Loyalty Program เป็นกลยุทธทางการตลาด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ายินดีซื้อสินค้า และบริการของกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เปลี่ยนใจไปอุดหนุนคู่แข่ง

นับตั้งแต่โลกของเรามีอินเตอร์เน็ต และ สมาร์โฟน ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงกิจกรรม Online ต่างๆได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าจาก Amazon / ประมูลสินค้า หรือ เอาสินค้าไปวางขายที่ eBay / เปรียบเทียบราคา และจองโรงแรม+ตั๋วเครื่องบินจาก Priceline / สั่งอาหารจาก Grab / เรียกรถแท็กซี่ด้วย Uber / จ่ายเงินผ่าน App ธนาคาร โดยแทบไม่ต้องพกเงินสด ฯลฯ โลกแห่งการค้าขายแบบเดิมๆได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

การเกิดและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของธุรกิจ Online เหล่านี้ ได้นำมาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอย ที่มากมายมหาศาล (Big Data) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการธุรกิจ ให้เหมาะกับสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

การเกิดขึ้นของสายการบินต้นทุนตํ่า ได้ทำให้ธุรกิจการบินได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนมีสนามบินขนาดใหญ่เกิดขึ้นใหม่ในหลายๆประเทศ ความรวดเร็ว สะดวกสบาย ที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ยิ่งกระตุ้นให้มีการเติบใหญ่ของธุรกิจท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรม / รีสอร์ท ที่ก็ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรา จึงมีโรงแรม รีสอร์ท Hostel เกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

เมื่อการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมเพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังมี App จองห้องพัก Online Travel Agency (OTA - เช่น Priceline /Booking/ Agoda / Trip Advisor /Expedia ฯลฯ) ที่ช่วยสร้างความสะดวกในการจอง และ เปรียบเทียบราคา กลุ่มเชนโรงแรม จึงต้องใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) แข่งกันออกแบบ Loyalty Program รูปแบบต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง และยาวนาน โดยมีการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับ Promotion ต่างๆกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างสมํ่าเสมอ เป็นการแข่งขันทั้งกับเชนโรงแรมด้วยกันเอง และ OTA ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างสูงมาก

ในช่วงเวลาปกติ - เชนโรงแรมขนาดใหญ่ จะมีฐานลูกค้าเป็น Business Traveller และ Big Spender - นักเดินทางท่องเที่ยว ที่ซื้อง่ายจ่ายหนัก แต่เมื่อเจอกับวิกฤตการณ์ระบาดของ Covid กลุ่มลูกค้าหลักๆหายเกลี้ยง จึงจำเป็นต้องออกแคมเปญต่างๆ เพื่อสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ด้วยการลดแลกแจกแถม ผ่าน Loyalty Program ที่ผมกำลังจะอธิบายให้ได้ทราบกันครับ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ตั้งแต่ช่วงเปิดเมืองหลัง Covid เมื่อปีที่แล้ว และราคาโรงแรม 5 ดาวทั้งหลาย ได้ปรับลดลงอย่างมาก รัฐบาลจึงได้ทำ โครงการ"เราเที่ยวด้วยกัน" เพื่อพยุงธุรกิจโรงแรม+สายการบิน ตั้งแต่ ฏรกฎาคม

2563 ธุรกิจโรงแรมและสายการบิน เริ่มค่อยๆดีขึ้น มีนัก Staycation หน้าใหม่ จองตั๋วเครื่องบิน+เปิดห้องไปนอนเล่น เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ พัทยา หัวหิน ช่วงไหนที่เดินทางสะดวก ไม่มีการปิดเมือง Occupancy rate สูงขึ้นมาก

Blogger ใจดีจากหลายๆเพจ ได้ทำให้เราๆท่านๆ(รวมทั้งข้าพเจ้า) ได้ทำความรู้จักกับศัพท์ใหม่ "Status Match" - ซึ่งจริงๆเคยได้ยินคำนี้มานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีมาบ่อย ความซบเซาของธุรกิจโรงแรมในปี 2563 ได้ทำให้เชนโรงแรมระดับโลก พร้อมใจเปิด Match ทีเดียวทั้ง 2 เชน (Marriott / Hilton)

ผมเองก็เป็นมือใหม่นะครับ ส่ง match ไปทั้ง 2 เชนด้วยความงก ปรากฏว่าพลาดไป 1 เพราะเข้าใจผิด เลยคิดว่าจะทำรีวิวประสบการณ์ที่เข้าใจ มาสรุปให้อ่านอย่างง่ายๆ

หวังว่า รีวิวนี้ คงช่วยให้ทุกท่านเข้าใจกลไกการตลาด และการออกแบบโปรแกรม เพื่อสร้างรายได้และฐานลูกค้าในกิจการโรงแรม และในฐานะผู้บริโภค การทำความเข้าใจในเรื่องนี้ จะช่วยให้มีสติ คิด พิจารณา ไตร่ตรองทางเลือกต่างๆในการใช้จ่าย ให้เหมาะสมกับสถานภาพกระเป๋าของตัวเองกันครับ

หากเซียน status match ท่านใดมาอ่านเจอข้อผิดพลาดตรงไหนในรีวิวนี้ - รบกวนช่วยแจ้งให้ทราบด้วยครับ Admin จะรีบดำเนินการแก้ไขให้ทันที

ขอเริ่มด้วยเชน Accor ที่ผมเป็นสมาชิกมาแล้ว 4 ปี (แต่บางทีก็ยังงงๆ

เวลามีข้อสงสัย ต้องไปถามเพจ "ALL Accor Live Limitless Thailand FanClub"

เป็นประจำ )

Accor เป็นเชนโรงแรมของฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป และ

เป็นเชนโรงแรมขนาดใหญ่ อันดับ 6 ของโลก มีอยู่ใน 110

ประเทศทั่วโลกในทุกระดับราคา
ในประเทศไทย อาจจะไม่ได้เข้ามาครบทุกแบรนด์ แต่ก็มีทุกระดับ ได้แก่
Luxury : Sofitel และ SO/
Premium : MGallery, Pullman, Swissôtel, Angsana, Grand Mercure, Mövenpick
Midscale : Novotel, Mercure
Economy : ibis, ibis Styles
ที่ไม่ปรากฏในลิสต์นี้ ในบ้านเรา คือ คือ Banyan Tree และ Cassia ที่เข้าร่วมกับ Accor ในรูปแบบ Strategic Partnership

เดิมที่ Loyalty Program ของ Accor ชื่อ "Le Club Accor" เพิ่งเปลี่ยนเป็น "ALL Accor Live Limitless" เมื่อ 2 - 3 ปีนี้เอง
*โดยส่วนตัว ผมถนัดเชนนี้มากที่สุด พักมาแล้วทุกระดับ สมัยก่อนก็เริ่มจาก ibis / ibis Styles / Novotel / Mercure
เมื่อได้แต้มพอแลกเป็นส่วนลด (หรือใช้ Stay Plus) - ก็ไปนอน SO สลับกับ Pullman

