กิจกรรมยอดฮิต ที่ทำให้นักเดินทางทั่วโลกตื่นเต้น และอยากมาเยือนประเทศตุรกี 

🎈บอลลูนยักษ์ คัปปาโดเกีย

กิจกรรมหลักๆที่คัปปาโดเกียคือ

การขึ้นบอลลูนยักษ์ และ การนั่งรถคลาสสิคคาร์

บอลลูนขึ้นได้กี่คน และใช้เวลานานเท่าไหร่? 

ไม่ต้องกังวลนะคะ ว่าการขึ้นบอลลูนจะอันตราย เพราะระบบการทำงานของเขาดีมาก หากสภาพอากาศไม่ดีเขาจะไม่ขึ้นเลย อีกอย่างบอลลูนมีขนาดใหญ่ ตะกร้าของบอลลูนสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 20-28 คน โดยในตระกร้าจะแบ่งออกเป็นช่องๆ เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักในการยืน มีกัปตันและผู้ช่วยประจำอยู่ และใช้เวลาพาชมวิวรอบๆ ประมาณ 1 ชั่วโมงค่ะ


ขึ้นบอลลูนเดือนไหนได้บ้าง

ที่เมืองคัปปาโดเกียสามารถขึ้นได้ทุกวัน ทุกฤดูกาล ยกเว้นในวันที่สภาพอากาศไม่ดี เช่น ลมแรง ฝนตก หรือหิมะตก การไปขึ้นบอลลูนจะต้องออกเดินทางกันตั้งแต่เช้า ประมาณตี 5 หรือ 6 โมงเช้า เพราะจะต้องเตรียมติดตั้งและเอาบอลลูนขึ้นก่อนที่จะมีแดดจัด ขึ้นบอลลูนไปแล้วจะได้ชมพระอาทิตย์ขึ้นจากด้านบนด้วยค่ะ


ค่าขึ้นบอลลูน  ราคาเท่าไหร่?

การขึ้นบอลลูนที่เมืองคัปปาโดเกีย (เมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ) เป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น พร้อมกับชมวิวเมืองสวยๆ แบบหาที่ไหนไม่ได้ 

ราคาอยู่ประมาณ 210-280 USD แล้วแต่บริษัทและขึ้นอยู่กับว่าซื้อกับใคร😀 (ส่วนมากจะไม่รวมในราคาของโปรแกรมทัวร์  เนื่องจากต้องเช็คสภาพอากาศในแต่ละวัน หากอากาศไม่เอื้ออำนวยก็ไม่สามารถขึ้นบอลลูนได้ )

👉ไกด์บอกว่า การได้ขึ้น หรือไม่ได้ขึ้นบอลลูนนั้น ต้องพกทั้งเงินและดวง มาด้วยนะคะ 

บางคนมาเป็นครั้งที่ 3 ยังไม่ได้ขึ้นเลย😀😀

การเตรียมตัวขึ้นบอลลูน

ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่คล่องตัว เนื่องจากการขึ้นบอลลูนจะต้องมีการยกตัวเพื่อก้าวลงในตะกร้า ที่สำคัญคือต้องสวมเสื้อผ้าที่อบอุ่น เช่น เสื้อแขวยาว เสื้อคลุมกันหนาว เพราะที่เมืองนี้โดยทั่วไปอากาศจะค่อนข้างเย็น และเมื่อขึ้นบอลลูนอากาศด้านบนก็จะเย็นขึ้นอีก ที่สำคัญคือ ห้ามใส่ส้นสูง ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่ และคนท้องไม่สามารถขึ้นบอลลูนได้นะคะ


ซื้อทัวร์ขึ้นบอลลูน จะได้อะไรบ้าง?

จ่ายค่าขึ้นบอลลูนในราคาที่ค่อนข้างสูงแบบนี้ มีบริการอะไรให้บ้าง มาดูกันค่ะ 

1) บริการรถรับ-ส่ง ไปกลับโรงแรม

มีบริการรถรับ-ส่งจากที่พักมายังจุดขึ้นบอลลูนในเมืองคัปปาโดเกีย เป็นการอำนวยความสะดวกและมีความ ปลอดภัย

2) รับชุด Coffee Break 

เติมพลังให้อิ่มก่อนขึ้นบอลลูนด้วยชุด Coffee Break  


3) ชมการติดตั้งหรือ Set up บอลลูน ใครจะถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ก็ได้

