เรียนรู้วิถีชุมชน และวัตนธรรม ณ บ้านท่องเที่ยวไหม ชุมชนบ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

ได้ยินประโยคนี้ ก็คงเป็นที่รู้จัก ของคำขวัญประจำจังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ เส้นทางที่เป็นทางออกสู่ภาคตะวันออก เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่น และเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น

I am Devil ยัยตัวร้าย เคยมาเที่ยวบุรีรัมย์ 3 ครั้ง แต่ไม่เคยที่จะไปเที่ยวแหล่งชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์ และไม่เคยไปเยือนแหล่งทอผ้าไหม ผ้าพื้นเมืองประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เลยสักครั้ง

ครั้งนี้ความตั้งใจที่จะมาเยือนจังหวัดบุรีรัมย์ คือ การท่องเที่ยงสัมผัสวิถีชุมชน วัฒนธรรม และการทอผ้าไหม ของจังหวัดบุรีรัมย์

การวางแผนในทริปนี้ เราจะเรียนรู้การทอผ้าไหม ที่ใหญ่ที่สุด และสวยที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ที่อำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์

เราจะพาไปสัมผัสวิถีชุมชน วัฒนธรรม และการทอผ้าไหม ของทั้ง 2 แหล่ง ได้แก่

การเดินทางไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเดินทางโดยรถยนต์, รถโดยสารประจำทาง, รถไฟ และเครื่องบิน ซึ่ง I am Devil ยัยตัวร้าย เลือกเดินทางโดยเครื่องบิน

เราเดินทางไป – กลับ บุรีรัมย์ ด้วยสายการบินเแอร์เอเชีย ไม่อยากมาต่อแถวเช็คอิน สามารถทำการเช็คอินล่วงหน้า ผ่านเว็บไซต์ , Mobile Application หรือ มาทำการเช็คอินที่ตู้เช็คอินอัตโนมัติ ที่สนามบินดอนเมืองได้เลยค่ะ

เราใช้เวลาเดินทาง 55 นาที ก็มาถึงท่าอากาศยานบุรีรัมย์

เราไม่มีโหลดสัมภาระ เดินออกมายังภายในอาคารผู้โดยสารขาเข้า ซึ่งเราจะพบปราสาทพนมรุ้งจำลอง ตั้งอยู่ภายในอาคารท่าอากาศยานบุรีรัมย์

I am Devil ยัยตัวร้าย ศึกษาเส้นทางที่เราจะไปสัมผัสวิถีชุมชน และวัฒนธรรม ของอำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ การเดินทางที่สะดวกที่สุด คือการ เช่ารถ ดีที่สุด

เราเลือกใช้บริการรถเช่าเจ้าประจำ นั่นคือ AVIS สามารถจองรถผ่านเว็บไซต์ www.avisthailand.com หรือผ่าน Call Center ที่เบอร์โทร 02-251-1131 -2 อย่าลืมนำบัตรประชาชน และใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อทำสัญญาเช่ารถ และบัตรเครดิต เพื่อกันวงเงิน

AVIS สาขาบุรีรัมย์ เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนมีนาคม 2559 รถยังใหม่มาก เราได้ Toyata Artis 1.8 Auto มาเป็นเพื่อนร่วมทริปในครั้งนี้

ก่อนจะเซ็นต์รับรถเช่า ควรจะตรวจสอบให้รอบคัน ว่ามีรอยเฉี่ยวชน ตรงไหนบ้าง

แนะนำให้ซื้อประกันชั้น 1 ไว้ดีกว่า ราคาเพียงวันละ 321 บาท (ราคานี้รวม Vat 7%) ไร้ความกังวัลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ตรวจสอบขีดนำมันว่าเต็มถังหรือไม่ เพราะเวลาเราคืนรถเราต้องเติมน้ำมันเต็มถังคืนให้กับทาง AVIS

