สวัสดีค่ะ เมื่อต้นปี 2019 เราได้เดินทางไปเที่ยวทริปในฝัน คือทริปอียิปต์ จอร์แดนด้วยตัวเอง เป็นเวลา 16 วัน โดยตั้งงบไว้ที่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท รวมตั๋วเครื่องบินและทุกอย่างแล้ว เป้าหมายหลักที่ไปจอร์แดน คือเพตรากับเดดซี ส่วนที่อียิปต์ก็คือเมืองหลักๆ 4 เมือง ไคโร อัสวาน ลักซอร์ และเมืองท่าอเล็กซานเดรีย แต่ลงท้าย ก็มีเรื่องผิดแผน ทำให้เวลาไม่พอ จึงตัดอเล็กซานเดรียออกไป

ประเทศอียิปต์เป็นหนึ่งในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความไม่สงบ หนึ่งปีก่อนหน้าที่เราจะบินไปมีข่าวระเบิดรถบัสนักท่องเที่ยวที่กิซา และก่อนหน้าวันบินของเราเดือนกว่าๆ ก็มีประเด็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างอเมริกากับอิหร่านอีก มีแต่เรื่องให้ตุ้มๆ ต่อมๆ ทั้งน้นเลย 55 ด้วยชื่อเสีย(ง)ของอียิปต์ ทำให้ตอนแรกเราแพลนจะไปกับทัวร์ แต่ติดตรงไม่สะดวกลาในวันที่ทัวร์จัด + ค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ ทัวร์ที่เราดูตอนนั้นไปแค่ประเทศอียิปต์ 7 วัน 5 คืนก็ต้องใช้งบอย่างต่ำ 7 หมื่นบาทเข้าไปแล้ว นอกจากจะไม่ได้ไปจอร์แดนแล้ว ยังไม่ได้ไปหุบผากษัตริย์ที่ลักซอร์อีกต่างหาก เราเคยอ่านคำสาปฟาโรห์มา เลยอยากไปที่นี่ให้เห็นว่าของจริงเป็นยังไง และคิดว่าไหนๆ เสียตังก์ไปแล้ว ไปรอบเดียวให้มันจบแล้วเก็บคร

ภายในสุสานที่หุบผากษัตริย์

นครเพตรา

เราเลยเปลี่ยนแผน ลองหาข้อมูลดูว่าถ้าไปอียิปต์ด้วยตัวเองได้ไหม และต้องวางแพลนยังไงบ้าง กำหนดจำนวนวันที่ต้องใช้คร่าวๆ แล้วค่อยหาแนวร่วม หรือก็คือหาเพื่อนที่ไม่รู้จักไปเที่ยวกันนั่นเองงงง

เราเป็นคนวางแพลนทริป ทั้งเรื่องที่พัก ที่เที่ยว ตั๋วเครื่องบิน บลาๆๆ เองหมดเลย เราเลยอยากมาแชร์แพลนและทิปในการไปเที่ยวอย่างประหยัดงบ (เท่าที่ยังจำได้ เพราะเริ่มลืมๆ ไปบ้างล่ะ) เผื่อใครจะวางแผนไปในอนาคตค่า บอกเลยว่า ก่อนไปเราทำการบ้านหนักมากกก หาข้อมูลจากเว็บไทยเว็บเทศวุ่นไปหมด เสิร์ชข้อมูลในกูเกิ้ลเป็นร้อยๆ พันๆ ครั้งแล้วมั้ง

แพลนเที่ยวคร่าวๆ 

สรุปค่าใช้จ่ายทั้งทริปต่อคน

ค่าเครื่องบิน 29,000 บาท

ค่าที่พัก 6,000 บาท

ค่าวีซ่าอียิปต์ 2,100 บาท

ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่ารถ ค่าเข้าสถานที่ต่างๆ ค่าpass (Jordan pass/Cairo pass/Luxor pass)

อาหารการกิน พวกเราไม่ค่อยชอบอาหารอาหรับ จึงขนเสบียงจากไทยกันไป แทบไม่ได้ซื้อข้างนอกกินเลย

เครื่องบิน

จริงๆ เราแพลนจะไปอียิปต์ก่อนแล้วค่อยบินต่อไปจอร์แดน แต่ตอนที่โปรตั๋วเครื่องบินออกมา ตั๋วบินไปจอร์แดนมันถูกกว่ากันเป็นหลักพันเลยง่ะ 55 เลยเปลี่ยนแผน บินไปจอร์แดนก่อนโลดดด  ทั้งทริปเราจะบินทั้งหมด 4 รอบ 7 ไฟลท์ เรียงลำดับตามนี้ค่ะ 

กทม - อัมมาน(จอร์แดน) ใช้บริการ Oman air ต่อเครื่องที่โอมาน

อัมมาน(จอร์แดน)-ลักซอร์(อียิปต์) ใช้บริการ Egypt air ต่อเครื่องที่ไคโร (อียิปต์)

