เมื่อคราวที่แล้วผมพาไปเที่ยวพุหางนาคมาครั้งหนึ่งแล้ว เรียกว่าเป็นรูทที่ 1 นะครับ เพราะเส้นทางเดินท่องเที่ยวของอุทยานหินประวัติศาสตร์ พันล้านปีนี้ มีเส้นทางเดินท่องเที่ยวอยู่หลายเส้นทาง ถ้าเป็นไปได้ ผมจะพยายามเก็บมา ฝากกันอีกนะครับ
ผมได้ไปอ่านบทความของ อ. วรณัย พงศาชลากร ที่เขียนเรื่องราวความรู้ แบบจัดเต็มไว้ในเวปไซท์ ของ OK nation จึงเกิดแรงจูงใจว่าจะต้องเดินทางไปตามที่ อ. วรณัยเขียนไว้
เส้นทางเดินรูทนี้ดูตามแผนที่ที่พี่คนนำทางบอกไว้ ประมาณ สามกิโลเมตร เป็นตัวเลขที่ดูน้อยไม่ไกลเลยนะครับ แต่เดินจริงๆ เหนื่อบเหมือนกัน ไม่ได้จับเวลาไว้ แต่น่าจะประมาณสักหนึ่งชั่วโมง เดินผ่านสวนหินธรรมชาติที่เคยไปคราวที่แล้ว ผ่านขึ้นไปด้านบนยอดเขาครับ ช่วงที่ไปชาวบ้านได้ช่วยกันทำแผ่นปูนสี่เหลี่ยมเป็นทางเดิน เดินสะดวกมากครับ ต่างกับเมื่อก่อนที่ต้องเดินไปบนพื้นไม่เรียบ ถ้าก้าวลงที่ไม่เรียบนานๆ จะปวดขา แต่พื้นที่นำมาวางนี้ไม่รู้สึกปวดขา เพราะเป็นแผ่นเรียบ จังหวะพอดีก้าว ลงสีปูนและทำลวดลายเข้ากับธรรมชาติมาก
ตลอดเส้นทางมีความร่มรื่นมีร่มไม้ช่วยกรองแสงแดดได้เป็นอย่างดี พี่ที่นำทาง ชี้ให้ดูที่พี่เค้าแอบซ่อนน้ำดื่มที่วางไว้ตามหลืบ ตามซอกหิน เผื่อไว้ให้นักท่องเที่ยวที่น้ำหมดหรือไม่ได้นำติดตัวขึ้นมา เรียกว่าไม่อดน้ำตายครับ 55
ผเดินผ่านจุดที่เคยถ่ายภาพมาให้ชมกันในครั้งที่แล้ว คราวนี้เห็นแสงลงสวยงาม มีความชัดเจนดี เลยนำมาฝากกันอีกครับครับ เป็นปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา ที่น้ำที่มีแร่ธาตุ ไหลผ่านก้อนหินเป็นระยะเวลานาน หลายร้อยปี เกิดการแข็งตัว ตกตะกรัน เป็นรูปร่างแปลกๆ ลักษณะเดียวกับการเกิดหินงอก หินย้อยในถ้ำที่ทุกครรู้จักดีครัน
จำกันได้มั๊ยครับ ก้อนนี้ เป็นก้อนหินรูปหัวใจยังไงล่ะครับ คราวนี้ซูมใกล้ๆ ให้เห็นกันชัดๆ ไปเลยครับ
ชุดนี้เป็นโขลงช้างป่า ที่มีพ่อ แม่ลูก และช้างตัวอื่นๆ ที่อยู่รวมกันเป็นโขลงในป่าครับ ลองจินตนาการตามที่ผมบรรยายไปนะครับ ได้ยินเสียงร้องมั๊ยครับ แปร๋นๆ...... 555
Advertisement
ภาพชั้นหินที่ผมนำฉายซ้ำนี้อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ แต่เป็นความประทับใจ และภาคภูมิใจส่วนตัวครับ ตอนที่ถ่ายไปคราวที่แล้วไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปเลย แต่ได้มาอ่านมาเติมความรู้จาก อ. วรณัย ผมรู้สึกปลื้มปิติอย่างบอกไม่ถูก ยังไงรู้มั๊ยครับ ขอถ่ายทอดข้อมูลบางอย่างจาก อ. วรณัย มาให้อ่านกันครับ คราวที่แล้วผมกล่าวไว้แต่ไม่ละเอียด เป็นอย่างนี้ครับ
