การเดินทาง นั่งรถไฟจากสถานี SHINJUKU (JR) ไปต่อรถที่สถานี YOKOHAMA เพื่อลงสถานี KAMAKURA

ถึงสถานี Kamakura เดินลงไปตามป้าย Enoshima Electric Line ครับ

เดินตรงไปตามป้าย Enoshima Electric Line ออกไปให้เลี้ยวซ้าย ผ่าน gate จ่ายเงิน (ใช้ Suica ได้) เพื่อไปรอขึ้นรถไฟ

ป้ายประชาสัมพัธ์ที่สถานี Kamakura (Enoshima Electric Line)

นั่งรถไฟจากสถานี KAMAKURA ไปลงสถานี HASE(KANAGAWA) ใช้เวลาประมาณ 5 นาที

รถวิ่งผ่านสถานี WADAZUKA และสถานี YUIGAHAMA แล้วก็ถึงสถานีที่เราลง HASE(KANAGAWA)

ป้ายแสดงทางเดินไปวัด Kotoku-in Temple (Kamakura Daibutsu) และวัด Hase-dara Tample

ออกจากสถานี เราเดินย้อนข้ามทางรถไฟมารับประทานอาหารเช้าที่ร้าน Cafe Hula Hawii

บรรยากาศภายในร้าน Cafe Hula Hawii

มีห้องน้ำให้เข้าด้วยครับ

latte coffee ราคา 400 เยน Hot dog ราคา 400 เยน
แนะนำ Pan cake ราคา 800 เยน และ Hawaiian salt caramel latte ราคา 500 เยน

หลังรับประทานอาหารเช้าแล้ว เดินตรงไปที่วัด Kotoku-in Temple (Kamakura Daibutsu) กันเลย
ชำระค่าผ่านประตู 200 เยน เปิด 08:00-17:30 น. (เดือนตค. - มีค. เปิด 08:00-17:00 น.)

เมื่อเข้าไปในวัดหรือศาลเจ้า เราจะต้องชำระล้างร่างกายก่อนเข้าไปสักการะบูชา เริ่มจากชำระล้างมือซ้าย หลังจากนั้นจึงชำระล้างมือขวา ท้ายสุดจึงใช้น้ำบ้วนปากเล็กน้อย (ในการบ้วนปากนั้น ให้ใช้มือซ้ายรองน้ำจากกระบวยแล้วจึงนำไปจรดที่ริมฝีปาก มิใช่ใช้ริมฝีปากจิบน้ำจากกระบวยโดยตรง ตอนบ้วนน้ำออก อาจใช้ฝ่ามือปิดปากเพื่อเป็นมารยาท

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ของ คามาคุระ (鎌倉大仏, Kamakura Daibutsu ) เป็นรูปปั้นของพระพุทธเจ้าที่ทำด้วยบรอนซ์ ตั้งอยู่ ในพื้นที่ของวัดโคโตะกุ

The Great Buddha of Kamakura (鎌倉大仏, Kamakura Daibutsu) is a bronze statue of Amida Buddha, which stands on the grounds of Kotokuin Temple.

พระพุทธรูปมีความสูง 13.35 เมตร เป็น พระพุทธรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ ที่สูงเป็นอันดับสองในญี่ปุ่น รองจากพระพุทธรูปใน วัด Todaiji นารา

With a height of 13.35 meters, it is the second tallest bronze Buddha statue in Japan, surpassed only by the statue in Nara's Todaiji Temple.

พระพุทธรูปที่ถูก ทิ้งไว้ในปี 1252 แต่เดิมตั้งอยู่ ภายใน พระอุโบสถ ขนาดใหญ่

The statue was cast in 1252 and originally located inside a large temple hall.

