ตัวเธอ : "เสาร์ - อาทิตย์นี้แกว่างไหม อยากจะชวนไปเที่ยวที่บ้าน"

นี่เราเอง : "ว่างนะ ว่างมั้ง ว่างแหละ ไปที่ไหนๆ"
ตัวเธอ : "บ้านหนองส่าน"
นี่เราเอง : "ที่ไหนเนี่ยยย"

บ้านหนองส่าน : ชุมชนเล็กๆ ในอำเภอภูพาน เมืองสกลฯ ตั้งอยู่ใกล้กับผืนป่าอุทยานแห่งชาติภูพาน ชาวบ้านมีอาชีพหลักเป็นการทำนา ทำผ้าย้อมครามเป็นอาชีพเสริม ภาพจำของภาคอิสาน คือพื้นที่แห้งแล้งดินแตกระแหง ผู้คนลำบากลำบนดูไม่มีความสุข กระทั่ง ชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองส่าน Ban Nongsan มาชวนไปเยี่ยมบ้าน ภาพจำนั้นจึงเปลี่ยนไป ไปช่วงฤดูฝนเลยแกร บ้านหนองส่านภาพแรก เขียวมากกกกเขียวชะอิ่มเลยทีเดียว อากาศดี๊ดี ผู้คนดูมีความสุขมาก แล้วความสุขที่เกิดกับเราจะไปไหนเสีย

ฝากแฟนเพจ https://www.facebook.com/whenigoout/ ด้วยนะครับบบ


แรกพบสบตาก็เจอกับ อาคารยกพื้นสูง ไม่มีทางขึ้นให้เห็น
ผนังดูแปลกตา ใช้เก็บข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยว ทางภาคอิสาน เรียก 'เล้าข้าว'

เจ้าเตี๊ยออกมาตอนรับ กระดิกหางดิ๊กๆดุ๊กๆ เผลอแปปเดียวแบตหมด ต้องนอนหมอบลงชาร์ตเเบตอีกรอบ



เข้าบ้านเจ้าเราก็รีบเข้าครัว 5555 อันเรานี้รักบ้านที่ทำด้วยไม้มากมาย ระหว่างแผ่นไม้ผนังมันสามารถเสียบ มีดแลฝาหม้อ ได้แบบนี้ งานฟังชั่นก์มาเต็ม


คุณแม่แลคณะ ต้อนรับเราด้วย 'ข้าวเปียกเส้น' ซดเข้าไปคำแรก หูยยยยยยย ร้อน!!!


อิ่มแล้วเริ่มออกสำรวจรอบบ้าน เจออันนี้น่าจะเป็นโอ่งนะ เเต่เขาคว่ำทำไมอ่ะ เรางง ถ้าไม่งงเธอบอกเราที


ชุดเคลื่อนที่เร็ว จัดเป็นชุด ชุดละ 4-6 คน ใช้ 'รถอีแต๊ก' เป็นพาหนะเดินทางไปนา


นี่ระหว่างทาง


คุณลุงกำลังไถนา ใช้ 'รถไถ' หน้าตาแบบเดียวกันกับ 'รถอีแต๊ก' ที่เรากำลังนั่งอยู่เลย


มันสำปะหลัง กับ หญ้าที่วัวชอบกิน


ตอนเห็นภาพนี้ เราอมยิ้มใหญ่ๆ แล้วสูดหายใจเข้าไปเต็มปอด


อีแต๊กเข้ามาเกยถึงที่เลย พร้อมเริ่มกิจกรรม 'เรียนรู้วิถีชาวนา'


เริ่มด้วยการปลูก 'ต้นกล้าข้าว' แต่คุณป้าปลูกไว้แล้ว เราเลยข้ามมาถอน 'ต้นกล้าข้าว'


ถอนกล้าเสร็จเอาตอกมันรวม พร้อมสำหรับการปักดำ


มัดเสร็จขอถ่ายรูปคู่กล้า ป้าบอกถอนเท่าไรก็ให้ดำเท่านั้น รีบส่งกล้ามัดให้คืนเพื่อนด่วนเลย


เริ่มปักดำ รวมกล้าครั้งละ 2-3 ต้น ใช้นิ้วหัวแม่มือปักนำต้นกล้า ใช้นิ้วชี้กวาดดินกลบ ปักเรียงกับเป้นแถว ห่างกันประมาณฟุตนึง


ต้นกล้าใบยาว ตัดออกนิดนึงก่อนปักดำ


หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน


เสร็จจากนาเดินเก็บผักริมรั้ว จัดเตรียมมื้อเที่ยงแบบอิสานแท้ๆ


ส้มตำยำหน่อไม้ต้องมีมา


ปลาย่างเกลือ เมนูนี้บอกเลยทีเด็ด!!