อัสวาน – ไคโร ใช้บริการ Nile air บินตรง

ไคโร - กทม ใช้บริการ Oman air ต่อเครื่องที่โอมาน

การบินทั้งหมดทั้งมวลนี้ เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณ 3 วันครึ่ง คิดง่ายๆ ก็คือ 16-3.5 = เท่ากับเรามีเวลาเที่ยวจริงๆ ประมาณ 12 วันครึ่งเท่านั้นนนน

สายการบินระหว่างประเทศจอร์แดนกับอียิปต์ 

มีให้เลือกแค่ 2 สายการบินคือ Eypgt air กับ Royal Jordanian airline เป็นสายการบินแห่งชาติที่มีชื่อเสีย(ง) สูสีกัน แต่เราเลือกบินกับอียิปต์แอร์เพราะอะไรน่ะเหรอ...ราคามันถูกกว่าอ่ะ อยากเที่ยวแบบประหยัดงบก็ต้องไปตามราคาเจ้าค่ะ 555

สายการบินอียิปต์แอร์เป็นสายการบินแห่งชาติ แต่ก็นะ - - ได้นั่งสองไฟลท์ ไฟลท์แรกคือสยองมากจ้า ภายในเครื่องค่อนข้างเก่าและสกปรก ขยะที่ผู้โดยสารคนก่อนทิ้งไว้หน้าที่นั่งยังคาอยู่เลย แม่เจ้า นี่สายการบินประจำชาติแน่นะ คนบนเครื่องบินหลักๆ เป็นชาวอาหรับ ส่วนของว่างของฟูลเซอร์วิสเจ้านี้คือแซนวิชจ้า อ่านถูกแล้วล่ะทุกคนน แ-ซ-น-วิ-ช ที่มีแฮมไม่เต็มแผ่นอ่ะ ช่วยเห็นแก่ค่าตั๋วเครื่องบินที่ชั้นจ่ายไปหน่อยเถอะ 555 

ส่วนอีกไฟลท์ที่บินจากไคโร ไปลักซอร์ค่อยดีหน่อย ข้างในเครื่องค่อนข้างใหม่ ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ แต่ของว่างก็นะ คุ้กกี้แห้งๆ ห่อนึง....(- - ) ใครที่ขึ้นสายการบินนี้ ไม่ควรคาดหวังอะไรมากนะคะ 

สายการบินภายในประเทศอียิปต์

เท่าที่ได้ยินมาคือ สายการบินภายในอียิปต์มีเยอะมากกก แต่ที่จองออนไลน์โดยตรงได้จะมีอยู่ไม่กี่เจ้า แต่ก่อนมีแค่ Egypt air ล่าสุดมีอีกเจ้านึงที่จองออนไลน์ได้คือ Nile air นอกนั้นต้องจองผ่านบริษัทเอเย่นที่อียิปต์ แต่เรากลัวว่าเสียเงินแต่ไม่ได้บินอ่ะเนอะ เลยเลือกจองออนไลน์เองดีกว่า 

ตอนแรกเราเหล่ไฟลท์บินของ Egypt air อยู่นานมาก รอแล้วรออีกก็ไม่เห็นโปรโผล่หน้าออกมาสักที เลยลองหากูเกิ้ลใหม่ และเจอ Nile air ที่ราคาถูกกว่า เลยจองเจ้านี้แทน แนะนำเมื่อกดเข้าหน้าเว็บแล้ว ให้เลือกประเทศเป็น ประเทศอียิปต์ แล้วจ่ายเป็นเงินอียิปต์แทน จะได้ราคาถูกกว่าจ่ายเป็นเงินดอลล่าร์ 

ค่าเงิน

จอร์แดน ใช้เงินดินาร์ จอร์แดน (JD) 1 JD = 45-50 บาทไทย นอกจากค่าเงินจะแพงแล้ว ค่าใช้จ่ายที่โน่นยังแพงด้วยจ้าาา

อียิปต์ ใช้เงิน อียิปต์ปอนด์ (EGP) 1 EGP = 2 บาทไทย ค่าเงินอียิปต์ไม่แพง แต่เรามักจะต้องจ่ายแพง (โดยรู้ตัวและไมรู้ตัว) เพราะเป็นคนต่างชาติ 55

ค่าเงินทั้งสองแบบหาแลกที่ไทยค่อนข้างยาก แนะนำให้แลกเป็นเงินดอลลาร์แล้วเอาไปแลกที่แต่ละประเทศเองจะง่ายกว่า

Visa and Pass

วีซ่าและพาสของจอร์แดน

คนไทยที่ไปเที่ยวจอร์แดนจะต้องทำ Visa on arrival เมื่อไปถึง มีค่าใช้จ่ายคนละ 40 JD หรือประมาณ 2000 บาทต่อคน