เรากลัวหลง จึงเช่า GPS ด้วย ราคาเช่าวันละ 321 บาท (ราคานี้รวม Vat 7%) GPS ของ Garmin รองรับ ภาษาไทยด้วยนะ

ตรวจสอบรถเรียบร้อย เซ็นต์เอกสารรับรถ พร้อมเดินทาง

คนก็พร้อม คาดเข็มขัดนิรภัย ใช้สมอลทอร์คในการคุยโทรศัพท์ ปลอดภัยในการขับรถ

เราจะเดินทางไปยัง อำเภอพุทไธสง และ อำเภอนาโพธิ์ ได้อย่างไร

  • จากท่าอากาศยานบุรีรัมย์ วิ่งตามทางหลวงหมายเลข AH121 มุ่งหน้าสู่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ถึงสี่แยก พยัคฆภูมิพิสัย เลี้ยวซ้ายไปยังทางหลวงหมายเลข 202 ไปยังอำเภอพุทไธสง บ้านท่องเที่ยวไหม ชุมชนบ้านหัวสะพาน จะอยู่ถึงก่อนอำเภอพุทไธสง 5 กิโลเมตร อยู่ทางด้านขวามือ ทางซ้ายมือให้สังเกต หน่วยบริการทางหลวง ทางเข้าจะอยู่ตรงกันข้าม
  • จากบ้านท่องเที่ยวไหม ชุมชนบ้านหัวสะพาน ขับไปยังทางหลวงหมายเลข 202 เส้นทางอำเภอพุทไธสง จะเจอสี่แยก ขิงไค ให้เลี้ยวขวาไปยังทางหลวงหมายเลข 2332 มุ่งสู่อำเภอนาโพธิ์
  • จากตัวเมืองบุรีรัมย์ วิ่งตามทางหลวงหมายเลข 2074 มุ่งหน้าไปยังอำเภอพุทไธสง เจอสี่แยก ขิงไค ถ้าจะไปอำเภอนาโพธิ์ ให้ขับตรงไป และถ้าจะไปบ้านท่องเที่ยวไหม ชุมชนหัวสะพาน ให้เลี้ยวขวา ทางเข้าจะอยู่ซ้ายมือ

เสิร์ชจาก google map ในการนำทางไปก็ได้ค่ะ

https://drive.google.com/open?id=1HeYPuKlnmEBbwi0rfBkRvUPGktg&usp=sharing

I am Devil ยัยตัวร้าย เลือกเส้นทาง จากท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ไปตามทางหลวงหมายเลข AH121 มุ่งตรงไปยังอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เจอสี่แยกพยัคฆภูมิพิสัย เลี้ยวซ้าย ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ก่อนถึงอำเภอพุทไธสง 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง สังเกตทางซ้ายมือจะเป็นหน่วยบริการทางหลวง ซึ่งอยู่ตรงข้ามทางเข้า บ้านท่องเที่ยวไหม ชุมชนหัวสะพาน

ทางเข้าจะอยู่ใกล้โรงเรียนวัดเทพรังสรรค์ บ้านหัวสะพาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

ขับเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร จะเจอบ้านหัวสะพานหมู่ที่ 3 ทางขวามือ

บ้านหัวสะพานหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

เป็นหมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2557 และเป็นฐาน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสู่โอทอป (OTOP)

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณวันทนา ผ้าไทย

เบอร์โทร : 089-579-8083

ID Line : 089-579-8083

FB : ผ้าไหมมัดหมี่ บ้านหัวสะพาน

ชุมชนบ้านหัวสะพาน ตั้งอยู่ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ระดับพออยู่พอกิน ปี 2552 และหมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2557

