เปิดเส้นทางเดินป่าสายเก่า เดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ จากวัดโคกตะพง ถึง “รอยพระพุทธบาท” ที่ขาลุยต้องลองสักครั้งในชีวิต สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติเชิงนิเวศเขาคิชฌกูฎ เริ่มต้นจากวัดโคกตะพง ชุมชนบ้านแกลง ต.วังแซ้ม อ.มะขาม จ.จันทบุรี เป็นเส้นทางเก่าแก่โบราณที่ใช้ขึ้นเขาคิชฌกูฏมานานเป็นร้อยปีแล้ว โดยปกติแล้วเส้นทางเดินป่าเส้นนี้จะเปิดให้ขึ้นเทศกาลขึ้นเขาคิชฌกูฏเป็นประจำทุกปี ปีละ 3 เดือน โดยในปีนี้จะเปิดให้ขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2563 ถึง 24 มีนาคม 2563 เส้นทางเดินป่าเส้นนี้เป็นเส้นทางเก่าแก่ที่ใช้เดินกันมาตั้งแต่โบราณที่ใช้เดินขึ้นเขาคิชฌกูฏมานานเป็นร้อยปีแล้ว จวบจนสมัยที่หลวงพ่อเขียน ขันธสโร ได้เข้ามาดำเนินการ จึงได้หยุดใช้เส้นทางนี้ และเปลี่ยนมาใช้เส้นทางวัดพลวงแทน (โดยทางทั้งสองเส้นนี้ขึ้นอยู่กับอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ) แต่ในระยะหลัง ก็ได้เปิดใช้เส้นทางนี้อีกครั้งเมื่อราวปี 2558 ให้เป็นเส้นทางเดินเท้าขึ้นเขาคิชกูฏ โดยมีชาวบ้านคอยนำทาง ทางเดินป่าสายเก่าเส้นนี้เป็นป่าล้วนๆ ที่มีแต่ธรรมชาติ ระหว่างทางมีจุดชมวิวหลายแห่ง มีต้นไม้ น้ำตก พรรณไม้ สัตว์และแมลงต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายไปยังรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา เส้นทางนี้อาจจะไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเส้นทางวัดพลวง ที่จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้กราบสักการะขอพรเป็นระยะๆ และมีรถรับ-ส่ง
ระหว่างทางมีจุดชมวิวหลายแห่ง มีต้นไม้ น้ำตก พรรณไม้ สัตว์และแมลงต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายไปยังรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ระหว่างทางท่านจะได้พบพรรณไม้นานาชนิด เช่น กล้วยไม้ เทียนดอย ดอกลิ้นมังกร เห็ดแชมเปญ รวมถึงสัตว์หายากเฉพาะถิ่นอีกด้วย บางชนิดพบเพียงที่นี่ที่เดียวในโลก เช่น “กบอกหนาม” หนึ่งเดียวในโลก (กบป่าหายากที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีรูปร่างคล้ายกับคางคกมีผิวหนังหยาบ ขรุขระเป็นสันและปุ่มลำตัวสีเขียว น้ำตาลจนถึงสีดำ มีจุดประสีน้ำตาลทั่วตัวในฤดูผสมพันธุ์ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมกบตัวผู้จะมีกลุ่มหนามแหลมสีดำ กระจายกันอยู่บนแผ่นอกและใต้คาง เมื่อสิ้นฤดูผสมพันธุ์ หนามเหล่านี้จะหลุดหายไป เหลือเพียงรอยสีคล้ำๆ ตรงตำแหน่งเดิม กบอกหนามพบเฉพาะในบริเวณที่แคบๆตั้งแต่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไทยโดยอาศัยอยู่ในแถบเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี
จักจั่นงวงช้างจันทบุรี นักดนตรีแห่งป่าใหญ่ในภาคตะวันออกเป็น จักจั่นสายพันธุ์หนึ่งในวงศ์ Cicadidae Pyrops ducalis ( Stal). 1863. TYPE : Londres Cambodge ในประเทศไทยพบได้หลายสี แต่ละพื้นที่มีลวดลายแตกต่างกันจนเป็นเอกลักษณ์ ในจันทบุรีมักพบตามลำต้นลำไยและในป่าสมบูรณ์ เช่น เขาสอยดาวและเขาคิชฌกูฏเป็นต้น
อึ่งกรายจันทบูรณ์ (Megophrys lekaguli) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง มีลักษณะสะดุดตาคือ มีลำตัวป้อม ขาสั้น ผิวหนังด้านหลังมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีลายรูปนาฬิกาทรายสีน้ำตาลเข้มพาดอยู่ตั้งแต่บริเวณระหว่างตาจนถึงเอว พบเฉพาะในภาคตะวันออกของไทย พบครั้งแรกที่เขาสอยดาวใต้ จังหวัดจันทบุรี
การเดินทางจากวัดโคกตะพง ซึ่งจะมีรถรับส่ง
ประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อเดินทางไปยังจุดเริ่มเดินเท้า ที่ปากปล่องระบายความร้อนของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดที่เริ่มเดินเท้าขึ้นเขา ในระยะทางราวๆ 3 กิโลเมตร ระหว่างทางผ่านป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ผ่านน้ำตก แต่ทางค่อนข้างชัน จึงgหมาะกบคนที่มีโรคประจำตัว ขณะเดียวกันก็จะมีจุดพักเป็นระยะๆ ซึ่งใช้เวลาจนถึงยอดเขาคิชฌกูฎ ประมาณ 4ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการเดินของแต่ละคน
ช่างภาพ saravut naipreedee
เรื่องราว/ถ่ายภาพ nussorn chanathipphitphiboon
โดยจุดนัดเจอจะอยู่ที่วัดโคกตะพงหรือวัดแกลง โดยเราจะจอดรถไว้ที่นี่และเปลี่ยนเป็นรถโฟวิลเพื่อไปส่งยังจุดเริ่มเดินที่ปากปล่องระบายความร้อนของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดที่เริ่มเดินเท้าขึ้นเขา ในระยะทางราวๆ 3.7 กิโลเมตร (โคยคนนำทางคือพี่ต่ายและพี่กระท้อนหวาน)
จุดจอดรถและจุดเริ่มเดิน จากจุดนี้ไปก็มีทากเลยนะคะ
ทางก็ตามสภาพที่เห็นในรูปคือลื่นและมีทาก
ทางช่วงแรกจะมีลำห้วย
นึกในใจว่าอยากได้ภาพโทนดาร์ก สมใจเลย ฝนถล่มลงมาหนักมาก
ระหว่างทางสวยมาก มีพรรณไม้มากมายให้เราเห็น และมีป้ายบอกว่าเป็นไม้ชนิดไหนซึ่งป้ายพวกนี้ทางอุทยาเป็นคนนำมาติดไว้
สดชื่นนนนนน
ถ้าเราไม่รีบเร่งจนเกินไปนักระหว่างทางมีเห็ด แมลง ต้นไม้นานชนิดให้เราได้ถ่ายภาพกันตลอดทาง
เส้นทางเดินโดยส่วยใหญ่จะเป็นทางชัน
ตลอดเส้นทางจะมีหินก้อนใหญ่มากๆ ตลาดทาง บางช่วงใหญ่มากจนสามารถเข้าไปหลบฝนได้เลย
ตรงจุดนี้เราจะวางเป้แล้วเดินไปชมวิว "จุดชมวิวผาหินโยก"
"จุดชมวิวผาหินโยก" จะอยู่ระหว่างทางในช่วง 1 กิโลเมตรแรก ซึงสามารถเห็ซึ่งในวันนั้นได้ยินเสียงน้ำตกจากในหุบเสียงดังมากคาดว่าด้านบนน่าจะมีน้ำตกใหญ่
จักจั่นงวงช้างจันทบุรี นักดนตรีแห่งป่าใหญ่ในภาคตะวันออกเป็น จักจั่นสายพันธุ์หนึ่งในวงศ์ Cicadidae Pyrops ducalis ( Stal). 1863. TYPE : Londres Cambodge ในประเทศไทยพบได้หลายสี แต่ละพื้นที่มีลวดลายแตกต่างกันจนเป็นเอกลักษณ์ ในจันทบุรีมักพบตามลำต้นลำไยและในป่าสมบูรณ์ เช่น เขาสอยดาวและเขาคิชฌกูฏเป็นต้น
จักจั่นงวง Aphaena sp
เตรียมเดินทางกันต่อค่ะ
มีหมอกปกคลุมตลอดทาง และมีฝนตกลงมาเป็นช่วงๆ
