วัดร้าง ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองทางทิศตะวันออก ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ตรงข้ามกับวัดมเหยง และอยู่ปากทางถนนมุ่งหน้าไปสู่  วัดประดู่ทรงธรรม 

          วัดเก่าแก่ที่ไม่ได้ระบุปีที่สร้างวัดอย่างชัดเจน แต่หากยึดหลักฐานทางพงศาวดาร วัดกุฎีดาวน่าจะสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ในพงศาวดารเหนือบันทึกไว้ว่า พระยาธรรมิกราชพระโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างเมื่อจุลศักราช 671 ปีเถาะ เอกศก และพระมเหสีของพระองค์ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์ ขึ้นคู่กัน (mcot.net, 2565)

6ymsmirqh1i3
6vht0k8bhv9h
l7izqh0nylck
y55qvgzc1i1n

         

เริ่มต้น

           เมื่อเลี้ยวเข้ามา โบราณสถานที่แรกที่เราจะเจอทางด้านขวามือ คือตำหนักกำมะเลียนสัณนิษฐานว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยครองตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยตัวอาคารมีลักษณะเป็นตำหนักสองชั้น (แต่พื้นชั้นสองอาจเป็นไม้น่าจะผุพังหมดแล้ว) (รายการเที่ยวได้ไม่ลบหลู่, 2023)

           ตามประวัติวัดกุฎีดาวเป็นวัดเก่าแก่น่าสร้างในยุคอโยธยา (ก่อนอยุธยา) แต่มาบูรณะขึ้นใหม่ในยุคสมัยของพระเจ้าท้ายสระ โดยกรมพระราชวังบวร (พระอนุชา) ทรงรับหน้าที่ในการบูรณะวัดนี้ภายหลังจากพระเจ้าท้ายสระได้ทรงบูรณะ วัดมเหยงคณ์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันไปก่อนหน้านั้น จึงนับว่า "วัดมเหยงคณ์" เสมือน “วัดพี่” และ “วัดกุฎีดาว” ก็คือ "วัดน้อง"

5un586ho7bpv
t8ubmengkva5

พระเจดีย์มหึมา เจดีย์ประธาน

          เมื่อผ่านประตูเข้าไปด้านในพบกับสิ่งแรกที่เราจะพบคือ เจดีย์ขนาดใหญ่ ที่สันนิษฐานว่าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการสร้างครอบเจดีย์เดิมไว้ ซึ่งส่วนยอดมีการหักพังลงกองอยู่บริเวณพื้นข้าง ๆ ให้เราได้เห็นด้วย

0fjz06baoica
1tu296cea02b
91kyolvgikgz

พระวิหาร

           หากเข้ามาจากประตูตอนแรกทางด้านขวาจะเป็นพระวิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หันหลังให้พระเจดีย์องค์ใหญ่ ภายด้านในมีฐานเสามหึมา และร่องรอยงานปูนปั้นบริเวณแท่นพระประธานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ส่วนด้านนอกบริเวณหน้าพระวิหารที่คาดว่าเป็นมุขยื่นออกมา จะพบเสาขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่หนึ่งต้นที่พอจให้เราได้พอจินตนาการความยิ่งใหญ่ของสถานที่แห่งนี้ได้บ้าง

9fpb29fyttkh
ottziv27e1en
ywozujn2acxh
hkkqtl34gg66
0j8uglqowhkp
r8wddocjy1b9

ด้านซ้ายเจดีย์กลาง

          พระอุโบสถวัดกุฎีดาว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หันหลังให้พระเจดีย์ ตัวอาคารมีลักษณะตกท้องสำเภา คือตัวพระอุโบสถจะแอ่นคล้ายเรือสำเภา ซึ่งศิลปะแบบนี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่นิยมทำกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีความอ่อนช้อยงดงาม ซึ่งอีกหนึ่งจุดสังเกตุคือหน้าต่างบางบานจะถูกก่อปิดเอาไว้ บางบานจะถูกเปิดไว้ (ในสมัยก่อนน่าจะเป็นบานหน้าต่างไม้) แต่ด้านในบริเวณหน้าต่างที่ก่อปิดจะเรียบเสมอไปกับผนังอุโบสถเลย อีกทั้งบริเวณด้านในยังมีเสาสูงขนาดมหึมาที่มีความสมบูรณ์อยู่บ้างให้เราได้เห็นความสวยงามของที่แห่งนี้

649dtwomwv76
rl9hsidrf1jd
fcafbj0vp7sw
pftbqsobqexn
80mlz059ypgw
4q4ik15jf9et
หากมองออกไปจะพบกับเจดีย์กลางเมื่อสักครู่
6ehezsinqwjt

ลึกลับพิทักษ์สมบัติ

          ถัดออกมาบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของที่แห่งนี้ คือศาลปู่โสมเฝ้าทรัพย์ว่ากันว่า โดยปกติสมัยก่อนมักจะมีคนมาแอบขุดสมบัติกันตามโบราณสถานต่าง ๆ ของจังหวัดอยุธยา แต่หากใครจะมาแอบขุด ณ ที่นี้แล้วนอกจากจะไม่พบสมบัติใดๆ ว่ากันว่าคนเหล่านั้นจะพบชายร่างสูงใหญ่แต่งตัวแบบนักรบไทยโบราณ แต่ไม่มีหัวมายืนสกัดกั้น เชื่อกันว่านักรบโบราณนั้นคือ “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” ที่คอยพิทักษ์ทรัพย์สมบัติเหล่านี้เอาไว้

msqhli8f75pw
fc901ddh7c4x

           สำหรับใครที่มาท่องเที่ยวอุยธยาสถานที่แห่งนี้คือความอลังการงานสร้างที่ไม่ควรพลาดมาก ๆ และมาสถานที่สำคัญแบบนี้แล้วหละก็ มือไม้อ่นน้อมไว้แต่อย่ามือไว เพราะท่านอาจจะต้องนำสิ่งของเหล่านั้นมาคืนที่ที่เป็นของมัน...ก็เป็นได้

สวัสดีเสือซ่อนยิ้ม

ความคิดเห็น