แต่ถ้าใครวางแผนจะไปเพตราอยู่แล้ว แนะนำให้ซื้อตั๋ว Jordan pass ออนไลน์ไปเลยค่ะ (ต้องซื้อออนไลน์ก่อนเข้าประเทศเท่านั้น) พาสนี้จะรวมค่าวีซ่า ค่าเข้าเพตราและค่าเข้าสถานที่หลักๆ เกือบทั้งหมดในจอร์แดนไว้แล้ว ราคาจะแตกต่างกันตามจำนวนวันที่เข้าเพตราได้ มีทั้งแต่ 1-3 วัน บอกเลยว่าคุ้มมากก เพราะค่าเข้าเพตราวันนึงก็ 60 JD เข้าไปแล้ว เราซื้อพาสแบบเข้าเพตรา 2 วันในราคา 75 JD

แต่เงื่อนไขของพาสนี้คือ จะต้องอยู่ที่เพตรา อย่างน้อย 3 คืน จึงจะใช้สิทธิ์ฟรีวีซ่าได้ เขาจะตรวจว่าเราอยู่ครบกำหนดไหมตอนขาออก หากไม่ครบ เราต้องจ่ายค่าวีซ่าตรงนั้นเลยค่ะ เขานับจำนวนคืนเป็นหลัก อย่างเรา บินมาเช้าวันที่ 1 อยู่ 3 คืน  แล้วบินออกเที่ยงวันที่ 4 ก็ใช้สิทธิ์ฟรีวีซ่าได้

Source: https://www.jordanpass.jo/

วีซ่าอียิปต์
ถ้าจะเข้าอียิปต์ต้องไปทำวีซ่าที่สถานฑูตอียิปต์ก่อนค่ะ วิธีการขอไม่ยุ่งยากแค่ต้องไปทั้งหมด 3 รอบ คือไปยื่นเรื่อง เอาเล่มวีซ่าไปส่งพร้อมจา่ยเงิน และไปรับเล่มกลับค่ะ มีคนเคยรีวิวเรื่องการทำวีซ่าไว้บ้างแล้ว เราเลยขอข้ามไปค่ะ

Egypt pass

คิดว่าหลายๆ คนคงไม่รู้แน่เลยว่าอียิปต์ก็มีพาสแล้วนะจ๊ะ ซึ่งก็ไม่แปลก ขนาดหาข้อมูลในเว็บเทศยังไม่ค่อยจะมีคนพูดถึงกันเลย แต่บอกเลยว่า คุ้มมากกกกกกกกแบบ ก.ไก่ล้านตัว พวกเราเรียกมันว่าบัตรเบ่งเลยล่ะ เข้าออกทุกสถานที่ไม่อั้นเป็นเวลา 5 วัน แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CAIRO PASS กับ LUXOR PASS

ตามหลักเข้าได้แค่ที่ละครั้งต่อวัน แต่พอเอาไปใช้จริงๆ น่ะ ไม่มีคนตรวจตั๋วคนไหนจดหมายเลขบัตรหรือทำสัญลักษณ์อะไรลงไปบนพาสของเราหรอก ทำให้เราสามารถเข้าออกได้หลายครั้งตามสบายเลยล่ะ อย่างเราเอง ตอนไปที่พิรามิดกิซา คือ เข้าไปประตูทางฝั่งพิรามิดใหญ่ แล้วออกไปกินข้าวเที่ยงที่ร้านเคเอฟซีตรงประตูสฟิงก์ พอกินเสร็จก็เดินเข้าไปในพีระมิดอีกครั้ง ยื่นตั๋วปุ๊บ เขาก็ให้ผ่านเลย หรืออยากจะเข้าไปเดินเล่นในสุสานตุตันคาเมนสักสามสี่รอบต่อวันก็ย่อมได้ แบบไม่ต้องเสียค่าเข้าเพิ่มเลยแม้แต่สลึงนึง

Source: Google

Cairo Pass/ Luxor Pass

- Cairo Pass เข้าสถานที่ท่องเที่ยวในไคโร รวมถึงพิระมิดกิซา ดาร์ซู เมมฟิส และซัคคาราได้ มีบัตรราคาเดียวคือ 100 US บัตรนักเรียน 50 US

- Luxor Pass มีบัตร 2 ราคา คือแบบธรรมดา (100 กับ 50 US) กับแบบพรีเมียม (200 กับ 100 US) แบบพรีเมี่ยมจะเข้าสุสานของฟาโรห์เซติที่ 1

(Valley of the Kings) และสุสานของราชินีเนเฟอร์ตารี ที่หุบผาราชินีได้ (Valley of the queens) หากไม่ใช้พาส ค่าเข้า 2 สุสานนี้จะราคาประมาณ 3000 บาท/สุสาน/ครั้งแล้ว

- สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลา 5 วันติดกัน โดยบนบัตรจะมีรายละเอียดว่าเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ถึงวันที่เท่าไหร่

