บันทึกคนขี้เที่ยว : https://www.facebook.com/khonkheetiew/
สวัสดีครับ...ห่างหายจากหน้าจอ Read Me ไปนานพอสมควรเลยล่ะครับ แต่ครั้งนี้กลับมาแล้วไม่ไม่เสียเที่ยวแน่นอนเพราะจะพาไปเที่ยวโฮมสเตย์บ้านสนวนนอก อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ "พอดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกิน" อ๊ะอ๊ะ แล้วทำไมผมถึงไปได้ล่ะ มีคนชวนผมไปล่ะสิฮะ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ชวนผมและเพื่อนๆอีหหลายคนไปเที่ยวและนอนโฮมสเตย์บ้านสนวนนอก ด้วยความที่ผมก็ไม่ค่อยได้ไปเที่ยวอีสานใต้มากนัก ก็ตกปากรับคำไปเลย ง่ายๆไม่เรื่องเยอะ "ท่านผอ. บอกกับพวกเราว่า อยากให้มาบุรีรัมย์แล้วคิดถึงที่นี่ "บ้านสนวนนอก" ไม่รอช้าตามผมไปดูวถีชุมชนที่บ้านสนวนนอกกันดีกว่า ผมขอตั้ง Sub Topic ไว้ว่า นอนโฮมสเตย์/ทอผ้าไหม/ดิ่มด่ำวัฒนธรรมอีสานใต้ละกันครับ
เป็น 3 วลีสั้นๆ แต่ล้ำลึกและน่าสนใจมากเลยที่เดียวเชียวแหละ
...ทำความรู้จักบ้านสนวนนอกกันพอสมควรเนอะ...
เส้นทางการเดินทาง
- "สนวนนอก" ตั้งอยู่บนทางหลวงชนบท ถนนสายห้วยราช - กระสัง อยู่ห่างจากอำเภอห้วยราช 2 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ 12 กิโลเมตร
- สามารถเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง/รถไฟจากจังหวัดบุรีรัมย์ ได้โดยสะดวก
แหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตผลิตไหม
"บ้านสนวนนอก" มีมัคคุเทศก์ของหมู่บ้านอำนวยความสะดวกนำนักท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตผลิตภัณฑ์ไหมตั้งแต่เริ่มแรก ดังนี้
- การปลุกหม่อน-เก็บใบหม่อน ชมและเรียนรู้การปลูกหม่อน/ชำต้นหม่อน/เก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหม
- การเลี้ยงไหม สาวไหม ชมและเรียนรู้การเลี้ยงไหม/ให้อาหารตัวไหม/สาวไหมจากตัวดักแด้
"บ้านสนวนนอก" มีโฮมเสตย์สะอาดน่าอยู่ให้พักไม่น้อยกว่า 15 หลัง ค่าที่พักรวมอาหารเช้าราคาย่อมเยาว์ หรืออาจพักรีสอร์ททันสมัยในหมู่บ้านและในอำเภอรองรับได้ไม่น้อยกว่า 100 คน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ผ้าไหมลายเอกลักษณ์ของท้องถิ่นแต่โบราณได้แก่ ผ้าไหมหางกระรอก (กระนีว) ผ้าสโร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าไหมพ้นเรียบ
- ผ้าคลุมไหล่ยกดอกแก้ว ดอกพิกุล เป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศ
- ผ้าไหมแปรรูป เช่น เสื้อ กระเป๋าอเนกประสงค์ กระเป๋าดินสอ พวงกุลแจ ตุ๊กตาผ้า ฯลฯ
- อาหารอร่อยประจำถิ่น ได้แก่ ข้าวหลาม ดักแด้ คั่วสมุนไพร กระยาสารท
- เมนูเด็ด ได้แก่ แกงกล้วย บวดบุก ส้มตำดักแด้ ขนมจีนน้ำยา
ฤดูกาลท่องเทียว
- เดือน 5 ของทุกปี ( เดือนเมษายน ) "เทศกาลวันสงกรานต์" ซึ่งจะเชื่อมโยงกับงานประจำปีของงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งของจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาเดียวกันและบนเส้นทางหลวงหมายเลข 24 เช่นเดียวกัน
- เดือน 10 ของทุกปี ( เดือนกันยายน ) เทศกาล "บุญโดนตา" เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้และเป็นการรวมญาติพี่น้องในตระกูล
- การทอผ้าไหม ชมและเรียนรู้การทอผ้าไหม
- การแปรรูปและสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าไหม ชมและเรียนรู้การแปรรูปผ้าไหม การเขียนลาย พิมพ์ลายต่างๆ บนผืนผ้าไหม
ข้อมูลดีๆจาก http://buriram.bru.ac.th/index.php/en/burirumdata/otop/otopvillage/38-sanuannok
เข้าเรื่องดีกว่ามะ....ที่ผ่านมาแค่บทนำนะจ๊ะ... 555