**

ถ้าเข้าไปดูรีวิวต่างๆของ fatreview : CHECK IN จะมีรีวิวของ Accor

มากกว่าเชนอื่น บางแห่งยังไม่ทันได้รีวิวเลย ปิด(ชั่วคราว)

หรือไม่ก็หลุดจากเชนไปซะแล้ว

สำหรับการเริ่มต้น - คุณสามารถสมัครสมาชิก All Accor Live Limitless ได้ผ่าน app หรือ website
ทันทีที่สมัคร

จะได้สถานะ Classic จากนั้นเริ่มจองที่พัก ทันทีที่มีการใช้จ่าย กระบวนการ

Loyalty Program ของ Accor ก็ได้เริ่มต้นขึ้น

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จะถูกเปลี่ยนเป็น Nights (จำนวนคืน) Points (คะแนนจากการใช้จ่าย) เมื่อพักบ่อยขึ้น ก็จะได้รับการเลื่อนสถานะ
Silver - เมื่อพัก 10 คืนขึ้นไป
Gold - เมื่อพัก 30 คืนขึ้นไป
Platinum - เมื่อพัก 60 คืนขึ้นไป
Diamond คิดจากการใช้จ่าย 10,400 ยูโร ขึ้นไป

⭐

การนับ Nights ของ Accor จะใช้วิธี ปีชนปี - คือ เริ่มนับตั้งแต่ 1 มกราคม

สิ้นสุด 31 ธันวาคม หมายความว่า ถ้าคุณสมัครเดือน ตค. ต้องรีบนอนให้ครบ 10

คืน เพื่อปรับเป็น Silver แล้วไปลุย 30 - 60 คืน ในปีต่อไป เพื่อเป็น Gold

หรือ Platinum

ส่วนการรักษาสถานะ เป็นเรื่องไม่ง่าย

เพราะเชนนี้เน้นจำนวนคืนที่พักมากกว่าเจ้าอื่น และเท่าที่ผมเป็นสมาชิกมา 4

ปี Accor ไม่เคยออก Status Match เลย มีแต่สมาชิก Accor ใช้ Status ไป

match กับเจ้าอื่น

⭐

โปรฯที่โดดเด่นของ Accor คือ
1. Double Nights พัก 1 คืน ให้คะแนนเท่ากับ 2 คืน

2.

Rewards Points แบบต่างๆ ที่ฮอตฮิตมาก คือ โปรฯ 2 x 3 : พักที่ละ 2 คืน 3

โรงแรม ภายในช่วงเวลาที่กำหนด (ประมาณ 3 เดือน) รับไปเลย 6000 points

ซึ่งมีค่าประมาณ 120 ยูโร หรือ ประมาณ 4500 บาทเลยทีเดียว
ล่าสุด ช่วงก่อนตรุษจีน พัก 2 คืนติดกันได้คะแนนเพิ่ม 888 Points
คะแนนที่ได้ก็เอาไว้ใช้เป็นส่วนลดเพื่อจองห้องพัก ใช้ได้ครั้งละ 2000 Points
*ปกติคะแนนที่ได้รับจากการเข้าพักจะไม่ได้สูงมาก

เพราะราคาห้องพักของ Accor จะไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเชนอื่นๆ การออกโปรฯ

Rewards Points แบบต่างๆ จึงเป็นลูกเล่นที่น่าสนใจ

เชื่อว่าสมาชิกทุกคนรอคอย และร่วมสนุก ตรงนี้ผมว่าเป็นไอเดียที่ดี

3. Red Hot Rooms - ลดราคาห้องพักโรงแรมบางแห่งในเครือเป็นช่วงๆ ในหลายๆประเทศ บ้านเราก็มีบ่อย
เข้าไป search ได้ที่ https://www.accorplus.com/red-hot-rooms/

4.

Fast Track - ปีที่แล้วการแข่งขันในแวดวงเชนโรงแรมใหญ่ๆดุเดือดมาก

โดยเฉพาะการเปิด status match พร้อมกันของทั้งพี่ Marriott และ Hilton -

น้อง Accor เลยแจก Free Nights ให้สมาชิกฟรี เพื่อยกระดับ status

ได้เร็วขึ้น (ผมก็ได้มาประมาณ 13 คืน - ถ้าจำไม่ผิด)

5. โปรฯ

ร่วมกับบัตรเครดิต ยังไงไม่ทราบนะครับ โปรฯบัตรเครดิตของ Accor มาบ่อย

ราคาดีงาม และ บางแห่งใจป้ำ แถมอาหารเช้าให้อีก อย่างล่าสุด

เป็นโปรฯร่วมกับ SCB ลดราคาลงมาเยอะมาก และส่วนใหญ่ฟรีอาหารเช้า

เหมาะสำหรับสมาชิก Silver + Gold ที่กำลังสะสม Nights เพื่อเลื่อนระดับ

ช่วยให้ประหยัดไปได้เยอะเลยครับ

---------------------------------------------------------------------

ส่วนใหญ่ สมาชิกที่ติดใจเชนนี้ จะนิยมซื้อ Accor Plus เพิ่ม(รายปี)

ที่จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นมาอีกมาก และช่วยในการรักษาสถานะ

ไม่ต้องไปนอนบ่อย จนลืมบ้าน 

ตารางนี้ คือ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในแต่ละระดับของสมาชิก Accor

ที่ผมได้เน้นไว้ในกรอบสีฟ้า (ควรเปิดดูใน website ตัวอักษรจะใหญ่กว่า)

Benefits หลักๆที่นิยมกัน จะเริ่มตั้งแต่
1. Welcome Drink สำหรับ Silver (ส่วนใหญ่เป็นนํ้าอัดลม) และจะได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับ Gold ขึ้นไป
2.

Welcome Gift - เริ่มตั้งแต่ Gold : ส่วนใหญ่ที่ได้คือ ผลไม้

อาจจะมีบางช่วง/บางแห่ง ได้ ช็อคโกแลต ผมเอง เคยได้ gimmick พิเศษ เช่น

ที่ใส่นามบัตรคล้องกระเป๋าเดินทาง
3. Room Upgrade

ไปยังห้องระดับถัดขึ้นไป -บังเอิญผมซื้อ Accor Plus ตั้งแต่เริ่มเป็นสมาชิก

จึงได้รับการยกระดับเป็น Silver เลยโดยไม่ต้องพัก 10 คืน ระหว่างนั้นก็ได้

upgrade ค่อนข้างบ่อย และได้ upgrade ทุกครั้งตั้งแต่เป็น Gold
**Room Upgrade Subject to Availability : การได้รับ Room Upgrade ขึ้นอยู่กับห้องที่ว่าง ในขณะนั้น
4.สิทธิประโยชน์อื่นๆ สำหรับระดับ Platinum + Diamond
4.1