- เอกสารที่ต้องใช้คือสำเนาพาสปอร์ต และรูปถ่ายขนาดประมาณนิ้วครึ่ง 1 ใบ สำหรับติดบนบัตร

เราใช้รูปพาสปอร์ตพื้นขาวไปเลยเพื่อความมั่นใจ

- ซื้อได้ที่ไคโร อเล็กซานเดรีย และลักซอร์ ในสถานที่ท่องเที่ยวที่กำหนดเท่านั้น เวลาซื้อต้องถามหลายคนหน่อย เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักพาสพวกนี้  

เราซื้อลักซอร์พาสที่หุบผากษัตริย์ พิกัดคือ พอเดินผ่านโซนขายของเข้ามาในตัวตึกแล้ว กลางตึกจะมีแผนที่สุสานทั้งหมด ให้เลี้ยวขวาเข้าไปห้องเล็กๆ มุมขวา (ก่อนเข้าห้องจะมีแผ่นป้ายโชว์รายละเอียดบัตรพวกนี้อยู่) ตรงนั้นจะมีที่ขายพาส แต่ถ้าเราเดินทะลุตึกออกไปอีกประตูหนึ่ง จะเจอกับจุดขายตั๋วค่าเข้าสุสานรายสุสาน เท่ากับว่าเลยมาแล้วค่ะ

ไคโรพาสเราซื้อที่พิพิธภัณฑ์ไคโร ให้เดินเข้าไปในตึก ตรงไปยังที่ตรวจบัตรเพื่อเข้าอาคาร แล้วบอกเจ้าหน้าที่ว่าจะมาซ์้อไคโรพาส เข้าจะให้เราเข้าไปซื้อข้างใน จะเป็นห้องทำงานเล็กๆ ด้านขวาของตึก ก่อนจุดตรวจกระเป๋า แอบตลกตรงทีว่า เราถามคนขายตั๋วพิพิธภัณฑ์ว่าจะซื้อไคโรพาสได้ยังไง ไม่มีใครรู้จักเลยจ้าา ต้องไปถามคนตรวจตั๋วอ่ะ ถึงจะรู้เรื่อง

สิ่งที่หลายคนไม่รู้ และในเว็บไม่มีใครยืนยันให้ชัดเจน แต่เราไปทดลองมาแล้วว่าทำได้!คือ เราสามารถนำพาสใบแรกไปแลกซื้ออพาสใบที่สองได้ในราคา 50% โดยจะได้พาสราคานักเรียนมาแทน เราเอาลักซอร์พาสไปแลกซื้อไคโรพาสที่พิพิธภัณฑ์ไคโร และได้บัตรนักเรียนมาในราคา 50 US ถือว่าคุ้มมากกก

การเดินทางจากสนามบินเข้าตัวเมืองอัมมาน

เราเริ่มจากการบินไปอัมมาน เมืองหลวงของประเทศจอร์แดน ไปลงที่สนามบิน Amman Queen Alia (AMM) airport จากสนามบินจะมีรถบัสเข้าไปในตัวเมือง รถบัสเริ่มมีตั้งแต่ 6.30 จนถึงเที่ยงคืน ใช้เวลารอบละประมาณ 1 ชม. ราคา 3.3 JD ต่อคน ไฟลท์เราบินไปถึงสนามบินตั้งแต่ตี 1 555555 ก็นั่งรอ นอนรอในสนามบินกันไป ถามว่ามีที่ให้รอมากไหม ตอบเลยว่าไมมมม่ เราไปเที่ยวกัน 3 คนก็จริง แต่ทั้งสามคนแยกกันเดินทางหมดเลย พี่คนแรกเดินทางมาถึงอัมมานตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ส่วนอีกคนกำลังบินมาอยู่ เราเลยนั่งแกร่วคนเดียวตรงโซนรับกระเป๋าพร้อมกับผู้หญิงชาวไต้หวัน (แต่ทำงานที่อังกฤษ) อีกคน ก็คุยกันโน่นนี่ไปตามประสา จึงรู้ว่าเธอกำลังรอพ่อแม่บินมาจากไต้หวัน แล้วจะไปเที่ยวจอร์แดนกับอิสราเอลกัน พอเริ่มเช้าเราเลยบอกลาเธอแล้วเดินออกไปซื้อตั่วรถข้างนอก พอเดินออกประตูสนามบินปุ๊บ...ทั้งหนาว และเหม็นกลิ่นบุหรี่เลยล่ะ สูบกันจัดมากค่า

