได้ - The Onism Journey

แล้วจะไปเขาไหนอีก อย่าพลาดละท่านผู้ชมมมม !!

ไปเองก็ได้ - the onism journey

 วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19.13 น.

ความคิดเห็น