นอนโฮมสเตย์บ้านสนวนนอกกันดีกว่า
พอเรามาถึงบ้านสวนวนกับทีมงานสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากนั่งรถบัสมาจากกทม. จริงก็ได้แวะเที่ยวแวะทานหลายๆที่อยู่แต่ยังไม่พูดถึงเด้อ จะพามาเข้าหมู่บ้านกันเลยย เข้าหมู่บ้านมาปุ๊บก็นั่งรถกระสวยอวกาศ ที่ชาวบ้านต้อนรับพวกเราไว้อย่างดีงาม และก็ต้องรวมตัวกันก่อนเด้อ เพราะทุกที่ก็ย่อมมีกติกามารยาท รวมถึงก็ต้องรู้ก่อนแหละว่า "บ้านสวนนวนนอก" มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
นี่ล่ะฮะบ้านของแม่นิด แห่งบ้านสนวนนอกที่เราต้องนอนคืนนี้ บรรยากาศอบอุ่น ทุกบ้านจะมีอุปกรณ์ทอผ้าไหม ด้วยนะเออ เพื่อนผมถามว่ามีตัวดักแด้ให้กินมั้ย 555 แต่ก็ได้กินจริงๆนะ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังไปเรื่อยๆ เพลินๆ
ก็ได้กินของอร่อยๆแบบนี้แหละ ส่วนบ้านอื่นก็จะได้กินอะไรอย่างอื่นไป 555 (พูดทำไม) โอเคแหละตามนี้
นี่นี่นี่....แล้วบ้านสนวนบอก นอกจากที่เราจะไปนอนโฮมสเตย์กะชาวบ้าน เค้ามีอะไรอวดเราบ้างล่ะ
ในวันที่เราไป...และในอนาคตหมู่บ้านสนวนนอกจะมีตลาดนัดท้องถิ่นกลางหมู่บ้านล่ะเออ แล้วมีอะไรบ้างล่ะฮะ ไปดูกันดีกว่า
...บรรยากาศภายในตลาดนัดจำลองกลางหมู่บ้าน
"พาไปทอผ้าไหม...ที่บ้านสนวนนอก"
"การเลี้ยงไหมนอกจากจะเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว ยังเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่และดีงามของชาติไทยที่สืบต่อกันมานานอีกด้วย ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การพัฒนาการเลี้ยงไหมก็ต้องดำเนินต่อไป" พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542
ตามที่ผมบอกไปแต่แรกว่า"บ้านสนวนนอก" เขาเด่นดังในเรื่องของการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้ากันด้วยนะผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นคือ ผ้าไหมหางกระรอกคู่ ในการไปครั้งนี้ชาวบ้านก็ยังให้พวกเราได้ดูวิธีการสาวไหมและให้พวกเราทดลองทำกันด้วยนะครับ แต่ประเด็นที่มากกว่านั้นคือได้กิน "ดักแด้" หรือ "หนอนไหม" อร่อยมากก 5555 (เกี่ยวมั้ยวะ) ถือเป็นผลพลอยได้ นอกจากเราจะได้มาเที่ยวบุรีรัมย์แล้วยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมผ้าไหมของบ้านสนวนนอกด้วยน้าา
1. ต้มน้ำให้ร้อนประมาณ 70-80 C แล้วใส่รังไหมลงไปประมาณ 40-50 รังเพื่อให้ความร้อนจากน้ำช่วยละลาย Serricin (โปรตีน) ที่ยึดเส้นไหม
2. ใช้ไม่พายเล็กแกว่งตรงกลางเป็นแฉก คนรังไหมกดรังไหมให้จมน้ำเสียก่อน
3. เมื่อรังไหมลอยขึ้นจึงค่อย ๆ ตะล่อมให้รวมกันแล้วต่อย ๆ ดึงเส้นใยไหมออกมาจะได้เส้นใยไหมซึ่งมีขนาดเล็กมากรวมเส้นใยไหมหลาย ๆ เส้นรวมกัน
4. ดึงเส้นไหม โดยให้เส้นไหมลอดออกมาตามแฉกไม้ ซึ่งจะทำให้ได้เส้นไหมที่สม่ำเสมอและรังไหมไม่ไต่ตามมากับเส้นไหม เส้นไหมที่สาวได้จะผ่านไม้หีบขึ้นไปร้อยกันรอกที่แขวนหรือพวงสาวที่ยึดติดกับปากหม้อ แล้วดึงเส้นไหมใส่กระบุง
6. รังไหมจะถูกสาวจนหมดรังเหลือดักแด้จมลงก้นหม้อแล้วจึงตักดักแด้ออก
"ผ้าหางกระรอก" เป็นผ้าทอโบราณที่มีลักษณะลวดลายเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความประณีตและงดงาม โดยใช้เทคนิคการทอผ้า
ที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าไทคือ "การควบเส้น" หรือคนไทยเรียกว่า "ผ้าหางกระรอก"
ผ้าหางกระรอกถือเป็นผ้าโบราณที่พบมากในแถบอีสานใต้คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และพบในภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช ตรัง “โฮลเปราะห์" และสตรีใช้นุ่งทอเปลงเป็นลายริ้ว เรียกว่า “โฮลแสร็ย"