ครบองค์มื้อเที่ยง โอ๊ย แซ่บบบบบบบบบบบบบบบบ


ป้าบอกว่าดีใจที่เรา 'มาเยี่ยมนา'
ป้าใช้คำว่า 'เยี่ยมนา' ทำให้รู้สึกอบอุ่นขึ้นมา เปลี่ยนความรุ้สึกจากการท่องเที่ยวเป็นความผูกพันธ์แบบครอบครัว ^^


ทำไมเราถึงมีภาพจำว่า อิสานต้องแห้งแล้งดินแตกระแหง


จมปลักรักเธอ แต่ใยเธอมองเหม่อไม่สบตา ชริ!


หน้าฝนคนทำนา


ดูข้างหน้านู้นสิ
เห็นแล้วสดชื่น
มีความเขียวชะอิ่มดีจริงๆ


ตอนเด็กๆ เคยวาดรูปบ้านที่อยู่กลางทุ่งนา แล้วมีฟางข้าวกองๆ แบบนี้ไหม


นึกถึงตอนที่ทองกวาวนั่งกินข้าวเที่ยงกับพี่คร้าว ใต้ต้นไม้ริมคันนา


พาเดินขึ้นเขา หาของป่าสำหรับมื้อเย็น


'ดอกกระเจียว' กำลังจะเริ่มบาน


บนเขาภูพาน มีคุณป้าเลี้ยงควายอยู่ฝูงนึง ป้าบอกว่ามันเป็นควายลูกผสม ควายนากับควายป่า


บนเขาภูพาน มีคุณป้าเลี้ยงควายอยู่ฝูงนึง ป้าบอกว่ามันเป็นควายลูกผสม ควายนากับควายป่า


ตกเย็นก่อไฟหุงข้าวปิ้งปลาตกเย็นก่อไฟหุงข้าวปิ้งปลา


ครอบครัวนี้มารอส่ง ตัวขวาสูงจากพื้นถึงเขา ประมาณจากสายตาเกือบสองเมตรเลยละ


คุณลุงเดินหิ้วสิ่งนี้มา บอกว่าเจอตรงคันนา


คันนี้คันเดิม พาเรากลับบ้าน


ไม่ได้ใช้ยากันยุงแบบขดมานานมากแล้ว เจอกันคราวนี้ทำให้คิดถึงตอนเด็ก


ที่หลับที่นอน ก่อนมาที่นี่กลัวจะร้อน ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์กันหนาวมาเลย ตกดึกแม่เจ้าโว๊ยยย หนาวสั่นดิ๊กๆ เลย ดีนะที่นี่เขามีผ้าห่มหนาๆ ให้เสร็จสรรพ แสงส่องผ่านม่านมุ้ง ลมพัดมุ้งไหวๆ ภาพวัยเด็กลอยมาอีกแล้วแกร