ระหว่างนั่งบนรถตู้ ก็มีคนขึ้นกลางทางเป็นระยะ เราบอกคนขับว่าจะลงตรงไหน แต่คนขับกลับขับรถเลยยยยยยยย แม่เจ้า แล้วนี่ตรูจะต้องไปลงที่ไหนฟระเนี่ย สื่อสารกันก็ไม่รู้เรื่อง ฟังสำเนียงกันไม่ออก ลงท้ายมีผู้หญิงตะวันตกบนรถ (รู้ทีหลังว่ามาสอนหนังสือเด็กที่นี่) มาช่วยเป็นคนกลางสื่อสารให้ จนได้ความว่า มันเลยมาแล้ว คนขับรถให้เราไปลงที่ท่ารถปลายทาง Northern Bus Station(Tabarbour Bus Station) แล้วนั่งรถแท็กซี่ย้อนกลับมา แต่พี่ผู้หญิงบอกให้เราลงรถแล้วตามเขาไปแทน ไม่งั้นจะโดนแท็กซี่โขก (เหมือนนางฟ้ามาโปรดด)

Source: https://www.dreamstime.com/royalty-free-stock-images-tabarbour-bus-station-amman-jordan-march-people-search-terminal-public-routes-poorly-mapped-have-no-image40480119

พอลงจากแท็กซี่ก็เจอคนแท็กซี่จอร์แดนรุมกินโต๊ะ 55 ถามราคาค่าแท็กซี่ พวกนางคิดค่าไปส่งทีพักในราคา 5 JD เราแกล้งต่อราคา แต่ต่อให้ลดแล้วก็ยังแพงอยุ่ดี พี่ผู้หญิงคุยกับแท็กซี่เป็นภาษาอาหรับ แล้วเดินนำเราไปทางคิวรถ คิวรถจุดแรกจะเป็นโซนรถบัส แต่คิวรถจุดที่สองที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกล จะเป็นรถเก๋งทั้งนั้นเลย พี่เขาก็ช่วยสื่อสารคุยนั่นโน่นนี่ให้ ลงท้าย เราก็ขึ้นไปนั่งบนรถเก๋งคันนั้นอย่างงงๆ 55 พี่เขาบอกราคาที่เราต้องจ่ายคนขับรถ แต่เรายังไม่ชินกับค่าเงินเลยไม่รู้ว่าเท่าไหร่ เอาเป็นว่าเราเดินทางถึงโรงแรมที่พักด้วยราคา 0.45 JD อ่ะจ๊ะ รถที่เรานั่งมาเป็นรถเก่งแบบแชร์ บนรถมีคนอื่นๆ อยู่ด้วยประมาณ2-3 คน นี่ถ้านั่งแท็กซี่นะ โอ้โหหห เลือดสาดอ่ะ

เมืองสมัยโรมัย Jerash กับปราสาทหิน Ajlun

เมื่อมาถึงที่พัก เราก็เจอกับพี่คนที่มาถึงก่อนแล้ว วันนี้เราแพลนจะไปที่ เมืองสมัยโรมัย Jerash (ติด UNESCO ด้วย)ที่อยู่ทางเหนือของจอร์แดนกับปราสาทหิน Ajlun ป้อมบนเขาสมัยสงครามครูเซดที่สมบูรณ์ที่สุดของจอร์แดน

เราหาข้อมูลล่วงหน้าแล้วว่ามีรถบัสจาก Northern Bus Station (ที่เราเพิ่งนั่งรถมานั่นแหละ) ไปยังเมืองนั้นอยู่ แต่ว่า พอไปเห็นท่ารถจริงๆ แล้วคิดว่าขืนไปกันเองไม่น่าจะรอดแน่ๆ สื่อสารกันยิ่งไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แถมเวลาเดินรถก็ไม่ค่อยแน่นอน อาจจะไปแล้วกลับไม่ทันรถเที่ยวสุดท้าย ลงท้าย เลยเหมาแท็กซี่กัน แท็กซี่ก็หาได้ง่ายๆ หน้าโรงแรมนี่ล่ะ อย่าลืมต่อรองราคา หรือแกล้งทำเป็นเดินหนีก่อนนะ  ลงท้าย เราเหมารถไปกลับสองที่นี้ด้วยราคา 35 JD/2คน ซึ่งพอกลับมาเรารู้สึกว่าตัดสินใจถูกแล้วล่ะ ที่นั่งรถแท็กซี่ไป เพราะมันไกลลลลลมาก กลับมาถึงโรงแรมอีกทีคือแทบหมดสภาพเลยจ้า

ข้อมูลที่เราหาไว้จากเว็บนอกคือ ถ้าจะเดินทางด้วยรถสาธารณะต้องเดินทางตามนี้ค่ะ

ให้เดินทางไป Ajlun ก่อน ค่อยไปJerash ค่ารถมินิบัสทั้งหมดรวมกันประมาณ 4 JD/คน

1.ขึ้นรถที่ Northern Bus Station(Tabarbour Bus Station) ตอน 8  โมงเช้า ถ้าไปสายกว่า 9 โมงรถจะยิ่งน้อย ถามคนแถวนั้นว่าถ้าจะไป Ajlun ต้องขึ้นตรงไหนนั่งรถสายอะไร