ป่าและเส้นทางเดินสวยมากจริงๆ ค่ะ
ธรรมชาตินั้นไม่สามารถคาดเดาได้ ถึงแม้ฝนจะตกตลอดทาง ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายๆ อย่าง แต่ความงดงามของผืนป่าก็ทำให้เราลืมเรื่องพวกนั้นไปเสียสนิท
เดินมาเรื่อยๆ จนถึงบริเวณที่ลานหินขนาดใหญ่ลาดตัวลงไป แผ่นหินถูกปกคลุมด้วยมอส กล้วยไม้ และพืชพรรณนานชนิด สวยจนไม่อาจละสายตา
ระหว่างทางจะมีระฆัง หลายจุด
บริเวณนี้เรียกว่าเจดีย์สามองค์
ระหว่างทางจะพบซากอาคารเก่า และลานฮอร์ (ภาพต้นไม้คือหวายเจ็ดเนิน ซึ่งที่มาของซื้อคือต้นหวายที่มีลักษณะใหญ่และเลื้อยยาวทอดทัวไปหลายลูกเขา)
ยอด "เขาคิชฌกูฏ" ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เขาคิชฌกูฏเป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท" มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม.
ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง)
พระครูธรรมสรคุณ เจ้าอาวาสวัดกระทิง และเป็นเจ้าคณะอำเภอมะขาม ผู้สืบค้นประวัติเขาคิชฌกูฏ กล่าวไว้โดยย่อว่า เมื่อ พ.ศ. 2397 นายติ่งและคณะได้พากันขึ้นไปบนเขาหาไม้กฤษณา ไม้กะลำพัก 5 มาขาย ต้องขึ้นไปพักอยู่บนเขาเป็นเวลาหลายวัน และได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้างใหญ่ เพื่อนของนายติ่งคนหนึ่งได้ถอนหญ้าเพื่อนอนพักก็พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้ และเมื่อช่วยกันตรวจดูก็พบหินแผ่นหนึ่ง มีพื้นที่เป็นรอยรูปก้นหอยต่อมานายติ่งและเพื่อนได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี รุ่งขึ้นก็มีงานเทศกาลปิดรอยพระพุทธจำลอง นายติ่งจึงซื้อทองไปปิดรอยพระพุทธบาทนั้น เมื่อปิดแล้วจึงพูดขึ้นว่ารอยพระพุทธบาทเช่นนี้ทางบ้านผมก็มีเหมือนกัน พอดีมีพระได้ยินเข้าจึงไปเรียนให้เจ้าอาวาสวัดพลับ (หลวงพ่อเพชร) ทราบ ขณะนั้นหลวงพ่อดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี จึงเรียกนายติ่งมาสอบถาม แล้วพาคณะขึ้นไปพิสูจน์ดู ก็เป็นความจริง และตรวจดูตามบริเวณนั้นทั่วๆ ไปก็พบสิ่งแปลกประหลาดและสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่าง รอยพระพุทธบาทนั้นท่านทรงเหยียบจารึกไว้ที่ศิลาแผ่นใหญ่ บรรจุคนนั่งได้เป็นร้อยกว่าคนบนยอดเขาสูงสุดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาทมีหินกลมก้อนหนึ่งใหญ่มาก เรียกกันว่า หินลูกพระบาท ตั้งขึ้นมาน่าแปลกมหัศจรรย์เป็นอย่างมากไม่น่าจะตั้งอยู่ได้ มองดูคล้ายลอยอยู่เฉยๆ มีคนกล่าวว่าเขาเคยเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วหลุดมาได้ และยังมีหินอีกลูกหนึ่งใหญ่มากเหมือนกัน อยู่ตรงข้ามกับหินลูกพระบาทนี้ ก็มีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้จากรอยพระพุทธบาทกับรอยพระหัตถ์นั้น ห่างกันประมาณ 5 เมตร และยิ่งแปลกไปกว่านั้น ในก้อนหินนั้นตรงกันข้ามกับรอยพระหัตถ์ ยังมีรูปรอยเท้าใหญ่อันนี้เขาเรียกว่ารอยเท้าพญามาร