ชื่อที่เรียกว่า "ผ้าหางกระรอก" อาจเป็นเพราะลวดลายของผ้าทอที่มีลักษณะเนื้อผ้าที่มีความเหลือบสี เห็นเป็นลายเส้นเล็กๆ ในตัว ซึ่งมองดูแล้วคล้ายกับขนของหางกระรอก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกดังกล่าว นอกจากนี้ ชื่อเรียกผ้าชนิดนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ตามรูปลักษณ์ที่มุ่งเน้นเช่น บางพื้นที่เรียกว่า ผ้าวา ผ้ายาว ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะความยาวของผืนผ้าที่ยาวกว่าผ้าถุงเท่าตัว บางพื้นที่เรียกว่า ผ้าควบ เพราะถือเอาวิธีการทอแบบตีเกลียวควบมาใช้เป็นชื่อเรียก แต่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่าผ้าหางกระรอกมากกว่า
เป็นไงล่ะฮะบอกแล้วว่า ผ้าไหมที่นี่ "งดงาม" ตามที่เค้าร่ำรลือกันจริงๆนะ
"ดื่มด่ำวัฒนธรรมอีสานใต้"
มาถึงหัวข้อสุดท้ายที่ผมโปรยไว้แต่แรกแล้วฮะว่า การมาอยู่โฮมสเตย์ทจุดสำคัญที่สุดคือเราได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามอะไรบ้าง นี่คือหนึ่งอย่างที่ผมประทับใจมากๆ เมื่อมาเยือน การทานอาหารเย็นในแบบฉบับของชาวบ้านสนวนนอก เมื่อมีแขกมาเยือนก็คือ การจัดขันโตก (ไม่ได้มีเฉพาะภาคเหนือนะเออ) พร้อมกับฟังมโหรีสำเนียงเขมรหรือพวกเราจะได้ยินกันบ่อยๆว่า "กันตรึม" ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาฟังต้นฉบับ ออริจินัล เย้....
เรือมตรด คือรำตรุษสงกรานต์ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้มาตั้งแต่โบราณ มีความเชื่อเป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานในวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยสมัยก่อนที่ใช้เดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่
การเล่นเรือมตรด นิยมเล่นเฉพาะเดือนเมษายนของทุกปีเท่านั้น เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการตรากตำทำงานหนักมาเป็นเวลานาน การเรือมตรดนี้จะร้องรำไปตามหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน เมื่อถึงบ้านใครเป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านจะออกมาต้อนรับและมอบจตุปัจจัย เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้แก่ผู้เล่นเรือมตรด เพื่อรวบรวมนำไปถวายวัดต่อไป
การเล่นเรือมตรดมีผู้ร้องรำเพลงเป็นต้นบทร้องนำหรือเรียกว่าพ่อเพลงแม่เพลง คนอื่นๆ เป็นผู้ร้องตามหรือเรียกว่าลูกคู่ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกันตรึม 2 ใบ หรือมากกว่านั้น ฉิ่ง ฉาบ ซอ จอกกร็อง ฯลฯ ทั้งที่ทุกครั้งที่มีการแสดงจะต้องมีกลองกันตรึมประกอบเสมอ
เนื้อร้องเรือมตรด เริ่มจากบทขออนุญาตเจ้าของบ้านต่อด้วยบทอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรถึงการขอรับบริจาคบทเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ตอนท้ายเป็นบทให้ศีลให้พรเจ้าของบ้านและบทร้องลาแล้วจึงย้ายคณะเรือมตรดไปยังบ้านอื่นต่อไป
ตัวผมเองไม่เคยได้ทำมากนัก...
หากนักท่องเที่ยวท่านใดต้องการเดินทางไปเที่ยวบ้านสนนวนนอก หรือไปเที่ยวบุรีรัมย์ ผมแนะนำให้สอบถาม
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เลยฮะ
http://www.mots.go.th/province_new/ewt/buriram/ewt_news.php?nid=162
โทร.0-446-66528 Fax.0-4466-6527
E-mail : [email protected]
https://www.facebook.com/buriram.mots
Kor-eea
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 14.25 น.