2.เมื่อไปถึงป้ายรถเมล์ที่Ajlun จะเดินหรือนั่งแท็กซี่ไปที่ปราสาทก็ได้ ปราสาทตั้งอยู่บนยอดเขา เห็นไกลๆ ได้จากป้ายรถเมล์(นั่งแท็กซี่ประมาณ 10 นาที)

3.นั่งรถมินิบัสสายเดียวกับตอนขาไป มุ่งหน้ากลับไปอัมมาน แต่ให้ลงที่ทางเข้า Jerash ระหว่างทาง

4.นั่งมินิบัสกลับอัมมาน

Jerash

Ajlun

ตอนขากลับ รถแท็กซี่ขับผ่านตลาดด้วย และเราบังเอิญเห็นกระหล่ำปลีไซส์บิกบึ้ม เลยเอามาแชร์ให้ทุกคนเห็น ใหญ่เว่อรรร์ ที่จอร์แดนทางฝั่งนี้เป็นโซนปลูกพืช ซึ่งจะส่งไปขายยังประเทศต่างๆ ใกล้เคียงค่ะ (คนขับแท็กซี่กล่าวไว้)

ญเ

เดินทางไปเพตรา

ที่จอร์แดนจะมีรถ JETT Bus จากอัมมานและเมื่องหลักอื่นๆ ไปเพตราอยู่ มีรถแค่วันละเที่ยวตอน 6.30 เท่านั้น ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง เพื่อประหยัดเวลาเดินทาง เราเลือกพักที่พักใกล้กับจุดขึ้นรถบัส แถวนี้จะมีโรงแรมอยู่เยอะมากก โรงแรมที่เราพักคือ 7 boys hotel ราคาจะแพงกว่าโรงแรมข้างเคียงระดับนึง แต่สภาพห้องคือดูดีกว่าที่คิดเยอะมากกก เรียกว่าดีสมราคาเลยล่ะ แต่อย่าได้ถามเรื่องตั๋ว JETT Bus กับที่นี่เชียว เขาจะอ้างว่าตั๋วหมดแล้ว แต่เขาหาตั๋วให้ได้ในราคาที่แพงกว่าปกติ จริงๆ แล้วจุดขายตั๋วรถ JETT Bus ก็อยู่ใกล้ๆ กับโรงแรมน่ะแหละ แถมยังมีร้านแลกเงินใกล้ๆ กันด้วย ถ้าจะแลกเงินให้มาแลกข้างนอกเลย แลกที่สนามบินนอกจากเรทจะแพงแล้ว ยังเสียค่าแลกด้วยนะเออ

แนะนำให้ซื้อตั๋วล่วงหน้า 1-2 วัน  JETT Bus มีเว็บไซต์ขายตั๋วออนไลน์ด้วย แต่เว็บไซต์ค่อนข้างป่วย ชาร์จเงินเพิ่มและยุ่งยาก เราเลยฝากพี่ที่ไปถึงก่อนซื้อตั๋วกันทุกคน เสียคนละ 11 JD/เที่ยว/คน

ใครที่จะนั่ง JETT Bus จากเพตราไปอัมมาน จะมีรถออกวันละรอบตอนสี่โมงเย็นเท่านั้น

ที่พักที่เพตราแนะนำให้จองล่วงหน้า 2-3 เดือน เพราะที่ดีๆ ราคาถูกๆ จะหมดไวมา

ระหว่างทางบนรถบัส บอกเลยว่าข้างทาง...ไม่มีอะไรเลยจ้าา เจอวิวแบบนี้แล้วเล่นเกมซ่อนตาดำต่อดีกว่า

ภาพวิวเมืองที่เพตราตั้งอยู่

เราเที่ยวเพตรา 2 วัน โดยเดินตามรูทหลักๆ ที่คนนิยมเดินกัน วันแรกเราเก็บได้ครบ แต่วันที่สองคือ...หมดสภาพ เก็บได้เท่าที่เวลาอำนวยเท่านั้น 555

Day 1: Siq, Treasury, Street of Façade, Theatre, Royal tombs, City center, Qasr al Bint temple, Museums Al Habees and Archeological, Al Deir monastery..... Approx 6hrs

Day 2: Siq, Treasury, High place of sacrifice, Lion Monument, Garden temple complex, Triclinium, Renaissance tomb, Broken Pediment Tomb, Roman Soldier Tomb...... Approx 5hrs

ทางเดินการเข้าไปในโซนหุบเขา หากเราขี้เกียจเดินตรงนี้ สามารถจ้างรถม้าได้ แต่เราเดินกันเจ้าค่ะ กองหินด้านข้างที่เห็นอยู่ทั้งหมด คือสุสานค่ะ

เมื่อเดินจนสุดทาง ก็จะมาเข้าร่องหุบเขา (Siq) ซึ่งจะเดินแบบนี้ไปเรื่อยๆ 

ปลายทางของหุบเขาคือสิ่งนนนี้ The Treasury ซึ่งเป็นต้นทางงง ยังมีระยะทางอีกยาวไกลลลลลล ให้เดิน

