หากในยามเช้าเวลาไปเที่ยวการเดินเท้าไปเรื่อย ๆ เพื่อดูความเป็นอยู่ อาจเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผมชอบทำเอามาก ๆ พอรู้ตัวอีกทีก็พา 2 เท้ามาอยู่ ณ ศาสนสถานแห่งนึงที่ไม่ได้อยู่ในแพลนเที่ยว และที่แห่งนั้นก็คุ้มค่ากับกิโลกว่า ๆ ที่พาร่างเตร็ดเตร่มา ....

45hudwt07up8

วัดเสื่อ เสนาสนาราม วัดร้างสมัยกรุงแตก

           วัดเสื่อ สร้างขึ้นพร้อมกับพระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้าในสมัยอยุธยา โดย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมัยดำรงพระยศเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก และได้กลายเป็นวัดร้างเมื่อกรุงศรีฯ แตกใน พ.ศ. 2310 จนกระทั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ 300 ชั่งเศษและโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) เป็นประธานในการบูรณะวัดเสื่อจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2406 และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร" หรือ "วัดเสนาสน์"

          ภายในวัดยังใช้ผังเดิมตามสมัยอยุธยา โดยจะมีสถานที่สำคัญได้แก่ พระอุโบสถ พระเจดีย์ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และพระวิหารพระอินทร์แปลง เป็นต้น

53p3gnekvkl9
c8gfy8sod68x
7ap8fay92w9c
4kx3m3976s6j
bls8j2hqe5ql

พระอุโบสถ

            เมื่อผ่านประตูนี้แล้วเลี้ยวขวาจะพบกับ พระอุโบสถ ศิลปะคงแบบสมัยอยุธยา แต่มีแปลงบ้างบางส่วนเป็นแบบรัตนโกสินทร์เช่น หน้าบัน ซุ้มประตูกับซุ้มหน้าต่าง ที่เป็นตราพระราชลัญจกรพระมหามงกุฎเหนือช้างสามเศียรของรัชกาลที่ 4 ถือเป็นแนวคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

           ด้านหน้าพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยลงรักปิดทองศิลปะสมัยอยุธยา ประดับด้วยซุ้มเรือนแก้วและซุ้มต้นโพธิ์ มีการใส่คำจารึกอักษรขอมเป็นคาถาพุทธานุสติ ด้านในมี "พระสัมพุทธมุนี "เป็นพระประธานดั้งเดิมครั้งกรุงเก่าของวัดที่ประดิษฐานอยู่

       ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเทพชุมนุมและภาพพระราชพิธีเดือนสิบสองที่วาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และเหตุการณ์สุริยุปราคาที่หว้ากอ ภาพที่ รัชกาลที่ 4 ทอดพระเนตรสุริยุปราคา ได้ถูกบันทึกไว้ที่ผนังนอกจาก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม แล้วภาพนั้นก็อยู่ที่แห่งนี้อีกวัดหนึ่ง วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร

0lldw6jnensm
z1ulncmyeyiz
54y2zi6niyfu


พระวิหารพระพุทธไสยาสน์กับพระเจ้าพยาบาลภิกษุอาพาธ

                     จากประตูก่อนหน้านี้หากเลี้ยวซ้ายมาตามแนวองค์เจดีย์จะพบกับวิหารพระพุทธไสยาสน์หรือพระวิหารพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปด้านในเป็นพระพุทธไสยาสน์ พระองค์นี้มาจากวัดมหาธาตุ เป็นศิลปะสมัยอยุธยาที่นำศิลามาเรียงต่อกันแล้วแกะสลักยาว 14.2 เมตร ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถถัดจากเจดีย์ประธานทรงระฆังสมัยกรุงศรีอยุธยา

          นอกจากนี้ภายในพระวิหารหลังนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปยืนที่ในพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างกำลังประคองพระภิกษุรูปหนึ่งเอาไว้ คือ "พระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธ" (ปางพิเศษที่หาชมได้ยาก) ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวพุทธประวัติเมื่อพระพุทธองค์ทรงพยาบาลพระภิกษุที่กำลังอาพาธอยู่ ซึ่งพระพุทธรูปปางนี้ปกติจะอยู่ในอิริยาบถนั่งแต่ ณ วัดเสนาสน์น่าจะเป็นที่เดียวที่แสดงพระพุทธรูปปางนี้ด้วยพระพุทธรูปยืน

ttk8scoq2phr
v61t7s7w5ddy
kyxrn17euydg
731y17lvcmei
hy1ro0nowfie

พระวิหารพระอินทร์แปลง

           ออกจากวิหารพระนอน เดินเลี้ยวขวามาจะพบ พระวิหารที่มีหน้าบันเป็นรูปพระมหามงกุฎคล้ายกับพระอุโบสถ แต่มีมุขขวางด้านหน้าอาคารตกแต่งด้วยซุ้มโค้งอย่างตะวันตก ภายในประดิษฐานพระประธาน “พระเจ้าอินทร์แปลง” พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง หล่อด้วยโลหะสำริดปางมารวิชัย สมัย พ.ศ. 2401 ที่มีการตกแต่งด้วยซุ้มต้นโพธิ์ ข้างซุ้มมีพระสาวกปูนปั้นขนาบ 2 ฝั่ง

          มีตำนานกล่าวว่าพระพุทธรูปที่มีชื่อประมาณนี้ตอนสร้างเท่าไหร่ก็สร้างไม่เสร็จ จนกระทั่งมีชีปะขาวมาช่วยหล่อจึงเสร็จ และชีปะขาวนี้ก็มักหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย เลยเชื่อว่าชีปะขาวที่ว่าน่าจะเป็น ‘พระอินทร์’ ที่ ‘แปลง’ กายลงมาช่วย

            ด้านหลังซุ้มพระประธานองค์นี้ยังมีห้องขนาดเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารหลังนี้มาแต่ดั้งเดิมด้วย แต่จะไม่มีลิงและช้างคอยอุปัฏฐาก รัชการที่ ๕ จึงทรงให้ช่างเขียนภาพช้างและลิงถูกนายพรานไล่ล่าไปจนหมด เพราะฉะนั้น พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ในวิหารนี้จึงไม่มีลิงและช้างให้เห็นอีกต่อไป นอกจากนี้จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลังนี้ ยังมีการแสดงเรื่องราวของ ‘มฆมาณพ’ อีกด้วย

f3eyu86b88t7
u1wflvdr1pt3
csg4mkrxd0x1
vlaayguoixx9
33dj2sqirkd0
fi4qgmy8g4zc
v1v0z4xqyhjg
3u2av3mzn7r1
5ih6vsiuqfad
x93581oztmgg
lq1woiffy3ml
ngoe8ls3nedb
apy2dl5xllm6
i0g49ge3z58q
xekb7zwv25fe
q7h4xdlicckd
xybahiz86j9l
tydpzfxn5hdh

เอาหละครับนอกจากบังเอิญพบสถานที่สวยงาม เรื่องชื่อ และได้บุญกันแล้ว วัดหน้าเราจะพาทุกท่านไปเที่ยววัดไหนโปรดติดตามตอนต่อไปครับ

สวัสดี

เสือซ่อนยิ้ม


อ้างอิง
(ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล, 2023)
(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2023)
(วัดวา, 2021)
ความคิดเห็น