Complimentary Breakfast - ฟรีอาหารเช้านี่ละครับ ที่น่าจะเป็น benefit

ที่คุ้มค่าที่สุดของ Loyaly Program - อาหารเช้าของ Accor

ก็จัดหนักจัดเต็มเช่นกัน โดยเฉพาะ SO / Sofitel และ Pullman
4.2 Access

to Executive Lounge - ตั้งแต่เป็น Platinum มา เพิ่งได้พักแค่คืนเดียว

ก็เจอปิดเมืองยาวๆ ตรงนี้ผมเลยเล่าได้ไม่เยอะ แต่จะลงรายชื่อโรงแรมของ

Accor ที่มี Executive Lounge ไว้ใน comment ด้านล่างนะครับ
4.3 Complimentary Soft Drinks from MiniBar
4.4 Ironing Service
4.5 Benefits in Hotels Restaurants and Bar
*4.6 Dining & Spa Rewards (เฉพาะ Diamond)

Accor Plus เป็น ระบบสมาชิกของ All Accor ที่เราต้องจ่ายค่าสมาชิกรายปี

สามารถใช้สิทธิ์ได้ตามโรงแรม/รีสอร์ทที่มีรายชื่ในช่องสีเขียว

เฉพาะในประเทศช่องสีฟ้า (ส่วนใหญ่คือประเทศในทวีปเอเชีย และ

ออสเตรเลีย+นิวซีแลนด์)

Accor Plus Explorer : 7,200 บาท/ ต่อปี (โปรฯ 6200.- เพิ่งหมดอายุไปเมื่อ 24 กย.)
Accor Plus Traveller : 5,400 บาท/ปี

⭐

ความแตกต่าง คือ Accor Plus จะได้รับคูปอง Stay Plus สำหรับพักฟรี 1 คืน

สมาชิกสามารถจองได้โดยตรงผ่านหน้าเว็บ

แต่สำหรับโรงแรมบางแห่งที่มีห้องพักหลายระดับราคา การใช้ Stay Pus

อาจจะต้องจ่ายเพิ่มสำหรับบาง room type เช็คได้จากหน้าเว็บครับ

Benefits ที่ดีที่สุดของ Accor Plus คือ ราคาห้องพักจะถูกกว่าประมาณ 10%

(จำกัดการจองที่ 2 ห้อง / 1 บัญชี ) ส่วนใหญ่ เป็นราคาแบบ Non Refundable /

ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่จอง)
นอกเหนือจากนั้น คือ

ส่วนลดในการรับประทานอาหารที่โรงแรมเมื่อเข้าพัก 50% สำหรับ 2 ท่าน -

ตรงนี้แทบทำให้ไม่อยากไปทานอาหารข้างนอกกันเลยทีเดียว
(มาคนเดียว ลด 33% / 25% สำหรับ 4 ท่าน)

นอกจากนั้นยังมีคูปองต่างๆ
1.เค้กวันเกิดฟรี 1 ปอนด์ (แจ้งล่วงหน้าก่อนเข้าพัก)
2.คูปองอาหารเช้าฟรี 2 ท่าน เมื่อเข้าพัก : 2 ใบ
3. คูปอง upgrade ห้องพัก : 1 ใบ
4. คูปองส่วนลด30 - 50 %1บุฟเฟ่ต์มื้อกลางวันหรือ มื้อคํ่า เมื่อรับประทานอาหาร 2 ท่าน : 4 ใบ
5. คูปองส่วนลด 25% Spa Treatment

**หากเป็น

Gold หรือ Platinum อยู่แล้ว การซื้อ Accor Plus ทำให้เรารักษา Status

เดิมไว้ได้อีก 1 ปี ตามระยะเวลาที่ซื้อ - วิธีนี้ดีมาก สำหรับท่านที่เก็บ

Nights ได้เกือบครบ แต่ยังไม่ครบ / ใครที่เป็น Platinum อยู่แล้ว

ก็ไม่ต้องซีเรียสมาไล่นอนเก็บ Nights เพื่อรักษาสถานะ

ความเห็นส่วนตัว - คิดว่า Accor Plus เหมาะสำหรับคนที่เดินทางบ่อยๆ

ท่องเที่ยวหรือ มี business trip อย่างน้อย 20 - 30 คืน/ปี

และถ้าไปต่างประเทศที่มีรายชื่อในลิสต์ จะคุ้มมาก โดยเฉพาะ สิงคโปร์ ฮ่องกง

ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น มัลดีฟ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ

เพราะส่วนลดที่ได้ บวกกับโอกาสที่จะได้ room upgrade โดยไม่ต้องใชคูปอง

รวมๆกันแล้วเกินค่าสมาชิกไปเยอะ

มากกว่านั้น คือ ระบบการจองห้องพักของ Accor แฟร์มาก โดยเฉพาะถ้าทำผ่านเว็บไซท์ เราสามารถเช็คราคาห้องรายวันได้ด้วยตัวเอง
**

ผมไม่แนะนำระบบขายสมาชิกของเครือโรงแรมบางเชน ที่แถม free night

แต่เมื่อต้องการจองห้อง ต้องใช้วิธีโทรไปจองโดยตรงกับพนักงาน

(ซึ่งมักจะได้รับคำตอบว่าโควต้า free night

เต็ม)ในขณะที่ถ้าเราไปจองผ่านเว็บฯ กลับมีห้องว่าง -

ตรงนี้ชวนหงุดหงิดจริงๆครับ เคยเจอมาแล้ว

App ของ All Accor ใช้จองห้องพัก เช็คสถานะสมาชิก และคะแนนสะสมต่างๆ
ตัวเลข 7224 Rewards Points คือ คะแนนสะสมของผม ส่วนใหญ่

ก็มาจากเข้าพักตามเงื่อนไขในแคมเปญต่างๆ เพิ่ง burn points

ไปเมื่อไม่กี่วันก่อนที่ Pullman Phuket Panwa (รอรีวิวนะครับ)

การแลกแต้ม (หรือ burn points) ของ Accor ก็ยังสามารถคิดเป็นทั้ง Nights +

คะแนนสะสม ด้วยนะครับ โดยคุณต้องมีค่าใช้จ่ายอย่างตํ่า 500 บาท
อย่างผมใช้ที่ Pullman Panwa burn ไป 2000 คะแนน - จ่ายเพิ่มอีกพันกว่าบาท ก็เข้าเงื่อนไขนี้แล้วครับ
(ถ้าผม burn 4000 คะแนน ต้องจ่ายเพิ่มไม่ถึง 500 ซึ่งจะไม่ได้ Nigtt - เลยเลือกใช้แค่ 2000 พอ - อย่างงนะครับ )

2 Awards (ใต้ 7,224 Points) คือ Suite Night Upgrade

ที่เปิดโอกาสให้เราขอ upgrade ไปยังห้อง Suite ที่มีเฉพาะในบางโรงแรม

จองผ่านเว็บจะมี cursor ให้เลื่อน จากนั้นรายชื่อโรงแรมที่มีห้อง Suite

ก็จะปรากฏขึ้นมา ส่วนใหญ่ เป็นโรงแรมในระดับ Luxury + Premium ละครับ
หากต้องการใช้สิทธิ์นี้ ก็ต้องโทร ติดต่อกับแต่ละโรงแรมโดยตรง เพราะอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง
(ผมยังไม่เคยใช้นะครับ แต่คงมีโอกาสได้ลองเร็วๆนี้)