พอเดินต่อมาเรื่อยๆ ก็จะเจอกับโซนสุสาน (อีกเช่นกัน) ที่ภายในไม่มีอะไรเลย นอกจากกลิ่นฉี่อูฐ - - แต่ในโซนนี้จะมีโรงละครโบราณ และอื่นๆ อยู่รอบๆ สามารถเดินเข้าไปดูได้ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาค่ะ

โรงละครสมัยโบราณ ที่เห็นเป็นขั้นบันไดนั้นคือที่นั่งเด้อค่า

และแล้วก็ถึงโซนบันไดล้านนนนขั้น เพื่อไปให้ถึง Al Deir monastery บนยอดเขา ใครที่เดินไม่ไหวหรือขี้เกียจเดิน สามารถขี่ลาหรือม้าขึ้นไปได้ แต่เสียเงินเพิ่มจ้า

เจอบันไดแล้ววว

ระหว่างทางก็มีร้านค้าขายของประปราย

หลังจากเดินอยู๋นานนนน พักกันไปหลายรอบมากก และแล้วเราก็มาถึง Al Deir monastery!!! 

แต่ข้างในไม่มีอะไรเลยนะ เดาว่าที่นี่ถูกใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมอะไรบางอย่าง เมื่อขึ้นมาจนสุดแล้ว ก็จะมีป้ายบอกทางให้ไปดูวิวพ้อยท์ต่างๆ หลายเส้นทางมาก ใครที่มีเวลาสามารถเลือกเดินไปได้เลย จะได้วิวที่แตกต่างกันไป

ภาพนี้คือ ถ่ายยังไงให้เหมือนไม่ได้อยู่ที่เพตรา 55

วันแรก เราลงมาช้า กว่าจะลงมาถึงข้างล่างก็มืดแล้ว ร้านรวงระหว่างทางปิดหมด จึงมาทันเห็นการเตรียมกิจกรรม Petra by night ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่เราแอบแวบดูเพราะเป็นทางขากลับพอดีฟรีๆ อิๆ จริงๆ กิจกรรมนี้มันก็แค่ไฟส่องหินน่ะแหละ ไม่ได้มีอะไรเท่าไหร่เลย

กว่าจะออกกันมาได้ หมดแรงงง

เดดซี ทะเลสาบแห่งความตาย

เดดซี เป็นทะเลสาบที่อยู่ต่ำสุดในโลก ทำให้มีความเค็มมากกกกก ถึงมากที่สุดในโลก และเพราะความเค็มนี้เอง มันจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ไม่มีวันจม ทุกคนจะลอยหมด (เพราะฉะนั้น การที่แครอลในเรื่องคำสาปฟาโรห์ตกเดดซีแล้วจมลงไป จึงเป็นเรื่องโมเมทั้งเพเจ้าค่ะ)

แพลนที่วางไว้ในตอนแรกคือ เที่ยวเพตราวันที่ 2 ครึ่งวัน แล้วจ้างรถแวะที่ Kerak castle แล้วค่อยไปเช็กอินโรงแรมที่เดดซี แต่เอาเข้าจริงง เวลาไม่พอเจ้า 5555 Kerak castle เลยโดยตัดไป แอบเสียดาย แต่อย่างน้อยก็ได้ไป Ajlun มาแล้ว ความแตกต่างระหว่าง 2 ปราสาทนี้คือ Ajlun จะสมบูรณ์กว่า ส่วน Kerak จะใหญ่กว่า เราจึงให้พี่พักหารถไปส่งโรงแรมที่เดดซีให้ในราคา 65 JD/3 คน ระหว่างทางคนขับมีการแวะร้านขายของด้วย ร้านขายของข้างทางมีขายโคลนเดดซีด้วยนะ ราคาแพงหูฉี่อยู่ ใครที่ต้องการโคลนเดดซีไปฝากลูกฝากหลานที่บ้าน ไม่ต้องซื้อให้เปลืองสตางก์นะ เอาขวดหรือถุงไปที่เดดซีแล้วควักใส่เอาตรงนั้นเลยก็ได้ ฟรีจ้า ไอ้ที่เขาวางขายกัน ก็เอามาจากตรงนี้แหละ แค่แพกเกจสวยกวาเท่านั้นเอง

ถึงจะเรียกว่าเป็นทะเลสาบ แต่ไม่ได้เข้ากันฟรีๆ นะจ๊ะ บอกเลย เดดซีจะมี 3 โซนที่เข้าได้คือ

1.โซนสาธารณะ (ค่าเข้าแล้วแต่โซน แต่อย่างต่ำก็ 20JD ไม่รวมค่าล็อกเกอร์ ค่าอาบน้ำ ค่าเบี้ยหัวแตกอื่นๆ) แต่จากรีวิวคือ ทะเลสาบสาธารณะค่อนข้างสกปรก

