พาเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ําแควน้อย ในเขตตําบลเมืองสิงห์ อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 600 กว่าไร่ค่ะ เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของไทย ไปเที่ยวชมกันนน

ฝากกดติดตามเพจท่องเที่ยวด้วยนะเจ้า อัพเดทสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ สถานที่สวยงามมากมายที่ ไปแอ่วกัน funtrips และ ช่องยูทูปของเพจ กดเข้าชมที่ตัวอักษรที่ฟ้าได้เลยเจ้า

    ปราสาทเมืองสิงห์ นักโบราณคดีเชื่อว่า ปราสาทนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระอวโลกิเตศวร ประมุขแห่งพระโพธิสัตว์ ต่างกับปราสาทหินส่วนใหญ่ที่เป็นฮินดูสถาน ที่เรารู้จักกันมากก็เช่น ปราสาทนครวัดสร้างถวายพระวิษณุ หรือพระนารายณ์  

       ปราสาทแห่งนี้มีสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7   (พ.ศ. 1720 - 1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากหลักฐานใหม่ที่ค้นพบ คาดว่าการก่อสร้างของเมืองสิงห์และศาสนสถานภายใน น่าจะก่อสร้างในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่อาณาจักรขอมเสื่อมอํานาจลง โดยนํารูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบขอมมาใช้เป็นแบบในการก่อสร้างค่ะ

   ที่นี่มีโบราณสถานหมายเลข 1-4 ค่ะ 

โบราณสถานหมายเลข 1 เป็นปราสาทที่มีความโดดเด่นและสมบูรณ์กว่าจุดอื่น ตั้งอยู่บริเวณใจกลางด้านหน้าของตัวเมือง มีชานศิลาแลงรูปกากบาทอยู่ด้านหน้าปราสาท ถัดไปเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบปราสาทและประตูกำแพง

          ตัวปราสาทมีปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลาง ภายในประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี มีพระกร 8 กร ถัดไปทางบริเวณซุ้มประตูโคปุระด้านหลังของปรางค์ประธานมีรูปเคารพพระนางปรัชญาปารมิตา นอกจากนี้บริเวณใกล้ๆ ปรางค์ประธานยังมีอาคารเล็กๆ ที่เรียกว่า “บรรณาลัย” ซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ของพุทธศาสนาในสมัยนั้นด้วย

       ศิลปกรรมภายในที่สำคัญ คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี  เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายาน จากอาณาจักรกัมพูชาโบราณเข้ามาในไทย  ปัจจุบันพระรูปโพธิสัตว์นี้ กรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

พระนางปรัชญาปารมิตา   เทวีแห่งความฉลาดเฉลียวของพุทธศาสนานิกายมหายาน  ขณะเดียวกันจะเรียกว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย

โบราณสถานหมายเลข 2  จะเล็กกว่าหมายเลข 1 ค่ะ

        ก่อด้วยศิลาแลง ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ภายในมีปรางค์ประธาน 1 องค์ มีโคปุระ 4 ทิศ เชื่อมต่อด้วยระเบียงคด และแท่นฐานปฏิมากรรมที่วางเรียงอยู่ในแนวของระเบียงคด

มาแอ่วเที่ยวชมกันได้นะเจ้า ที่นี่ยังมีโครงกระดูกโบราณให้ชมด้วย ค่าเข้าคนไทย คนละ 10 บาทเท่านั้น^^

ไปแอ่วกัน Fun Trip

 วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 12.13 น.

ความคิดเห็น