ชุมชนบ้านหัวสะพาน จะแบ่งเป็นฐาน ทั้งหมด 5 ฐาน ตามหมู่ ดังนี้

  • บ้านน้อย หมู่ที่ 3 ต.บ้านยาง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ฐาน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
  • บ้านหัวสะพาน หมู่ที่ 5 ต.บ้านยาง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ฐาน สาวไหม
  • บ้านหัวสะพาน หมู่ที่ 13 ต.บ้านยาง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ฐาน ทอผ้าไหม
  • บ้านหัวสะพานกลาง หมู่ที่ 14 ต.บ้านยาง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ฐาน ฟอกย้อมไหม
  • บ้านหัวสะพานใหม่ หมู่ที่ 18 ต.บ้านยาง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ฐานแปรรูป

อาชีพหลักของคนในชุมชน จะทำนา ส่วนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จะเป็นอาชีพรอง ในอดีตเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอผ้า เป็นวิถีชีวิตของคนบ้านหัวสะพาน เพราะเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมายาวนาน ผ้าไหมเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับคนในชุมชนหัวสะพาน ตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะชาวหัวสะพาน อำเภอพุทไธสง ใช้ผ้าไหม และเส้นไหม ในพิธีกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

ปัจจุบันผ้าไหมบ้านหัวสะพานได้รับการพัฒนาภูมิปัญญา จากความตั้งใจของกลุ่มฯ ที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ฯ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2553 โดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (บุรีรัมย์) ร่วมกับสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ สหกรณ์อำเภอพุทไธสง พร้อมด้วยสมาชิกผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านหัวสะพาน ภายใต้การสนับสนุนของกรมหม่อนไหม เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการปลูกหม่อนการเลี้ยงไหมวัยอ่อน การเลี้ยงไหมวัยแก่ และการผลิตเส้นไหมให้ได้ตามมาตรฐานเส้นไหมหัตถกรรมพร้อมการบริหารจัดการดักแด้ไหม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมของเกษตรกรในบริเวณแถบนี้ ตลอดจนถ่ายทอดปัญญาดังกล่าวต่อกลุ่มชนรุ่นหลังต่อไป

ชาวบ้านหัวสะพาน หมู่ 3, 5, 13, 14 และ 18 ตำบลบ้านยาง มีวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ในเรื่องการทอผ้าไหม เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมทุกครัวเรือน ครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนกระทั่งทอผ้าเป็นผืนผ้า จนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

ชาวบ้านหัวสะพานจะมีการปลูกหม่อนแทบทุกครัวเรือน

I am Devil ยัยตัวร้าย ไม่ได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้านหัวสะพานทุกหมู่ ไปเฉพาะหมู่ที่ 3 เท่านั้น

คุณป้าท่านนี้ จะพา I am Devil ยัยตัวร้าย ไปดูวิธีการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม คัดแยกรังไหมใส่จ่อ สาวรังไหม และวิธีการทอผ้า ซึ่งคุณวันทนี ติดภาระกิจไม่สามารถนำชมได้ด้วยตนเอง

ห้องเลี้ยงไหม ชาวบ้านหัวสะพานมักทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และคลุมด้วยมุ้งไนล่อน เพื่อป้องกันแมลง

การเลี้ยงไหม จะเลี้ยงไว้ในกระด้ง หรือกระบะ เป็นวิธีที่ปฏิบัติมาดั้งเดิม

ภายในห้องเลี้ยงใหม่ จะมีชั้นวางกระด้ง หรือกระบะ ซึ่งชั้นวางกระด้งทำมาจากไม้ ต่อเป็นชั้นๆ

ไหม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ วงจรชีวิตไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 9-10 วัน กลายเป็นหนอนไหม ในระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนเป็นอาหาร และนอนประมาณ 4-5 ช่วง ใช้เวลาประมาณ 22-26 วัน พอหนอนไหมแก่ หรือสุกจะชักใยทำรังหุ้มตัวเอง ตัวไหมจะลอกคราบเป็นตัวดักแด้อยู่ในรัง ช่วงเป็นรังไหมใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน จากนั้นดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อ ผีเสื้อไหมจะใช้น้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายใยไหม และเจาะรังไหมออกมาผสมพันธุ์ และวางไข่ โดยจะมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ประมาณ 2-3 วัน ก็จะตาย

