พาไปเที่ยวชุมชนบ้านไร่กองขิง​ จ.เชียงใหม่กันค่ะ



ทริปนี้เริ่มต้นจากความกล้าของตัวเองล้วนๆ
พอเห็น​ No Carbon Village Challenge เปิดรับสมัครนักท่องเที่ยวอาสา​ 10 เส้นทางชุมชนไร้คาร์บอน
ก็เลือกลงสมัครนักท่องเที่ยวอาสา​



เลือกลง จ.เชียงใหม่​

เพราะเราชอบจ.นี้​

เพื่อนแซวตลอด​ สำหรับเราเชียงใหม่แค่ปากซอย😆

แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือการได้เที่ยวชุมชน​

สัมผัสความเป็นอยู่ในชุมชน​ มันห่างไกลจากวิถีท่องเที่ยวเรามาก
และที่นี่.. เป็นชุมชนเพื่อคนรักสุขภาพ​ที่แท้ทรู..


จากปัญหาสุขภาพที่เกิดกับชาวชุมชน สู่การพัฒนาจนได้เป็นชุมชนแห่งสุขภาพ
ทั้งการนำภูมิปัญญา​ท้องถิ่นมาผลิตกิจกรรมท่องเที่ยว​ และร่วมเป็นชุมชนที่เสริมสร้างจิตสำนึก​ที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ

ด้วยทริปนี้เป็นทริป​ #NoCarbonVillageChallenge
เป็นทริปที่เราจะต้องลดการใช้คาร์บอน​ให้น้อยที่สุด

มาดูว่า​.. ชีวิตแบบสโลว์​ไลฟ์​ go green มันจะไหวมั้ยแม่สาวคนเมือง💚


มาถึงชุมชนก็รับแก้วก่อนเลยค่ะ

แก้วส่วนตัวของแต่ละคน

ลดการใช้พลาสติก

ลดการใช้สารเคมีและน้ำในการล้างเปลี่ยนแก้วหลายๆใบ



กิจกรรมที่เราได้ทำนะคะ

- ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพค่ะ​ นำทีมโดยพ่อหลวง​ พาปั่นผ่านเส้นทางต่างๆ
เส้นเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี, อุทยานหลวงราชพฤกษ์, อุโมงค์​ต้นไม้, สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์​ ณ​ วัดดอยเปาปั่นเป็นสิบโลได้
เจอนักท่องเที่ยวต่างชาติ​ เค้าบอกพวกเราว่า​ สู้ๆ​ 😆



ชอบวิวตรงนี้ค่ะ​ มองเห็นวัดพระธาตุ​ดอยคำ



ปั่นมาวัดดอยเปาค่ะ



หลังจากปั่นครบระยะ

เราก็กลับมาพักขา​ และทำลูกประคบค่ะ


- ทำลูกประคบ​ จากสมุนไพรต่างๆที่เป็นผลผลิตทางการเกษตร​ของชุมชน​ โดยมีแม่ครูในชุมชนเป็นผู้สอน​ ปกติชอบซื้อไปฝากพ่อ​ รอบนี้ทำเองเลย


มาถึงเติมน้ำตาลด้วยขนมก่อนเลยค่ะ



พักเบรคทานมื้อกลางวันค่ะ


ข้าวซอย​ที่ลำขนาดดด



พออิ่มแล้วก็มาต่อกิจกรรมถัดไปเลยค่ะ

- ทำตุงล้านนา​ เหมือนจะง่าย

พับกระดาษ​ ตัดไปตัดมา

​ ทำไปทำมา​ ตุงฉันยาวเป็นแมงกะพรุน​เลยเธอเอ้ยย



งานประดิษฐ์​อาจจะไม่ถนัด

มางานแม่ศรีเรือนกัน

- ทำขนมลูกโยนธัญพืช​

คล้ายขนมใส่ไส้​ นวดแป้งกับฟักทอง​ ใส่ไส้แล้วนำไปต้ม​ พอสุกก็นำมาคลุกมะพร้าว+ธัญพืช​ ขนมหน้าตาดีเหมือนคนทำสุดๆ5555


- ถ่ายรูป​ กับถนนเล่าเรื่อง​ เป็น​ Street Art ที่เล่าถึงชุมชนล้านนา
ประกวดได้ที่2 ภาพนุ้งหมาน้อยกับพี่แมวใหญ่😆



และทางทีมงานใจดี​ พาไปวัดต้นเกว๋น
ไม่ไหวจะเปลี่ยนชุด​เป็นกาสะลอง​ ซ้องปี​ป​ ขาอ่อนล้าเกิน😆
แต่วัดงามมากๆค่ะ