'เล้าข้าว' มีอยู่ที่หลังคาเรือน บ้านไหนมีนาบ้านนั้นมีเล้าข้าว


แอบเข้าครัว หอมกลิ่นไม้ฟืน


มื้อเช้าแบบนี้ เอาจริงจัดเต็มทุกมื้อ อิ่มท้องแล้วออกเดินเล่นรอบ บ้านหนองส่าน


เด็กน้อยในอ่างน้ำร้อนใต้ถุนบ้าน


วันนี้วันอาทิตย์ คุณยายไปทำบุญที่วัด ขากลับคุณยายโปรยยิ้มหวานมาเเต่ไกลเลย


คุณยายน่ารักมากเลย ขอถ่ายรูปยาย ยายถอดรองเท้ารอเลย


คุณยายน่ารักมากเลย ขอถ่ายรูปยาย ยายถอดรองเท้ารอเลย


คุณลุงกับโรงสีข้าวของชุมชน


^^


ฟินกว่าอากาศเย็นๆ ก็ท่านอนของนางเนี่ยละ


ตัวน้อยนุ่งผ้าซิ่นเหมือนแม่เลย
หลังจากถ่ายภาพนี้สิบวินาที ร้องไห้โฮเลยจ้าาาาา


กลับถึงบ้าน คุณป้าย่ายายเตรียมจัด 'บายศรีสู่ขวัญ' ต้อนรับผู้มาเยือน


ข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือ ให้ย่ายายผูกขวัญ


ตบท้ายด้วยเรียนรู้กระบวนการทำผ้าทอมือย้อมคราม
เมืองสกล


คุณป้าสาธิตกระบวนการแยกเมล็ดและเส้นใยฝ้ายออกจากกัน เรียกว่า ‘การอิ้วฝ้าย’ โดยใช้เครื่องอิ้วฝ้าย หน้าตาเหมือนเครื่องบดปลาหมึกเลย สอดฝ้ายเข้าไปในช่องขนาดเล็กกว่าเมล็ดฝ้าย แล้วหมุนให้เส้นใยฝ้ายลอดผ่านไปอีกฝั่งนึง แต่เมล็ดจะถูกกักไว้ไม่ให้ผ่านไปกับเส้นใยฝ้าย เป็นเครื่องมือที่ใช้แยกเมล็ดฝ้ายได้สมบูรณ์แบบเลยจริง


อันนี้เป็นการทำให้เส้นใยฝ้ายทีแยกกันเป็นก้อนๆ กลายเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกว่า ‘ดีดฝ้าย’ ไม้อันเล็กๆ จับพอถนัดมือ ดีดเส้นเอ็นที่คันธนู ให้โดนเส้นฝ้าย จะทำให้เส้นฝ้ายฟุ้งฟูไม่จับตัวเป็นก้อน คล้ายๆ กับตอนที่เราตีไข่ให้เข้ากันก่อนจะทำไข่เจียวเลย


คุณป้านั่งทอผ้า เส้นด้ายยาวๆ ที่เห็นเป็นเส้นนอน แล้วจะมีกระสวยนำหลอดด้ายเล็กๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นนอน ทอสลับกันกับเส้นตั้ง


เส้นด้ายในหลอดเล็กๆ สำหรับเส้นนอน


แกรดูลายผ้านี่สิ...


เสร็จสรรพการสาธิตกระบวนการทอผ้า ก็มีกิจกรรมให้เราลองย้อมเองด้วยนะ

เลือกเอาผ้าทอมือได้แล้วก็มาย้อมกัน คุณป้าบอกว่า ยิ่งย้อมซ้ำหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าสีเข้ม จะให้เข้มขึ้นอีกจะต้องบิดผ้าให้น้ำครามแทรกซึมเข้าไปในตัวผ้ามากๆ ถ้าอยากจะให้ได้สีที่เข้มขึ้นมากขึ้นอีก ก็ต้องย้อมซ้ำอีกหลายหม้อ


ย้อมเสร็จเป็นที่พอใจแล้ว ก็เอาผ้าไปล้างเอาน้ำครามออก ย้อมด้วยครามธรรมชาติ ล้างในแหล่งน้ำธรรมชาติได้เลย


มัดเองย้อมเอง ได้ลายของตัวเอง มีชิ้นเดียวในโลก เย่!


เวลา 2 วัน 1 คืน ใน 'ชุมชนบ้านหนองส่าน' ผ่านไปเร็วมาก ได้รับความอบอุ่นเหมือนเราเป็นลูกหลานกลับมาบ้าน
ก่อนกลับนั่งคุยกับคุณยาย บอกคุณยายว่าจะกลับมาเยี่ยมคุณยายตอบกลับมาว่า
"เดือนก่อนมีคนมาเที่ยวก็บอกว่าจะมาเยี่ยม ยังไม่เห็นกลับมาเลย" แอบอมยิ้มแล้วตอบยายในใจ "มีโอกาสจะกลับมาเยี่ยมยายอีกแน่นอน"




ความคิดเห็น