ตัวหนอนไหม ชาวบ้านจะได้รับมาจาก กรมหม่อนไหม

ไหมที่เราเห็น คือ ไหมวัยแก่ หมายถึง การเลี้ยงไหมนับตั้งแต่หนอนไหมตื่นจากนอนวัย 3 จนถึงไหมสุกทำรัง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 11 – 13 วัน

การให้ใบหม่อนสามารถเก็บใบหม่อนได้ทั้งช่วงเช้า และบ่ายที่แสงแดดไม่ร้อนจัดมาก และเก็บใบหม่อนที่เจริญสมบูรณ์เต็มที่ และมีคุณภาพดี เป็นใบสีเขียวที่สังเคราะห์แสงได้เต็มที่ และอยู่ในช่วงกลางของกิ่งลงมา

เราได้ดูวิธีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งเป็นของชาวบ้านหมู่ที่ 3 คุณป้าจะพาเราไปดูวิธีการขั้นตอนต่อไปภายในหมู่บ้านกันค่ะ

เมื่อหนอนไหมที่กินใบหม่อนเต็มที่แล้ว ใช้เวลาประมาณ 5 – 6 วัน ไหมก็จะเริ่มสุก หยุดกินใบหม่อน ระยะนี้หนอนไหมพร้อมที่จะพ่นใยไหมออกมาเพื่อห่อหุ้มตัว เรียกว่า ไหมทำรัง

หากเป็นไหมไทย จะสังเกตได้ง่าย คือ ลำตัวหนอนไหมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใส เพราะภายในของตัวหมอนไหมส่วนที่เป็น Silk – grand ก็จะเต็มไปด้วยสารพ่นใยไหม

จ่อเลี้ยงไหม จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร จะวางเป็นชั้นๆ คลุมด้วยมุ้งไนล่อน เพื่อป้องกันแมลง

การเก็บไหมสุกเข้าจ่อ จะต้องเก็บไหมสุกเข้าจ่อก่อนที่ไหมสุกจะพ่นเส้นใยทำรัง เพราะจะกระทบต่อผลผลิตรังไหม

การเก็บเกี่ยวรังไหม ให้หนอนไหมทำรังอยู่ในจ่อประมาณ 5-6 วัน จึงทำการเก็บรังไหมออกจากจ่อ จากนั้นนำรังไหมไปทำการสาวเส้นไหมต่อไป

คุณป้า กำลังคัดรังไหม โดยแยกรังดี กับรังไหมเสีย ออกจากกัน

การคัดรังไหม ควรระมัดระวังอย่าทำให้รังไหมกระทบกระเทือน เพราะจะทำให้ผนังลำตัวดักแด้แตก หรือตายได้

รังไหมที่เสีย คัดออก ไม่นำไปสาวไหม

การสาวไหม คือ การดึงเอาเส้นไย ออกจากรังไหม รังไหมที่พร้อมจะสาว จะต้องสาวภายใน 10 วัน

การสาวไหม จะใช้วิธีนำรังไหมไปต้ม เพื่อทำลายกาวที่ผนึกเส้นไยที่อัดแน่นออกจากกัน แล้วดึงเอาเส้นไยออกมาตาม กรรมวิธีของการสาวไหม

น้ำที่ใช้ต้มรังไหมควรเป็นน้ำสะอาด ไม่ขุ่น มีความเป็นกรด – ด่างปานกลาง เช่น น้ำฝน น้ำประปาที่ใส่โอ่งเก็บไว้นาน ต้มให้ร้อนแต่ไม่เดือด โดยสังเกตเห็นไอน้ำที่ปากหม้อ และฟองอากาศเล็กๆ ลอยออกมาทั่วปากหม้อ หรือใช้นิ้วจุ่มดู รู้สึกว่าร้อน มีอุณหภูมิประมาณ 82-89 องศาเซลเซียส นำรังไหมที่เตรียมไว้ลงต้มในหม้อ 2 กำมือใหญ่ (ประมาณ 120-150 รัง) ใช้ไม้คีบกดรังไหมให้จมน้ำไปมา 4 – 5 ครั้ง นาน 1 – 2 นาที เรียกว่า การต้มรังไหม จากนั้นยกไม้คีบเกลี่ยรังไหมขึ้น ปมเส้นไหมจะหลุดจากรังไหมติดไม้คีบขึ้นมา