เพียงแหงนหน้าขึ้นไปมองจะเห็นได้ทันที สูงประมาณ 15 เมตร ต่อจากนั้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากหินลูกนี้ไปเพียง 15 วา มีหินลูกข้างบนเป็นลานและมองเห็นรอยรถหรือรอยเกวียน เมื่อยืนบนหินลูกนั้นมองลงไปทางทิศเหนือจะเห็นถ้ำเต่า บนหลังถ้ำจะมองเห็นเป็นรูปเต่า ลักษณะคล้ายๆ เต่าปลวก ต่อจากนั้นหากหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรอยพระพุทธบาทจะมองเห็นถ้ำช้าง และถ้ามองจากรอยพระพุทธบาทขึ้นไปจะเห็นหินก้อนหนึ่งมีรูปลักษณะคล้ายช้างจริง เลยจากช้างสูงสุดนั้นเรียกกันว่าห้างฝรั่งเพราะฝรั่งไปตั้งห้างส่องกล้องเพื่อทำแผนที่ มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีถ้ำอีกถ้ำหนึ่งเรียกกันว่า ถ้ำสำเภา เพราะมีหินก้อนหนึ่งข่างบนถ้ำมีลักษณะคล้ายๆ เรือสำเภาจึงเรียกว่า ถ้ำสำเภา ยังมีอีกถ้ำหนึ่งใต้พระบาทนี้เรียกว่า ถ้ำตาฤๅษี
ขากลับเราจะแวะไปถ่ายภาพน้ำตกด้วย
ข้อมูลการติดต่อ /ผู้ใหญ่ต่าย 0890956014
ขอบคุณภาพสวยๆ จากพี่วุฒินะคะ
ขอบคุณพี่ต่ายและพี่กระท้อนหวานที่นำทางและอธิบายข้อมูลต่างๆ ให้ฟังนะคะ
ตามด้วยที่เที่ยวอื่นๆ ที่ จ.จันทบุรี
ท่ามาจันโฮเต็ล (Tamajun Hotel)” ตั้งอยู่บริเวณชุมชนเก่าริมน้ำจันทบุรี มีการตกแต่งทั้งภายนอกภายในอย่างสวยงาม มีห้องพักซ่อนตัวอยู่ในอาคารทั้งสองฝั่งถนน กลางชุมชนริมน้ำจันทบุรี เป็นหนึ่งในไม่กี่ที่พักที่อยู่ในบริเวณชุมชนเก่าแห่งนี้ ชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร เป็นย่านเก่าแก่ ที่เต็มไปด้วย ตึกรามบ้านช่อง ร้านค้า ที่ยังเป็นบ้านทรงโบราณ เป็นชุมชนเล็กๆที่ไม่ใหญ่มาก แต่ก็มีสิ่งที่น่าสนใจหลายๆอย่าง โดยออกแบบตกแต่งห้องพักให้มีความแตกต่าง หลากหลายแบบ หลายสไตล์
โรงแรมท่ามาจัน มีห้องพักอยู่สองฝั่ง แบบ Hip Hotel และ Tropical Thai Style ส่วนด้านล่างจะเป็นร้านอาหารที่บรรยากาศดีมากๆ
อ่าวคุ้งกระเบน หรือชื่อเรียกเต็มๆ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อยู่ที่ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่9 ว่าให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจันทบุรี เพื่อดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพราษฎรของศูนย์ฯ คุ้งกระเบนแห่งนี้
ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาตินั้น จะมีพรรณไม้หลายชนิดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปรงแดง ป่าสักดอกแดง ป่าสักดอกขาว ลำพูทะเล แสมทะเล เป็นต้น รวมถึงเราจะได้เห็นสัตว์น้อยน่ารักแห่งป่าชายเลน อย่าง ปลาตีน ปูแสม และนกนานาชนิด รวมถึง บรรยากาศของ อ่าวคุ้งกระเบน ที่ค่อนข้างจะร่มรื่นและเย็นสบายเพราะมีต้นไม้ปกคลุมตลอด 2 ข้างทาง
สำหรับการเดินทางไปจันทบุรีในครั้งนี้ เราเลือกใช้ใช้บริการรถเช่าของ Avis thailand จองง่าย สะดวกได้ที่02 251 1131
I'm Che
วันพฤหัสที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16.33 น.