All Accor Live Limitless Thailand Fanclub เป็น facebook Group
เกี่ยวกับเชนโรงแรม เจ้าแรกๆของบ้านเรา มีมานานมากว่า 5 ปีแล้ว
สมาชิกเกือบแสน บรรยากาศถ้อยทีถ้อยอาศัยกันดี
สงสัยอะไรมาเขียนคำถามทิ้งไว้ / ใครไปพักที่ไหนมา ก็สามารถลงรูป บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ แลกเปลี่ยนไอเดีย กับสมาชิกท่านอื่นๆได้ครับ

หากเลือกเชนนี้ ก็ไปกด Like กันได้นะครับ ที่ https://www.facebook.com/groups/allaccorthailand

Hilton เป็นเชนโรงแรมที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก มี 18 แบรนด์
ในประเทศไทย มีโรงแรม และ Residence ในเครือ Hilton ทั้งหมด 14 แห่ง 4 แบรนด์

กรุงเทพฯ
Conrad และ Conrad Bangkok Residences เปิดเป็นแห่งแรก
Hilton
Sukhumvit / Millenium Hilton / Doubletree by Hilton Sukhumvit /
Doubletree by Hilton Ploenchit ( 2 แห่งหลัง ตอนนี้ เป็น ASQ อยู่นะครับ)
ล่าสุด Waldorf Astoria เพิ่งเปิดใหม่เมื่อ 2-3 ปีก่อน ในย่านราชประสงค์

พัทยา มี Hilton Pattaya
หัวหิน มี Hilton Hua Hin
เกาะสมุย มี Conrad และ Conrad Residences Koh Samui
ภูเก็ต มี Hilton Phuket Arcadia หาดกะรน / Doubletree by Hilton Ban Thai หาดป่าตอง
และที่กำลังจะเปิด คือ Hilton Garden Inn ในโครงการ Phuket Laguna

Loyalty Program ของ Hilton ชื่อ Hilton Honors สามารถสมัรครสมาชิก เปิดใช้ App แล้วเริ่มจองได้เลยเช่นกันครับ

ระบบสมาชิกของ Hilton Honors แบ่งเป็๋น 4 ระดับ
Member - สมาชิกแรกเข้า พัก 0 - 4 คืน
Silver - 5 คืนขึ้นไป
Gold - 20 คืนขึ้นไป
Diamond - 30 คืนขึ้นไป

การไต่ระดับสมาชิกของ HH น่าจะใช้จำนวน Nights น้อยกว่าเจ้าอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเปิด Status Match Challenge ถ้า match ได้ Gold ก็ได้ทั้ง และ ฟรีอาหารเช้าไปเลย

Benefits ต่างๆ ของ HH ก็ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ตามตาราง
ถ้าเป็น Diamond ขึ้นไป ก็จะได้ทั้ง Room Upgrade / Breakfast และ Executive Club Lounge Access

*ช่วง Covid ที่ผ่านมา ไลน์อาหารและเครื่องดื่มของ Hilton อาจจะไม่คับคั่งเท่าช่วงเวลาปกติ ผมเคยมีโอกาสพักที่ Hilton Sukhumvit เมื่อ 3-4 ปีก่อน ในยุคที่ราคาห้องรวม Club lounge access สูงกว่าช่วงนี้ประมาณ 3 เท่า เลาจน์ของที่นี่ เสิร์ฟไม่อั้นแบบอิ่มจนจุก แทบจะคลานกลับห้องเลย

--------------------------------------------------------------------------------------------------

ปลายปีที่แล้ว ผมได้ทำ Status Match จาก Accor มา Hilton Gold
ช่วงนั้นต้องเก็บ 5 Stay เพื่อรักษาสถานะ Gold เพิ่มอีก 4 Stay ก็ได้ไป Platinum

*การคิดแบบ Stay คือ นับการเข้าพัก 1 ครั้ง ไม่ว่าจะกี่คืนก็ตาม - เป็น 1 Stay
จำได้ว่าช่วงแรกยังงงๆ

ผมพักที่ละ 2 คืน อยู่ 2 -3 ครั้ง แต่ไม่ครบ 5 ซักที - ต้องไปถาม Blogger

ที่เป็นเซียน Hilton หลังจากนั้น เลยใช้วิธีพัก คืนเว้นคืน สลับกัน

โชคดีที่ช่วงนั้นภูเก็ตเงียบมาก ราคาห้องพักลดลงมาเยอะมาก fatreview

จึงได้ Diamond มาในต้นทุนที่ประหยัดมากครับ

♥

เหตุผลอีกอย่างที่ตั้งใจทำรีวิวนี้ขึ้นมา ก็เพราะช่วงนี้ ทั้ง Hilton Honors และ Marriott Bonvoy ได้เปิด Challenge อีกครั้ง
โดย HH ยังเป็น Status Match Challenge เช่นเดิม เพิ่มเติม คือ นับเป็น Nights ซึ่งง่ายกว่าเดิมมาก ไม่ต้องเก็บกระเป๋า สลับโรงแรมไปมา

ก่อนทำ status match กับ HH ควรมีสถานะจากเชนอื่นเป็น Gold ขึ้นไป แต่ถ้าเป็น Platinum ได้จะชัวร์กว่ามาก
ผมได้ทำแผนผังง่ายๆ บอกวิธีการ upload ข้อมูลของเรา เพื่อทำ Status match ไว้แล้ว มีขั้นตอนต่างๆดังนี้

1. เตรียม Capture ภาพบัตรสมาชิก และ Proof of Stay ( รายงานการเข้าพักย้อนหลัง)
2. เลือก Loyalty Program ที่เรามีอยู่ ถ้าไม่มีก็พิมพ์ลงไป เช่น All Accors ไม่ได้มีชื่อในเมนู เราก็พิมพ์เข้าไป
3. upload ไฟล์ที่เรา capture ไว้
4. รอ email ตอบรับจาก HH อาจจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน(หรือมากกว่า)
5. ถ้าเขาตอบปฏิเสธ แนะนำให้ยื่นใหม่ / ถ้าผ่าน ก็เริ่มจองห้องพัก เพื่อ challenge เลยครับ

ลิงค์สำหรับ HH Status Match Challenge
https://www.hiltonhonors.com/en_US/status-match/landing/..