เส้นไหมที่ได้นั้น จะได้มาจาการดึงเส้นใยจากหลายๆ รังรวมกันเป็นเส้นเดียวในการสาวคราวเดียวกัน เพื่อให้เส้นไหมของแต่ละรังพันกันเป็นเกลียว ทำให้เกิดการเกาะยึดซึ่งกันและกัน มีความเหนียวทนทาน เนื้อเส้นไหมกระชับแน่น

สาวเส้นไหมออกจากรังจนเห็นตัวดักแด้ ให้ตักออก

ตัวดักแด้ สามารถกินได้เลย โดนต้มจนสุกแล้ว ขอบอก I am Devil ยัยตัวร้าย ชอบมากเลย โดยเฉพาะตัวไหมทอด เจอเมื่อไหร่จะซื้อกินทุกครั้ง รสชาติออกหวานๆ เคี้ยวกรุบๆ อร่อยไปอีกแบบ

เมื่อสาวไหมเสร็จแล้ว ให้นำเส้นไหมออกจากภาชนะที่ใส่ตากผึ่งลมให้แห้ง

นำเส้นไหมที่ผึ่งแห้งแล้ว ไปกรอทำเข็ดไหม หรือไจไหม เครื่องทำใจไหม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เหล่ง” หล่งที่ใช้ส่วนใหญ่จะมีขนาดมาตรฐาน คือ เส้นรอบวง 150 เซนติเมตร เมื่อทำเป็นไจแล้วจะได้เส้นไหมหนักใจละประมาณ 100 กรัม

เราไม่ได้ดูขั้นตอนการตีเกลียว และการย้อมสี ซึ่ง I am Devil ยัยตัวร้าย จะพาไปชมที่ ศูนย์ผ้าไหม บ้านโนโพธิ์กันค่ะ

คุณยายกำลังหวี่ผ้า ซึ่งเรียกว่า โฮก เป็นการลงน้ำแป้งให้เส้นไหมให้แข็ง ไม่อย่างนั้นจะทอผ้าไหมไม่ได้

การสืบหูก หรือการผูกไหม เป็นวิธีการต่อไหมแบบดั้งเดิม

นำเครือไหมมาต่อกัน ให้เป็นเส้นเดียวกัน

การสืบหูก หรือต่อผ้าไหม จะใช้กาวในการต่อ ซึ่งทำมาจากข้าวนึ่งแช่น้ำ จะเป็นกาวชั้นดีเลยทีเดียว

ต้องใช้มือต่อทีละเส้น กว่าจะได้แต่ละเส้นใช้เวลานาน ต้องอาศัยความชำนาญในการต่อ ให้ I am Devil ยัยตัวร้าย สืบหูก ไม่แน่ใจว่า 1 เดือนจะเสร็จหรือเปล่า

หน้าตาเส้นไหมที่ทำการสืบหูก เป็นที่เรียบร้อย

การทอผ้าจะเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งของชุมชนบ้านหัวสะพาน ซึ่งทุกหลังได้มีการทอผ้าเอง เป็นการเเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง

บริเวณอาคารผลิตภัณฑ์ OTOP จะเป็นจุดเรียนรู้ชุมชนบ้านยาง ซึ่งชาวบ้านก็จะมาทอผ้าที่นี่ด้วย