"ลักษณะของหินและชั้นหินของพุหางนาค จากเขากำแพงทางทิศเหนือ ผ่านเขาพระ เขาทำเทียม เขารางกะปิด เขาคอก ลงไปถึงเขาถ้ำเสือ เป็นโครงสร้างของชั้น “หินปูนโดโลไมต์” ที่มีอายุราว 450 – 500 ล้านปี สะสมตัวตะกอนเป็นชั้นใต้ทะเลของไหล่ทวีปในยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period) จนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ในช่วง 50 – 65 ล้านปี หลังยุคไดโนเสาร์ “ครีเทเชียส” (Cretaceous Period) แผ่นอินเดีย (India Plate) ได้ไหลเลื่อนขึ้นมาจากทิศใต้ เขาชนกับ “แผ่นยูเรเซีย” (Urasian Plate) มุมทางทิศตะวันออก ไปเสยเข้ากับไหล่ทวีป “ซุนด้า” (Sunda Shelf) ทําให้เปลือกโลกที่ยังไม่แข็งนัก เกิดการคดโค้งตัว ดันให้เกิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ (Orogenic Movement) จากชั้นหินใต้ทะเลเดิม อย่างเทือกเขาตะนาวศรี เรื่อยมาจนถึงแนวเทือกเขาปลายสุดที่ตั้งของสวนหินพุหางนาคไงครับ"
ผมอ่านแล้วเกิดความปลื้มปิติครับ เคยได้ยิน ได้อ่านแต่ในบทเรียนทางประวัติศาสตร์ เรื่องสองแผ่นดินเคลื่อนชนกัน จนกลายเป็นทวีปเดียวกัน ได้มาเห็นหิน เห็นแผ่นดินโบราณของจริง ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน รู้สึกตื่นเต้น และภูมิใจครับ ว่ามันอยู่ในบ้านเรา ในประเทศไทยนี่เอง!!!!
รู้สึก อิน ฟิน เว่อร์ ไปกับผมมั๊ยครับ 555
คราวที่แล้วผมไม่ได้เก็บรายละเอียดและเก็บความรู้เกี่ยวกับเรื่องต้นปลงโบราณที่พบเห็นอยู่ทั่วไปที่พุหางราคแห่งนี้ ต้นปลงเป็นไม่มหัศจรรย์ เรียกว่าเป็นไม่ดึกดำบรรพ์เลยก็ว่าได้ เพราะมีการเจริญเติบโตที่ช้ามาก ในหนึ่งปีจะแตกใบมาหนึ่งชั้น ต้นปลงเตี้ยๆที่เห็นในภาพถ้านับตามชั้นที่แตกออกมาที่ลำต้น พี่เค้าว่า น่าจะมีอายุร่วมร้อยปีเลยทีเดียวครับ
ต้นปลงมีสองเพศนะครับ คือเพศผู้และเพศเมีย ต้นนี้เป็นปลงเพศเมีย มีดอกอยู่ส่วนบนกลางต้น เพศผู้หน้าตาเป็นอย่างไร และอวัยวะที่บ่องบอกเพศคืออะไร อยู่ตรงไหนอยากรู้กันแล้ว ใช่ม๊า.....555 ใจเย็นๆ ครับได้เห็นแน่ๆ....
ยังครับ รอแป็บ ต้นนี้ยังไม่ชัดเจนว่า เพศผู้หรือ เพศเมีย แต่อยากให้ชมว่า อายุต้นนี้ขึ้นหลักหลาายร้อยปีแน่นอนครับ
นี่เป็นต้นปลงเพศเมีย และลูกหรือดอกของต้นปลงที่ซูมให้เห็นกันชัดๆ อีกทีครับ "ผมนี่ลูก...ช่างกั๊ก"...55 (นินทาผมนิ รู้นะ)
อ่ะ......มาแล้วครับ พี่นำทาง ชี้ให้ผมดูถึง อวัยวะที่บ่งบอกเพศของต้นปลงว่าเป็นเพศผู้ (เอ...หยั่ง งี้ ต้องเรียกว่าอวัยวะเพศ รึเปล่า....อ๊ะ....หยาบคายมั๋ยนะ...555) ครับ ต้นปลงเพศผู้จะมีขนๆ อยู่บริเวณคอ ส่วนตัวเมียหรือเพศเมีย ไม่มี อ้าว.....งั้นก็ไม่เห็น อวัยวะที่บ่งบอกถึงเพศเมียสินะ ว๊า..... ก็ ตามนั้น ล่ะครับ......
ความสวยงามของใบอ่อนต้นปลง เพศผู้ ครับ เห็นอวัยวะโผล่มาเล็กน้อยครับ......555
ภาพกว้างของใบอ่อน และใบแก่ ซื่งบ่งบอกถึงอายุปลงที่เริ่มแก่ขึ้นอีกหนึ่งปี ต้นนี้ผมไม่บอกว่าเพศผู้ หรือเพศเมีย ลองเดากันดูนะครับ ไม่มีรางวัลให้นะ.....55
ดอกปลงหรือลูกปลงแก่ที่ล่วงออกมาจากต้นครับ
ฝอยเรื่องปลงอยู่นาน จนเกือบเป็นเรื่อง ชมปลงโบราณ ไม่ใช่ ชมเจดีย์โบราณอย่างที่จั่วหัวเอาไว้ซะแล้ว เดินขึ้นเขา ใจร่มๆ อีกนิดครับ ทางเดินสวยงาม น๊อ.....