เมื่อเป็น Diamond แล้ว ก็จะได้รับ email ฉบับนี้

App ของ Hilton Honors ใช้จองห้องพัก / เช็คอินและสื่อสารกับทางโรงแรม ก่อนการเข้าพัก / เช็คสถานะสมาชิก และคะแนนสะสมต่างๆ

ระบบใช้คะแนนแลกห้องพักของ HH ก็คล้ายๆกับ All Accors เช่นกัน เพียงแต่อาจจะไม่ได้มี promotion ที่หลากหลาย และบ่อยเท่า Accors
โปรส่วนใหญ่ คือ การซื้อ Points ในอัตราแถม คั้งแต่ 50 - 100% คล้ายๆกับ Marriott Bonvoy และ IHG

โปรส่วนใหญ่ของ HH คือการซื้อแต้ม เพื่อแลกห้องพักฟรี หรือจ่ายเพิ่มนิดหน่อย (ภาพแรก) โดยอัตราการแลก อาจจะขึ้นลงไม่เท่ากันในแต่ละช่วง - ทั้ง HH / Bonvoy / IHG ล้วนมาในแนวทางนี้
วิธีนี้ทำให้สมาชิก ต้องแวะเวียนเข้ามาเช็คอัตราการแลกแต้มบ่อยๆ

ภาพที่ 2
แจก 2000 Points / Stay และหากพักครบ 5 คืน จะได้โบนัสเพิ่มอีก 5000 คะแนน / โปรฯ นี้คล้ายๆของ Accor

ภาพที่ 3
ยืดอายุ Elite Status ให้ฟรีๆ 1 ปี - อันนี้ฟลุคมากครับ

อย่างผมเอง match ได้ Diamond ช่วงปลายปี 2020 จะครบกำหนด March 2022 เพิ่งได้รับ email นี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แจ้งว่าได้ต่ออายุ Diamond ออกไปให้ถึง March 2023 - ถ้าไม่เรียกว่าใจปํ้า จะใช้คำว่าอะไรมาแทน

บ้านเรามี facebook group ของ Hilton Honors อยู่ 2 group คือ
Hilton Honors Loyalty Club Thailand
https://www.facebook.com/group...

Hilton Honors Loyalty Thailand Fanclub 🏢🇹🇭
https://www.facebook.com/group...

อีก group เป็นของชาวต่างชาติ ใช้ภาษาอังกฤษ
Hilton Honors Community
https://www.facebook.com/group...
รักชอบกลุ่มไหน ก็ไปกด Join กันได้นะครับ บรรยากาศก็คล้ายๆ All Accor Thailand Fanclub นะครับ

Marriott International เป็นเชนโรงแรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนห้องพักประมาณ 1.4 ล้านห้อง ในประเทศต่างๆทั่วโลก
สาเหตุที่ Marriott ใหญ่โตขนาดนี้ เพราะเพิ่งผ่านการควบรวมกิจการกับ Starwoods เชนโรงแรมขนาดใหญ่พอๆกัน ที่มีแบรนด์ดังๆ มากมายเช่นกัน การควบรวมใช้เวลาดำเนินการอยู่ราวปีกว่าๆ จนสำเร็จเมื่อช่วงต้นปี 2016 ที่ผ่านมานี้เอง

การควบรวมครั้งนี้ทำให้แบรนด์ต่างๆที่มีชื่อเสียงอย่างมากของ Starwoods ได้แก่ St.Regis / Westin / Sheraton / Le Méridien / The Luxury Collection / W Hotels / Four Points by Sheraton กลายมาเป็นแบรนด์ของ Marriott

Marriott ในบ้านเรามีการแบ่งระดับของแบรนด์ในเครือออกเป็น 4 ระดับ คือ
Luxury /Premium / Select และ Long Stay เช่นเดียวกับ Accor แตกต่างกันตรงที่แบรนด์นี้จะไม่มีโรงแรมราคาประหยัด แบบ Ibis - การที่จะเป็น Loyalty customer ของ Marriott จะต้องทำใจเรื่องจ่ายแพงกว่าเจ้าอื่นนะครับ

Loyalty Program ของ Marriott มีชื่อเรียกเท่ๆ ว่า Marriott Bonvoy แบ่งเป็น 6 ระดับ คล้ายกับ Accor

Member Status เมื่อสมัครสมาชิก และพัก 0- 9 คืน / ปี
Silver Elite - 10 คืน / ปี
Gold Elite - 25 คืน / ปี
Platinum Elite - 50 คืน / ปี
Titanium Elite - 75 คืน / ปี
Ambassador Elite - 100 คืน / ปี และ มีการใช้จ่ายมากกว่า 14,000 US $ (ปี 2022 จะ ปรับเพิ่มเป็น 20,000 US $ /ปี)

จากตารางนี้ จะเห็นว่า การ match มา Gold Elite Status - benefit แทบไม่แตกต่างจากระดับ SIlver ที่เพิ่มเข้ามา มีแค่ Room Upgrade เท่านั้น การ Match มา BV จึงควรเริ่มตั้งแต่ Platinum เป็นต้นไป

สมาชิก Bonvoy ในระดับ Platinum ขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ของ Marriott Bonvoy ที่เป็นจุดแข็งของแบรนด์ ช่วยสร้าง Loyalty ได้อย่างดี คือ อาหารเช้า ที่อลังการมาก มีความหลากหลาย ให้เลือกแบบจุใจจริงๆ กระทั่งแบรนด์ราคาประหยัดอย่าง Four Points by Sheraton ก็ยังมีไลน์อาหารเช้าที่ดีกว่าโรงแรม 5 ดาวในเชนอื่นอย่างชัดเจน (y)มากกว่านั้น Bonvoy ยังมี Club Lounge Access เสิร์ฟไม่อั้น แบบจัดหนัก+จัดเต็มมาก จ่ายแพงแล้ว Benefits ต่างๆก็ต้องจัดให้คุ้ม

สมาชิกที่ถ้าพักครบ 50 คืน ภายใน 1 ปี จะได้รับ 5 Suites Night Awards (SNA) (5 คืน) หรือจะเปลี่ยนเป็น Gift Option ก็ได้*เท่าที่ทราบ หากเลือกใช้ Suites Night Awards ก็ต้องจองล่วงหน้า และรอคำตอบจากทางโรงแรม

ข้อดีอีกอย่างของ Marriott Banvoy คือ Lifetime Elite Status ที่เปิดโอกาสให้เราได้สะสม Nights ระยะยาว กรณีที่บางปี ไม่ได้เดินทางบ่อย หรือ เป็นปีที่ไม่สามารถรักษาสถานะระดับสูงๆไว้ได้
*แต่ Lifetime Elite Status ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ ถ้าไม่ใช่ ฺBusiness Traveller / Big Spenderเพราะต้องเข้าพักเฉลี่ยประมาณ 60 คืนต่อปี - ไหวมั้ยละครับ ? :)

Lifetime Silver Elite - มีการเข้าพัก 250 คืน ภายใน 5 ปี ของ Elite Status
Lifetime Gold Elite - มีการเข้าพัก 400 คืน ภายใน 7 ปี ของ Gold Elite Status หรือสูงกว่า
Lifetime Platinum Elite - มีการเข้าพัก 600 คืน ภายใน 10 ปี ของ Platinum Elite Status หรือสูงกว่า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปีที่แล้ว ผมใจร้อน และวางแผนไม่ดี
เมื่อมีการเปิด Status Match Challenge ไล่เลี่ยกัน ทั้ง HH และ BV - ด้วยความที่กลัวมันจะหมดเขต จึงส่งไปทั้ง 2 เจ้าพร้อมกัน ทั้งที่ไม่ได้อ่านเงื่อนไขอย่างละเอียด จึงไม่ได้เข้าใจอะไรชัดเจน

ผมใช้สถานะ Accor Gold (ที่มีอยู่ในขณะนั้น)ไป match ทั้ง HH และ BV พร้อมกัน - ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีการตอบรับ จะได้เป็น GoldStatus กลับมาทั้งคู่