คุณวันทนา สาธิตการทอผ้าไหม

ผ้าไหม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านหัวสะพาน คือการทอผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดง หรือ ผ้าซิ่นแดง ตีนจก

สินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP ผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดง ราคาเริ่มต้นที่ ผืนละ 2,500 บาท

ผ้าไหมมัดหมี่ เริ่มต้นที่ราคาผืนละ 2,500 บาท

ผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดง ลายที่มีมาตั้งแต่โบราณ ถือว่าเป็นลายที่สืบทอดกันมาจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ได้แก่

ผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดง ลายบันไดสวรรค์

ผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดง ลายหมากหวาย

ผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดง ลายนกยูง

เป็นลายประบุกต์ เอามาใส่ดิ้นทอง เพื่อเพิ่มมูลค่า ราคาจะอยู่ที่ 3,000 – 4,000 บาท ต่อผืน

ลายประยุกต์ จากที่คุณวันทนา ได้บอก คือลายที่ไม่ใช่ลายดั้งเดิมโบราณ ผ้าทอในผืนนั้นจะมีลวดลายต่างๆ มาประยุกต์ ให้เกิดความสวยงามของแต่ละลวดลาย อย่างเช่น ลายที่หุ่นใส่ตัวตรงกลาง ผ้าไหมมัดหมี่จะเป็นลายนพเกล้า ซึ่งเป็นลายประยุกต์ และเป็นลายที่ขายดีอีกลายหนึ่ง

สามารถนำมาตัดเป็นเสื้อ เป็นผ้านุ่งได้อย่างสวยงาม

กว่าจะมาเป็นผ้าไหมแต่ละผืน ต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 1 เดือน เริ่มตั้งแต่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม คัดรังไหมลงจ่อ การสาวไหม จนกระทั้งทอผ้าออกมาเป็นผืน ราคาต่อผืนไม่แพงเลย เมื่อเทียบกับขั้นตอนการผลิต

การทอผ้าไหมของชุมชนบ้านหัวสะพาน ยังคงเป็นหมู่บ้านที่ยังดำรงวัฒนธรรม วิถีชุมชน ได้เป็นอย่างดี เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และยังเป็นหมู่บ้านการเลี้ยงหม่อนไหมดีเด่นระดับประเทศ

I am Devil ยัยตัวร้าย ได้มาสัมผัสวิถีชุมชน วัฒนธรรมของชาวบ้านหัวสะพาน และได้เรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนกระทั้งทอผ้า เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องสมุด ลองเปลี่ยนมาท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมกันดูบ้างค่ะ แล้วเราจะได้สัมผัสวิถีชุมชนกันมากขึ้น

ขอขอบคุณ คุณวันทนา ที่ได้มาเป็นวิทยการในการเรียนรู้ บ้านท่องเที่ยวไหม ชุมชนบ้านหัวสะพาน

ขอขอบคุณ ชาวบ้านสะพานน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อให้เข้าชมในการสาธิตต่างๆ

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยว และกีฬา จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับข้อมูลเส้นทางในการรีวิวครั้งนี้

ขอขอบคุณ AVISThailand สำหรับรถเช่า เพื่อให้การเดินทางทริปนี้ เดินทางสะดวกมากขึ้น

ขอขอบคุณ ข้อมูลการทอผ้า จากเว็บไซต์ >>>>>>ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นบ้านและ

ขอขอบคุณ ข้อมูลการเลี้ยงหนอนไหม จากเว็บไซต์ >>>>> กรมหม่อนไหม

ตามไปเรียนรู้วิถีชุมชน วัฒนธรรม การทอผ้าไหม ณ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บ้านนาโพธิ์ ในสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมรีวิวค่ะ สามารถพูดคุยกันได้ที่

Face Book : ยัยตัวร้าย สะพายกล้อง / Bloggertrip

IG : @bloggertripth

ยัยตัวร้าย สะพายกล้อง

 วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 22.09 น.

ความคิดเห็น