มาถึงละครับซากเจดีย์โบราณ จะเห็นว่าเป็นอิฐเก่าๆ สีแดงส้มวางเรียงกันอยู่นั่นคือตัวเจดีย์ครับ แต่ถ้าสังเกตุดีๆ เจดีย์จะอยู่บนก้อนหินธรรมชาติที่มีการจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ เอ๊ะ.....ยังไง ยังไง......เรื่องนี้ต้องดูด ข้อมูลจากคุณ ศุภรุต มากระจายความรู้กันอีกทีครับ
ผมขอเอาข้อสัณนิษฐานของ อ. วรณัย ที่บอกว่าคิดแบบนอกกรอบ แต่ผมชอบการคิดแบบเชื่อมโยงที่น่าคิด มีข้อสัณนิษฐานดังนี้ครับ
ในสมัยโบราณหลายพันปีก่อน บริเวณนี้เป็นแผ่นดินที่มีทิศตะวันออกและทิศใต้ที่เป็นทะเลโดยมีป่าโกงกางที่เป็นโคลนตม มีคลองทีคดเคี้ยววกวน ชุมชนโบราณ ณ ที่แห่งนี้ได้ทำจุดสังเกต หรือ Landmark ให้กับ ผู้ที่มาจากแดนไกล ที่มาติดต่อทำการค้า ไม่หลงทาง จึงได้ทำ “หอคอยหิน” หรือ “หอหินเทิน” เพื่อตามไฟหรือให้สัญญาณไฟ กลางวันจะเป็นควัน พุ่งเป็นแนวยาวขึ้นไปลนท้องฟ้า ส่วนกลางคืนจะเป็นเปลวไฟ เพื่อให้เห็นในระยะไกล
ลักษณะอาคารที่สมบูรณ์จะเป็นหินที่จัดเรียงกันเป็นเป็นป้อมอย่างมั่นคง ในสมัยนั้นเป็นยุคที่รุ่งเรืองสุดๆ ของดินแดนแห่งนี้ จนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนสุวรรณภูมิ มีหลักฐานเป็นวัตถุโบราณล้ำค่ามาจนทุกวันนี้ จนเมือถึงยุคหนึ่งน้ำทะเลลดลง อาณาจักรที่รุ่งเรืองนี้ก็ล่มสลาย กลายเป็นอาณาจักรล้างไป ผ่านมาหลายร้อยปี เมื่อผู้คนในยุควัฒนธรรมทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 15 หรือราว 1,100 – 1,400 ปีที่แล้ว ได้กลับขึ้นมาบนยอดเขาอีกครั้ง พวกเขาก็ได้ดัดแปลงส่วนบนของหอหินเทิน ให้กลายมาเป็นสถูปเจดีย์ตามคติความเชื่อ “เขาพระสุเมรุ”สถาปนาให้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาแบบเถรวาททวารวดีในยุคนั้นครับ
ยอดของเจดีย์ศิลาแลงที่หลงเหลืออยู่
ช่างโบราณคดียุคปัจจุบันได้นำหินที่กระจัดกระจายอยู่มากองกันไว้อย่างเป็นระเบียบ อย่าเข้าใจผิดว่ากองนี้คือรูปร่างของเจดีย์เก่านะครับ
ชมพืชชนิดอื่นก่อนลงจากเขากันบ้างครับ อันนี้ต้นสลัดไดครับ
ต้นกะเจียวป่า ดอกจะอยู่ติดพื้น ซึ่งมีความแตกต่างกับดอกกะเจียวที่ชัยภูมิครับ
จุดชมวิวมาองจากฐานของเจดีย์ เห็นเมืองอู่ทองและที่ไกลสุดเป็นตัวจังหวัดสุพรรณบุรี แต่อากาศมีเมฆหมอก จึงมองไม่เห็น ถ้าอากาศโปร่งจะมองเห็นหอคอย บรรหารแจ่มใสเลยทีเดียวครับ
พวกเราเลือกทางเดินลงทางอีกด้านหนึ่ง เดินสบาย มีราวเกาะให้ด้วย
นัดให้รถมารับที่ทางลงอีกด้านหนึ่ง เป็นด้านหน้าผมที่มีร่องลอยการระเบิดหิน
แฮปปี้เอนดิ้งนะครับ กลับลงมาอย่างสดชื่น เหมือนชนะข้าศึกมา ยังไง ยังงั้นครับ
พบกันใหม่ รูท ต่อไปครับ
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วทิศ
วันพฤหัสที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 21.47 น.