ความแตกต่างอยู่ที่เงื่อนไขของทั้งสองเชนไม่เหมือนกันครับ เพราะจาก 5 stay ของ HH Gold สามารถไปต่อได้ถึง Diamond ด้วยการพักเพิ่มอีก 4 stay
ในขณะที่ 8 คืนของ BV Gold หากจะไปต่อให้ถึง Platinum ต้องเข้า step ตามปกติคือ ต้องพักต่ออีก 25 คืน เพราะเกณฑ์ของ BV คือ ขอยื่น match Status ไหน - หมายความว่าคุณตั้งใจว่าจะ Challenge ใน Status ที่ยื่นเท่านั้น

วิธีการที่ถูกต้อง คือ ควรใช้ Accor Gold ไป match HH Gold ให้ได้ก่อน แล้วเข้าพักจนได้ HH Diamond
จากนั้นค่อยใช้ HH Diamond มา match เอา Platinum ของ BV แล้วพักอีก 15 คืน ก็จะถือว่า การ Challenge

* ทางเลือกอื่น คือ จ่าย 200 US $ ไปซื้อ Intercontonental Ambassador หรือหากมี Platinum ของ Accor อยู่แล้วก็ match Platinum BV ได้เลยเพราะเป็นระดับเดียวกัน แล้วพักอีก 15 คืนก็จะได้สถานะ BV Platinum

หากมีการเปิด Status Match ครั้งต่อไป สำหรับเชน Marriott Bonvoy ท่องไว้เลยนะครับ ว่า - สำหรับ BV ให้ match ไป Platinum Elite Status เท่านั้น เพราะโดย benefit ของ BV Gold Elite แทบไม่มีอะไรเพิ่มขึ้นจาก SIlver Elite เลย นอกจาก Room Upgrade
ดังนั้น สำหรับ BV ให้ข้าม Gold ไปเลย เพราะหลักเกณฑ์ของทั้ง 2 เชนไม่เหมือนกัน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าใจร้อน และควรอ่าน + ทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆของแต่ละเชนโรงแรมให้ละเอียด

App ของ Marriott Bonvoy ก็คล้ายกับแบรนด์อื่น สามารถใช้จองห้องพัก และตรวจเช็ครายละเอียดของ Elite Status

Lifetime
Status ของ BV ที่ให้โอกาสลูกค้าได้เป็นสมาชิกกันยาวๆ ปีนี้ไม่ไหว
ปีหน้าค่อยไปต่อ - ก็มีใน App เพื่อเป็นเป้าหมายให้กับลูกค้า
แต่ก็นั่นละครับ มันต้องแลกมาด้วยต้นทุนที่สูงมากๆ อย่างถ้าจะเป็น Lifetime Silver Elite ข้าพเจ้าต้องนอนเพิ่มอีกประมาณ 5-60 คืน/ปี

อย่างไรก็ตาม ปีนี้น่าจะเป็นอีกปีที่ดีกว่า สำหรับท่านที่ต้องการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ Platinum Elite Status ของ Marriott Bonvoy เพราะ BV ได้เปิด "Platinum Fast Track Challenge" ซึ่งเข้าใจง่าย และ ทำง่ายกว่า Status Match มากๆ 
เงื่อนไขก็ไม่มีอะไรมาก หากคุณเป็นสมาชิก BV และเคยพักมาบ้างอย่างน้อย 1 คืน สามารถโทรไปขอเปิด Fast Track Challenge ได้เลย ที่ 1800-019-086 ในเวลาทำงาน จะมีเจ้าหน้าที่รับสาย

เราก็แค่แจ้งหมายเลขสมาชิก BV และ บอกว่าจะขอเปิด Fast Track Challenge
จากนั้นก็วางแผนจองห้องพัก 16 คืน เก็บให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน ก็จะได้ BV Platinum Elite Status มาครอบครอง
คุณสามารถโทรไปขอทำ Challenge ได้จนถึงปลายเดือนธันวาคม 2564 (ยังไม่ระบุวันที่แน่นอน)

ที่กลุ่ม Marriott Bonvoy Thailand Fanclub - Admin ของ group ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ promotion ต่างๆ สำหรับท่านที่ต้องการทำ Challenge นี้ไว้แล้ว ลองเข้าไป search กันดูนะครับ

*ความเห็นส่วนตัว : สำหรับมือใหม่หัด match - ผมคิดว่า Platinum Fast Track ของ BV ในปีนี้ เข้าใจง่าย ทำง่าย และไม่ยุ่งยากเท่า Status Match ของปีที่แล้ว (เพียงแต่เพิ่มจำนวน Night มากขึ้นอีก 1 คืน เท่านั้น)
ไม่ต้อง cap หน้าจอ / ส่งไฟล์ / รอคำตอบ - ถ้าเขาปฏิเสธ ก็ต้องส่งใหม่ (ผมเจอไป 3-4 รอบ แถมได้มาแค่ Gold)
ที่สำคัญ คนที่ match จากปีก่อน ก็เรียกได้ว่าแทบจะไม่ได้ไปเที่ยวไหน เพราะเจอช่วงปิดเมืองตั้งแต่เมษายน โรงแรมก็โล่ง / อาหารเช้าเสิร์ฟในห้องพัก / Club Lounge ปิด / งดเสิร์ฟ Alcohol ฯลฯ

ปีหน้า คงจะเป็นจังหวะที่ดีกว่า สำหรับการใช้ benefits เหล่านี้ - ดังนั้น วางแผนกันให้ดีนะครับ ผมเองก็เล็งๆอยู่เหมือนกัน

Promotion ต่างๆของ Marriott ก็คล้ายๆกับทั้ง HH มีทั้งการซื้อ Points / ใช้ Points แลกที่พักฟรี หรือ เพิ่มเงินนิดหน่อย
บางช่วงจะมีโปร Summer Dreaming ที่จะได้ทั้งฟรีอาหารเช้า รีสอร์ทเครดิต และคะแนนพิเศษ 5000 คะแนน

โปรแลกที่พักของ BV ก็มีลูกเล่นหลายอย่าง ซึ่งสารภาพว่าข้าพเจ้าไม่ถนัด
หากมีข้อสงสัย ขอเชิญปรีกษา เซียน BV ที่ Marriott Bonvoy Thailand Fanclub จะได้คำตอบที่ชัดเจนครับ

Marriott Bonvoy Thailand Fanclub คลับของเซียน BV
https://www.facebook.com/groups/729228980979071

IHG หรือ InterContinental Hotels Group เป็นเชนโรงแรมจากอังกฤษ จัดว่ามีขนาดใหญ่เป็น อันดับ 4 ของโลก ด้วยห้องพักรวมทั้งหมดกว่า 860000 ห้อง ทั่วโลก

IHGมีทั้งหมด 16 แบรนด์ หลายระดับห้องพัก ทั้ง Luxury / Premium / Budget / Long Stay คล้ายๆ Marriott เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากที่จีนแผ่นดินใหญ่