อย่างไรก็ตาม อาคาร พระวิหาร ได้ถูกทำลาย หลายครั้ง โดย พายุไต้ฝุ่นและ คลื่นยักษ์ ในศตวรรษที่ 14 และ 15
ดังนั้น ตั้งแต่ปี 1495 พระพุทธรูปจึงถูกให้ตั้งอยู่ในที่โล่ง

However, the temple buildings were destroyed multiple times by typhoons and a tidal wave in the 14th and 15th centuries. So, since 1495, the Buddha has been standing in the open air.

ต่อคิวเข้าไปชมภายใน Kamakura Daibutsu ค่าเข้าชม 20 เยน
เวลาเปิด 08:00-16:30 น.

ภายในองพระพุทธรูป

บริเวณพื้นที่ด้านหลังพระพุทธรูป มีห้องน้ำให้บริการครับ

บริเวณรอบ ๆ วัด Kotoku-in Temple

ออกจากวัด Kotoku-in Temple เดินย้อนกลับไปวัด Hase-dera Temple

ประตูวัด Hase-dera Temple

โคมแดงบริเวณประตูวัด Hase-dera Temple

เสียค่าเข้าคนละ 300 เยน เข้าไปจะเห็นบ่อน้ำและสวนสวย เป็นการกล่าวต้อนรับผู้มาเยือน

กลางเดือนมีค. ดอกซากุระที่นี้บานอยู่สองต้น

ขึ้นบันไดไปด้านบนมีจุดให้รดน้ำพระพุทธรูป

พระพุทธรูปบริเวณบันไดทางขึ้นไปด้านบน

วิหารด้านบน ( Kannon-do Hall)

พระพุทธรูปที่อยู่ภายในวิหารมีความสวยงามมาก (ห้ามถ่ายรูป)

บรรยากาศภายในวัดด้าบน

Hasedera (長谷寺) เป็นวัดของนิกาย Jodo มีชื่อเสียงสำหรับรูปปั้นหัวสิบเอ็ดของ Kannon, เทพธิดาแห่งความเมตตา มีความสูง 9.18 เมตร เป็นรูปปั้นไม้ลงรักปิดทอง ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในไม้แกะสลักที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น สามารถเข้าชมได้ในวิหารด้านบน ( Kannon-do Hall) ตามตำนานได้ถูกแกะสลักจากต้นไม้ต้นเดียวกับความสูงในทำนองเดียวกัน Kannon รูปปั้นบูชาที่วัด Hasedera ในจังหวัดนะระ (Nara)


อาคารที่อยู่ติดกับห้องโถงใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ Kannon, พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่ต้องชำระค่าเข้าชมเพิ่มเติม เป็นที่เก็บหลักฐานเพิ่มเติมบางส่วนของสมบัติของวัดรวมทั้งพระพุทธรูป (Buddhist statues) ระฆัง (a temple bell) ภาพเลื่อน (a picture scroll) มีคำอธิบายในญี่ปุ่นและแผ่นพับภาษาอังกฤษที่มีคำอธิบายขั้นพื้นฐานสามารถเข้าใจได้

วัด Hasedera Temple ถูกสร้างขึ้นตามความลาดชันของเนินเขา อาคารหลักของวัดอยู่ระหว่างครึ่งทางขึ้นลาดชัน บนระเบียงซึ่งจะช่วยให้มุมมองที่ดีของเมืองชายฝั่งทะเลของคามาคุระ

เวลาเปิด 8:00 ถึง 17:30 น. (เดือน ต.ค. ถึง เดือน ก.พ. ปิดเวลา 17:00 น.)
เปิดให้เข้าก่อนเวลาปิด 30 นาที

จุดชมวิวทะเลและเมือง

ช่วงบ่ายเราไปเที่ยวกันต่อที่ Yokohama ครับ

ที่มาของข้อมูล Kotoku-in Temple : http://www.japan-guide.com/e/e3100.html

ที่มาของข้อมูล Hase-dera Temple : http://www.japan-guide.com/e/e3101.html



ความคิดเห็น