2 โซนโรงแรม คือการเข้าพักที่โรงแรมติดเดดซี เราจะได้เข้าเดดซีฟรีๆ แต่โซนพอกตัวด้วยโคลนเดดซีจะต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ขึ้นกับแต่ละโรงแรม

3 โซนระหว่างทาง เหมาะกับคนขับรถเที่ยว เราเคยอ่านเจอรีวิวว่ามันมีโซนที่สามารถจอดรถลงไปเดดซีได้เลย ไม่เสียเงิน เหมือนเป็นโซนลับ ใครสนใจอาจต้องลองหาในกูเกิ้ลอีกทีค่ะ

แนะนำให้ลองคำนวณค่าใช้จ่ายก่อนค่ะ บางทีการเข้าพักในโรงแรมเลย อาจถูกกว่าการไปที่โซนสาธารณะ แถมสบายกว่าด้วย

ไม่มีรถบัสจากเพตรามาที่เดดซีโดยตรง ถ้าจะไปด้วยรถบัสต้องนั่งกลับไปอัมมานก่อนแล้วค่อยต่อรถไปเดดซีค่ะ

วิธีการเดินทางจากอัมมานไปเดดซีจะมี 3 วิธีตามนี้เลย

1. นั่งรถบัสจาก Mujaharin bus station ไปลงที่ Rame แล้วต่อแท็กซี่.

2. นั่ง JETT bus สาย Amman - Dead Sea - Amman ออกทุกวันเวลา 8.30 ราคาไปกลับเท่ากับ  10 JD ต้องไปรอที่ 7th circle หรือ 2nd circle รถบัสจะออกจากเดดซีประมาณ 4 โมงเย็น

3. นั่งแชร์แท็กซี่ที่โรงแรมติดต่อให้ ปกติจะได้ราคาไปกลับ 10 JD นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเลือกวิธีนี้

เดดซีไปสนามบิน

วิธีทางเดียวที่ทำได้คือเรียกแท็กซี่ ที่จอร์แดนมีอูเบอร์ให้ใช้ ก็เรียกอูเบอร์โลดด แต่ขอเตือนไว้อย่างว่า จอร์แดนเป็นเมืองที่พึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมาก และคนค่อนข้างจะมีเล่ห์เหลี่ยมด้วย อันไหนโกงได้คือโกง โกงกันซึ่งๆ หน้า แม้แต่อูเบอร์ก็ไม่เว้น

เราเรียกอูเบอร์ให้ไปส่งที่สนามบิน นางก็มารับตามปกติ ท่าทางดูเป็นมิตร คุยนั่นคุยนี่ตามประสา ตอนนั่งรถก็สังเกตว่านางขับรถช้ามากกก แต่เราเผื่อเวลาไว้ เลยไม่รีบ พอใกล้ๆ จะถึงสนามบินนางก็เอาล่ะ รู้ไหมว่ามีค่าเข้าสนามบินด้วย -  - มุกนี้เคยอ่านเจอมาล่ะ พวกเราเลยทำเนียน อ้าวเหรอ ไม่เห็นรู้เลย ขอเช็กข้อมูลก่อนนะ นางก็เลิกคุยเรื่องนี้ไป แต่พอรถไปถึงสนามบิน ค่ารถในแอพกลับแพงกว่าที่คุยกันไว้ ก็แบบ อ้าวเฮ้ย งี้ได้ไง นางก็ตีเนียน ฉันไม่รู้ ฉันไม่รู้ มันขึ้นราคานี้ก็ต้องราคานี้แหละ คนจอร์แดนที่สนามบินเดินมาช่วยคุยให้ แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะมันเป็นราคาในแอพ แถมพอถอยไปหน้ารายการ แล้วเข้ามาหน้าราคาใหม่ ราคากลับสูงขึ้นไปอีก อีหยังฟระเนี่ย ตังก์ก็มีไม่พอด้วย ลงท้ายเลยใช้การเหวี่ยงใส่ แล้วให้เท่าที่มีไป ถามไปเลยว่าจะเอาไม่เอา นางก็โอเค เอาๆ แล้วก็แยกย้ายกันไป

มาหาข้อมูลดูทีหลัง เลยพบว่าคนขับรถตุกติกตั้งแต่แล้ว เพราะราคาในอูเบอร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามจุดที่หยุดพักระหว่างทาง และเวลาที่ใช้ในการเดินทาง! ก็ว่า ทำไมนางขับรถช้าจัง ฮีโธ่!

ไปตำ ตอน 2 การเดินทางในอียิปต์ต่อที่ลิ้งก์นี้ได้เลยจ้า https://th.readme.me/p/38394

ตอน 3 จะเป็นเรื่องแพลนเที่ยว สถานที่พัก และเกร็ดอื่นๆ https://th.readme.me/p/38395

Duck's journey

 วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.58 น.

ความคิดเห็น