ประเทศไทยก็มีโรงแรม/รีสอร์ทในเครือนี้อยู่ถึง 30 แห่ง ในหลายๆทำเล ทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม
ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เขาใหญ่ พัทยา ระยอง หัวหิน ภูเก็ต
น่าเสียดายที่ Holiday Inn หาดไม้ขาว / Holiday Inn อ่าวนาง และ Holiday Inn Express อ่าวนาง เพิ่งออกจากเชนไปในช่วง Covid แต่เชนนี้ก็มีข่าวประกาศสร้างใหม่หลายแห่งเช่นกัน
โดยเฉพาะที่เวิ้งนครเขษม ใจกลางเยาวราช ที่ถ้าเสร็จแล้ว จะกลายเป็น Resort Hotel ขนาดใหญ่ ใจกลางกรุงเทพฯ

ที่ผม label ไว้เป็นสีส้ม คือแบรนด์ของ IHG ที่มีในบ้านเรานะครับ
*ล่าสุด สดๆร้อนๆ ที่เพิ่งเข้ามา ไม่แน่ใจว่าเป็นรูปแบบของ Alliance หรือไม่ คือ Sinthorn Midtown

โปรหลักๆของ IHG คือ คะแนนสะสม คิดเป็น 10 คะแนนต่อการใช้จ่าย 1 US $
**ยกเว้น Staybridge Suites ที่จะได้ 5 คะแนน ต่อ 1 US $
บ้านเราเพิ่งมีStaybridge Suites Bangkok Thonglor สาขาแรก เพิ่งเปิดเมื่อไม่นานมานี้เอง

Loyalty Program ของ IHG เน้นการใช้จ่ายภายในโรงแรม ทั้งค่าห้อง / อาหาร & เครื่องดื่ม / บริการต่างๆ
เครือนี้ไม่มี benefit เป็นอาหารเช้า ยกเว้น Holiday Inn Express บางแห่ง

อย่างไรก็ตามในตลาดบ้านเรา นิยมจองโปรฯที่พัก รวมอาหารเช้า - หากสนใจจะพักที่ไหน แนะนำให้เข้าไปดู Promotion ที่ facebook page หรือ LINE ของทางโรงแรมก่อน
( Promotion ของบางโรงแรมในเชน IHG บางกรณี ที่ราคาพิเศษมากๆ อาจจะไม่คิดคะแนนสะสมให้นะครับ ควรตรวจสอบให้ดี ก่อนจอง)

สิทธิประโยชน์ของแบรนด์
IHG ส่วนใหญ่คือการเพิ่ม % ของคะแนนสะสม / Rollover Nights / Room
Upgrades ฯลฯ ในความเห็นของผมไม่มีอะไรเด่น ถ้าเทียบกับเชนอื่น

แต่ความดีงามของ IHG คือ Club Lounge ของ Intercontinental ที่ว่ากันว่าดีงามมาก (แต่ต้องจ่ายเพิ่มนะครับ ราคาแรงอยู่ :))
ผมเอง ชอบแบรนด์ Hotel Indigo มากๆ ที่กล้าฉีกแนวการออกแบบโรงแรมให้ดูสนุก เท่ จิ๊กโก๋ เหมือนไปนอนเล่นในบ้านของศิลปินอารมณ์ดี ที่มีชีวิตชีวา คล้ายๆกับSO ของเครือ Accor

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
App ของ IHG ก็มี function คล้ายๆกับเจ้าอื่น แต่จุดเด่นของ IHG คือ Messages ที่จะส่งถึงลูกค้าถี่มากๆ มาทั้ง email และ App

Promotion พิเศษของ IHG ที่เป็นขวัญใจนัก Match หน้าใหม่ คือ Intercontinental Ambassador ราคา 200 US $ - ซื้อแล้วจะได้สถานะ IHG Platinum Elite Status ทันที สามารถเอาไปทำ status Match กับเชนอื่นๆได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปพัก คือ "จ่ายแล้วจบ" นั่นเองครับ
ซื้อ โปรนี้ จะได้เข้าพักฟรี 1 คืน (ไม่รวมอาหารเช้า) ในโรงแรมระดับ Luxury ของแบรนด์ คือ Intercontinental / Kimpton หรือ REGENT (บ้านเรายังไม่มี)

Promotion ส่วใหญ่ของเครือนี้ก็คล้ายๆกับทั้ง HH / BV คือการซื้อคะแนนสะสมและแถมเพิ่มให้เป็น %

นอกจากนั้นก็มีโปรฯ พัก 2 คืนติดกัน จะได้เพิ่ม 3000 คะแนน / โปรฯเหล่านี้ ต้องลงทะเบียนก่อนจอง
*เงื่อนไขที่ต้องระวังสำหรับโปรฯแจกแต้มของ IHG คือ เราจะได้แต้ม เฉพาะการจองโรงแรมที่มีราคามากกว่า 30 US $ ขึ้นไปเท่านั้น (คิดง่ายๆ ค่าห้องประมาณ 1,100 บาท up)
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะตั้งแต่ช่วง Covid โรงแรม Holiday Inn Express ส่วนใหญ่จะลดราคาลงตํ่ากว่าพัน ในหลายๆสาขา

Promotion แจกแต้ม 2 เท่ามักจะให้ในโรงแรมที่เปิดใหม่ หรือ เพิ่งเข้าเชนมาใหม่ๆ (ล่าสุด ก็ที่ Sindhorn Midtown )
นอกจากนั้น IHG ยังมีโปรฯส่วนลดในการรับประทานอาหาร ที่ห้องอาหารของโรงแรมด้วยครับ

facebook group ของ IHG ในบ้านเรา เท่าที่เจอ มี 3 กลุ่ม

IHG Thailand Fan Club
https://www.facebook.com/groups/339400994165812/

IHG REWARDS CLUB THAILAND
https://www.facebook.com/groups/647650712855408/

IHG Rewards Thailand Insider
https://www.facebook.com/groups/738597550029104/

World of Hyatt เป็นอีกเชนที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการให้ประสบการณ์ที่ดีในการเข้าพัก
บ้านเรามีอยู่ 7 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ 4 ต่างจังหวัด คือ สมุย ภูเก็ต หัวหินอย่างละ 1 แห่ง
การสร้าง Loyalty Program สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในประเทศ สำหรับเชนโรงแรมที่มีจำนวนที่พักในประเทศไม่มาก คงเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะตัวเลือกมีน้อย
แต่จากที่ได้ดูรีวิวของ Hyatt ในหลายๆแห่ง เป็นแบรนด์ที่น่าสนใจมากเลยครับ

Discovery ไม่น่าจะเรียกว่า เชนโรงแรม เป็นเพียงพันธมิตร (Alliance) ของกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่หลายๆแห่ง ที่รวมตัวกันเพื่อจัด Loyalty Program แข่งกับเชนใหญ่ๆ
ผมไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ Loyalty Program ของ Discovery เลย แต่ก็สมัครสมาชิกไว้แล้ว
เคยพัก Anantara เมื่อนานมากๆมาแล้ว ล่าสุด ซื้อ Voucher ของ Avani Sukhumvit ไปแต่ก้โดนเลื่อน เพราะได้ปรับไปเป็น Hospitel