ชมการติดตั้งบอลลูนก่อนนำขึ้นโดยทีมงานมืออาชีพ ทั้งการติดตั้งอุ่นเครื่องก่อนบอลลูนลอยฟ้า พร้อมด้วยอุปกรณ์ต่างๆ การปล่อยไฟเข้าสู่กระเช้าบอลลูน การเช็กระบบแก๊ส รวมไปถึงสวมผ้าบอลลูนที่สมบูรณ์แบบ แต่เพื่อความปลอดภัยต้องยืนให้ห่างจากจุดติดตั้งรัศมี 5 เมตร 

ภาพบรรยากาศก่อนบอลลูนจะลอยขึ้นฟ้าจนกระทั่งมุมที่ชมวิว 1 ชั่วโมง

ภายในบอลลูนยักษ์ ก่อนบินขึ้นฟ้า


4) ดื่มแชมเปญ

หลังจากเพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์ของเมืองคัปปาโดเกีย บนบอลลูนแล้ว เมื่อเท้าแตะพื้น ยังมีบริการเฉลิมฉลองแชมเปญ ท่ามกลางบรรยากาศที่แสนจะโรแมนติค

(ดูแลอย่างดีตอนจะลงจากบอลลูนก็แทบจะอุ้มลงมาเชียวค่ะ 😜😜)

รถจะมารัลบอลลูนก่อน

5) ได้ Flight Certificate ใบรับรองว่าคุณพิชิตบอลลูนที่ตุรกีแล้วจ้า

นอกจากจะได้ชมวิวสวยติดอันดับโลกแล้ว ยังได้รับใบรับรอง Flight Certificate  เพื่อยืนยันว่าครั้งหนึ่งในชีวิตได้มาเที่ยวในดินแดนที่สวยงาม แห่งตุรกีแล้วนะคะ

ถ่ายรูปเล่นกันก่อนกลับ
จบไปหนึ่งวันค่ะ มาเมืองบอลลูนทั้งที แม้จะขึ้นบอลลูนได้แล้ว แต่ก็มีอีกกิจกรรมที่ไม่ควรพลาดค่ะ
🚗🚗🚗🚗🚗
นั่งรถคลาสสิคคาร์

ค่าบริการ คนละ 100 USD จะถูกกว่าขึ้นบอลลูนมากพอสมควรค่ะ แต่ใครที่พลาดการขึ้นบอลลูน และมานั่งคลาสสิคคาร์ในวันที่บอลลูนขึ้นไม่ได้ ก็จะไม่ได้วิวบอลลูนประกอบฉากหลังค่ะ

การบริการ  คนขับรถจะขับรถไปรับถึงโรงแรมที่พักในเวลาประมาณ 5.00 น. เพื่อมายังจุดที่สามารถมองเห็นบอลลูนได้อย่างชัดเจน (เราแจ้งทางไกด์ไปว่าขอเป็นรถคันสีแดง  ก็ได้ตามนั้นค่ะ)

ระหว่างนั่งรถ(เปิดประทุน) หนาวแสนจะหนาววววเลยล่ะ ใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมงก็ถึงจุดหมายค่ะ

👉🎈ถ่ายรูปรอบอลลูนขึ้นค่ะ 

🚗คนขับรถ กับตากล้อง คือคนๆเดียวกัน สบายพวกเราเลยค่ะ ยิงกันรัวๆ

ถ่ายกันจนบอลลูนขึ้นเต็มท้องฟ้ากันเลยค่ะ 

คนขับรถก็พาย้ายตำแหน่งไปประมาณ 2-3 จุด เพื่อเก็บภาพบอลลูนและวิวที่แตกต่างค่ะ

ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า ก็เดินทางกลับ ทันอาหารเช้าที่โรงแรมพอดีค่ะ 

ปล.รถคลาสสิคคาร์นี้ มีธรรมเนียมจ่ายค่าทริปให้กับคนขับรถด้วยนะคะ (ตามคำพึงพอใจ)

ทิ้งท้ายด้วยวีดีโอ ที่สนุกสุดตอนนั่งรถกลับเนี่ยล่ะ

บรรยากาศวันที่ได้เจอบอลลูนยักษ์

ตุรกีมีอะไรน่าสนใจเยอะค่ะ ฝากติดตามรีวิวต่อไปนะคะ

ขอบคุณที่ติดตาม ฝากไลค์ ฝากแชร์ด้วยนะคะ

KeRoDiaryy

KeRoDiaryy

 วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 19.16 น.

ความคิดเห็น