ไปวัดพระธาตุดอยคำ​ รอบนี้มีหมอกมาทักทาย​ อากาศ​ดีสุดๆ



ไปตลาดจริงใจ​ ที่เราอยากไปอยู่พอดี
มีแต่ของน่ากินน่าชอป​ 

เราพุ่งตัวโซนแกลอรี่เลยค่ะ

มีของที่อยากชิม



ชอบบรรยากาศ​ร้านนี้ค่ะ

ขายเป็นกระทงน้อย



เราอยากมาซื้อขนมปังร้านนี้ค่ะ



ขนมปังแครนเบอร์รี่​กับส้ม

เป็นแบบ​ Cream Cheese Shokupun

ของร้าน​ Season to TABLE 


ใครชอบเปรี้ยว​ต้องแครนเบอร์รี่

ใครสายหวานต้องส้ม


อร่อยมากก​ ติดใจเลยค่ะ



น้ำสมุนไพรแก้วละ  20  บาท

ลำไยชื่นใจสุดๆ



บอกตามตรงเราแอบกังวลว่าเราจะรู้สึกอึดอัดมั้ย​

เพราะทริปนี้ไปคนเดียว​

( นักท่องเที่ยวอาสาที่ผ่านการคัดเลือกจะมี​ทั้งหมด​ 2 คน )

ไปกับคนไม่รู้จัก​ ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
แต่พอเราได้สัมผัสบรรยากาศ​ และ​การต้อนรับของชุมชน​ รวมถึงความน่ารักของทีมงานและผู้ร่วมทริป
ความกังวัลตรงนี้มันหายไปเลย

ยิ่งได้เจออาหารท้องถิ่นอร่อยๆ
ฝีมือแม่หลวง​ และ​ พี่ๆในชุมชน
โอ้โหววว​ ลำแต้แต้กาาาาา
อิ่มอร่อยทุกมื้อ


เซ็ตนี้มื้อเช้า​ 

ข้าวผัดที่อร่อย​ แบบอร่อยจริงๆค่ะ

อร่อยไปยัน​ น้ำปลาพริก



มื้อเย็นแบบขันโตก


เป็นน้ำพริกอ่องที่อร่อยที่สุดตั้งแต่เราได้ชิมมา



อันนี้เพิ่งเคยลองค่ะ

ใบชะพลู​ผัดไข่

อร่อยมากๆค่ะ​ ถ้าทำเองจะอร่อยเหมือนแม่ๆมั้ยนะ



แม่เตรียมชุดใส่บาตรเช้าไว้ให้

จับหวะถ่ายคือ​ กระโดดหลบไส้เดือน😆


โฮมสเตย์​หลับสบาย​ สะอาด​ สะดวก​ เหมือนนอนบ้าน


......... 


ทริปนี้..
ไม่ได้มีอะไรที่ทำให้รู้สึกว่าถูกจำกัดในการใช้ชีวิต​
ถึงจะเที่ยวแบบคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม​ แต่ใช้ชีวิตได้สบายมากๆ
ตอนนี้โลกเรามันไม่ใช่แค่ร้อนค่ะ
แต่มันคือสภาวะ​โลกเดือด
เราไม่จำเป็นต้องรอใครมาสร้างจิตสำนึก​ที่ดีตรงนี้
เพราะเราสามารถสร้างมันขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง
วงการอุตสาหกรรม​ใหญ่ๆ​ เค้าอาจจะสร้างCarbon Footprint​ มากก็จริง
แต่เค้าก็มีมาตรการ​ในการชดเชยคาร์บอน
แล้วเราล่ะ..  มนุษย์​ตัวน้อยๆ
แค่เริ่มตั้งแต่วันนี้​ก็ถือว่าเป็นสัญญาณ​ที่ดีในการช่วยโลกแล้วค่ะ

ขอขอบคุณสปอนเซอร์ที่น่ารัก
การท่องเที่ยว​แห่ง​ประเทศไทย​ #TAT
ที่จัดกิจกรรม​ดีๆแบบนี้
ขอบคุณ​ ​Find Folk และ​ ทีมงานทุกท่าน
ที่ดูแลกันเป็นอย่างดี
และขอขอบคุณ​ พ่อหลวง​ แม่หลวง​ พี่ๆ​ ณ​ บ้านไร่กองขิง
ที่ให้ความรู้​ดีๆ​ ดูแลเรื่องอาหาร​ ที่พักและทุกสิ่งทุกอย่างตลอดทั้งทริป

หวังว่าเราจะได้พบกันอีกนะคะ​
สวัสดีค่ะ

Tatae Sutharat

 วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 20.15 น.

ความคิดเห็น