หากมีโอกาสจองในเครือนี้ ผมคงต้องเปรียบเทียบราคากับ Agoda ก่อน เช่นกันครับ

LHW: The Leading Hotels of the World เป็น Alliances ที่รวมตัวกันเพื่อ
Loyalty Program เช่นกันครับ แต่ผมยังไม่เคยพักที่ไหนเลยเช่นกัน

Best Western ก็เป็นเชนโรงแรมที่มีสาขามากมายในอเมริกา แต่ในบ้านเรามีไม่กี่แห่ง
ผมเคยเป็นสมาชิกบัตรเครดิต KTC + Best Western ที่มี benefit ดีกว่าปกตินิดหน่อย แต่ด้วยความที่มีตัวเลือกน้อยมาก จึงไม่สามารถสร้าง Loyalty ได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ข้อดีของ Best Western ในบ้านเรา คือ ราคาไม่แรงมาก โดยเฉพาะเมื่อจองผ่าน Agod

Centara เป็นเชนคนไทย ของกลุ่มจิราธิวัฒน์

Onyx Hospitality ก็มีโรงแรมหลายแห่ง โดยเฉพาะ Amari และ Ozo

Melia เป็นเชนโรงแรมชื่อดังจากสเปน มีสาขามากในทวีปยุโรป ในบ้านเราเพิ่ง โรงแรมและรีสอร์ท ของ Melia 4 แห่ง คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สมุย และ ภูเก็ต (บางสาขายังไม่เสร็จเรียบร้อยนะครับ) เข้าไปดูภาพที่เพจของโรงแรมแล้ว โอ่อ่า อลังการมาก คาดว่าจะมาแรงมากๆในบ้านเราแน่ๆ 

สำหรับผม - หากจะจองเชนเหล่านี้ ให้เปรียบเทียบราคา ระหว่าง Agoda กับ Promotion โดยตรงที่หน้าเพจของโรงแรมก่อนนะครับ
ถ้าราคาต่างกันไม่มาก แนะนำให้จองโดยตรงจะดีกว่า โรงแรมจะได้ไม่โดนหัก 20% ให้ OTA / อาจจะมีโอกาสได้ upgrade บ้าง ถ้าจังหวะดีๆ และในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเดินทาง การจองโดยตรง จะสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้สะดวกกว่า :)

กลุ่มนี้เป็นโรงแรมในระดับ Ultra Luxury มีชื่อเสียงดีมากในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีหลายสาขา ในหลายประเทศ
ข้าพเจ้าไม่เคยพักที่ไหนใน list นี้เลย ขอผ่านให้เซ๊ยน Ultra Luxury ช่วย comment แล้วกันนะครับ

Online Travel Agency หรือ OTA เป็น Online Platform สำหรับจองที่พัก /  ตั๋วโดยสาร / ตั๋วเครื่องบิน ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมการเดินทาง+ท่องเที่ยว
Platform เหล่านี้ ใช้ประโยชน์จาก Big Data อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้ากับ Property เชื่อมต่อถึงกันได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านนายหน้า หรือ คนกลางหลายๆทอด ส่วนใหญ่จะหัก % จาก Property ในอัตรา 20 - 25 % เพื่อเอามาจัดโปรโมชั่นใน platform ของตัวเองอีกที ลูกค้าที่จองที่พัก / ตั๋วโดยสาร จาก OTA จึงได้ราคาค่อนข้างดี

ยกตัวอย่างเช่น - ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา Priceline ประเทศไทย ได้จัดโปรโรงแรมลับ เป็นโรงแรม 4 -5 ดาว ในทำเลต่างๆ โดยบอกแค่ทำเล ไม่บอกชื่อ เปิดโปรมาแค่วันสองวัน คนที่จองทันเหมือนถูกเลขท้าย 2 ตัว / ข่าวว่า Hilton Sukhumvit เหลือประมาณไม่กี่ร้อยบาท
การจัดโปรฯแบบนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์แบรนด์ Priceline โดยยอมขาดทุน เพื่อสร้างกระแสการบอกต่อแบบปากต่อปาก

OTA Platform มีทั้งบนเว็บไซท์ และ App โทรศัพท์ 

มองในมุมกลับ การที่เชนโรงแรมใหญ่ๆ ต้องทำ Loyalty Program ของตัวเองออกมา อย่างที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น ก็เพื่อต้องการดึงลูกค้าให้มาจองและใช้บริการโดยตรง เพื่อป้องกันการผูกขาดจาก OTA ทั้งหลาย มิฉะนั้น หากส่วนแบ่งตลาดการจองห้องพักของ OTA สูงมากขึ้นเรื่อยๆ เชนโรงแรมเอง ก็มีโอกาสที่จะถูกหัก % ค่านายหน้า ในอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม OTA ก็มีส่วนอย่างมาก ในการช่วยโรงแรม/ที่พัก ขนาดเล็ก โดยเฉพาะในจังหวัดเล็กๆ และพื้นที่ห่างไกล ให้สามารถเปิดรับจองที่พักได้ทั่วถึงไปทั่วโลก โดยไม่ต้องลงทุนทำการตลาดเอง และในบางกรณี อาจจะไม่จำเป็นต้องจ้างเจ้าหน้าที่รับจองห้องพัก (Reservation Officer) ด้วยซํ้า

Megatix เป็น คล้ายๆ Online Agency อีกประเภทที่เน้นการขาย Online Voucher ราคาพิเศษ เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อกลางปีที่แล้วนี่เอง
ส่วนใหญ่ Megatix จะขาย voucher ที่ใช้แทนแทนเงินสด พร้อมส่วนลด ตั้งแต่ 25 - 30% ขึ้นไป เพื่อให้ไปใช้ในการจอง +
การใช้จ่ายภายในโรงแรม
เช่น Voucher 1000 ใช้จ่ายได้ 1250 บาท
Voucher 10000 ใช้จ่ายได้ 14000 บาท

*ช่วงปิดเมือง เมื่อพฤษภาคมปีที่แล้ว ผมเคยซื้อ Voucher Megatix หลายใบ เพราะเห็นว่าราคาดีมาก
ที่ไหนได้ พอเปิดเมือง ไม่มีใครกล้าเดินทาง ราคาโรงแรมลดฮวบลงมาเร็วมาก จนขาดทุนจาก Voucher ที่สอยไว้ - บอกเลยว่าเข็ด

หวังว่า รีวิว "มือใหม่หัดสะสมแต้ม - Loyalty Program Explained" คงช่วยให้ทุกท่านได้รับความกระจ่าง เกี่ยวกับ Loyalty Program
มีความเข้าใจในระบบ วิธีการ และทางเลือกต่างๆ ในการจองที่พัก เข้าใจหลักการ เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้ Loyalty Program ให้เหมาะกับ Life Style และกระเป๋าตังค์ของตัวเอง เพราะเงินทองเป็นของหายาก

ขอบคุณสำหรับการติดตามอ่าน "มือใหม่หัดสะสมแต้ม" จนถึงหน้านี้
ทำรีวิวนี้ แล้วให้บรรยากาศของการกลับไปเรียนหนังสือ เหมือนการทำรายงานส่งอาจารย์เลย

♥

fatreview : CHECK IN

 วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11.02 น.

ความคิดเห็น